ผู้จัดการออนไลน์ – ผลเอแบคโพลล์ชี้ประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนการชุมนุมของพันธมิตรฯ ภายใต้เงื่อนไขของความสงบเรียบร้อย ระบุคนกรุงไม่เอา ‘สมัคร’ แล้ว ขณะที่คนต่างจังหวัดยังให้โอกาสอยู่
วันนี้ (8 มิ.ย.) สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เผยแพร่ผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง “ฐานสนับสนุนของสาธารณชนต่อท่าทีของกลุ่มพันธมิตรฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กองทัพ และรัฐบาล” โดยเป็นการศึกษาจากตัวอย่างทั้งสิ้น 3,338 ตัวอย่าง ใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ประกอบไปด้วย กรุงเทพฯ เชียงใหม่ พิจิตร พิษณุโลก ขอนแก่น อุบลราชธานี หนองคาย นครราชสีมา บุรีรัมย์ อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ ชลบุรี นครปฐม สมุทรปราการ นนทบุรี สงขลา และนครศรีธรรมราช ในช่วงวันที่ 1-8 มิถุนายน 2551
ทั้งนี้ ผลการสำรวจดังกล่าวระบุถึงผลสำรวจความคิดเห็นและท่าทีของประชาชนต่อการชุมนุมของพันธมิตรฯ ว่า ประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 54.9 สนับสนุนการชุมนุมของพันธมิตรฯ ขณะที่ ชาวต่างจังหวัดร้อยละ 52.7 สนับสนุนพันธมิตรฯ อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้สนับสนุนส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าการชุมนุมต้องไม่ทำให้สังคมวุ่นวายและประชาชนเดือดร้อน
ในทางตรงกันข้าม ก็มีชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 37.9 และชาวต่างจังหวัดร้อยละ 40.9 ที่ไม่สนับสนุนการชุมนุมของพันธมิตรฯ
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวถึงผลการสำรวจดังกล่าวว่า “การที่ตัวเลขผลการสำรวจออกมาเช่นนี้มองได้อย่างน้อยสองด้าน คือ ถ้ากลุ่มพันธมิตรฯ สามารถควบคุมให้การชุมนุมเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อยก็จะได้ฐานสนับสนุนมากเลยทีเดียว แต่ถ้าเพลี่ยงพล้ำทำให้สังคมวุ่นวาย ประชาชนเดือดร้อน ก็จะทำให้สูญเสียฐานสนับสนุนไปจนกลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบด้านฐานสนับสนุนจากสาธารณชน ในอีกด้านหนึ่ง ถ้ากลุ่มพันธมิตรฯ สามารถชุมนุมไปด้วยความสงบเรียบร้อยก็จะมีฐานสนับสนุนจากสาธารณชนมากกว่ากลุ่มต่อต้านการชุมนุม”
นอกจากนี้ยังมีผลการสำรวจอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น ตัวอย่างกลุ่มผู้สำรวจชาวกรุงเทพฯ และคนต่างจังหวัดมีระดับการสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด คือ ชาวกรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 43.7 ไม่สนับสนุนนายสมัครให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ขณะที่ชาวต่างจังหวัดส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 50.8 สนับสนุนนายสมัคร
ทั้งนี้ เมื่อเอแบคโพลล์ทำการเปรียบเทียบระดับการสนับสนุนนายสมัครในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พบว่า ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา ชาวกรุงเทพฯ และปริมณฑล ลดการสนับสนุนนายสมัครอย่างต่อเนื่อง จากเดือนกุมภาพันธ์ที่สนับสนุนนายสมัคร ร้อยละ 45.4 ปัจจุบันมีผู้สนับสนุนนายสมัครเพียงร้อยละ 28.9 ขณะที่ตัวเลขของผู้ไม่สนับสนุนกลับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 36.8 เป็นร้อยละ 43.7 ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ทว่าเมื่อพิจารณาฐานผู้สนับสนุนนายสมัครจากภาพรวมทั่วประเทศพบกว่า กลุ่มคนที่สนับสนุนยังคงมากกว่าผู้ที่ไม่สนับสนุน คือ ร้อยละ 48.5 สนับสนุน ขณะที่ร้อยละ 32.4 ไม่สนับสนุน และร้อยละ 19.1 ขออยู่ตรงกลาง
ขณะเดียวกัน ผลการสำรวจชิ้นดังกล่าวยังระบุถึงระดับความสุขของประชาชนจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ พบว่า กลุ่มตัวอย่างสำรวจประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 54.5 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 54.1 ในต่างจังหวัดมีความสุขลดลง
ผอ.สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวสรุปถึงผลการสำรวจครั้งนี้โดยชี้ให้เห็นว่า สถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันอยู่ในสภาวะที่ทุกๆ ฝ่ายทั้งกลุ่มพันธมิตรฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กองทัพ รัฐบาล และ นายกรัฐมนตรี จำเป็นต้องระมัดระวัง เพราะตัวเลขที่สำรวจยืนยันว่า กลุ่มพันธมิตรฯ มีฐานสนับสนุนอยู่จำนวนมาก โดยมากพอที่จะแสดงพลังอย่างใดอย่างหนึ่งได้ไม่ยากนัก โดยเฉพาะถ้าชุมนุมอย่างสงบก็จะได้ใจของสาธารณชนเพิ่มขึ้น ส่วนท่าทีของตำรวจและกองทัพก็ได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนส่วนใหญ่ในการสำรวจครั้งนี้ ขณะที่รัฐบาลและนายกรัฐมนตรียังได้รับในการสนับสนุนอยู่ แต่ยังมีโอกาสที่จะเพลี่ยงพล้ำได้ง่าย
