กรรมการสิทธิมนุษยชนยอมรับจากการประเมินผลงานในรอบ 6 เดือน เพื่อสานต่อข้อร้องเรียนยังไม่คืบ เตรียมปรับยุทธศาสตร์เชิงรุก ตั้งอนุกรรมการระดับจังหวัด เพื่อต่อแขนขาให้ยาวขึ้น เบื้องตั้งให้ผู้ว่าจังหวัดเป็นเจ้าภาพคัดเลือกเจ้าหน้าที่
วันนี้ (4 ม.ค.) พล.ต.อ.วันชัย ศรีนวลนัด กรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) ด้านสิทธิในกระบวนการยุติธรรม กล่าวถึงการประเมินการทำงาน 6 เดือนที่ผ่านมาของ กสม.ด้านสิทธิในกระบวนการยุติธรรมว่า เรื่องที่ร้องเรียนเข้ามายังไม่ก้าวหน้าไปอย่างที่ตั้งใจไว้ ซึ่งภายในปีนี้จะมีการปรับปรุงการดำเนินงานให้เป็นไปในแนวเชิงรุกมากขึ้น ตนจะเสนอให้มีการตั้งเจ้าหน้าที่คณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาในแต่ละจังหวัดขึ้นมาทำงาน โดยอาศัยบุคลากรของหน่วยงานราชการ 8 หน่วยในจังหวัด เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าหน้าที่คุมประพฤติ ทนายความ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้จะขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ตั้ง เพื่อต่อแขนต่อขาให้กับทาง กสม. เนื่องจากปัญหาที่ร้องเรียนบางปัญหาเกิดขึ้นในต่างพื้นที่ ซึ่งก็จะมีเจ้าหน้าที่ของกสม.จากส่วนกลางทำหน้าที่เป็นเลขานุการ
พล.ต.อ.วันชัย กล่าวต่อว่า ขณะนี้เป็นการเริ่มต้นของโครงการ จึงจำเป็นต้องอาศัยส่วนราชการก่อน และจะขยายไปในส่วนของเอกชน หาก กสม.ด้านสิทธิในกระบวนการยุติธรรมไม่ดำเนินการอย่างนั้นก็ไม่มีทางเลือก เพราะจำเป็นต้องมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยคณะอนุกรรมการก็จะเป็นเจ้าหน้าที่ที่ทำงานปกติก็ได้เงินเดือนของหลวง แต่ก็ได้มีระเบียบค่าใช้จ่าย ค่าเหนื่อยตามระเบียบราชการ หรือเบี้ยการประชุมให้แก่เจ้าหน้าที่คณะอนุกรรมการดังกล่าว
“โดยขั้นตอนต่อไปผมจะประสานไปยังปลัดกระทรวงมหาดไทยก่อน แต่ก็ยังอยากพบ รมว.มหาดไทยสักครั้ง เพื่อให้กระจายแนวคิด ซึ่งจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือ เพราะเราทำในเชิงดี และเรื่องสิทธิเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น อันดับแรกจึงต้องทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ของรัฐก่อน เพื่อนำไปแนะนำให้กับประชาชนได้อย่างถูกต้อง แต่ก็มีบางครั้งที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบางคน ใช้อำนาจหน้าที่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เช่น การตรวจค้นบ้านของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีหมายศาลดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย” พล.ต.อ.วันชัย กล่าว
พล.ต.อ.วันชัย ยังกล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลไทยส่งคนม้งลาวกลับประเทศลาวว่า ตนคิดว่าทางรัฐบาลไทยไม่ได้กระทำการละเมิดสิทธิของคนม้งลาว เพราะถึงอย่างไรคนม้งลาวก็ยังคงต้องการที่จะเดินทางไปทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศที่สามมากกว่าการอยู่ในประเทศไทย อีกทั้งประเทศลาวเองก็ได้ยืนยันว่าจะไม่ทำร้ายคนม้งลาวหลังจากที่เดินทางกลับ ซึ่งก็คงต้องให้องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) คอยจับตามอง หากทางรัฐบาลลาวทำร้ายก็ให้นำกฎเกณฑ์กติกามาบังคับใช้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ผ่านมาหน่วยงานของรัฐเองก็มองว่า กสม.คอยจ้องจับผิดการทำงาน พล.ต.อ.วันชัย กล่าวว่า จากการทำงาน ทางกสม.พยายามทำความเข้าใจให้เขาว่าเขาอยู่แค่ไหน ทั้งนี้ไม่ได้ตำหนิการทำงานของหน่วยงานของรัฐ เพียงแต่มีการเสนอคำแนะนำ เพราะหน้าที่ กสม.มีแค่ทำข้อเสนอแนะให้แก่หัวหน้าฝ่ายบริหารเท่านั้น ซึ่งเขาอาจจะไม่เห็นด้วยกับเราก็ได้ ซึ่งเราก็จะทำรายงานเพื่อให้มีการตั้งกระทู้ถามในที่ประชุมสภาฯ หรืออาจจะทำรายงานสถานการณ์ออกเผยแพร่เพื่อให้สังคมโลกได้พิจารณา
พล.ต.อ.วันชัย กล่าวอีกว่า สำหรับการดำเนินการตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมนั้น ทางกสม.สามารถยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลยุติธรรมได้เอง หากผู้ร้องมีการร้องขอให้กสม.เป็นตัวแทนในการยื่นฟ้อง และเรื่องที่ร้องเรียนต้องมีผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ เช่น สหภาพแรงงานการรถไฟหยุดเดินรถไฟ ทำให้มีผลกระทบต่อประชาชน ทางกสม.ก็มีอำนาจฟ้อง อย่างใดก็ตามต้องดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งขณะนี้ยังทำไม่ได้ 100% เนื่องจากยังอยู่ในระหว่างการร่างกฎหมาย ซึ่งจะเป็นการเปิดประตูบ้านที่ทาง กสม.จะส่งเรื่องไปได้ แต่ในทางปฏิบัติเราสามารถทำเรื่องขอร้องได้
