xs
xsm
sm
md
lg

ตึกยาวร้อยปี คนสร้างตึก ตึกสร้างคน คนสร้างชาติ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


“เห็นเรือนเหลืองยาว ช่างงามอะคร้าว เด่นดู เหมือนดาว พราวสุกใส"

“เรือนเหลืองยาว” ในท่อนสุดท้ายของเพลงฟ้า-ชมพู คุ่ใจ หนึ่งในเพลงประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ก็คือ “ ตึกยาว” หรือ อาคารสวนกุหลาบ ซึ่งทอดยาวไปตามแนวถนนตรีเพชร จากโรงเรียนเพาะช่าง ไปจรดเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ความยาวเกือบ 200 เมตร

สมัยที่เรายังเป็นเด็กเล็ก สิ่งต่างๆแลดูกว้างใหญ่กว่าเมื่อแลเห็นตอนโตแล้ว “ ตึกยาว” เมื่อ พ.ศ. 2516 ในสายตาของนักเรียน ม.ศ. 1 ที่เพิ่งก้าวเข้ามาสู่รั้ว ชมพู-ฟ้า ช่างดูอลังการยิ่งนัก เฉลียงทางเดิน ด้านในของตัวตึก ที่โค้งเข้าหาสนามฟุตบอล จากฝั่งพาหุรัดไปฝั่งปากคลองตลาด ช่างยาวไกลเหลือเกิน เป็นความตื่นตาตื่นใจ ในขณะนั้น

ตึกยาวเมื่อปี 2516-2517 เป็นช่วงสุดท้ายของการเปิดใช้งาน ก่อนที่จะปิดพื้นที่ส่วนใหญ่ เพราะตัวตึกทรุด ทางโรงเรียนเกรงว่า จะเป็นอันตราย จึงปิดส่วนที่เป็นห้องเรียน เพื่อรอการบุรณะ เหลือไว้เพียงชั้นบนที่เป็นห้องทำงานของฝ่ายบริหาร ในยุคนั้น มีอาจารย สุวรรณ จันทร์สม เป็นผู้อำนวยการ และส่วนที่เป็นห้องสมุด ที่อยู่ฝั่งขวาสุด ด้านปากคลองตลาด

ห้องสมุดโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว มีหนังสือที่หลากหลายมาก นอกจากหนังสือเรียนแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นหนังสืออ่าน ที่มีเนื้อหาที่กว้างขวางหลากหลายกว่า เรื่องที่เรียนกันอยุ่ในห้องเรียน เช่น หนังสือทฤษฎีการเมือง ที่แต่งโดยอาจารย์ จรูญ สุภาพ แห่งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย หนังสือปรัชญาชีวิต ของคาริล ยิบราน ที่แปลโดย ระวี ภาวิไล หนังสือนวนิยายของสุวรรณี สุคนธา กฤษณา อโศกสิน วรรณกรรมเรื่องสี่แผ่นดิน ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นิยายชุด บ้านเล็กในป่าใหญ่ ฯลฯ

ห้องสมุดบนชั้นสองของตึกยาวจึงเป็นโลกอันกว้างใหญ่นอกห้องเรียน และ การเข้าห้องสมุดก็มักจะถูกใช้เป็นข้ออ้าง ที่ฟังดูชอบธรรม สำหรับการโดดเรียนเสมอ นอกเหนือจากข้อแก้ตัวอีกข้อหนึ่งคือ ไปเชียร์บอล

ตึกยาวถูกปิดไปนานถึงยี่สิบกว่าปี และทำท่าว่าจะต้องปิดเป็นการถาวรตลอดไปเสียแล้ว เพราะไม่มีงบประมาณในการซ่อมแซมบูรณะ จนกระทั่งในปี สมัยรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา ศิษย์เก่าสวนกุหลาบคนหนึ่งคือเนวิน ชิดชอบ ได้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่ากากรระทรวงการคลัง จึงได้จัดสรรงบประมาณ 136 ล้านบาท เพื่อบูรณะตึกยาว เมื่อปี 2540 โดยใช้เวลา 2 ปี จึงเสร็นสินในปี 2542

