ที่ประชุมวิป 6 พรรคร่วมรัฐบาล ยกมือหนุน “หมัก” เข็นทำประชามติเต็มที่ อ้อมแอ้มหลังถูกสื่อซักหนัก อ้างยอมผลาญงบแผ่นดินเพื่อช่วยหาทางออกแก้วิกฤต เผยเตรียมส่งตัวแทนจับเข่าคุยพันธมิตรฯ
วันนี้ (4 ก.ย.) ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลนำโดยนายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พรรคพลังประชาชน, นายเอกพจน์ ปานแย้ม ส.ส.ปทุมธานี พรรคชาติไทย, นายสมชัย เจริญชัยฤทธิ์ ส.ส.นครสวรรค์ พรรคประชาราช, นายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ ส.ส.ปราจีนบุรี พรรคมัชฌิมาธิปไตย, นายอลงกต มณีกาศ ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อแผ่นดิน และนางวศุลี สุวรรณปาริสุทธิ์ ส.ส.มุกดาหาร พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ร่วมกันแถลงข่าวสนับสนุนหลักการและแนวทางการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ทำประชามติ เพื่อขอเห็นความคิดเห็นของประชาชนในการแก้ไขวิกฤตชาติ
นายพีรพันธุ์ กล่าวว่า จากการหารือของ ส.ส.6 พรรคร่วมรัฐบาล ทุกคนเห็นพ้องต้องกันในการสนับสนุนมติ ครม.ที่ให้ทำประชามติสอบถามความเห็นจากประชาชนในการแก้วิกฤตของประเทศเพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องการเมืองจึงต้องแก้ด้วยการเมือง โดยการถามผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยว่าคิดอย่างไร และรัฐบาลควรแก้ไขปัญหาอย่างไร ส่วนที่ฝ่ายค้านระบุว่าการทำประชามติขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 165 รัฐบาลสามารถเลี่ยงได้โดยอาจไม่ใช้คำว่าถามประชามติแต่ใช้คำว่าถามความเห็นประชาชน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวไม่ได้เป็นการทำให้ประชาชนเลือกข้าง จะต้องใช้งบประมาณมากแค่ไหนก็ต้องทำ หากจะเป็นทางออกในการแก้ปัญหาก็ถือว่าคุ้มค่า
เมื่อถามย้ำว่า ในช่วงที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทำไมไม่ทำประชามติถามคนทั้งประเทศว่าเห็นด้วยหรือ โดยอ้างว่าเป็นตัวแทนของประชาชนอยู่แล้ว แต่มีปัญหาวิกฤตเกี่ยวกับความอยู่รอดของรัฐบาล กลับมาถามประชามติ จะเป็นการเอาเปรียบประชาชนประชาชนหรือไม่ นายพีรพันธ์ กล่าวว่า ตามรัฐธรรมนูญปี 50 ที่ผ่านมาประชามติมาแล้วให้สิทธิ ส.ส.ในการแก้ไขได้ รัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 โดยไม่ต้องทำประชามติ อีก
ผู้สื่อข่าวถามว่า การทำประชามติเพื่อหาความชอบธรรมให้แก่รัฐบาลเหมือนกับกรณีที่ ส.ส.รัฐบาลเกณฑ์คนอีสานมาปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ จนมีคนตาย เพื่อนำไปสู่การออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือไม่ นางวรศุลี ตัวแทนจากพรรคชาติพัฒนารวมใจไทย กล่าวว่า การไปชุมนุมครั้งนั้นไม่ได้มีเฉพาะคนอีสานเท่านั้น และไม่ได้อยู่เบื้องหลังพาคนไปตาย แต่เมื่อมีความเห็นต่างจากกลุ่มพันธมิตร ก็มีสิทธิ์ที่จะออกมาเคลื่อนไหว และไม่ได้ต้องการให้มีการปะทะกันจนเกิดเหตุการณ์รุนแรง ส่วนการทำประชามติครั้งนี้ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุดต่อการแก้ปัญหาการเผชิญหน้า ดังนั้น ควรมีโอกาสในการทำประชาชน รวมถึงคนไทยทั้งประเทศด้วย
ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า ในเมื่อรัฐบาลอ้างว่ามาจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน และมีความชอบธรรมที่จะบริหารประเทศต่อ ทำไมต้องทำประชามติถามเห็นจากประชาชน นายเอกพจน์ จากพรรคชาติไทย ชี้แจงว่า เวลานี้เราต้องยอมรับว่าปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องการเมืองอย่างชัดเจน และไม่สามารถทางทางออกได้ ดังนั้น แนวทางที่ดีที่สุด คือ ฟังความเห็นของประชาชนที่เป็นเจ้าของประเทศว่าเขาต้องการให้เราทำอย่างไร เมื่อปัญหาวิกฤต และไม่มีทางออกก็เป็นสิทธิ์ของรัฐบาลที่จะฟังความเห็น และพรรคร่วมก็มีความเห็นด้วยให้ทำประชามติ
ต่อข้อถาม การทำประชามติจะมีประโยชน์อะไร หากผลออกมาแล้วแต่กลุ่มพันธมิตรฯ ยังคงชุมนุมต่อไป นายเกียรติกร ตัวแทนจากพรรคมัชฌิมาธิปไตย กล่าวว่า นอกจากแนวทางการทำประชามติแล้ว ฝ่ายนิติบัญญัติจะดำเนินการโดยทางลับโดยประสานกับตัวแทนพันธมิตรฯ เพื่อเจรจาหาทางออกให้ประเทศ ซึ่งเป็นการดำเนินการอย่างไม่เป็นทางการและไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ โดยการไปเจรจาจะเป็นการส่งตัวแทนของพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน พรรคละ 1 คนไปเจรจา ทั้งนี้การไปหารือไม่ได้ไปในนามรัฐบาลแต่ไปในนามของพรรคการเมือง โดยมีกำหนดนัดหารือในเวลา 14.00 น.ของวันนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการแถลงข่าวครั้งนี้ แกนนำ 6 พรรคร่วมรัฐบาลรีบมาแถลงสนับสนุนและเรียกร้องให้สื่อมวลชนช่วยเสนอข่าวในเชิงสนับสนุนการทำประชามติของรัฐบาลเพื่อหาทางออก แต่เมื่อมีการซักถามถึงประเด็นคำถามที่จะใช้ในการทำประชามติจากประชาชน ตัวแทนกลุ่มกลับอึกอักไม่สามารถตอบคำถามได้ โดยอ้างเพียงว่าสนับสนุนแนวทางนี้และต้องรอแนวทางคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อน
วันนี้ (4 ก.ย.) ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลนำโดยนายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พรรคพลังประชาชน, นายเอกพจน์ ปานแย้ม ส.ส.ปทุมธานี พรรคชาติไทย, นายสมชัย เจริญชัยฤทธิ์ ส.ส.นครสวรรค์ พรรคประชาราช, นายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ ส.ส.ปราจีนบุรี พรรคมัชฌิมาธิปไตย, นายอลงกต มณีกาศ ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อแผ่นดิน และนางวศุลี สุวรรณปาริสุทธิ์ ส.ส.มุกดาหาร พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ร่วมกันแถลงข่าวสนับสนุนหลักการและแนวทางการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ทำประชามติ เพื่อขอเห็นความคิดเห็นของประชาชนในการแก้ไขวิกฤตชาติ
นายพีรพันธุ์ กล่าวว่า จากการหารือของ ส.ส.6 พรรคร่วมรัฐบาล ทุกคนเห็นพ้องต้องกันในการสนับสนุนมติ ครม.ที่ให้ทำประชามติสอบถามความเห็นจากประชาชนในการแก้วิกฤตของประเทศเพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องการเมืองจึงต้องแก้ด้วยการเมือง โดยการถามผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยว่าคิดอย่างไร และรัฐบาลควรแก้ไขปัญหาอย่างไร ส่วนที่ฝ่ายค้านระบุว่าการทำประชามติขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 165 รัฐบาลสามารถเลี่ยงได้โดยอาจไม่ใช้คำว่าถามประชามติแต่ใช้คำว่าถามความเห็นประชาชน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวไม่ได้เป็นการทำให้ประชาชนเลือกข้าง จะต้องใช้งบประมาณมากแค่ไหนก็ต้องทำ หากจะเป็นทางออกในการแก้ปัญหาก็ถือว่าคุ้มค่า
