สุดสัปดาห์ที่ผ่านมามีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในกรณีข้อพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชาออกมาเป็นระยะ โดยเฉพาะการลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกัน 8 ข้อ หรือ “ข้อตกลงหยุดยิง” โดยระบุว่า
1.ให้ทั้ง 2 ฝ่ายหยุดยิง 2.ห้ามมีการเพิ่มเติมกำลังทหาร และห้ามเคลื่อนย้ายกำลังทหาร 3.ห้ามไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายอาวุธยุทโธปกรณ์หนักขนาดใหญ่ เช่น ปืนใหญ่ รถถัง 4.ห้ามไม่ให้มีการใช้อาวุธหนักในการโจมตีกัน 5.ห้ามไม่ให้มีการสร้างสิ่งปลูกสร้างใดๆ ในพื้นที่ปัญหา 4.6ตร.กม.โดยเด็ดขาด 6.ห้ามทำฐานทหาร ทำบังเกอร์ 7.ห้ามไม่ให้มีการก่อสร้างถนนของทั้งสองฝ่าย และ 8.ให้มีการประสานความเข้าใจผ่านทางโทรศัพท์มือถือสายตรงตลอด 24 ชม.
ดูผิวเผินถือเป็นเรื่องที่ดีทั้งหมด แต่เมื่อเจาะลึกลงในรายละเอียดถือเป็นเรื่องน่าตลกอย่างยิ่ง เพราะทั้ง 8 ข้อที่ว่ามานั้นก็อยู่ใน MOU 2543 ที่ฝ่ายกัมพูชา “ละเมิด” มาแล้วทั้งสิ้น
โดยเฉพาะการระบุไม่ให้มีการเพิ่มหรือเคลื่อนย้ายกำลังพล คำถามที่ตามมาคือฐานทัพทหารที่เขมรตั้งอยู่ในฝั่งไทย ทั้งที่ภูมะเขือ และวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ จะอยู่ได้อย่างไม่มีกำหนดใช่หรือไม่ ส่วนข้อ 5-7 นั้น ขอให้ลองไปดูในพื้นที่ 4.6 ตร.กม.รอบปราสาทพระวิหาร ว่าถนน สิ่งปลูกสร้าง บังเกอร์ หรือแม้กระทั่งฐานทัพนั้นเป็นของใคร
ประเด็นสำคัญอีกข้อคือ การกำหนดไม่ให้เคลื่อนย้ายยุทโธปกรณ์หนัก หรือไม่ให้ใช้อาวุธหนักนั่นเอง เหตุเพราะฝ่าเขมรรู้ดีถือศักยภาพกองทัพตัวเองว่า ไม่สามารถ “ทัดเทียม” กับฝ่ายไทยได้เลย หาก “สงครามเต็มรูปแบบ” เกิดขึ้นจริง
โดยข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศ www.globalfirepower.com ที่มีการจัดอันดับศักยภาพทางการทหารของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ระบุว่า ประเทศไทยมีศักยภาพทางการทหารในลำดับที่ 2 ของอาเซียน รองจากอินโดนีเซียเพียงชาติเดียว และถือเป็นอันดับที่ 28 ของโลกอีกด้วย ขณะที่กัมพูชาอยู่ที่ลำดับ 190 หางแถวของชาวโลก
“กองทัพไทย” มีนายทหารประจำการ 3.4 แสนนาย และมีกำลังสำรองอีก 2 แสนนาย ในส่วนยุทโธปกรณ์แยกตามเหล่าทัพ
พบว่า กองทัพบก ประกอบด้วย ปืนประจำกายขนาดต่างๆทั้งปืนพก ปืนเล็กยาว ปืนกล อาก้าหรือเอ็ม 16 ที่เพียงพอต่อกำลังพล ในส่วนปืนใหญ่ และปืนต่อสู้อากาศยาน มีทั้งจากสหรัฐฯ จีน อิสราเอล รัสเซีย ออสเตรีย เบลเยียม และเยอรมนี รวมแล้วมากกว่า 1 พันกระบอก ส่วนรถถังสามารถแบ่งได้เป็น รถถังหลักจากจีนและสหรัฐฯ รวมกว่า 300คัน รถถังเบาจากสหรัฐฯ และอังกฤษ อีกกว่า 400 คัน รถสายพานลำเลียงหุ้มเกราะ บีทีอาร์-3อีไอ จากยูเครน ร่วม 100คัน รถส่งกำลังบำรุง จากสหรัฐฯ จำนวน 340 คัน รถหุ้มเกราะคอมมานโด เอ็ม 706 จากเยอรมนี 138 คัน รถลาดตระเวนจับเรดาร์จากจีนอีกกว่า 450 คัน และยังมีรถหุ้มเกราะรีว่าขับเคลื่อน 4 ล้อจากแอฟริกาใต้ รถหุ้มเกราะอัลวิสซาราเซนต์จากอังกฤษอีกจำนวนหนึ่ง
