เมื่อจับอาการล่าสุดก็ดูเหมือนว่าจะมีการ “เคลียร์” กันภายในเพื่อ “หยุด” เอาไว้ชั่วคราว เนื่องจากมีงานใหญ่อย่างการประชุมอาเซียนรออยู่ข้างหน้า ไม่อยากให้ขายหน้ามากไปกว่านี้ หรือว่า หากเขี่ย กษิต ในช่วงนี้แล้วเกิดป่วนจนคุมไม่อยู่ โอกาสพังทั้งขบวนก็เป็นไปได้สูง
นาทีนี้ถ้าพิจารณาตามอาการแล้ว ก็ต้องยอมรับว่า กษิต ภิรมย์ จะอยู่ในเก้าอี้รัฐมนตรีต่างประเทศด้วยความยากลำบาก เพราะกำลังถูกแรงกดดันเข้ามาทุกทาง ที่สำคัญมาจากคนภายในพรรคประชาธิปัตย์ด้วยกันเองนั่นแหละ
ขณะเดียวกันหากประเมินไว้ล่วงหน้า เป้าหมายไม่ใช่เฉพาะ กษิต เพียงคนเดียวเท่านั้น แต่จะมีรัฐมนตรีของพรรคอีกหลายคนที่จะต้องถูกกดดันให้ลาออกหรือปรับเปลี่ยนพร้อมกันไปด้วย
เพราะหากพิจารณาด้วยความเป็นจริงแบบไม่ต้องเกรงใจกันก็ต้องถามว่าเวลาผ่านไปกว่า 6 เดือนแล้ว รัฐมนตรีแต่ละคนมีผลงานที่เป็นชิ้นเป็นอันอะไรบ้าง เกือบร้อยทั้งร้อยมีแต่ภาพลบ ไม่มีภาพบวก
เมื่อแยกทีละกรณีเริ่มจาก กษิต ก่อน ทำไปทำมาสาเหตุสำคัญที่ถูกบีบให้ลาออกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศน่าจะไปขวางทางผลประโยชน์ด้านชายแดนตั้งแต่เหนือจรดใต้ ส่วนจะเป็นเรื่อง “ขัดคอ” เรื่องการใช้งบประมาณ การบริหารของบิ๊กสีเขียวที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาในแต่ละพื้นที่ด้วยหรือเปล่านั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
แต่เอาเป็นว่าข้อหา “ผู้ก่อการร้าย” ที่ถูกนำมาเขย่าตอนนี้น่าจะเป็นเพียงประเด็นที่หยิบยกขึ้นมาเพื่อให้เป็นเหตุเป็นผลสำหรับการกดดัน หรืออีกทางหนึ่งก็ยืมมือฝ่ายตรงข้ามในการออกโรงขับไล่อีกแรง เพราะไม่ว่าใครก็ตามถ้าพิจารณาที่มาที่ไปและดูองค์ประกอบตามความเป็นจริงถือว่า เป็นข้อหาที่ “เว่อร์” และอัปยศที่สุด
ลองคิดดูก็แล้วกันว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศถูกตั้งข้อหาผู้ก่อการร้าย แล้วกำลังจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในอีกไม่กี่วันข้างหน้า มันจะให้ความรู้สึกอย่างไร
วกกลับมาที่ปัญหาภายในพรรคประชาธิปัตย์ ที่หลายคนกำลังรอจังหวะว่าเมื่อไหร่จะมีการปรับคณะรัฐมนตรี เพื่อที่ตัวเองจะได้หมุนเวียนเข้าไปนั่งกันบ้าง แม้ว่าถ้าถามใจของ นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่เป็นทั้งหัวหน้าพรรคคงไม่อยากให้เกิดแรงกระเพื่อมภายใน
และเป็นไปได้ว่าอาจเลยเถิดถึงขั้นป่วนก็ว่าได้ หากไม่สามารถ “เคลียร์” กันได้ลงตัว
ต้องยอมรับความจริงว่าภายในพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ใช่มีเพียงแค่ “กลุ่มผลัดใบ” ของ อภิสิทธิ์-สุเทพ เท่านั้น แต่ยังมี “ทศวรรษใหม่” และแยกย่อยอีกหลายกลุ่ม ซอยเท้า รอคิวกันอีกเพียบ