เมื่อถามย้ำว่า ในช่วงที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทำไมไม่ทำประชามติถามคนทั้งประเทศว่าเห็นด้วยหรือ โดยอ้างว่าเป็นตัวแทนของประชาชนอยู่แล้ว แต่มีปัญหาวิกฤตเกี่ยวกับความอยู่รอดของรัฐบาล กลับมาถามประชามติ จะเป็นการเอาเปรียบประชาชนประชาชนหรือไม่ นายพีรพันธ์ กล่าวว่า ตามรัฐธรรมนูญปี 50 ที่ผ่านมาประชามติมาแล้วให้สิทธิ ส.ส.ในการแก้ไขได้ รัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 โดยไม่ต้องทำประชามติ อีก
ผู้สื่อข่าวถามว่า การทำประชามติเพื่อหาความชอบธรรมให้แก่รัฐบาลเหมือนกับกรณีที่ ส.ส.รัฐบาลเกณฑ์คนอีสานมาปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ จนมีคนตาย เพื่อนำไปสู่การออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือไม่ นางวรศุลี ตัวแทนจากพรรคชาติพัฒนารวมใจไทย กล่าวว่า การไปชุมนุมครั้งนั้นไม่ได้มีเฉพาะคนอีสานเท่านั้น และไม่ได้อยู่เบื้องหลังพาคนไปตาย แต่เมื่อมีความเห็นต่างจากกลุ่มพันธมิตร ก็มีสิทธิ์ที่จะออกมาเคลื่อนไหว และไม่ได้ต้องการให้มีการปะทะกันจนเกิดเหตุการณ์รุนแรง ส่วนการทำประชามติครั้งนี้ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุดต่อการแก้ปัญหาการเผชิญหน้า ดังนั้น ควรมีโอกาสในการทำประชาชน รวมถึงคนไทยทั้งประเทศด้วย
ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า ในเมื่อรัฐบาลอ้างว่ามาจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน และมีความชอบธรรมที่จะบริหารประเทศต่อ ทำไมต้องทำประชามติถามเห็นจากประชาชน นายเอกพจน์ จากพรรคชาติไทย ชี้แจงว่า เวลานี้เราต้องยอมรับว่าปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องการเมืองอย่างชัดเจน และไม่สามารถทางทางออกได้ ดังนั้น แนวทางที่ดีที่สุด คือ ฟังความเห็นของประชาชนที่เป็นเจ้าของประเทศว่าเขาต้องการให้เราทำอย่างไร เมื่อปัญหาวิกฤต และไม่มีทางออกก็เป็นสิทธิ์ของรัฐบาลที่จะฟังความเห็น และพรรคร่วมก็มีความเห็นด้วยให้ทำประชามติ
ต่อข้อถาม การทำประชามติจะมีประโยชน์อะไร หากผลออกมาแล้วแต่กลุ่มพันธมิตรฯ ยังคงชุมนุมต่อไป นายเกียรติกร ตัวแทนจากพรรคมัชฌิมาธิปไตย กล่าวว่า นอกจากแนวทางการทำประชามติแล้ว ฝ่ายนิติบัญญัติจะดำเนินการโดยทางลับโดยประสานกับตัวแทนพันธมิตรฯ เพื่อเจรจาหาทางออกให้ประเทศ ซึ่งเป็นการดำเนินการอย่างไม่เป็นทางการและไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ โดยการไปเจรจาจะเป็นการส่งตัวแทนของพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน พรรคละ 1 คนไปเจรจา ทั้งนี้การไปหารือไม่ได้ไปในนามรัฐบาลแต่ไปในนามของพรรคการเมือง โดยมีกำหนดนัดหารือในเวลา 14.00 น.ของวันนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการแถลงข่าวครั้งนี้ แกนนำ 6 พรรคร่วมรัฐบาลรีบมาแถลงสนับสนุนและเรียกร้องให้สื่อมวลชนช่วยเสนอข่าวในเชิงสนับสนุนการทำประชามติของรัฐบาลเพื่อหาทางออก แต่เมื่อมีการซักถามถึงประเด็นคำถามที่จะใช้ในการทำประชามติจากประชาชน ตัวแทนกลุ่มกลับอึกอักไม่สามารถตอบคำถามได้ โดยอ้างเพียงว่าสนับสนุนแนวทางนี้และต้องรอแนวทางคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อน