ในส่วน กองทัพเรือไทย ประกอบด้วย เรือบรรทุกเครื่องบิน 1 ลำ เรือฟรีเกต 10 ลำ เรือโจมตีลำเลียงพล 9 ลำ เรือคอร์เวต 7 ลำ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง 2 ลำเรือตรวจการณ์ 26 ลำ เรือเร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถี 6 ลำ เรือเร็วตรวจการณ์ลำน้ำโขง 77 ลำ เรือช่วยรบ 15 ลำ และเรือวางทุ่นระเบิด 7 ลำ ทั้งยังมีกองบินทหารเรือที่แข็งแกร่ง โดยมีเครื่องบินรบ44 ลำ เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง 14 ลำ เฮลิคอปเตอร์ต่อต้านเรือผิวน้ำ 8 ลำ และนาวิกโยธิน 18,000 นาย ยังไม่นับรวมหน่วยรบพิเศษอีกจำนวนหนึ่ง
ด้าน กองทัพอากาศไทย ต้องบอกว่าแสนยานุภาพทางอากาศของไทยล้วนเต็มไปด้วยอากาศยานระดับสูง ทั้งเอฟ-5 เอฟ-16 อัลฟาเจ็ต แบล็กฮอว์กของสหรัฐฯที่เห็นกันบ่อยๆ ในหนังฮอลลีวูด รวมทั้งเครื่องบินชินุก คอบร้า เชสน่า ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ล้วนแล้วแต่ทันสมัยไม่เป็นรองใครในย่านนี้ นอกจากนี้ยังมีเครื่องบินตรวจการณ์ที่ซื้อจากอิสราเอล และเฮลิคอปเตอร์โจมตีที่ซื้อจากเยอรมนี ฝรั่งเศส และสวิตฯ ส่วนเครื่องบินลำเลียง นอกจาก ซี-130 แล้ว ยังมี บีที-67 ของสหรัฐ จี 222 ของอิตาลี เอชเอส-748 ของอังกฤษ และแอร์บัสของสหภาพยุโรป ที่สำคัญล่าสุดยังมีฝูงบินกริพเพนจากสวีเดนที่เพิ่งรับมอบมาไม่นานอีกด้วย
ขณะที่คู่ต่อกรอย่าง “กองทัพกัมพูชา” มีทหารประจำการราว 1.5-1.7 แสนนาย แต่มีกำลังสำรองถึง 2 แสนนาย ในส่วนแสนยานุภาพด้านการทหารนั้นถูกระบุว่าเข้าขั้น “ล้าสมัย” เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นยุทโธปกรณ์เก่าเก็บตั้งแต่สมัยเขมร 3 ฝ่าย และได้รับบริจาคมาจากรัสเซียและจีน
โดย กองทัพบก ที่ต้องถือว่าเป็นขุมกำลังทรงอานุภาพที่สุดและมี พล.ท.ฮุน มาเนต ทายาทวัย 33 ปีของ ของ “ฮุนเซน” ผู้นำเขมร นั่งเป็นรอง ผบ.ทบ.อยู่ มีเขี้ยวเล็บที่พอดูได้ประกอบด้วย ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน และจรวดต่อสู้อากาศยานหลายขนาด ตั้งแต่ลำกล้อง 105-155 มม. และปืนใหญ่วิถีโค้งขนาด 152 มม. แบบเอ็ม 1955 ด้านรถถังหลัก มีโมเดลไทบ์-59 จากจีนประมาณ 200 คัน ที-55 จากรัสเซียราว100 คัน มีรถถังเบาทั้งจากรัสเซีย จีน และฝรั่งเศส ประมาณ 50 คัน แบบบเอ็มพี-1 จากรัสเซีย 10 คัน รถเกราะสายพาน เอ็ม113เอ1 และเอ3 จากสหรัฐ 20 คัน รถเกราะล้อยางสกุลบีทีอาร์จากรัสเซีย 200 กว่าคัน และรถเกราะล้อยาง โอที-64จากโปแลนด์จำนวน 26 คัน
