สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เตรียมชง ครม.ตามข้อเสนอ ป.ป.ช. เรื่องการแต่งตั้ง ขรก.ระดับสูง ขรก.รัฐวิสาหกิจ ซึ่งขัดต่อกฎหมายเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน พร้อมสั่งโละระเบียบพาคู่สมรส-ผู้ติดตาม บอร์ดรัฐวิสาหกิจผลาญงบทัวร์นอก
วันนี้ (23 ม.ค.) รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุม ครม.พรุ่งนี้ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เสนอให้ ครม.พิจารณาตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เสนอมาตรการป้องกันการทุจริตของรัฐวิสาหกิจ เรื่องการแต่งตั้งข้าราชการะดับสูงหรือบุคคลดำรงตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสหากิจหลายแห่ง เพื่อให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติราชการหรือวางแผนโครงการของส่วนราชการ เพื่อป้องกันหรือปราบปรามการทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม
ทั้งนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช.รายงานว่า ได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงหลายคนดำรงตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสหากิจเกินกว่า 3 แห่ง เป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามติ ครม.เมื่อวันที่ 13 พ.ค.2523 และขัดต่อ พ.ร.บ.มาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งมีผลทำให้ประสิทธิภาพ การทำงานทั้งงานในหน้าที่ส่วนราชการต้นสังการและหน้าที่กรรมการของรัฐวิสหากิจลดลง และอาจมีปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนในการทำหน้าที่ ในส่วนราชการต้นสังกัดกับหน้าที่กรรมการในรัฐวิสาหกิจอีกด้วย และกรณีร้องเรียนการกำหนดระเบียบหรือข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน โดยเฉพาะการเดินทางไปราชการต่างประเทศของกรรมการและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจบางแห่งที่อนุญาตให้นำผู้ติดตามหรือคู่สมรสที่ไม่ได้เป็นผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสหากิจร่วมเดินทางไปด้วย และสามารถเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้
ทั้งนี้ การกำหนดระเบียบหรือข้อบังคับดังกล่าว ไม่น่าจะถูกต้องหรือมีการบิดผันของระเบียบหรือกฎหมาย ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการของรัฐวิสหากิจมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเพื่อป้องกันการเข้าไปแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากรัฐวิสหากิจ คณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงเห็นสมควรเสนอมาตรการป้องกันการทุจริตของรัฐวิสาหกิจ ดังนี้ 1.มาตรการระยะสั้น ได้แก่ 1.1 ห้ามผู้มีอำนาจแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ผู้ใดเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจและหรือนิติบุคคลที่รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ถือหุ้นเกินกว่า 3 แห่ง โดยให้นับรวมถึงการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งและการได้รับมอบหมายให้ปฏิบติราชการแทนในตำแหน่งกรรมการด้วย
ในกรณีผู้ใดเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจและหรือนิตบุคคลที่รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในวันที่ ครม.มีมติเกินกว่า 3 แห่ง ให้ลาออก หรือให้ผู้มีอำนาจสั่งให้ออกจากตำแหน่งกรรมการเพื่อให้เหลือไม่เกิน 3 แห่ง 1.2 ห้ามผู้มีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการสำนักหรือเทียบเท่าขึ้นไปในส่วนราชการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วย รอง หรือผู้บริหารสูงสุดในรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุม กำกับ ทั้งด้านนโยบายและด้านการปฏิบัติ เป็นประธานกรรมการหรือกรรมในรัฐวิสหากิจหรือนิติบุคคลที่รัฐวิสาหกิจถือหุ้น ซึ่งเป็นรัฐวิสหากิจหรือบริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ดำเนินการเกี่ยวกับสาธารณูปโภคและมีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรรวมอยู่ด้วย ซึ่งอยู่ในการควบคุม กำกับหรือดูแล 1.3 ห้าม ผู้มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐในองค์กรตามรัฐธรรมนูญฯ หมวดที่ 11 ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบและดำเนินคดีเป็นประธานกรรมกาหรรือกรรมการในรัฐวิสาหกิจและหรือนิติบุคคลที่รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ถือหุ้น 1.4 ให้กระทรวงการคลัง มีการศึกษาทบทวนและปรับปรุงกระบวนการ วิธีการสรรหา คัดเลือกและจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิหรือกรรมการรัฐวิสาหกิจให้สมบูรณ์ รัดกุม โปร่งใส และให้เหมาะสม เพื่อให้ได้บัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิหรือกรรมการรัฐวิสาหกิจตรงกับความเชี่ยวชาญในด้านที่กำหนดไว้อย่างแท้จริง 1.5 ให้กำหนดเป็นหลักการ ในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติราชการ โดยห้ามรัฐวิสาหกิจทุกแห่งกำหนดระเบียบหรือข้อบังคับให้สามารถเบิกจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ให้แก่คู่สมรสหรือผู้ติดตามที่ไม่ได้มีหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจ ที่ร่วมเดินทางไปกับผู้ปฏิบติงาน หากรัฐวิสหสากิจใดได้กำหนดไว้แล้วก่อนที่ ครม.มีมติก็ให้ยกเลิกหรือแก้ไขปรับปรุงระเบียบหรือข้อบังคับดังกล่าวภายใน 30วันนับแต่วันที่ ครม.มีมติ
