“สมเกียรติ ศรลัมพ์” ปรับร่างแก้ไข รธน.6 ประเด็นพร้อมแล้ว หากวิป 3 ฝ่ายตกลงกันไม่ได้ พร้อมแนบรายชื่อ ส.ส.-ส.ว.ยื่นต่อ “ประธานชัย” ทันที แนะนายกฯ ควรให้การแก้ไข รธน.เป็นเรื่องของ ส.ส.-ส.ว. เมื่อแก้เสร็จไม่มีเงื่อนไขต้องยุบสภา
วันที่ 29 ก.ย.ที่รัฐสภา นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อแผ่นดิน แกนนำ ส.ส.และ ส.ว.ที่เคยยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็นแล้วถอนร่างออกมา กล่าวว่า ขณะนี้เตรียมร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 6 ประเด็นที่ได้แก้ไขปรับปรุงไว้เรียบร้อยแล้ว และเตรียมพร้อมจะยื่นใหม่ โดยรวบรวมรายชื่อ ส.ส.ไว้ 106 คน ส่วน ส.ว.กำลังรวบรวมรายชื่อให้ได้ครบ 1 ใน 5 ทั้งนี้ ขอรอดูผลการประชุมวิป 3 ฝ่ายในวันที่ 1 ต.ค.ก่อนถ้าได้ข้อยุติที่จะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ก็จะเอาด้วย แต่ถ้าไม่มีข้อยุติอีกและมีการผัดผ่อนไปเรื่อยๆ หรือไม่มีแนวทางตามที่ตกลงกันไว้ พวกตนก็จะยื่นร่างนี้ให้นาย ชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาต่อไป เพราะถ้านายกฯ ทำไม่ได้ควรให้อิสระรัฐสภาที่จะทำ โดยนายกฯ ไม่ต้องกังวลถ้าร่างพวกตนรัฐสภาไม่เอาด้วยนายกฯ ก็ไม่เสีย แต่ถ้าผ่านก็เดินต่อไป แก้เสร็จแล้วก็ไม่ต้องยุบสภา เพราะเรื่องแก้รัฐธรรมนูญกับเรื่องยุบสภามันคนละเรื่องกัน นายกฯ อย่าเอามาปนกัน เรื่องรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องส่วนรวมของประเทศ ส่วนเรื่องยุบสภาเป็นเรื่องฝ่าบริหารและนิติบัญญัติขัดแย้งกัน ซึ่งไม่มีข้อผูกพันใดว่าแก้แล้วต้องยุบ ถ้าประชาชนยังชอบรัฐบาลว่าแก้ปัญหาได้ และพรรคร่วมก็อยู่กันต่อไปได้ก็อยู่ต่อไป
เมื่อถามว่ารัฐบาลต้องการแยกเป็น 6 ร่าง แต่ต้องทำประชามติก่อนส่วนฝ่ายค้านต้องการร่างเดียวและไม่ต้องการประชามติ ซึ่งเป็นเงื่อนที่ตกลงกันไม่ได้ นายสมเกียรติกล่าวว่า ตนก็จะยื่นร่างเดียว 6 ประเด็นไม่ต้องทำประชามติ แต่แก้เสร็จแล้วไม่ต้องยุบสภา เดิมตนอยากให้ทำประชามติ แต่เมื่อตัวรัฐธรรมนูญเองไม่ได้กำหนดให้การแก้รัฐธรรมนูญต้องผ่านประชามติ จึงทำไม่ได้ และ 6 ประเด็นที่จะแก้ไม่มีอะไรใหญ่โตเกินเลย เพราะในการทำประชามติจะต้องเสียเงิน 2 พันล้านบาท นายกฯ เอาเงื่อนไขประชามติเข้ามาเพราะกังวลว่าจะถูกบีบให้ยุบสภาหลังแก้รัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ทางเลือกที่ตนเสนอก็น่าจะเป็นทางออกได้ เพราะเป็นเรื่องที่สภาทำกันเอง
ปชป.ยันต้องทำประชามติ
