ที่ประชุมวุฒิสภาได้ลงมติให้ “วิสุทธิ์ โพธิแท่น” ดำรงตำแหน่ง กกต.แทนที่ว่างลงด้วยคะแนนเสียงส่วนใหญ่ 107 ต่อ 11 คะแนน ขณะที่ “ประสพสุข” คาดใช้เวลาอภิปราย ตามมาตรา 161 ประมาณ 6 ชั่วโมง เชื่อตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงไร้ปัญหา
วันนี้ (1 พ.ค.) ที่รัฐสภา นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงการประชุมวุฒิสภา ในวันที่ 1 พ.ค.ว่า การประชุมในวันนี้จะเริ่มจากการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แทนตำแหน่งที่ว่างและให้ความเห็นชอบบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชในแห่งชาติ จากนั้นจะลงมติเลือกคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จริงเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ซึ่งมีผู้สมัคร เข้ารับการสรรหาในสัดส่วนของ ส.ว.16 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คน ส่วนคณะกรรมการสมานฉันท์ เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีสมาชิกสมัครเข้ารับการสรรหา 19 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 12 คน โดยการลงคะแนนจะลงคะแนนโดยวิธีลับโดยใช้บัตรลงคะแนน จากนั้นที่ประชุมจะพิจารณาญัตติอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน โดยไม่ลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 โดยคาดว่าจะใช้เวลาอภิปรายรวมประมาณ 6 ชั่วโมง เบื้องต้นมีสมาชิกมาลงชื่อขออภิปรายแล้วจำนวน 57 คน เมื่อถามถึงมติของวิป 3 ฝ่ายที่ให้มีคณะกรรมการแก้ไขวิกฤตการเมืองออกเป็น 2 คณะ
นายประสพสุขกล่าวด้วยว่า การที่มีคณะกรรมการ 2 คณะน่าจะเป็นเรื่องที่ดี เพราะหลายฝ่ายต้องการทราบข้อเท็จจริงของการผลักดันการชุมนุมและเหตุการณ์ เมื่อวันที่ 13 เม.ย.ที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร
หลังจากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาวาระด่วน เรื่องการให้ความเห็นชอบผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แทนตำแหน่งที่ว่าง 1 ตำแหน่ง ซึ่งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อฯได้พิจารณาเสร็จแล้ว โดยผู้ได้รับการเสนอชื่อคือ นายนายวิสุทธิ์ โพธิแท่น อดีต กกต.ชุดแรก และอดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งนายจำนง สวมประคำ ประธานคณะกรรมาธิการฯได้ รายงานว่า นายวิสุทธิ์ เคยถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตัดสินจำคุก 2 ปี แต่ให้รอลงอาญา 2 ปี จากกรณีขึ้นค่าตอบแทนตนเอง ซึ่งต่อมาได้มีการล้างมลทิน ตาม พ.ร.บ.ล้างมลทิน แต่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้อธิบายความหมายของการล้างมลทินดังกล่าวว่า มีผลล้างมลทินเฉพาะโทษที่ผู้ต้องโทษได้รับเท่านั้น มิได้มีผลเป็นการลบล้างการกระทำความผิดอันเป็นเหตุให้ถูกลงโทษนั้นด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุพจน์ โพธิ์ทองคำ ส.ว.สรรหา ได้อภิปรายว่า การที่นายวิสุทธิ์เคยต้องคดีดังกล่าวนั้นเป็นการทำโดยมติของกรรมการ ป.ป.ช.ทั้ง 9 คน ซึ่งเข้าใจว่าตนเองมีความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล และอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อ ป.ป.ช. อีกทั้งกรรมการสรรหาซึ่ง มีความเชี่ยวชาญยังได้เสนอนายวิสุทธิ์มาซึ่งเป็นกรรมการชุดเดียวที่สรรหา ส.ว.ทั้ง 74 คน มาเป็น ส.ว.ขณะนี้ก็ควรจะน่าไว้วางใจได้ อย่างไรก็ตาม นายจำนงได้ขอให้ที่ประชุมได้ประชุมลับเพื่อพิจารณาในส่วนต่อไป ซึ่งได้เวลาประชุมประมาณ 20 นาที ในที่สุดที่ประชุมได้ลงมติให้ความเห็นชอบนายวิสุทธิ์เป็น กกต.ด้วยคะแนน 107 ต่อ 11 เสียง งดออกเสียง 12 เสียง ทั้งนี้เป็นการลงคะแนนลับ