อีกทั้งแต่ละกลุ่มยังมีระดับ “ขาใหญ่” อาวุโส คอยเป็นแบ็กให้ทั้งสิ้น เท่าที่เห็นรายชื่อก็มี บัญญัติ บรรทัดฐาน ไตรรงค์ สุวรรณคีรี หรือระดับพรรษารองลงมา เช่น นิพนธ์ บุญญามณี นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ หรือแม้แต่ องอาจ คล้ามไพบูลย์ บุคคลดังกล่าวก็มีคุณสมบัติไม่ได้ด้อยกว่ารัฐมนตรีในโควตาของพรรคเวลานี้แม้แต่น้อย
หรือในทางตรงกันข้ามอาจจะเหนือกว่าด้วยซ้ำไป แต่เมื่อเก้าอี้มีจำกัด เพื่อต้องการ รวบรัดตัดความให้พรรคได้มีโอกาสได้เป็นรัฐบาล บางครั้งก็ต้องยอมเสียสละเปิดทางให้ไปก่อน
แต่เมื่อเวลาล่วงเลยมานานกว่า 6 เดือน ถ้าหากเป็น “เด็กฝึกงาน” ตามบริษัทเอกชนถือว่า “พ้นโปร” ผ่านการทดลองงานต้องตัดสินใจแล้วว่าจะให้บรรจุเข้าทำงานต่อหรือไม่ เพราะพิจารณาผลงานรัฐมนตรีแต่ละคนนอกจากอยู่ไปวันๆแล้ว ผลงานไม่เอาอ่าว ไม่อาจนำไปขยายผลเชิดหน้าชูตาเป็นผลบวกได้เลย
มันจึงช่วยไม่ได้ที่จะต้องถูกตั้งข้อสังเกตจากคนภายในพรรคในทำนองว่าถ้าเป็นรัฐมนตรีสร้างผลงานกันแบบนี้ ถือว่าใครๆก็เป็นได้ มันก็เริ่มมีแรงกดดันภายในมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะถ้าให้ยกตัวอย่างรัฐมนตรีแต่ละคนว่ามีอะไรให้จดจำบ้าง ซึ่งนาทีนี้ขอยกเว้นนายกรัฐมนตรีเอาไว้ก่อนชั่วคราว
เริ่มจากรองนายกฯฝ่ายความมั่นคง สุเทพ เทือกสุบรรณ วิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ อิสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ดูแลชายแดนใต้
สาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ดูแลด้านสื่อของรัฐ หรือแม้แต่รัฐมนตรีโควตาคนนอก อย่าง วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีประจำนายกฯ ที่ตอนแรกโม้ว่าจะเข้ามาดูแลในเรื่องนักท่องเที่ยวและการลงทุนจากประเทศจีน แต่เอาเข้าจริงทุกอย่างก็เหลวไม่เป็นท่า ไม่สมราคาคุย
นาทีนี้ถ้าถามว่ามีการเลือกตั้งใหม่ พรรคประชาธิปัตย์จะเอาอะไรไปสู้กับฝ่ายตรงข้าม และแม้ว่ากรณีของ กษิต ภิรมย์ จะถูกปรับพ้นจากเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือไม่ ก็ตาม แต่ก็ต้องยอมรับว่านับจากนี้ไปถือว่าทำงานลำบาก
อย่างไรก็ตามเมื่อจับอาการล่าสุดก็ดูเหมือนว่าจะมีการ “เคลียร์” กันภายในเพื่อ “หยุด” เอาไว้ชั่วคราว เนื่องจากมีงานใหญ่อย่างการประชุมอาเซียนรออยู่ข้างหน้า ไม่อยากให้ขายหน้ามากไปกว่านี้ หรือว่า หากเขี่ย กษิต ในช่วงนี้แล้วเกิดป่วนจนคุมไม่อยู่ โอกาสพังทั้งขบวนก็เป็นไปได้สูง
ดังนั้นทุกอย่างจึงต้อง “กัดฟัน” จูบปากกันไปก่อน !!