วันเดียวกัน ที่พรรคประชาธิปัตย์ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า ที่ประชุม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เห็นด้วยกับแนวทางการทำประชามติการแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับความคิดของเสียงส่วนใหญ่ เพราะเห็นว่าหากให้มีการตั้งส.ส.ร. หรือคณะทำงานพิเศษขึ้นมาก็ต้องจบด้วยการทำประชาพิจารณ์ซึ่งเป็นโอกาสยากที่ทุกคนจะเข้ามามีส่วนร่วมทั้งหมด และสามารถนำไปสู่ข้อขัดแย้งได้ อีกทั้งการเปิดให้ทำประชามติเป็นการเปิดกว้างของระบอบประชาธิปไตยโดยตรง ซึ่งที่ผ่านมากลุ่มเสื้อแดงอ้างมาตลอดว่ารัฐธัฐธรรมนูญปี 50 ไม่เป็นประชาธิปไตย ถ้าสามารถทำประชามติได้ก็จะขับเคลื่อนให้ไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยได้ อีกทั้งการทำประชามติในแต่ละประเด็นเป็นการตอบคำถามง่ายๆตรงไปมาที่สุด ส่วนจะให้คณะกรรมการสมานฉันท์เป็นผู้ร่างแบบสอบถาม หรือใครก็แล้วแต่พรรคไม่ติดใจ แต่ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเป็นหัวเรือใหญ่ชูธงประชาธิปไตยที่แท้จริงโดยให้ประชาชาทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม
ส่วนที่ประธานวิปฝ่ายค้านกล่าวหาว่านายกรัฐมนตรีออกมาพูดถึงการทำประชามิตเป็นการชี้นำสังคม นพ.วรงค์ กล่าวว่า ในทางการเมืองหากนายกฯ ไม่พูดอะไรเลยก็ถุกกล่าวหาว่าพยายามยืดเวลา แต่เมื่อพูดแล้วก็หาว่าชี้นำสังคม ซึ่งไม่ว่าจะอย่างไรก็ต้องถูกวิจารณ์อยู่แล้ว ดังนั้นการทำประชามติน่าจะเป็นทางออกที่ทุกคนมีส่วนเข้าร่วมได้ อย่างไรก็ตาม กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะถ้าทำได้ง่ายคงจะแก้ไขได้ไปตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช แล้ว
วันที่ 29 ก.ย.ที่รัฐสภา นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อแผ่นดิน แกนนำ ส.ส.และ ส.ว.ที่เคยยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็นแล้วถอนร่างออกมา กล่าวว่า ขณะนี้เตรียมร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 6 ประเด็นที่ได้แก้ไขปรับปรุงไว้เรียบร้อยแล้ว และเตรียมพร้อมจะยื่นใหม่ โดยรวบรวมรายชื่อ ส.ส.ไว้ 106 คน ส่วน ส.ว.กำลังรวบรวมรายชื่อให้ได้ครบ 1 ใน 5 ทั้งนี้ ขอรอดูผลการประชุมวิป 3 ฝ่ายในวันที่ 1 ต.ค.ก่อนถ้าได้ข้อยุติที่จะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ก็จะเอาด้วย แต่ถ้าไม่มีข้อยุติอีกและมีการผัดผ่อนไปเรื่อยๆ หรือไม่มีแนวทางตามที่ตกลงกันไว้ พวกตนก็จะยื่นร่างนี้ให้นาย ชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาต่อไป เพราะถ้านายกฯ ทำไม่ได้ควรให้อิสระรัฐสภาที่จะทำ โดยนายกฯ ไม่ต้องกังวลถ้าร่างพวกตนรัฐสภาไม่เอาด้วยนายกฯ ก็ไม่เสีย แต่ถ้าผ่านก็เดินต่อไป แก้เสร็จแล้วก็ไม่ต้องยุบสภา เพราะเรื่องแก้รัฐธรรมนูญกับเรื่องยุบสภามันคนละเรื่องกัน นายกฯ อย่าเอามาปนกัน เรื่องรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องส่วนรวมของประเทศ ส่วนเรื่องยุบสภาเป็นเรื่องฝ่าบริหารและนิติบัญญัติขัดแย้งกัน ซึ่งไม่มีข้อผูกพันใดว่าแก้แล้วต้องยุบ ถ้าประชาชนยังชอบรัฐบาลว่าแก้ปัญหาได้ และพรรคร่วมก็อยู่กันต่อไปได้ก็อยู่ต่อไป