วันนี้ (1 พ.ค.) ที่รัฐสภา นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงการประชุมวุฒิสภา ในวันที่ 1 พ.ค.ว่า การประชุมในวันนี้จะเริ่มจากการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แทนตำแหน่งที่ว่างและให้ความเห็นชอบบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชในแห่งชาติ จากนั้นจะลงมติเลือกคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จริงเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ซึ่งมีผู้สมัคร เข้ารับการสรรหาในสัดส่วนของ ส.ว.16 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คน ส่วนคณะกรรมการสมานฉันท์ เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีสมาชิกสมัครเข้ารับการสรรหา 19 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 12 คน โดยการลงคะแนนจะลงคะแนนโดยวิธีลับโดยใช้บัตรลงคะแนน จากนั้นที่ประชุมจะพิจารณาญัตติอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน โดยไม่ลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 โดยคาดว่าจะใช้เวลาอภิปรายรวมประมาณ 6 ชั่วโมง เบื้องต้นมีสมาชิกมาลงชื่อขออภิปรายแล้วจำนวน 57 คน เมื่อถามถึงมติของวิป 3 ฝ่ายที่ให้มีคณะกรรมการแก้ไขวิกฤตการเมืองออกเป็น 2 คณะ
นายประสพสุขกล่าวด้วยว่า การที่มีคณะกรรมการ 2 คณะน่าจะเป็นเรื่องที่ดี เพราะหลายฝ่ายต้องการทราบข้อเท็จจริงของการผลักดันการชุมนุมและเหตุการณ์ เมื่อวันที่ 13 เม.ย.ที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร
หลังจากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาวาระด่วน เรื่องการให้ความเห็นชอบผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แทนตำแหน่งที่ว่าง 1 ตำแหน่ง ซึ่งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อฯได้พิจารณาเสร็จแล้ว โดยผู้ได้รับการเสนอชื่อคือ นายนายวิสุทธิ์ โพธิแท่น อดีต กกต.ชุดแรก และอดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งนายจำนง สวมประคำ ประธานคณะกรรมาธิการฯได้ รายงานว่า นายวิสุทธิ์ เคยถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตัดสินจำคุก 2 ปี แต่ให้รอลงอาญา 2 ปี จากกรณีขึ้นค่าตอบแทนตนเอง ซึ่งต่อมาได้มีการล้างมลทิน ตาม พ.ร.บ.ล้างมลทิน แต่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้อธิบายความหมายของการล้างมลทินดังกล่าวว่า มีผลล้างมลทินเฉพาะโทษที่ผู้ต้องโทษได้รับเท่านั้น มิได้มีผลเป็นการลบล้างการกระทำความผิดอันเป็นเหตุให้ถูกลงโทษนั้นด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุพจน์ โพธิ์ทองคำ ส.ว.สรรหา ได้อภิปรายว่า การที่นายวิสุทธิ์เคยต้องคดีดังกล่าวนั้นเป็นการทำโดยมติของกรรมการ ป.ป.ช.ทั้ง 9 คน ซึ่งเข้าใจว่าตนเองมีความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล และอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อ ป.ป.ช. อีกทั้งกรรมการสรรหาซึ่ง มีความเชี่ยวชาญยังได้เสนอนายวิสุทธิ์มาซึ่งเป็นกรรมการชุดเดียวที่สรรหา ส.ว.ทั้ง 74 คน มาเป็น ส.ว.ขณะนี้ก็ควรจะน่าไว้วางใจได้ อย่างไรก็ตาม นายจำนงได้ขอให้ที่ประชุมได้ประชุมลับเพื่อพิจารณาในส่วนต่อไป ซึ่งได้เวลาประชุมประมาณ 20 นาที ในที่สุดที่ประชุมได้ลงมติให้ความเห็นชอบนายวิสุทธิ์เป็น กกต.ด้วยคะแนน 107 ต่อ 11 เสียง งดออกเสียง 12 เสียง ทั้งนี้เป็นการลงคะแนนลับ