นาทีนี้ถ้าพิจารณาตามอาการแล้ว ก็ต้องยอมรับว่า กษิต ภิรมย์ จะอยู่ในเก้าอี้รัฐมนตรีต่างประเทศด้วยความยากลำบาก เพราะกำลังถูกแรงกดดันเข้ามาทุกทาง ที่สำคัญมาจากคนภายในพรรคประชาธิปัตย์ด้วยกันเองนั่นแหละ
ขณะเดียวกันหากประเมินไว้ล่วงหน้า เป้าหมายไม่ใช่เฉพาะ กษิต เพียงคนเดียวเท่านั้น แต่จะมีรัฐมนตรีของพรรคอีกหลายคนที่จะต้องถูกกดดันให้ลาออกหรือปรับเปลี่ยนพร้อมกันไปด้วย
เพราะหากพิจารณาด้วยความเป็นจริงแบบไม่ต้องเกรงใจกันก็ต้องถามว่าเวลาผ่านไปกว่า 6 เดือนแล้ว รัฐมนตรีแต่ละคนมีผลงานที่เป็นชิ้นเป็นอันอะไรบ้าง เกือบร้อยทั้งร้อยมีแต่ภาพลบ ไม่มีภาพบวก
เมื่อแยกทีละกรณีเริ่มจาก กษิต ก่อน ทำไปทำมาสาเหตุสำคัญที่ถูกบีบให้ลาออกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศน่าจะไปขวางทางผลประโยชน์ด้านชายแดนตั้งแต่เหนือจรดใต้ ส่วนจะเป็นเรื่อง “ขัดคอ” เรื่องการใช้งบประมาณ การบริหารของบิ๊กสีเขียวที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาในแต่ละพื้นที่ด้วยหรือเปล่านั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
แต่เอาเป็นว่าข้อหา “ผู้ก่อการร้าย” ที่ถูกนำมาเขย่าตอนนี้น่าจะเป็นเพียงประเด็นที่หยิบยกขึ้นมาเพื่อให้เป็นเหตุเป็นผลสำหรับการกดดัน หรืออีกทางหนึ่งก็ยืมมือฝ่ายตรงข้ามในการออกโรงขับไล่อีกแรง เพราะไม่ว่าใครก็ตามถ้าพิจารณาที่มาที่ไปและดูองค์ประกอบตามความเป็นจริงถือว่า เป็นข้อหาที่ “เว่อร์” และอัปยศที่สุด
ลองคิดดูก็แล้วกันว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศถูกตั้งข้อหาผู้ก่อการร้าย แล้วกำลังจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในอีกไม่กี่วันข้างหน้า มันจะให้ความรู้สึกอย่างไร
วกกลับมาที่ปัญหาภายในพรรคประชาธิปัตย์ ที่หลายคนกำลังรอจังหวะว่าเมื่อไหร่จะมีการปรับคณะรัฐมนตรี เพื่อที่ตัวเองจะได้หมุนเวียนเข้าไปนั่งกันบ้าง แม้ว่าถ้าถามใจของ นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่เป็นทั้งหัวหน้าพรรคคงไม่อยากให้เกิดแรงกระเพื่อมภายใน
และเป็นไปได้ว่าอาจเลยเถิดถึงขั้นป่วนก็ว่าได้ หากไม่สามารถ “เคลียร์” กันได้ลงตัว
ต้องยอมรับความจริงว่าภายในพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ใช่มีเพียงแค่ “กลุ่มผลัดใบ” ของ อภิสิทธิ์-สุเทพ เท่านั้น แต่ยังมี “ทศวรรษใหม่” และแยกย่อยอีกหลายกลุ่ม ซอยเท้า รอคิวกันอีกเพียบ
