ทนายความกู้ชาติแฉเล่ห์กระบวนการบิดเบือนความยุติธรรม มีทั้งฟ้องปิดปาก ยื้อคดี ทำสำนวนอ่อน แยกไปฟ้องในพื้นที่ห่างไกล ระบุตำรวจ-อัยการ ตัวการสำคัญ
วันนี้ (5 ก.ค.) ในช่วง “รู้ทันประเทศไทย” ในหัวข้อเปิดโปงขบวนการบิดเบือนกระบวนการยุติธรรม ดำเนินรายการโดย นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และนายสันติสุข มโรงศรี มีวิทยากรร่วมรายการคือ นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และ นายนคร ชมภูชาติ ทนายความจากสภาทนายความ
นายสุวัตร เปิดโปงถึงการบิดเบือนคดีของตำรวจซึ่งเป็นต้นทางของกระบวนการยุติธรรม ยกตัวอย่างกรณีหากมีพันธมิตรฯถูกแจ้งความ คดีก็จะเดินไปเร็วมากจนผิดปกติ ส่วนบางคดีเช่น กรณีที่ กลุ่ม นปก.ไปบุกบ้านป๋าเปรม ตอนนี้คดียังไม่ไปถึงไหน ดังนั้น การเลือกปฏิบัติมักเกิดขึ้นเสมอ
ถามว่าการเลือกแจ้งความในบางพื้นที่มีนัยยะอย่างไรบ้าง นายสุวัตรยกตัวอย่างกรณี 5 แกนนำพันธมิตรO ถูกแจ้งความที่ 0.ชัยภูมิ และฉะเชิงเทรา ทั้งที่ 5 แกนนำมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งทำให้เข้าใจได้ว่าอาจต้องการให้เกิดความลำบากในการสู้คดี หรืออาจจะรู้จักกับคนในกระบวนการยุติธรรมในพื้นที่ก็ได้
นายนคร กล่าวว่า ตามหลักการตำรวจต้องให้ความเป็นธรรมกับคู่ความทั้งสองฝ่าย โดยไม่มีการตั้งธงไว้ล่วงหน้า แต่หลายครั้งไม่ยุติธรรม และบิดเบือน หรือเลือกพยายนหลักฐานบางอย่างมาใช้ ซึ่งถือว่าขั้นตอนนี้ถือว่าสำคัญก่อนถึงมืออัยการ หรือมีการเรียกรับผลประโยชน์
นายนคร กล่าวว่า ปัญหาการยัดข้อหามีมากในช่วงที่ทำสงครามปราบปรามยาเสพติด เพราะเจ้าหน้าที่ต้องการสร้างผลงาน มีการสร้างหลักฐานเท็จ ซึ่งมีการร้องเรียนจากญาติของผู้เสียชีวิตที่ร้องเรียนเข้ามา เนื่องจากตนเองเป็นกรรมการในกรรมการสิทธิมนุษยชนทำให้รับเรื่องเข้ามามาก
นอกจากนี้ นายสุวัตรยังได้กล่าวถึงกรณีที่มีการฟ้องปิดปาก กรณีมีการร้องข้อหาหมิ่นประมาทและเรียกค่าเสียหายแพงๆ เจตนาเพื่อต้องการปิดปากไม่ให้ถูกวิพากวิจารณ์ ซึ่งกรณีที่ นายสนธิ ลิ้มทองกุล และแกนนำพันธมิตรฯคนอื่นถูกฟ้องและขอให้ศาลคุ้มครองชั่วคราวไม่ให้มีการพูดถึงอีกนั้นในความเห็นส่วนตัวถือว่าเมื่อขึ้นเวทีหรือการให้พูดแต่ละครั้งเมื่อเสร็จสิ้นแล้วถือว่าจบไปแล้วครั้งหนึ่ง และเมื่อมีการพูดใหม่หรือวิจารณ์อีกครั้งก็ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ หากเห็นว่าเสียหายก็ต้องแยกฟ้องใหม่ เพราะต่างกรรมต่างวาระกัน ไม่ใช่ห้ามครั้งเดียวไปตลอดชีวิต ดังนั้นจึงมีเหตุผลที่จะต้องยื่นต่อศาลเพื่อโต้แย้งกรณีดังกล่าว
นายนคร ยังได้กล่าวถึงบทบาทของอัยการว่าหลายครั้งมีความผิดปกติ โดยได้ยกตัวอย่างกรณีคดีของวัดพระธรรมกายที่มีการดำเนินคดีในชั้นศาลจนใกล้จะมีการตัดสินคดีแล้ว แต่ทางอัยการไปถอนฟ้อง ซึ่งถือว่า เป็นเรื่องผิดปกติ และมีสีเทาๆชี้แจงไม่ชัดเจน
นายสุวัตร เสริมว่ากรณีนี้ถือว่าเลือกปฏิบัติ เพราะในกรณีเดียวกันกับวัดอื่นๆที่เจ้าอาวาสบังเอิญเผลอไผลเรื่องเงินเรื่องทองทำไม่ไม่ถอนฟ้องบ้าง และเห็นว่ามีหลายฝ่ายพยายามให้หน่วยงานอัยการเป็นอิสระ แต่อัยการไม่ยอมให้ตัวเองเป็นอิสระ