เครือข่ายเกษตรกร โร่ร้อง “รสนา” จี้ สอบประกาศ กระทรวงอุตสาหกรรม ขึ้นทะเบียนพืชสมุนไพร 13 ชนิดอันตราย ชี้กระบวนการออกรวบรัด กระทบวิถีชุมชน เชื่อส่อเอื้อประโยชน์ผู้ประกอบการเคมีเกษตร
วันนี้ (16 ก.พ.) ที่รัฐสภา เครือข่ายประชาชนด้านการเกษตร อาทิ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก, เครือข่ายสุขภาพวิถีไทย, เครือข่ายหมอชาวบ้าน, มูลนิธิราชวิถี, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน, คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ นำโดยนายทองหล่อ ขวัญทอง เกษตรกร จ.ยโสธร ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กรุงเทพฯ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา เพื่อขอให้ตรวจสอบประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์จากพืช 13 ชนิด เป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 1 บัญชี ข
โดยระบุว่า การขึ้นทะเบียนดังกล่าวเป็นไปตามข้อเสนอของกรมวิชาการเกษตรถือว่ากระทบต่อเกษตรกร เนื่องจากพืชทั้ง 13 ชนิด เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์เพื่อการกำจัดศัตรูพืชมาเป็นเวลานาน การดำเนินการของกรมวิชาการเกษตรจะสร้างผลกระทบต่อเกษตรกรและคนในท้องถิ่นรวมถึงผู้ประกอบการรายย่อย โดยกลุ่มเครือข่ายฯ ตั้งข้อสังเกตว่า ประกาศดังกล่าวมีกระบวนการที่รวบรัด ทั้งการขอรับรองมติจากคณะกรรมการวัตถุอันตรายก่อนประกาศ ก็เป็นไปโดยมิชอบ และไม่รับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะองค์กรทางสาธารณะประโยชน์ที่ทำงานด้านเกษตรยั่งยืน, สิ่งแวดล้อม และคุ้มครองผู้บริโภค การดำเนิน จึงอาจปราศจากธรรมาภิบาล จึงตั้งคำถามว่าประกาศดังกล่าวมีเจตนาเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการเคมีเกษตรและบริษัทข้ามชาติหรือไม่ จึงขอเรียกร้องให้กรรมาธิการทำการตรวจสอบ
วันนี้ (16 ก.พ.) ที่รัฐสภา เครือข่ายประชาชนด้านการเกษตร อาทิ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก, เครือข่ายสุขภาพวิถีไทย, เครือข่ายหมอชาวบ้าน, มูลนิธิราชวิถี, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน, คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ นำโดยนายทองหล่อ ขวัญทอง เกษตรกร จ.ยโสธร ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กรุงเทพฯ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา เพื่อขอให้ตรวจสอบประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์จากพืช 13 ชนิด เป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 1 บัญชี ข
โดยระบุว่า การขึ้นทะเบียนดังกล่าวเป็นไปตามข้อเสนอของกรมวิชาการเกษตรถือว่ากระทบต่อเกษตรกร เนื่องจากพืชทั้ง 13 ชนิด เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์เพื่อการกำจัดศัตรูพืชมาเป็นเวลานาน การดำเนินการของกรมวิชาการเกษตรจะสร้างผลกระทบต่อเกษตรกรและคนในท้องถิ่นรวมถึงผู้ประกอบการรายย่อย โดยกลุ่มเครือข่ายฯ ตั้งข้อสังเกตว่า ประกาศดังกล่าวมีกระบวนการที่รวบรัด ทั้งการขอรับรองมติจากคณะกรรมการวัตถุอันตรายก่อนประกาศ ก็เป็นไปโดยมิชอบ และไม่รับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะองค์กรทางสาธารณะประโยชน์ที่ทำงานด้านเกษตรยั่งยืน, สิ่งแวดล้อม และคุ้มครองผู้บริโภค การดำเนิน จึงอาจปราศจากธรรมาภิบาล จึงตั้งคำถามว่าประกาศดังกล่าวมีเจตนาเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการเคมีเกษตรและบริษัทข้ามชาติหรือไม่ จึงขอเรียกร้องให้กรรมาธิการทำการตรวจสอบ