รวมถึงห้ามรัฐวิสาหกิจทุกแห่งกำหนดระเบียบหรือข้อบังคับอื่นในลักษณะเดียวกันซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่คู่สมรสหรือบุคคลใด ๆ ที่ไม่ได้เป็นผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจนั้นด้วย 2. มาตรการระยะยาว ได้แก่ 2.1ให้ศึกษา ทบทวน วิเคราะห์ทบทวนหน้าที่ของหน่วยงานทั้งหมดในฐานะผู้คุมกุมและผู้ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ในการจัดตั้งและแยกอำนาจหน้าที่ในด้านการคุมกฎและผู้ปฏิบัติออกจากกันให้ชัดเจนในอนาคต 2.2 กำหนดให้มีกลไกทางสังคมที่ชัดเจนในการตรวจสอบการดำเนินการของรัฐวิสาหกิจเพื่อให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล 2.3สมควรแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสหากิจพ.ศ. 2518 ในประเด็นต่าง ๆและกำหนดแนวทางในการดำเนินการกรณีการกระทำผิดจรรยาบรรณไว้ถือปฏิบัติดังนี้ คือ (1) แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่จะเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ โดยกำหนดเพิ่มว่า “บุคคลที่จะดำรงตำแหน่งกรมการในรัฐวิสหากิจฯ ที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับสาธารณูปโภคและมีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรรวมอยู่ด้วย ต้องไม่เป็นผู้บริหารหรือข้าราชการในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุม กำกับ ดูแล ทั้งในด้านนโยบายและด้านการปฏิบัติ หรือต้องพ้นจากตำแหน่งผุ้บิรหารหรือข้าราชการในส่วนราชการหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมฯ มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี” (2) แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 8 วรรคสอง ท่ำหนดว่า” กรรมการรัฐวิสาหกิจที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่งตามกฎหมายหรือพ.ร.ฎ.ให้อยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้ “ เป็น “กรรมการรัฐวิสาหกิจที่มิใช่กรรมการโดยตำแนห่งตามกฎหมายหรือพ.ร.ฎ.ให้อยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปีแต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน” (3) แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 12/1 วรรคแรก ที่กำหนดว่า “ในการแต่งตั้งกรรมการอื่นที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่งในรัฐวิสาหกิจแห่งใดให้ผู้มีอำนาจพิจาณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการ ที่ กค.จัดทำขึ้นไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น” เป็น”..........ให้ผู้มีอำนาจพิจารราแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานั้นๆ ที่กค. จัดทำขึ้นไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น และห้ามผู้มีอำนาจแต่งตั้งสั่งให้ผู้นั้นออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ เว้นแต่การพ้นตำแหน่งตามมาตรา 8(1) (2) (3) หรือตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายสำหรับรัฐวิสาหกิจนั้น
อย่างไรก็ตาม มีหลายส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้ความเห็นไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของคณะกรรมการ ป.ป.ช.บางประการ โดยมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เช่น สำนักงาน ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงานงบประมาณ เห็นว่าการมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ในสักงัดเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ถือว่าเป็นวีธีการหนึ่งในการกำกับดูแลกิจการของรัฐวิสาหกิจ เพื่อเป็นการักษาประโยชน์รัฐและประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล ครม.อาจเห็นชอบให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงหรือผู้บริหารในรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุม กำกับทั้งด้านนโยบายและการปฏิบัติเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจฯได้ไม่เกิน 1 คน และไม่ควรดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการ ส่วนการเบิกจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พักหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ของคู่สมรสหรือผู้ติดตาม ครม.อาจกำหนดเป็นนโยบายเพื่อให้รัฐวิสาหกิจไปปรับปรุงแก้ไขระเบียบตามมาตรการคณะกรรมการ ป.ป.ช.เสนอ ทั้งนี้สำนักงานปลัดสำนักนายกฯ เห็นว่า การไปกำหนดสัดส่วนกรรมการเป็นไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นเป็นการก้าวล่วงเข้าไปในการบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจมากเกินไป จะทำให้การบริหารจัดการไม่คล่องตัวผิดวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์กรในรูปรัฐวิสาหกิจ