ขณะที่ กองทัพเรือ ไม่ปรากฎเรือรบหรือเรือบรรทุกเครื่องบิน มีเพียงเรือเร็วโจมตี เรือตรวจการณ์ และเรือลำเลียงสัมภาระ รวมแล้ว 10 กว่าลำเท่านั้น ที่หนักกว่าคือ กองทัพอากาศ ที่มีเครื่องบินประจำการ ได้แก่ มิกของรัสเซีย 2 ลำ เครื่องบินฝึกขับไล่ แอล-39 ซี จากสาธารณรัฐเช็ก จำนวน 6 ลำ เครื่องบินลำเลียงจากจีน รัสเซียและอังกฤษรวม 6 ลำ รวมทั้งเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 2 ลำ ซึ่งจากการข่าวระบุเป็นเสียงเดียวกันว่า ทั้งหมดไม่สามารถทำการบินได้แล้วในปัจจุบัน
เมื่อเทียบกัน “ปอนด์ต่อปอนด์” แล้ว จึงไม่เห็นทางที่กองทัพกัมพูชาจะสร้างความหนักใจให้กับกองทัพไทยได้เลย ยิ่งในด้านอาวุธหนักทั้งหลาย จึงเป็นที่มาของ “พันธนาการ” อาวุธหนักของฝ่ายไทยที่ระบุในสัญญาหยุดยิง เพื่อให้ไม่ได้เปรียบในการปะทะในอนาคตหากเกิดขึ้น นั่นหมายถึงการรบแบบ “กองโจร” ตามแบบฉบับของนายฮุน เซน
แล้วที่แย่หนักคือผู้แทนกองทัพไทยก็ไป “หลงเหลี่ยม” นายฮุนเซนเข้าเสียด้วย
ไม่ต่างกับฝ่ายการเมืองที่ “ไม่ทันเกม” ของนายฮุน เซนในเวทีนานาชาติ แม้ว่าความพยายามในการนำข้อพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชาขึ้นสู่เวทีนานาชาติจะยังไม่สำเร็จตาม “แผนหนึ่ง” ที่สามารถทำให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) เปิดประชุมเร่งด่วนเพื่อเรียกทั้ง 2 คู่ขัดแย้งบินตรงไปชี้แจงถึงนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันแห่งความรัก 14 ก.พ.ที่ผ่านมา เพราะที่ประชุม UNSC เพียงออกข้อเรียกร้องให้ทั้ง 2 ฝ่ายลงนามหยุดยิงถาวรในกรอบ “ทวิภาคี” โดยให้อาเซียนรับหน้าที่พี่เลี้ยงเท่านั้น โดยใช้เวทีการประชุมอาเซียนที่จากาตาร์ ในวันที่ 22 ก.พ.นี้
ไม่ได้เข้ามาแทรกแซง หรือส่งเจ้าหน้าที่มาสังเกตการณ์ตามเป้าหมายที่ฝั่งเขมรวางไว้
โดยแม้ว่าถ้อยแถลงของ “ฮอร์ นัมฮง” รมว.ต่างประเทศ กัมพูชา จะไม่ได้แสดงความไม่พอใจออกมาให้ได้เห็น แต่การบินกลับประเทศทันที ไม่อยู่พูดคุยกับ “กษิต ภิรมย์” รมว.ต่างประเทศของไทย ที่นครนิวยอร์ก ตามที่ได้นัดกันไว้ ก็ถือเป็น “นัย” ที่แสดงถึงการไม่ยอมรับกรอบ “ทวิภาคี” ที่ UNSC เสนอมา
ทำให้นายฮุนเซนงัดกลยุทธ์ “ไพ่สองหน้า” ขึ้นมาเล่นทันที เมื่อส่งซิกให้กองกำลังทหารยั่วยุโจมตีฐานทัพไทย บริเวณชายแดน จ.ศรีสะเกษ ตลอดคืนวันที่ 14-15 ก.พ. หลังจากได้รับทราบผลการประชุม UNSC เพียงวันเดียว จน UNSCต้องออกแถลงการณ์อีกฉบับย้ำให้ทั้ง 2 ฝ่ายอดทนอดกลั้นไม่ใช้กำลังหรือความรุนแรงใดๆในการแก้ปัญหา เพื่อหลีกเลี่ยงการนำไปสู่สถานการณ์ที่เลวร้ายลง
ทางด้านพี่เลี้ยงอย่างอาเซียนก็มองออก โดย “มาร์ตี นาตาเลกาวา” รมว.ต่างประเทศ อินโดนีเซีย ในฐานะประธานอาเซียน ออกมาระบุเองว่า ทั้ง 2 ประเทศ มีความคิดที่แตกต่างกันสิ้นเชิง โดยฝ่ายหนึ่งต้องการแก้ไขปัญหาผ่านแนวทางพหุภาคี ส่วนอีกฝ่าย ต้องการแก้ปัญหาในระดับทวิภาคี
ไม่เท่านั้นนายฮุน เซนยังเตรียมเปิด “เกมใหม่” โดยระบุเมื่อวันที่ 17 ก.พ.ที่ผ่านมาว่า หาก UNSC ไม่แสดงบทบาทที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ กัมพูชาก็มีทางเดินของตัวเอง โดยจะฟ้องไปยัง “ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ” (International Court of Justice: ICJ) หรือ “ศาลโลก” เพื่อให้พิจารณาคำพิพากษาในคดีปราสาทพระวิหาร เมื่อปี2505 ชี้ขาดเรื่องดินแดนอีกครั้ง
