ศาลปกครองกลาง สั่งระงับการประกาศผลสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชุดที่ 3 ชี้ กระบวนการสรรหามีสิทธิ์เข้าข่ายไม่ชอบ เหตุผู้สรรหากับผู้ได้รับการสรรหามีสวนได้เสียซึ่งกันและกัน
วันนี้ (19 มิ.ย.) ศาลปกครองกลางมีคำสั่งเมื่อวันที่ 18 มิ.ย.ให้คณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระงับการรับรองประกาศผลการลงคะแนนเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชุดที่ 3 เฉพาะกลุ่มการผลิตด้านการบริหาร และระงับมิให้สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ส่งรายชื่อดังกล่าวไปให้นายกรัฐมนตรี เพื่อลงนามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นการชั่วคราว จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ตามคำฟ้องของ นายเกษม จันทร์น้อย ผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเป็นบุคคลผู้มีสิทธิเลือกกันเอง เพื่อเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมชุดที่ 3 กลุ่มการผลิตด้านการบริการ และ นายสุวันชัย แสงสุขเอี่ยม ผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมชุดที่ 3 กลุ่มการผลิตด้านการเกษตร
ทั้งนี้ ศาลปกครองฯ ระบุเหตุผลของการมีคำสั่งดังกล่าว ว่า เนื่องจากการประชุมสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ มีคณะกรรมการสรรหาฯ บางคนได้มอบหมายให้บุคคลอื่นเข้าประชุมแทน อีกทั้งการสรรหาปรากฏว่า นางผ่องพรรณ จงยศยิ่ง และ นางอัมพร จิตรานุเคราะห์ ที่ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินั้น นางผ่องพรรณ มีสถานะเป็นภรรยาของกรรมการสรรหาฯ และ นางอัมพร มีนามสกุลเดียวกับกรรมการสรรหาฯ นอกจากนี้ นางทัศนีย์ สุภรัตน์ ซึ่งมีสถานะเป็นคู่สมรสของผู้มีสิทธิ์คัดเลือกกันเอง ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ในบัญชีสำรองลำดับที่ 1 ดังนั้น การสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ทั้ง 2 กลุ่มไม่น่าจะชอบด้วยกฎหมาย หากศาลให้การสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติดำเนินต่อไป อาจทำให้ นายเกษม และ นายสุวันชัย เสียสิทธิ์ที่จะได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอย่างเป็นธรรม ซึ่งยากแก่การเยียวยาหากศาลมีคำสั่งให้ทั้งผู้ฟ้องชนะคดี
อีกทั้งการที่ศาลมีคำสั่งให้คณะกรรมการสรรหาฯ ระงับการรับรองรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ เฉพาะกลุ่มการผลิตด้านการบริการและกลุ่มการผลิตด้านการเกษตร และระงับการส่งรายชื่อบุคคลดังกล่าวไปยังนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก็ไม่เป็นปัญหาต่อการบริหารงานของรัฐ เพราะสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ซึ่งพ้นตำแหน่งตามวาระสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯชุดใหม่ ตามมาตรา 8 วรรค 2 ของ พ.ร.บ.สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ.2543 จึงมีเหตุเพียงพอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษาตามคำขอของผู้ฟ้องได้
วันนี้ (19 มิ.ย.) ศาลปกครองกลางมีคำสั่งเมื่อวันที่ 18 มิ.ย.ให้คณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระงับการรับรองประกาศผลการลงคะแนนเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชุดที่ 3 เฉพาะกลุ่มการผลิตด้านการบริหาร และระงับมิให้สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ส่งรายชื่อดังกล่าวไปให้นายกรัฐมนตรี เพื่อลงนามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นการชั่วคราว จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ตามคำฟ้องของ นายเกษม จันทร์น้อย ผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเป็นบุคคลผู้มีสิทธิเลือกกันเอง เพื่อเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมชุดที่ 3 กลุ่มการผลิตด้านการบริการ และ นายสุวันชัย แสงสุขเอี่ยม ผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมชุดที่ 3 กลุ่มการผลิตด้านการเกษตร
ทั้งนี้ ศาลปกครองฯ ระบุเหตุผลของการมีคำสั่งดังกล่าว ว่า เนื่องจากการประชุมสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ มีคณะกรรมการสรรหาฯ บางคนได้มอบหมายให้บุคคลอื่นเข้าประชุมแทน อีกทั้งการสรรหาปรากฏว่า นางผ่องพรรณ จงยศยิ่ง และ นางอัมพร จิตรานุเคราะห์ ที่ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินั้น นางผ่องพรรณ มีสถานะเป็นภรรยาของกรรมการสรรหาฯ และ นางอัมพร มีนามสกุลเดียวกับกรรมการสรรหาฯ นอกจากนี้ นางทัศนีย์ สุภรัตน์ ซึ่งมีสถานะเป็นคู่สมรสของผู้มีสิทธิ์คัดเลือกกันเอง ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ในบัญชีสำรองลำดับที่ 1 ดังนั้น การสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ทั้ง 2 กลุ่มไม่น่าจะชอบด้วยกฎหมาย หากศาลให้การสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติดำเนินต่อไป อาจทำให้ นายเกษม และ นายสุวันชัย เสียสิทธิ์ที่จะได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอย่างเป็นธรรม ซึ่งยากแก่การเยียวยาหากศาลมีคำสั่งให้ทั้งผู้ฟ้องชนะคดี
อีกทั้งการที่ศาลมีคำสั่งให้คณะกรรมการสรรหาฯ ระงับการรับรองรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ เฉพาะกลุ่มการผลิตด้านการบริการและกลุ่มการผลิตด้านการเกษตร และระงับการส่งรายชื่อบุคคลดังกล่าวไปยังนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก็ไม่เป็นปัญหาต่อการบริหารงานของรัฐ เพราะสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ซึ่งพ้นตำแหน่งตามวาระสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯชุดใหม่ ตามมาตรา 8 วรรค 2 ของ พ.ร.บ.สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ.2543 จึงมีเหตุเพียงพอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษาตามคำขอของผู้ฟ้องได้