วันนี้ (23 ม.ค.) รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุม ครม.พรุ่งนี้ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เสนอให้ ครม.พิจารณาตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เสนอมาตรการป้องกันการทุจริตของรัฐวิสาหกิจ เรื่องการแต่งตั้งข้าราชการะดับสูงหรือบุคคลดำรงตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสหากิจหลายแห่ง เพื่อให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติราชการหรือวางแผนโครงการของส่วนราชการ เพื่อป้องกันหรือปราบปรามการทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม
ทั้งนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช.รายงานว่า ได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงหลายคนดำรงตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสหากิจเกินกว่า 3 แห่ง เป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามติ ครม.เมื่อวันที่ 13 พ.ค.2523 และขัดต่อ พ.ร.บ.มาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งมีผลทำให้ประสิทธิภาพ การทำงานทั้งงานในหน้าที่ส่วนราชการต้นสังการและหน้าที่กรรมการของรัฐวิสหากิจลดลง และอาจมีปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนในการทำหน้าที่ ในส่วนราชการต้นสังกัดกับหน้าที่กรรมการในรัฐวิสาหกิจอีกด้วย และกรณีร้องเรียนการกำหนดระเบียบหรือข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน โดยเฉพาะการเดินทางไปราชการต่างประเทศของกรรมการและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจบางแห่งที่อนุญาตให้นำผู้ติดตามหรือคู่สมรสที่ไม่ได้เป็นผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสหากิจร่วมเดินทางไปด้วย และสามารถเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้
ทั้งนี้ การกำหนดระเบียบหรือข้อบังคับดังกล่าว ไม่น่าจะถูกต้องหรือมีการบิดผันของระเบียบหรือกฎหมาย ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการของรัฐวิสหากิจมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเพื่อป้องกันการเข้าไปแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากรัฐวิสหากิจ คณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงเห็นสมควรเสนอมาตรการป้องกันการทุจริตของรัฐวิสาหกิจ ดังนี้ 1.มาตรการระยะสั้น ได้แก่ 1.1 ห้ามผู้มีอำนาจแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ผู้ใดเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจและหรือนิติบุคคลที่รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ถือหุ้นเกินกว่า 3 แห่ง โดยให้นับรวมถึงการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งและการได้รับมอบหมายให้ปฏิบติราชการแทนในตำแหน่งกรรมการด้วย
ในกรณีผู้ใดเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจและหรือนิตบุคคลที่รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในวันที่ ครม.มีมติเกินกว่า 3 แห่ง ให้ลาออก หรือให้ผู้มีอำนาจสั่งให้ออกจากตำแหน่งกรรมการเพื่อให้เหลือไม่เกิน 3 แห่ง 1.2 ห้ามผู้มีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการสำนักหรือเทียบเท่าขึ้นไปในส่วนราชการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วย รอง หรือผู้บริหารสูงสุดในรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุม กำกับ ทั้งด้านนโยบายและด้านการปฏิบัติ เป็นประธานกรรมการหรือกรรมในรัฐวิสหากิจหรือนิติบุคคลที่รัฐวิสาหกิจถือหุ้น ซึ่งเป็นรัฐวิสหากิจหรือบริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ดำเนินการเกี่ยวกับสาธารณูปโภคและมีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรรวมอยู่ด้วย ซึ่งอยู่ในการควบคุม กำกับหรือดูแล 1.3 ห้าม ผู้มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐในองค์กรตามรัฐธรรมนูญฯ หมวดที่ 11 ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบและดำเนินคดีเป็นประธานกรรมกาหรรือกรรมการในรัฐวิสาหกิจและหรือนิติบุคคลที่รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ถือหุ้น 1.4 ให้กระทรวงการคลัง มีการศึกษาทบทวนและปรับปรุงกระบวนการ วิธีการสรรหา คัดเลือกและจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิหรือกรรมการรัฐวิสาหกิจให้สมบูรณ์ รัดกุม โปร่งใส และให้เหมาะสม เพื่อให้ได้บัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิหรือกรรมการรัฐวิสาหกิจตรงกับความเชี่ยวชาญในด้านที่กำหนดไว้อย่างแท้จริง 1.5 ให้กำหนดเป็นหลักการ ในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติราชการ โดยห้ามรัฐวิสาหกิจทุกแห่งกำหนดระเบียบหรือข้อบังคับให้สามารถเบิกจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ให้แก่คู่สมรสหรือผู้ติดตามที่ไม่ได้มีหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจ ที่ร่วมเดินทางไปกับผู้ปฏิบติงาน หากรัฐวิสหสากิจใดได้กำหนดไว้แล้วก่อนที่ ครม.มีมติก็ให้ยกเลิกหรือแก้ไขปรับปรุงระเบียบหรือข้อบังคับดังกล่าวภายใน 30วันนับแต่วันที่ ครม.มีมติ