จิ้งจอกฮุน เซนมา “หางโผล่” เปิดหน้าเล่นแบบสุดๆ เมื่อสื่อกัมพูชารายงานข่าวว่า นายกฯเขมรไม่พอใจท่าทีที่ไทยประกาศชัยชนะในเวที UNSC พร้อมทั้งย้ำว่า การปะทะที่ผ่านมาคือสงคราม ไม่ใช่การปะทะกันเล็กน้อยอย่างที่นายกฯไทยกล่าวอ้าง
“สงครามในครั้งนี้มันใหญ่เกินกว่าที่อาเซียนจะเข้ามาไกล่เกลี่ย รมว.ต่างประเทศอินโดนีเซีย คือใคร รมว.ต่างประเทศไทย คือใคร จะมาสั่งให้กัมพูชาเข้าร่วมประชุมฯ ซึ่งเป็นความต้องการของไทยไม่ใช่ความต้องการของกัมพูชา ปัญหามีมาตั้งหลายปีอาเซียนไม่เห็นเข้ามาแก้ไข UNSC ควรเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นและควรจะส่งกองกำลังสันติภาพเข้ามาดูแลและแก้ไขปัญหาชายแดนปราสาทพระวิหาร” สื่ออ้างคำกล่าวผู้นำเขมร
“เกินกว่าอาเซียน - ใครมาบังคับร่วมประชุมไม่ได้ - ให้ UN ส่งกองกำลังเข้ามา” หงายไพ่เล่นกันตรงๆ เลยทีเดียว
และในขณะที่ฝ่ายไทยไม่ทันระวัง เขมรก็เตรียมเดินหน้า “แผนสอง” ที่ค้างคาอยู่ในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกให้สำเร็จในเดือน มิ.ย.นี้ โดยอ้างว่ามีข้อตกลงหยุดยิงแล้วทำให้เป็น “พื้นที่สันติภาพถาวร” หวังให้คณะกรรมการรับรองแผนบริหารจัดการพื้นที่ ซึ่งรวมถึง 4.6 ตร.กม.ที่เป็นของไทยด้วย นั่นหมายถึงการสูญเสียดินแดนอย่างถาวร และเป็น “หลักหมุดแรก” ที่จะทำให้สูญเสียดินแดนอีกในอนาคตตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน รวมทั้งพื้นที่ทางทะเลที่มีทรัพยากรมหาศาล
ยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไร ยิ่งเห็นชัดว่าทั้งรัฐบาลนี้และกองทัพมีนโยบายที่ไม่ “ทันเกม” ทำได้เพียงตั้งรับ โดยปล่อยให้ฝ่ายเขมรเปิด “เกมใหม่” รุกไล่อย่างต่อเนื่อง ทั้งในเวทีทวิภาคีหรือในเวทีนานาชาติก็ตาม ทั้งที่แสนยานุภาพทางทหารและอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจในมือก็มีมากมาย แต่กลับไม่นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์
ยอมเป็น “ลูกแกะสยาม” ที่ถูก “จิ้งจอกฮุนเซน” รุกไล่ไม่เลิกรา
ดังนั้นที่ว่ากันว่าผลประโยชน์ “ติดคอ” คนในระดับตัดสินใจก็คงไม่ไกลจากความจริงเท่าไรนัก
1.ให้ทั้ง 2 ฝ่ายหยุดยิง 2.ห้ามมีการเพิ่มเติมกำลังทหาร และห้ามเคลื่อนย้ายกำลังทหาร 3.ห้ามไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายอาวุธยุทโธปกรณ์หนักขนาดใหญ่ เช่น ปืนใหญ่ รถถัง 4.ห้ามไม่ให้มีการใช้อาวุธหนักในการโจมตีกัน 5.ห้ามไม่ให้มีการสร้างสิ่งปลูกสร้างใดๆ ในพื้นที่ปัญหา 4.6ตร.กม.โดยเด็ดขาด 6.ห้ามทำฐานทหาร ทำบังเกอร์ 7.ห้ามไม่ให้มีการก่อสร้างถนนของทั้งสองฝ่าย และ 8.ให้มีการประสานความเข้าใจผ่านทางโทรศัพท์มือถือสายตรงตลอด 24 ชม.
