“พลังแม้ว” มามุกใหม่รอจังหวะปลอดคนเตรียมเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญในช่วงเปิดสภาสมัยนิติบัญญัคิ "ชูศักดิ์" ส่งสัญญาณผ่อนอ้างยังไม่ดันเข้าสภา 1 ส.ค.นี้ ระบุวิปยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ
วันนี้ (31 ก.ค.) นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในการเปิดประชุมสภาสมัยสามัญนิติบัญญัติวันที่ 1 ส.ค.นี้ รัฐบาลจะยังไม่เสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญปี 2550 เข้าสู่ที่ประชุมสภา โดยอ้างว่าวิปรัฐบาลยังศึกษากันอยู่ว่าควรจะปรับแก้ในประเด็นใดบ้าง และยังไม่สามารถกำหนดกรอบเวลาในการยื่นเสนอได้ แต่เบื้องต้นจะเสนอโดยเร็วหลังจากที่พิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว
ส่วนกรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เรียกชุมนุมใหญ่ในวันที่ 1 ส.ค.เพื่อคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญนั้น นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ไม่อยากให้เกิดความวุ่นวายหากจะดำเนินการอย่างไรก็ควรทำด้วยเหตุผล หากจะคัดค้านหรือไม่เห็นด้วยอย่างไรก็ให้บอกมาว่าส่วนไหนควรปรับปรุงแก้ไข แต่ยืนยันว่าการจะเสนอแก้ไขรัฐบาลทำตามรัฐธรรมนูญ และมีเหตุผลในการแก้ไข ซึ่งก่อนหน้านี้กลุ่มพันธมิตรก็เคยเสนอว่าให้รับร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ไปก่อนแล้วมาแก้ไขภายหลัง
เมื่อถามว่า การปรับ ครม.ครั้งนี้ ส.ส.กลุ่มอีสานพัฒนา พรรคพลังประชาชน ไม่พอใจการตั้ง นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตรองประธานสภาฯเป็นรัฐมนตรี โดยส.ส.กลุ่มนี้ขู่จะไม่ร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ต้องไปชี้แจงทำความเข้าใจกันว่าเป็นอย่างไร อยากให้มองเป็นเรื่องธรรมดาที่มีการปรับครม.ก็ต้องมีปัญหาอย่างนี้มาตลอด และคิดว่าคงพูดกันรู้เรื่องไม่เกิดปัญหาลุกลามใหญ่โต และขณะนี้ก็มีกฎหมายบังคับไว้ หากจะทำอะไรที่เกินเลยก็คงไม่ได้
นายชูศักดิ์ กล่าวถึงกรณีที่อัยการสูงสุดแสดงความไม่สบายใจในการเป็นทนายว่าความให้ 3 รัฐมนตรีคดีทุจริตการออกสลากพิเศษ 2-3 ตัว ว่าแต่ละคนต้องทำหน้าที่กันไปอย่างถูกต้อง แต่ในคดีนี้อัยการไม่ได้เป็นผู้ฟ้องเอง คนเป็นโจทก์คือคตส. ดังนั้นรัฐบาลจึงคิดว่ารัฐมนตรีที่ทำงานก็มีสิทธิที่จะให้อัยการว่าความให้ได้ เพราะกฎหมายอนุญาตอยู่แล้ว และรัฐธรรมนูญก็กำหนดให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่เหมือนกับองค์กรอิสระดังนั้นทนายแผ่นดินก็ต้องรับผิดชอบและรับมอบงานจากรัฐมนตรี อัยการจึงต้องทำตามหน้าที่ แต่หากอัยการจะไม่เป็นทนายให้ก็ต้องมีเหตุผลชี้แจงได้
เมื่อถามถึงกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เตรียมส่งหนังสือถึง นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีให้พิจารณาพักงาน 3 รัฐมนตรี หากนายกฯไม่ดำเนินการจะเข้าข่ายละเว้นปฏิบัติหน้าที่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า เป็นการทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน จะได้เข้าข่ายตามที่รัฐธรรมนูญเขียนไว้ เป็นการหาช่องเพื่อให้ส่งให้ตีความได้ ส่วนที่ว่านายกฯจะเข้าข่ายละเว้นปฏิบัติหน้าที่หรือไม่นั้น ก็เป็นเรื่องที่ต้องตีความว่า ป.ป.ช.มีอำนาจหน้าที่ชี้ขาดว่าควรพักหรือไม่พักงานใครหรือไม่
