เครือข่ายอีสานกู้ชาติ ยื่นศาล รธน.หยุดปฏิบัติหน้าที่ ระงับพิจารณาคำร้องเพื่อไทย ยื่นตีความร่างแก้ไข รธน.ขัดข้อบังคับประชุมสภา ชี้ ไม่มีอำนาจเหตุ พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาล รธน.ยังไม่คลอด ระบุ หากดึงดันเจอเล่นอาญาแน่ ด้านศาล รธน.เตรียมพิจารณารับไม่รับพุธนี้
วันนี้ (21 ก.พ.) นายเศวต ทินกูล อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ตัวแทนเครือข่ายอีสานกู้ชาติ กล่าวภายหลังเข้ายื่นหนังสือต่อสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญระงับการพิจารณาความชั่วคราว โดยเฉพาะกรณีประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งคำร้องของสมาชิกพรรคเพื่อไทย ที่ขอให้วินิจฉัยว่าการร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 190 และร่างแก้ไขมาตรา 93-98 ขัดต่อข้อบังคับการประชุมรัฐสภามาตรา 86 หรือไม่ โดยระบุว่า รัฐธรรมนูญบัญญัติให้การพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ เป็นไปตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะต้องตราให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่รัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับ แต่จนถึงขณะนี้เวลาล่วงมากว่า 3 ปีเศษ แล้ว พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ก็ยังตราไม่แล้วเสร็จ จึงเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจพิจารณาความและวินิจฉัยคำร้องดังกล่าวรวมทั้งคดี หรือคำร้องใดๆ เพราะถือเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ และเป็นการกระทำความผิดกฎหมายอาญาหลายบท
“ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรค 5 บัญญัติให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาด ผูกพันทุกองค์กร ดังนั้นคณะตุลาการฯต้องตระหนักไว้ให้มากว่าการที่ยังคงใช้ข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญูที่มีอยู่เดิมในการพิจารณาคดีต่างๆ ย่อมมีผลให้เรื่องต่างๆ ที่พิจารณากลายเป็นโมฆะ และถ้าหากคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญยังดึงดันไม่ระงับการพิจารณาคดีใดไว้ก่อน หรือไม่ยอมหยุดปฏิบัติหน้าที่ โดยจะยังคงพิจารณาคำร้องแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งมา ทางเครือข่ายก็จะไปแจ้งความเอาผิดต่อกองปราบปรามทันที”
อย่างไรก็ตาม นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าจะมีการบรรจุเข้าวาระการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในวันพุธที่ 23 ก.พ.นี้ เพื่อให้คณะตุลาการฯพิจารณาว่าจะรับหรือไม่ไว้พิจารณา
วันนี้ (21 ก.พ.) นายเศวต ทินกูล อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ตัวแทนเครือข่ายอีสานกู้ชาติ กล่าวภายหลังเข้ายื่นหนังสือต่อสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญระงับการพิจารณาความชั่วคราว โดยเฉพาะกรณีประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งคำร้องของสมาชิกพรรคเพื่อไทย ที่ขอให้วินิจฉัยว่าการร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 190 และร่างแก้ไขมาตรา 93-98 ขัดต่อข้อบังคับการประชุมรัฐสภามาตรา 86 หรือไม่ โดยระบุว่า รัฐธรรมนูญบัญญัติให้การพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ เป็นไปตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะต้องตราให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่รัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับ แต่จนถึงขณะนี้เวลาล่วงมากว่า 3 ปีเศษ แล้ว พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ก็ยังตราไม่แล้วเสร็จ จึงเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจพิจารณาความและวินิจฉัยคำร้องดังกล่าวรวมทั้งคดี หรือคำร้องใดๆ เพราะถือเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ และเป็นการกระทำความผิดกฎหมายอาญาหลายบท
“ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรค 5 บัญญัติให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาด ผูกพันทุกองค์กร ดังนั้นคณะตุลาการฯต้องตระหนักไว้ให้มากว่าการที่ยังคงใช้ข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญูที่มีอยู่เดิมในการพิจารณาคดีต่างๆ ย่อมมีผลให้เรื่องต่างๆ ที่พิจารณากลายเป็นโมฆะ และถ้าหากคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญยังดึงดันไม่ระงับการพิจารณาคดีใดไว้ก่อน หรือไม่ยอมหยุดปฏิบัติหน้าที่ โดยจะยังคงพิจารณาคำร้องแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งมา ทางเครือข่ายก็จะไปแจ้งความเอาผิดต่อกองปราบปรามทันที”
อย่างไรก็ตาม นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าจะมีการบรรจุเข้าวาระการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในวันพุธที่ 23 ก.พ.นี้ เพื่อให้คณะตุลาการฯพิจารณาว่าจะรับหรือไม่ไว้พิจารณา