ดูผิวเผินถือเป็นเรื่องที่ดีทั้งหมด แต่เมื่อเจาะลึกลงในรายละเอียดถือเป็นเรื่องน่าตลกอย่างยิ่ง เพราะทั้ง 8 ข้อที่ว่ามานั้นก็อยู่ใน MOU 2543 ที่ฝ่ายกัมพูชา “ละเมิด” มาแล้วทั้งสิ้น
โดยเฉพาะการระบุไม่ให้มีการเพิ่มหรือเคลื่อนย้ายกำลังพล คำถามที่ตามมาคือฐานทัพทหารที่เขมรตั้งอยู่ในฝั่งไทย ทั้งที่ภูมะเขือ และวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ จะอยู่ได้อย่างไม่มีกำหนดใช่หรือไม่ ส่วนข้อ 5-7 นั้น ขอให้ลองไปดูในพื้นที่ 4.6 ตร.กม.รอบปราสาทพระวิหาร ว่าถนน สิ่งปลูกสร้าง บังเกอร์ หรือแม้กระทั่งฐานทัพนั้นเป็นของใคร
ประเด็นสำคัญอีกข้อคือ การกำหนดไม่ให้เคลื่อนย้ายยุทโธปกรณ์หนัก หรือไม่ให้ใช้อาวุธหนักนั่นเอง เหตุเพราะฝ่าเขมรรู้ดีถือศักยภาพกองทัพตัวเองว่า ไม่สามารถ “ทัดเทียม” กับฝ่ายไทยได้เลย หาก “สงครามเต็มรูปแบบ” เกิดขึ้นจริง
โดยข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศ www.globalfirepower.com ที่มีการจัดอันดับศักยภาพทางการทหารของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ระบุว่า ประเทศไทยมีศักยภาพทางการทหารในลำดับที่ 2 ของอาเซียน รองจากอินโดนีเซียเพียงชาติเดียว และถือเป็นอันดับที่ 28 ของโลกอีกด้วย ขณะที่กัมพูชาอยู่ที่ลำดับ 190 หางแถวของชาวโลก
“กองทัพไทย” มีนายทหารประจำการ 3.4 แสนนาย และมีกำลังสำรองอีก 2 แสนนาย ในส่วนยุทโธปกรณ์แยกตามเหล่าทัพ
พบว่า กองทัพบก ประกอบด้วย ปืนประจำกายขนาดต่างๆทั้งปืนพก ปืนเล็กยาว ปืนกล อาก้าหรือเอ็ม 16 ที่เพียงพอต่อกำลังพล ในส่วนปืนใหญ่ และปืนต่อสู้อากาศยาน มีทั้งจากสหรัฐฯ จีน อิสราเอล รัสเซีย ออสเตรีย เบลเยียม และเยอรมนี รวมแล้วมากกว่า 1 พันกระบอก ส่วนรถถังสามารถแบ่งได้เป็น รถถังหลักจากจีนและสหรัฐฯ รวมกว่า 300คัน รถถังเบาจากสหรัฐฯ และอังกฤษ อีกกว่า 400 คัน รถสายพานลำเลียงหุ้มเกราะ บีทีอาร์-3อีไอ จากยูเครน ร่วม 100คัน รถส่งกำลังบำรุง จากสหรัฐฯ จำนวน 340 คัน รถหุ้มเกราะคอมมานโด เอ็ม 706 จากเยอรมนี 138 คัน รถลาดตระเวนจับเรดาร์จากจีนอีกกว่า 450 คัน และยังมีรถหุ้มเกราะรีว่าขับเคลื่อน 4 ล้อจากแอฟริกาใต้ รถหุ้มเกราะอัลวิสซาราเซนต์จากอังกฤษอีกจำนวนหนึ่ง
ในส่วน กองทัพเรือไทย ประกอบด้วย เรือบรรทุกเครื่องบิน 1 ลำ เรือฟรีเกต 10 ลำ เรือโจมตีลำเลียงพล 9 ลำ เรือคอร์เวต 7 ลำ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง 2 ลำเรือตรวจการณ์ 26 ลำ เรือเร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถี 6 ลำ เรือเร็วตรวจการณ์ลำน้ำโขง 77 ลำ เรือช่วยรบ 15 ลำ และเรือวางทุ่นระเบิด 7 ลำ ทั้งยังมีกองบินทหารเรือที่แข็งแกร่ง โดยมีเครื่องบินรบ44 ลำ เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง 14 ลำ เฮลิคอปเตอร์ต่อต้านเรือผิวน้ำ 8 ลำ และนาวิกโยธิน 18,000 นาย ยังไม่นับรวมหน่วยรบพิเศษอีกจำนวนหนึ่ง