วันนี้ (31 ก.ค.) นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในการเปิดประชุมสภาสมัยสามัญนิติบัญญัติวันที่ 1 ส.ค.นี้ รัฐบาลจะยังไม่เสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญปี 2550 เข้าสู่ที่ประชุมสภา โดยอ้างว่าวิปรัฐบาลยังศึกษากันอยู่ว่าควรจะปรับแก้ในประเด็นใดบ้าง และยังไม่สามารถกำหนดกรอบเวลาในการยื่นเสนอได้ แต่เบื้องต้นจะเสนอโดยเร็วหลังจากที่พิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว
ส่วนกรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เรียกชุมนุมใหญ่ในวันที่ 1 ส.ค.เพื่อคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญนั้น นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ไม่อยากให้เกิดความวุ่นวายหากจะดำเนินการอย่างไรก็ควรทำด้วยเหตุผล หากจะคัดค้านหรือไม่เห็นด้วยอย่างไรก็ให้บอกมาว่าส่วนไหนควรปรับปรุงแก้ไข แต่ยืนยันว่าการจะเสนอแก้ไขรัฐบาลทำตามรัฐธรรมนูญ และมีเหตุผลในการแก้ไข ซึ่งก่อนหน้านี้กลุ่มพันธมิตรก็เคยเสนอว่าให้รับร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ไปก่อนแล้วมาแก้ไขภายหลัง
เมื่อถามว่า การปรับ ครม.ครั้งนี้ ส.ส.กลุ่มอีสานพัฒนา พรรคพลังประชาชน ไม่พอใจการตั้ง นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตรองประธานสภาฯเป็นรัฐมนตรี โดยส.ส.กลุ่มนี้ขู่จะไม่ร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ต้องไปชี้แจงทำความเข้าใจกันว่าเป็นอย่างไร อยากให้มองเป็นเรื่องธรรมดาที่มีการปรับครม.ก็ต้องมีปัญหาอย่างนี้มาตลอด และคิดว่าคงพูดกันรู้เรื่องไม่เกิดปัญหาลุกลามใหญ่โต และขณะนี้ก็มีกฎหมายบังคับไว้ หากจะทำอะไรที่เกินเลยก็คงไม่ได้
นายชูศักดิ์ กล่าวถึงกรณีที่อัยการสูงสุดแสดงความไม่สบายใจในการเป็นทนายว่าความให้ 3 รัฐมนตรีคดีทุจริตการออกสลากพิเศษ 2-3 ตัว ว่าแต่ละคนต้องทำหน้าที่กันไปอย่างถูกต้อง แต่ในคดีนี้อัยการไม่ได้เป็นผู้ฟ้องเอง คนเป็นโจทก์คือคตส. ดังนั้นรัฐบาลจึงคิดว่ารัฐมนตรีที่ทำงานก็มีสิทธิที่จะให้อัยการว่าความให้ได้ เพราะกฎหมายอนุญาตอยู่แล้ว และรัฐธรรมนูญก็กำหนดให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่เหมือนกับองค์กรอิสระดังนั้นทนายแผ่นดินก็ต้องรับผิดชอบและรับมอบงานจากรัฐมนตรี อัยการจึงต้องทำตามหน้าที่ แต่หากอัยการจะไม่เป็นทนายให้ก็ต้องมีเหตุผลชี้แจงได้
เมื่อถามถึงกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เตรียมส่งหนังสือถึง นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีให้พิจารณาพักงาน 3 รัฐมนตรี หากนายกฯไม่ดำเนินการจะเข้าข่ายละเว้นปฏิบัติหน้าที่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า เป็นการทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน จะได้เข้าข่ายตามที่รัฐธรรมนูญเขียนไว้ เป็นการหาช่องเพื่อให้ส่งให้ตีความได้ ส่วนที่ว่านายกฯจะเข้าข่ายละเว้นปฏิบัติหน้าที่หรือไม่นั้น ก็เป็นเรื่องที่ต้องตีความว่า ป.ป.ช.มีอำนาจหน้าที่ชี้ขาดว่าควรพักหรือไม่พักงานใครหรือไม่