กมธ.กิจการเด็กฯ ตะลึง!! เด็ก-สตรี ถูกกระทำรุนแรงเฉลี่ยวันละ 53 คน ขณะที่ สธ.ชี้ ปี 51-52 สตรีถูกทำรุนแรงเพิ่ม 200%
วันนี้ (25 พ.ย.) บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา 1 คณะกรรมาธิการ (กมธ.) กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและผู้พิการ สภาผู้แทนราษฎร ได้จัดงาน “ความรุนแรงต่อสตรี : ใครจะหยุด?” โดย นายสุรเชษฐ์ มาศดิตถ์ ประธานคณะกรรมาธิการ เปิดเผยว่า ขณะนี้ กมธ.ได้เร่งผลักดันแนวคิดหลัก 2 เรื่อง ผ่านทางหน่วยงานและองค์กรผู้รับผิดชอบ คือ 1.ความรุนแรงต่อผู้หญิงยังคงเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม 2. การแก้ไขปัญหาที่ได้ผล ต้องเป็นความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการป้องกัน โดยการปลูกฝังแนวคิด วิถีปฏิบัติแห่งวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชน คือ การเคารพศักดิ์ศรีคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์อย่างเสมอกันทั้งหญิงและชาย ซึ่งการปลูกฝังนี้ควรเริ่มตั้งแต่เด็กก่อนเข้าโรงเรียน ชั้นอนุบาล และชั้นประถม ทั้งนี้ งานวิจัยชี้บ่งว่าการปลูกฝังทั้ง IQ, EQ, MQและ SQ ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดในช่วงอายุ 0-6 ปี นอกจากนี้ การส่งเสริมวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนในช่วงชีวิตอื่นๆ ควรต้องเป็นบทบาทร่วมกันของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะสื่อ จากผลวิจัยบ่งชี้ชัดเจนว่า สื่อมีอิทธิพลมากที่สุดต่อการชักนำแนวคิดและพฤติกรรม รวมถึงการหล่อหลอมทัศนคติผู้รับสื่ออีกด้วย สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบังคับใช้ในปัจจุบันมีหลายฉบับ เช่น พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำรุนแรงในครอบครัว, พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ซึ่งมีหลายหน่วยงานที่ให้บริการจากภาครัฐต่อผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ เช่น กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีศูนย์ประชาบดีมีให้ความช่วยเหลือในทุกจังหวัด กระทรวงสาธารณสุข มีศูนย์พึ่งได้ ซึ่งเป็นหน่วยงานให้บริการช่วยเหลือเด็กและสตรีอย่างครบวงจรของโรงพยาบาลรัฐ 279 แห่ง และกระทรวงยุติธรรม มีบ้านกาญจนาภิเษก เป็นต้น
นายสุรเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า สิ่งที่น่าตกใจในสังคมคือสถิติผู้ถูกกระทำ จากศูนย์พึ่งได้ (OSCC = One Stop Crisis Center) พบว่า มีผู้หญิงกับเด็กถูกกระทำความรุนแรงมาขอรับความช่วยเหลือ เฉลี่ย 53 รายต่อวัน (ซึ่งตัวเลขนี้น้อยกว่า 10% ของผู้ถูกกระทำทั้งหมด เพราะผู้มาโรงพยาบาลถือเป็นผู้ถูกกระที่จำเป็นต้องมารักษาจริงๆ) ด้านคดีความรุนแรงทางเพศต่อเด็กผู้หญิงอายุต่ำกว่า 15 ปี ในช่วงปี พ.ศ.2545-2550 เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า และข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ชี้บ่งว่า กรณีความรุนแรงต่อสตรีจากปี 2551-2552 มีอัตราเพิ่มขึ้น 200%
วันนี้ (25 พ.ย.) บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา 1 คณะกรรมาธิการ (กมธ.) กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและผู้พิการ สภาผู้แทนราษฎร ได้จัดงาน “ความรุนแรงต่อสตรี : ใครจะหยุด?” โดย นายสุรเชษฐ์ มาศดิตถ์ ประธานคณะกรรมาธิการ เปิดเผยว่า ขณะนี้ กมธ.ได้เร่งผลักดันแนวคิดหลัก 2 เรื่อง ผ่านทางหน่วยงานและองค์กรผู้รับผิดชอบ คือ 1.ความรุนแรงต่อผู้หญิงยังคงเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม 2. การแก้ไขปัญหาที่ได้ผล ต้องเป็นความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการป้องกัน โดยการปลูกฝังแนวคิด วิถีปฏิบัติแห่งวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชน คือ การเคารพศักดิ์ศรีคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์อย่างเสมอกันทั้งหญิงและชาย ซึ่งการปลูกฝังนี้ควรเริ่มตั้งแต่เด็กก่อนเข้าโรงเรียน ชั้นอนุบาล และชั้นประถม ทั้งนี้ งานวิจัยชี้บ่งว่าการปลูกฝังทั้ง IQ, EQ, MQและ SQ ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดในช่วงอายุ 0-6 ปี นอกจากนี้ การส่งเสริมวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนในช่วงชีวิตอื่นๆ ควรต้องเป็นบทบาทร่วมกันของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะสื่อ จากผลวิจัยบ่งชี้ชัดเจนว่า สื่อมีอิทธิพลมากที่สุดต่อการชักนำแนวคิดและพฤติกรรม รวมถึงการหล่อหลอมทัศนคติผู้รับสื่ออีกด้วย สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบังคับใช้ในปัจจุบันมีหลายฉบับ เช่น พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำรุนแรงในครอบครัว, พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ซึ่งมีหลายหน่วยงานที่ให้บริการจากภาครัฐต่อผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ เช่น กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีศูนย์ประชาบดีมีให้ความช่วยเหลือในทุกจังหวัด กระทรวงสาธารณสุข มีศูนย์พึ่งได้ ซึ่งเป็นหน่วยงานให้บริการช่วยเหลือเด็กและสตรีอย่างครบวงจรของโรงพยาบาลรัฐ 279 แห่ง และกระทรวงยุติธรรม มีบ้านกาญจนาภิเษก เป็นต้น
นายสุรเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า สิ่งที่น่าตกใจในสังคมคือสถิติผู้ถูกกระทำ จากศูนย์พึ่งได้ (OSCC = One Stop Crisis Center) พบว่า มีผู้หญิงกับเด็กถูกกระทำความรุนแรงมาขอรับความช่วยเหลือ เฉลี่ย 53 รายต่อวัน (ซึ่งตัวเลขนี้น้อยกว่า 10% ของผู้ถูกกระทำทั้งหมด เพราะผู้มาโรงพยาบาลถือเป็นผู้ถูกกระที่จำเป็นต้องมารักษาจริงๆ) ด้านคดีความรุนแรงทางเพศต่อเด็กผู้หญิงอายุต่ำกว่า 15 ปี ในช่วงปี พ.ศ.2545-2550 เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า และข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ชี้บ่งว่า กรณีความรุนแรงต่อสตรีจากปี 2551-2552 มีอัตราเพิ่มขึ้น 200%