ด้าน กองทัพอากาศไทย ต้องบอกว่าแสนยานุภาพทางอากาศของไทยล้วนเต็มไปด้วยอากาศยานระดับสูง ทั้งเอฟ-5 เอฟ-16 อัลฟาเจ็ต แบล็กฮอว์กของสหรัฐฯที่เห็นกันบ่อยๆ ในหนังฮอลลีวูด รวมทั้งเครื่องบินชินุก คอบร้า เชสน่า ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ล้วนแล้วแต่ทันสมัยไม่เป็นรองใครในย่านนี้ นอกจากนี้ยังมีเครื่องบินตรวจการณ์ที่ซื้อจากอิสราเอล และเฮลิคอปเตอร์โจมตีที่ซื้อจากเยอรมนี ฝรั่งเศส และสวิตฯ ส่วนเครื่องบินลำเลียง นอกจาก ซี-130 แล้ว ยังมี บีที-67 ของสหรัฐ จี 222 ของอิตาลี เอชเอส-748 ของอังกฤษ และแอร์บัสของสหภาพยุโรป ที่สำคัญล่าสุดยังมีฝูงบินกริพเพนจากสวีเดนที่เพิ่งรับมอบมาไม่นานอีกด้วย
ขณะที่คู่ต่อกรอย่าง “กองทัพกัมพูชา” มีทหารประจำการราว 1.5-1.7 แสนนาย แต่มีกำลังสำรองถึง 2 แสนนาย ในส่วนแสนยานุภาพด้านการทหารนั้นถูกระบุว่าเข้าขั้น “ล้าสมัย” เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นยุทโธปกรณ์เก่าเก็บตั้งแต่สมัยเขมร 3 ฝ่าย และได้รับบริจาคมาจากรัสเซียและจีน
โดย กองทัพบก ที่ต้องถือว่าเป็นขุมกำลังทรงอานุภาพที่สุดและมี พล.ท.ฮุน มาเนต ทายาทวัย 33 ปีของ ของ “ฮุนเซน” ผู้นำเขมร นั่งเป็นรอง ผบ.ทบ.อยู่ มีเขี้ยวเล็บที่พอดูได้ประกอบด้วย ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน และจรวดต่อสู้อากาศยานหลายขนาด ตั้งแต่ลำกล้อง 105-155 มม. และปืนใหญ่วิถีโค้งขนาด 152 มม. แบบเอ็ม 1955 ด้านรถถังหลัก มีโมเดลไทบ์-59 จากจีนประมาณ 200 คัน ที-55 จากรัสเซียราว100 คัน มีรถถังเบาทั้งจากรัสเซีย จีน และฝรั่งเศส ประมาณ 50 คัน แบบบเอ็มพี-1 จากรัสเซีย 10 คัน รถเกราะสายพาน เอ็ม113เอ1 และเอ3 จากสหรัฐ 20 คัน รถเกราะล้อยางสกุลบีทีอาร์จากรัสเซีย 200 กว่าคัน และรถเกราะล้อยาง โอที-64จากโปแลนด์จำนวน 26 คัน
ขณะที่ กองทัพเรือ ไม่ปรากฎเรือรบหรือเรือบรรทุกเครื่องบิน มีเพียงเรือเร็วโจมตี เรือตรวจการณ์ และเรือลำเลียงสัมภาระ รวมแล้ว 10 กว่าลำเท่านั้น ที่หนักกว่าคือ กองทัพอากาศ ที่มีเครื่องบินประจำการ ได้แก่ มิกของรัสเซีย 2 ลำ เครื่องบินฝึกขับไล่ แอล-39 ซี จากสาธารณรัฐเช็ก จำนวน 6 ลำ เครื่องบินลำเลียงจากจีน รัสเซียและอังกฤษรวม 6 ลำ รวมทั้งเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 2 ลำ ซึ่งจากการข่าวระบุเป็นเสียงเดียวกันว่า ทั้งหมดไม่สามารถทำการบินได้แล้วในปัจจุบัน