เมื่อถามว่ารัฐบาลต้องการแยกเป็น 6 ร่าง แต่ต้องทำประชามติก่อนส่วนฝ่ายค้านต้องการร่างเดียวและไม่ต้องการประชามติ ซึ่งเป็นเงื่อนที่ตกลงกันไม่ได้ นายสมเกียรติกล่าวว่า ตนก็จะยื่นร่างเดียว 6 ประเด็นไม่ต้องทำประชามติ แต่แก้เสร็จแล้วไม่ต้องยุบสภา เดิมตนอยากให้ทำประชามติ แต่เมื่อตัวรัฐธรรมนูญเองไม่ได้กำหนดให้การแก้รัฐธรรมนูญต้องผ่านประชามติ จึงทำไม่ได้ และ 6 ประเด็นที่จะแก้ไม่มีอะไรใหญ่โตเกินเลย เพราะในการทำประชามติจะต้องเสียเงิน 2 พันล้านบาท นายกฯ เอาเงื่อนไขประชามติเข้ามาเพราะกังวลว่าจะถูกบีบให้ยุบสภาหลังแก้รัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ทางเลือกที่ตนเสนอก็น่าจะเป็นทางออกได้ เพราะเป็นเรื่องที่สภาทำกันเอง
ปชป.ยันต้องทำประชามติ
วันเดียวกัน ที่พรรคประชาธิปัตย์ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า ที่ประชุม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เห็นด้วยกับแนวทางการทำประชามติการแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับความคิดของเสียงส่วนใหญ่ เพราะเห็นว่าหากให้มีการตั้งส.ส.ร. หรือคณะทำงานพิเศษขึ้นมาก็ต้องจบด้วยการทำประชาพิจารณ์ซึ่งเป็นโอกาสยากที่ทุกคนจะเข้ามามีส่วนร่วมทั้งหมด และสามารถนำไปสู่ข้อขัดแย้งได้ อีกทั้งการเปิดให้ทำประชามติเป็นการเปิดกว้างของระบอบประชาธิปไตยโดยตรง ซึ่งที่ผ่านมากลุ่มเสื้อแดงอ้างมาตลอดว่ารัฐธัฐธรรมนูญปี 50 ไม่เป็นประชาธิปไตย ถ้าสามารถทำประชามติได้ก็จะขับเคลื่อนให้ไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยได้ อีกทั้งการทำประชามติในแต่ละประเด็นเป็นการตอบคำถามง่ายๆตรงไปมาที่สุด ส่วนจะให้คณะกรรมการสมานฉันท์เป็นผู้ร่างแบบสอบถาม หรือใครก็แล้วแต่พรรคไม่ติดใจ แต่ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเป็นหัวเรือใหญ่ชูธงประชาธิปไตยที่แท้จริงโดยให้ประชาชาทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม
ส่วนที่ประธานวิปฝ่ายค้านกล่าวหาว่านายกรัฐมนตรีออกมาพูดถึงการทำประชามิตเป็นการชี้นำสังคม นพ.วรงค์ กล่าวว่า ในทางการเมืองหากนายกฯ ไม่พูดอะไรเลยก็ถุกกล่าวหาว่าพยายามยืดเวลา แต่เมื่อพูดแล้วก็หาว่าชี้นำสังคม ซึ่งไม่ว่าจะอย่างไรก็ต้องถูกวิจารณ์อยู่แล้ว ดังนั้นการทำประชามติน่าจะเป็นทางออกที่ทุกคนมีส่วนเข้าร่วมได้ อย่างไรก็ตาม กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะถ้าทำได้ง่ายคงจะแก้ไขได้ไปตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช แล้ว