วันนี้ (4 ม.ค.) พล.ต.อ.วันชัย ศรีนวลนัด กรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) ด้านสิทธิในกระบวนการยุติธรรม กล่าวถึงการประเมินการทำงาน 6 เดือนที่ผ่านมาของ กสม.ด้านสิทธิในกระบวนการยุติธรรมว่า เรื่องที่ร้องเรียนเข้ามายังไม่ก้าวหน้าไปอย่างที่ตั้งใจไว้ ซึ่งภายในปีนี้จะมีการปรับปรุงการดำเนินงานให้เป็นไปในแนวเชิงรุกมากขึ้น ตนจะเสนอให้มีการตั้งเจ้าหน้าที่คณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาในแต่ละจังหวัดขึ้นมาทำงาน โดยอาศัยบุคลากรของหน่วยงานราชการ 8 หน่วยในจังหวัด เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าหน้าที่คุมประพฤติ ทนายความ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้จะขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ตั้ง เพื่อต่อแขนต่อขาให้กับทาง กสม. เนื่องจากปัญหาที่ร้องเรียนบางปัญหาเกิดขึ้นในต่างพื้นที่ ซึ่งก็จะมีเจ้าหน้าที่ของกสม.จากส่วนกลางทำหน้าที่เป็นเลขานุการ
พล.ต.อ.วันชัย กล่าวต่อว่า ขณะนี้เป็นการเริ่มต้นของโครงการ จึงจำเป็นต้องอาศัยส่วนราชการก่อน และจะขยายไปในส่วนของเอกชน หาก กสม.ด้านสิทธิในกระบวนการยุติธรรมไม่ดำเนินการอย่างนั้นก็ไม่มีทางเลือก เพราะจำเป็นต้องมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยคณะอนุกรรมการก็จะเป็นเจ้าหน้าที่ที่ทำงานปกติก็ได้เงินเดือนของหลวง แต่ก็ได้มีระเบียบค่าใช้จ่าย ค่าเหนื่อยตามระเบียบราชการ หรือเบี้ยการประชุมให้แก่เจ้าหน้าที่คณะอนุกรรมการดังกล่าว
“โดยขั้นตอนต่อไปผมจะประสานไปยังปลัดกระทรวงมหาดไทยก่อน แต่ก็ยังอยากพบ รมว.มหาดไทยสักครั้ง เพื่อให้กระจายแนวคิด ซึ่งจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือ เพราะเราทำในเชิงดี และเรื่องสิทธิเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น อันดับแรกจึงต้องทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ของรัฐก่อน เพื่อนำไปแนะนำให้กับประชาชนได้อย่างถูกต้อง แต่ก็มีบางครั้งที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบางคน ใช้อำนาจหน้าที่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เช่น การตรวจค้นบ้านของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีหมายศาลดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย” พล.ต.อ.วันชัย กล่าว
พล.ต.อ.วันชัย ยังกล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลไทยส่งคนม้งลาวกลับประเทศลาวว่า ตนคิดว่าทางรัฐบาลไทยไม่ได้กระทำการละเมิดสิทธิของคนม้งลาว เพราะถึงอย่างไรคนม้งลาวก็ยังคงต้องการที่จะเดินทางไปทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศที่สามมากกว่าการอยู่ในประเทศไทย อีกทั้งประเทศลาวเองก็ได้ยืนยันว่าจะไม่ทำร้ายคนม้งลาวหลังจากที่เดินทางกลับ ซึ่งก็คงต้องให้องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) คอยจับตามอง หากทางรัฐบาลลาวทำร้ายก็ให้นำกฎเกณฑ์กติกามาบังคับใช้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ผ่านมาหน่วยงานของรัฐเองก็มองว่า กสม.คอยจ้องจับผิดการทำงาน พล.ต.อ.วันชัย กล่าวว่า จากการทำงาน ทางกสม.พยายามทำความเข้าใจให้เขาว่าเขาอยู่แค่ไหน ทั้งนี้ไม่ได้ตำหนิการทำงานของหน่วยงานของรัฐ เพียงแต่มีการเสนอคำแนะนำ เพราะหน้าที่ กสม.มีแค่ทำข้อเสนอแนะให้แก่หัวหน้าฝ่ายบริหารเท่านั้น ซึ่งเขาอาจจะไม่เห็นด้วยกับเราก็ได้ ซึ่งเราก็จะทำรายงานเพื่อให้มีการตั้งกระทู้ถามในที่ประชุมสภาฯ หรืออาจจะทำรายงานสถานการณ์ออกเผยแพร่เพื่อให้สังคมโลกได้พิจารณา
พล.ต.อ.วันชัย กล่าวอีกว่า สำหรับการดำเนินการตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมนั้น ทางกสม.สามารถยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลยุติธรรมได้เอง หากผู้ร้องมีการร้องขอให้กสม.เป็นตัวแทนในการยื่นฟ้อง และเรื่องที่ร้องเรียนต้องมีผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ เช่น สหภาพแรงงานการรถไฟหยุดเดินรถไฟ ทำให้มีผลกระทบต่อประชาชน ทางกสม.ก็มีอำนาจฟ้อง อย่างใดก็ตามต้องดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งขณะนี้ยังทำไม่ได้ 100% เนื่องจากยังอยู่ในระหว่างการร่างกฎหมาย ซึ่งจะเป็นการเปิดประตูบ้านที่ทาง กสม.จะส่งเรื่องไปได้ แต่ในทางปฏิบัติเราสามารถทำเรื่องขอร้องได้