เมื่อเทียบกัน “ปอนด์ต่อปอนด์” แล้ว จึงไม่เห็นทางที่กองทัพกัมพูชาจะสร้างความหนักใจให้กับกองทัพไทยได้เลย ยิ่งในด้านอาวุธหนักทั้งหลาย จึงเป็นที่มาของ “พันธนาการ” อาวุธหนักของฝ่ายไทยที่ระบุในสัญญาหยุดยิง เพื่อให้ไม่ได้เปรียบในการปะทะในอนาคตหากเกิดขึ้น นั่นหมายถึงการรบแบบ “กองโจร” ตามแบบฉบับของนายฮุน เซน
แล้วที่แย่หนักคือผู้แทนกองทัพไทยก็ไป “หลงเหลี่ยม” นายฮุนเซนเข้าเสียด้วย
ไม่ต่างกับฝ่ายการเมืองที่ “ไม่ทันเกม” ของนายฮุน เซนในเวทีนานาชาติ แม้ว่าความพยายามในการนำข้อพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชาขึ้นสู่เวทีนานาชาติจะยังไม่สำเร็จตาม “แผนหนึ่ง” ที่สามารถทำให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) เปิดประชุมเร่งด่วนเพื่อเรียกทั้ง 2 คู่ขัดแย้งบินตรงไปชี้แจงถึงนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันแห่งความรัก 14 ก.พ.ที่ผ่านมา เพราะที่ประชุม UNSC เพียงออกข้อเรียกร้องให้ทั้ง 2 ฝ่ายลงนามหยุดยิงถาวรในกรอบ “ทวิภาคี” โดยให้อาเซียนรับหน้าที่พี่เลี้ยงเท่านั้น โดยใช้เวทีการประชุมอาเซียนที่จากาตาร์ ในวันที่ 22 ก.พ.นี้
ไม่ได้เข้ามาแทรกแซง หรือส่งเจ้าหน้าที่มาสังเกตการณ์ตามเป้าหมายที่ฝั่งเขมรวางไว้
โดยแม้ว่าถ้อยแถลงของ “ฮอร์ นัมฮง” รมว.ต่างประเทศ กัมพูชา จะไม่ได้แสดงความไม่พอใจออกมาให้ได้เห็น แต่การบินกลับประเทศทันที ไม่อยู่พูดคุยกับ “กษิต ภิรมย์” รมว.ต่างประเทศของไทย ที่นครนิวยอร์ก ตามที่ได้นัดกันไว้ ก็ถือเป็น “นัย” ที่แสดงถึงการไม่ยอมรับกรอบ “ทวิภาคี” ที่ UNSC เสนอมา
ทำให้นายฮุนเซนงัดกลยุทธ์ “ไพ่สองหน้า” ขึ้นมาเล่นทันที เมื่อส่งซิกให้กองกำลังทหารยั่วยุโจมตีฐานทัพไทย บริเวณชายแดน จ.ศรีสะเกษ ตลอดคืนวันที่ 14-15 ก.พ. หลังจากได้รับทราบผลการประชุม UNSC เพียงวันเดียว จน UNSCต้องออกแถลงการณ์อีกฉบับย้ำให้ทั้ง 2 ฝ่ายอดทนอดกลั้นไม่ใช้กำลังหรือความรุนแรงใดๆในการแก้ปัญหา เพื่อหลีกเลี่ยงการนำไปสู่สถานการณ์ที่เลวร้ายลง
ทางด้านพี่เลี้ยงอย่างอาเซียนก็มองออก โดย “มาร์ตี นาตาเลกาวา” รมว.ต่างประเทศ อินโดนีเซีย ในฐานะประธานอาเซียน ออกมาระบุเองว่า ทั้ง 2 ประเทศ มีความคิดที่แตกต่างกันสิ้นเชิง โดยฝ่ายหนึ่งต้องการแก้ไขปัญหาผ่านแนวทางพหุภาคี ส่วนอีกฝ่าย ต้องการแก้ปัญหาในระดับทวิภาคี