ปีนี้ เรือนเหลืองยาว หลังนี้ จะมีอายุครบ 100 ปี ในวันที่ 25 มิถุนายน 2554 การเฉลิมฉลอง วาระชาตกาล ตึกยาว ภายใต้ชื่อ “ มหัศจรรย์รำลึก ตึกยาว ร้อยปี คนสร้างตึก ตึกสร้างคน คนสร้างชาติ” ดำเนินมาต้งแต่เดือนมิถุนายนปีที่แล้ว มีการจัดนิทรรศการ การแสดงดนตรี การจัดกิจกรรมหาทุน มาอย่างต่อเนื่อง และในวันที่ 25 มิถุนายน 2554 สมเด้จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จฯ ทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์การศึกษา และการแสดงแสงสีเสียง ในโอกาสครอบรอบ 100 ปีตึกยาว

ประวัติสั้นๆ ของตึกยาว

อาคารสวนกุหลาบ
หรือ ตึกยาว เป็นอาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ซึ่งเคยใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมระดับชาติหลายครั้ง เช่น การจัดงานศิลปหัตถกรรม สังคมนิทรรศน์ วิทยาศาสตร์สัมพันธ์ เป็นต้น และนับเป็นอาคารเรียนที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ สมาคมสถาปนิกสยาม ยังยกย่องให้เป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2543 ด้วย

อาคารสวนกุหลาบ เริ่มก่อสร้างราวกลางปี พ.ศ. 2453 โดยมี หลวงราชายาสาธก มรรคนายก วัดราชบุรณราชวรวิหาร เป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้าง และ นายเอง เลียงหยง เป็นผู้รับเหมา ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 30,110 บาท เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) เป็นประธานในพิธีเปิด และพิธีทำบุญโรงเรียน เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2454 โดยกรมศึกษาธิการ ทำสัญญาเช่า ซึ่งระบุให้จ่ายค่าเช่าแก่วัดราชบูรณะ ในอัตราร้อยละ 7.5 ของเงินลงทุน รวมค่าเช่าสงฆ์ 2,258.25 บาท ต่อปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 และกำหนดส่งมอบอาคาร ในวันที่ 11 กรกฎาคม ปีเดียวกันนั้น

อาคารสวนกุหลาบ ก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมยุโรปแบบนีโอคลาสสิก ซึ่งเป็นที่นิยมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตัวอาคารทอดยาว ตามแนวถนนตรีเพชร ผนังอาคารด้านติดถนน ชั้นล่างเป็นแนวหน้าต่างโค้ง ส่วนชั้นบน ถอยร่นผนังเข้าไป อยู่หลังแนวซุ้มโค้งที่เป็นทางเดิน ช่องทางเข้าสู่โรงเรียน สร้างเป็นหลังคาจั่ว ตกแต่งด้วยปัลลาเดียนโมทิฟ ตามแบบของวิลลา ที่ออกแบบโดย อันเดรอา ปัลลาดีโอ ผนังด้านภายในโรงเรียน เป็นแนวทางเดินซุ้มโค้ง (อาเขต) ยาวตลอดทั้งสองชั้น ตัวอาคารมีความยาวทั้งสิ้น 198.35 เมตร กว้าง 11.35 เมตร หลังคามุงด้วยกระเบื้องลอนสีเทา มี 37 ห้อง ชั้นบน 19 ห้อง ชั้นล่าง 18 ห้อง ภายในกั้นเป็นห้องขนาด 15x9 เมตร 1 ห้อง สลับกับห้องขนาด 7x9 เมตร 2 ห้อง ตลอดความยาวของอาคาร มีประตู 164 บาน มีหน้าต่าง 166 บาน มีบันได 12 แห่ง มีช่องลูกกรงไม้ 54 แห่ง

ปัจจุบันด้านล่างเป็นพิพิธภัณฑ์การศึกษาแห่งชาติ และด้านบนใช้เป็นห้องเรียน


กำลังโหลดความคิดเห็น