รวมถึงห้ามรัฐวิสาหกิจทุกแห่งกำหนดระเบียบหรือข้อบังคับอื่นในลักษณะเดียวกันซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่คู่สมรสหรือบุคคลใด ๆ ที่ไม่ได้เป็นผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจนั้นด้วย 2. มาตรการระยะยาว ได้แก่ 2.1ให้ศึกษา ทบทวน วิเคราะห์ทบทวนหน้าที่ของหน่วยงานทั้งหมดในฐานะผู้คุมกุมและผู้ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ในการจัดตั้งและแยกอำนาจหน้าที่ในด้านการคุมกฎและผู้ปฏิบัติออกจากกันให้ชัดเจนในอนาคต 2.2 กำหนดให้มีกลไกทางสังคมที่ชัดเจนในการตรวจสอบการดำเนินการของรัฐวิสาหกิจเพื่อให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล 2.3สมควรแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสหากิจพ.ศ. 2518 ในประเด็นต่าง ๆและกำหนดแนวทางในการดำเนินการกรณีการกระทำผิดจรรยาบรรณไว้ถือปฏิบัติดังนี้ คือ (1) แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่จะเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ โดยกำหนดเพิ่มว่า “บุคคลที่จะดำรงตำแหน่งกรมการในรัฐวิสหากิจฯ ที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับสาธารณูปโภคและมีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรรวมอยู่ด้วย ต้องไม่เป็นผู้บริหารหรือข้าราชการในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุม กำกับ ดูแล ทั้งในด้านนโยบายและด้านการปฏิบัติ หรือต้องพ้นจากตำแหน่งผุ้บิรหารหรือข้าราชการในส่วนราชการหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมฯ มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี” (2) แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 8 วรรคสอง ท่ำหนดว่า” กรรมการรัฐวิสาหกิจที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่งตามกฎหมายหรือพ.ร.ฎ.ให้อยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้ “ เป็น “กรรมการรัฐวิสาหกิจที่มิใช่กรรมการโดยตำแนห่งตามกฎหมายหรือพ.ร.ฎ.ให้อยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปีแต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน” (3) แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 12/1 วรรคแรก ที่กำหนดว่า “ในการแต่งตั้งกรรมการอื่นที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่งในรัฐวิสาหกิจแห่งใดให้ผู้มีอำนาจพิจาณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการ ที่ กค.จัดทำขึ้นไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น” เป็น”..........ให้ผู้มีอำนาจพิจารราแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานั้นๆ ที่กค. จัดทำขึ้นไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น และห้ามผู้มีอำนาจแต่งตั้งสั่งให้ผู้นั้นออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ เว้นแต่การพ้นตำแหน่งตามมาตรา 8(1) (2) (3) หรือตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายสำหรับรัฐวิสาหกิจนั้น
อย่างไรก็ตาม มีหลายส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้ความเห็นไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของคณะกรรมการ ป.ป.ช.บางประการ โดยมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เช่น สำนักงาน ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงานงบประมาณ เห็นว่าการมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ในสักงัดเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ถือว่าเป็นวีธีการหนึ่งในการกำกับดูแลกิจการของรัฐวิสาหกิจ เพื่อเป็นการักษาประโยชน์รัฐและประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล ครม.อาจเห็นชอบให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงหรือผู้บริหารในรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุม กำกับทั้งด้านนโยบายและการปฏิบัติเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจฯได้ไม่เกิน 1 คน และไม่ควรดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการ ส่วนการเบิกจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พักหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ของคู่สมรสหรือผู้ติดตาม ครม.อาจกำหนดเป็นนโยบายเพื่อให้รัฐวิสาหกิจไปปรับปรุงแก้ไขระเบียบตามมาตรการคณะกรรมการ ป.ป.ช.เสนอ ทั้งนี้สำนักงานปลัดสำนักนายกฯ เห็นว่า การไปกำหนดสัดส่วนกรรมการเป็นไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นเป็นการก้าวล่วงเข้าไปในการบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจมากเกินไป จะทำให้การบริหารจัดการไม่คล่องตัวผิดวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์กรในรูปรัฐวิสาหกิจ