ไม่เท่านั้นนายฮุน เซนยังเตรียมเปิด “เกมใหม่” โดยระบุเมื่อวันที่ 17 ก.พ.ที่ผ่านมาว่า หาก UNSC ไม่แสดงบทบาทที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ กัมพูชาก็มีทางเดินของตัวเอง โดยจะฟ้องไปยัง “ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ” (International Court of Justice: ICJ) หรือ “ศาลโลก” เพื่อให้พิจารณาคำพิพากษาในคดีปราสาทพระวิหาร เมื่อปี2505 ชี้ขาดเรื่องดินแดนอีกครั้ง
จิ้งจอกฮุน เซนมา “หางโผล่” เปิดหน้าเล่นแบบสุดๆ เมื่อสื่อกัมพูชารายงานข่าวว่า นายกฯเขมรไม่พอใจท่าทีที่ไทยประกาศชัยชนะในเวที UNSC พร้อมทั้งย้ำว่า การปะทะที่ผ่านมาคือสงคราม ไม่ใช่การปะทะกันเล็กน้อยอย่างที่นายกฯไทยกล่าวอ้าง
“สงครามในครั้งนี้มันใหญ่เกินกว่าที่อาเซียนจะเข้ามาไกล่เกลี่ย รมว.ต่างประเทศอินโดนีเซีย คือใคร รมว.ต่างประเทศไทย คือใคร จะมาสั่งให้กัมพูชาเข้าร่วมประชุมฯ ซึ่งเป็นความต้องการของไทยไม่ใช่ความต้องการของกัมพูชา ปัญหามีมาตั้งหลายปีอาเซียนไม่เห็นเข้ามาแก้ไข UNSC ควรเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นและควรจะส่งกองกำลังสันติภาพเข้ามาดูแลและแก้ไขปัญหาชายแดนปราสาทพระวิหาร” สื่ออ้างคำกล่าวผู้นำเขมร
“เกินกว่าอาเซียน - ใครมาบังคับร่วมประชุมไม่ได้ - ให้ UN ส่งกองกำลังเข้ามา” หงายไพ่เล่นกันตรงๆ เลยทีเดียว
และในขณะที่ฝ่ายไทยไม่ทันระวัง เขมรก็เตรียมเดินหน้า “แผนสอง” ที่ค้างคาอยู่ในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกให้สำเร็จในเดือน มิ.ย.นี้ โดยอ้างว่ามีข้อตกลงหยุดยิงแล้วทำให้เป็น “พื้นที่สันติภาพถาวร” หวังให้คณะกรรมการรับรองแผนบริหารจัดการพื้นที่ ซึ่งรวมถึง 4.6 ตร.กม.ที่เป็นของไทยด้วย นั่นหมายถึงการสูญเสียดินแดนอย่างถาวร และเป็น “หลักหมุดแรก” ที่จะทำให้สูญเสียดินแดนอีกในอนาคตตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน รวมทั้งพื้นที่ทางทะเลที่มีทรัพยากรมหาศาล
ยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไร ยิ่งเห็นชัดว่าทั้งรัฐบาลนี้และกองทัพมีนโยบายที่ไม่ “ทันเกม” ทำได้เพียงตั้งรับ โดยปล่อยให้ฝ่ายเขมรเปิด “เกมใหม่” รุกไล่อย่างต่อเนื่อง ทั้งในเวทีทวิภาคีหรือในเวทีนานาชาติก็ตาม ทั้งที่แสนยานุภาพทางทหารและอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจในมือก็มีมากมาย แต่กลับไม่นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์
ยอมเป็น “ลูกแกะสยาม” ที่ถูก “จิ้งจอกฮุนเซน” รุกไล่ไม่เลิกรา
ดังนั้นที่ว่ากันว่าผลประโยชน์ “ติดคอ” คนในระดับตัดสินใจก็คงไม่ไกลจากความจริงเท่าไรนัก