วันนี้ (8 มิ.ย.) สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เผยแพร่ผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง “ฐานสนับสนุนของสาธารณชนต่อท่าทีของกลุ่มพันธมิตรฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กองทัพ และรัฐบาล” โดยเป็นการศึกษาจากตัวอย่างทั้งสิ้น 3,338 ตัวอย่าง ใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ประกอบไปด้วย กรุงเทพฯ เชียงใหม่ พิจิตร พิษณุโลก ขอนแก่น อุบลราชธานี หนองคาย นครราชสีมา บุรีรัมย์ อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ ชลบุรี นครปฐม สมุทรปราการ นนทบุรี สงขลา และนครศรีธรรมราช ในช่วงวันที่ 1-8 มิถุนายน 2551
ทั้งนี้ ผลการสำรวจดังกล่าวระบุถึงผลสำรวจความคิดเห็นและท่าทีของประชาชนต่อการชุมนุมของพันธมิตรฯ ว่า ประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 54.9 สนับสนุนการชุมนุมของพันธมิตรฯ ขณะที่ ชาวต่างจังหวัดร้อยละ 52.7 สนับสนุนพันธมิตรฯ อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้สนับสนุนส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าการชุมนุมต้องไม่ทำให้สังคมวุ่นวายและประชาชนเดือดร้อน
ในทางตรงกันข้าม ก็มีชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 37.9 และชาวต่างจังหวัดร้อยละ 40.9 ที่ไม่สนับสนุนการชุมนุมของพันธมิตรฯ
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวถึงผลการสำรวจดังกล่าวว่า “การที่ตัวเลขผลการสำรวจออกมาเช่นนี้มองได้อย่างน้อยสองด้าน คือ ถ้ากลุ่มพันธมิตรฯ สามารถควบคุมให้การชุมนุมเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อยก็จะได้ฐานสนับสนุนมากเลยทีเดียว แต่ถ้าเพลี่ยงพล้ำทำให้สังคมวุ่นวาย ประชาชนเดือดร้อน ก็จะทำให้สูญเสียฐานสนับสนุนไปจนกลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบด้านฐานสนับสนุนจากสาธารณชน ในอีกด้านหนึ่ง ถ้ากลุ่มพันธมิตรฯ สามารถชุมนุมไปด้วยความสงบเรียบร้อยก็จะมีฐานสนับสนุนจากสาธารณชนมากกว่ากลุ่มต่อต้านการชุมนุม”
นอกจากนี้ยังมีผลการสำรวจอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น ตัวอย่างกลุ่มผู้สำรวจชาวกรุงเทพฯ และคนต่างจังหวัดมีระดับการสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด คือ ชาวกรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 43.7 ไม่สนับสนุนนายสมัครให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ขณะที่ชาวต่างจังหวัดส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 50.8 สนับสนุนนายสมัคร
ทั้งนี้ เมื่อเอแบคโพลล์ทำการเปรียบเทียบระดับการสนับสนุนนายสมัครในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พบว่า ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา ชาวกรุงเทพฯ และปริมณฑล ลดการสนับสนุนนายสมัครอย่างต่อเนื่อง จากเดือนกุมภาพันธ์ที่สนับสนุนนายสมัคร ร้อยละ 45.4 ปัจจุบันมีผู้สนับสนุนนายสมัครเพียงร้อยละ 28.9 ขณะที่ตัวเลขของผู้ไม่สนับสนุนกลับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 36.8 เป็นร้อยละ 43.7 ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ทว่าเมื่อพิจารณาฐานผู้สนับสนุนนายสมัครจากภาพรวมทั่วประเทศพบกว่า กลุ่มคนที่สนับสนุนยังคงมากกว่าผู้ที่ไม่สนับสนุน คือ ร้อยละ 48.5 สนับสนุน ขณะที่ร้อยละ 32.4 ไม่สนับสนุน และร้อยละ 19.1 ขออยู่ตรงกลาง
ขณะเดียวกัน ผลการสำรวจชิ้นดังกล่าวยังระบุถึงระดับความสุขของประชาชนจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ พบว่า กลุ่มตัวอย่างสำรวจประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 54.5 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 54.1 ในต่างจังหวัดมีความสุขลดลง
ผอ.สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวสรุปถึงผลการสำรวจครั้งนี้โดยชี้ให้เห็นว่า สถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันอยู่ในสภาวะที่ทุกๆ ฝ่ายทั้งกลุ่มพันธมิตรฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กองทัพ รัฐบาล และ นายกรัฐมนตรี จำเป็นต้องระมัดระวัง เพราะตัวเลขที่สำรวจยืนยันว่า กลุ่มพันธมิตรฯ มีฐานสนับสนุนอยู่จำนวนมาก โดยมากพอที่จะแสดงพลังอย่างใดอย่างหนึ่งได้ไม่ยากนัก โดยเฉพาะถ้าชุมนุมอย่างสงบก็จะได้ใจของสาธารณชนเพิ่มขึ้น ส่วนท่าทีของตำรวจและกองทัพก็ได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนส่วนใหญ่ในการสำรวจครั้งนี้ ขณะที่รัฐบาลและนายกรัฐมนตรียังได้รับในการสนับสนุนอยู่ แต่ยังมีโอกาสที่จะเพลี่ยงพล้ำได้ง่าย