อีกทั้งแต่ละกลุ่มยังมีระดับ “ขาใหญ่” อาวุโส คอยเป็นแบ็กให้ทั้งสิ้น เท่าที่เห็นรายชื่อก็มี บัญญัติ บรรทัดฐาน ไตรรงค์ สุวรรณคีรี หรือระดับพรรษารองลงมา เช่น นิพนธ์ บุญญามณี นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ หรือแม้แต่ องอาจ คล้ามไพบูลย์ บุคคลดังกล่าวก็มีคุณสมบัติไม่ได้ด้อยกว่ารัฐมนตรีในโควตาของพรรคเวลานี้แม้แต่น้อย
หรือในทางตรงกันข้ามอาจจะเหนือกว่าด้วยซ้ำไป แต่เมื่อเก้าอี้มีจำกัด เพื่อต้องการ รวบรัดตัดความให้พรรคได้มีโอกาสได้เป็นรัฐบาล บางครั้งก็ต้องยอมเสียสละเปิดทางให้ไปก่อน
แต่เมื่อเวลาล่วงเลยมานานกว่า 6 เดือน ถ้าหากเป็น “เด็กฝึกงาน” ตามบริษัทเอกชนถือว่า “พ้นโปร” ผ่านการทดลองงานต้องตัดสินใจแล้วว่าจะให้บรรจุเข้าทำงานต่อหรือไม่ เพราะพิจารณาผลงานรัฐมนตรีแต่ละคนนอกจากอยู่ไปวันๆแล้ว ผลงานไม่เอาอ่าว ไม่อาจนำไปขยายผลเชิดหน้าชูตาเป็นผลบวกได้เลย
มันจึงช่วยไม่ได้ที่จะต้องถูกตั้งข้อสังเกตจากคนภายในพรรคในทำนองว่าถ้าเป็นรัฐมนตรีสร้างผลงานกันแบบนี้ ถือว่าใครๆก็เป็นได้ มันก็เริ่มมีแรงกดดันภายในมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะถ้าให้ยกตัวอย่างรัฐมนตรีแต่ละคนว่ามีอะไรให้จดจำบ้าง ซึ่งนาทีนี้ขอยกเว้นนายกรัฐมนตรีเอาไว้ก่อนชั่วคราว
เริ่มจากรองนายกฯฝ่ายความมั่นคง สุเทพ เทือกสุบรรณ วิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ อิสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ดูแลชายแดนใต้
สาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ดูแลด้านสื่อของรัฐ หรือแม้แต่รัฐมนตรีโควตาคนนอก อย่าง วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีประจำนายกฯ ที่ตอนแรกโม้ว่าจะเข้ามาดูแลในเรื่องนักท่องเที่ยวและการลงทุนจากประเทศจีน แต่เอาเข้าจริงทุกอย่างก็เหลวไม่เป็นท่า ไม่สมราคาคุย
นาทีนี้ถ้าถามว่ามีการเลือกตั้งใหม่ พรรคประชาธิปัตย์จะเอาอะไรไปสู้กับฝ่ายตรงข้าม และแม้ว่ากรณีของ กษิต ภิรมย์ จะถูกปรับพ้นจากเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือไม่ ก็ตาม แต่ก็ต้องยอมรับว่านับจากนี้ไปถือว่าทำงานลำบาก
อย่างไรก็ตามเมื่อจับอาการล่าสุดก็ดูเหมือนว่าจะมีการ “เคลียร์” กันภายในเพื่อ “หยุด” เอาไว้ชั่วคราว เนื่องจากมีงานใหญ่อย่างการประชุมอาเซียนรออยู่ข้างหน้า ไม่อยากให้ขายหน้ามากไปกว่านี้ หรือว่า หากเขี่ย กษิต ในช่วงนี้แล้วเกิดป่วนจนคุมไม่อยู่ โอกาสพังทั้งขบวนก็เป็นไปได้สูง
ดังนั้นทุกอย่างจึงต้อง “กัดฟัน” จูบปากกันไปก่อน !!