เผย การประชุมสภาวันพุธนี้ รัฐบาลเตรียมพิจารณาเห็นชอบวาระการสรรหาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เผย“อุดม มั่งมีดี” ผู้พิพากษาตัดสินจำคุก "สนธิ"หมิ่นภูมิธรรม เวชยชัย พร้อม "ถวิล อินทรักษา" ประธานอนุสอบคดียุทธ ตู้เย็นใส่ร้ายทหาร ร่วมนั่งเป็นกรรมการด้วย ในขณะที่เจ้าตัวอ้างคดีสอบ "ยุทธ ตู้เย็น"กรรมการมีมติในทิศทางเดียวกันทั้ง 4 เสียง
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันที่ 30 เมษายนนี้ มีวาระที่น่าสนใจ คือ การพิจารณาให้ความเห็นชอบการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอ เนื่องจาก พ.ร.บ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 มาตรา 5 กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 5 คน ซึ่ง ครม.แต่งตั้งโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ตามลำดับ และตามความในมาตรา 66 ให้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2551 อันเป็นวันที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลใช้บังคับ
สำหรับผู้ที่สมควรได้รับการเสนอชื่อแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ได้แก่ นายพิศาล พิริยะสถิต ประธาน ส่วนกรรมการ 5 คน ได้แก่ นายไสว พราหมณี นายกุลพัชร์ อิทธิธรรมวินิจ นายบุญปลูก ชายเกตุ นายถวิล อินทรักษา นายอุดม มั่งมีดี
นายอุดม มั่งมีดี เป็นอดีตผู้พิพากษา ในคดีที่ตัดสินจำคุกนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในคดีหมิ่นประมาทนายภูมิธรรม เวชยชัย ส่วนนายถวิล อินทรักษา คือ ประธานคณะกรรมการสืบสวนสอบสวบกรณี พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ประธานที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม ร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวหานายยงยุทธ ติยะไพรัช ส.ส.พรรคพลังประชาชน ปราศรัยใส่ร้ายทหารนั่นเอง
ทั้งนี้ ในวันนี้ (28 เม.ย.) นายถวิล อินทรักษา ประธานคณะกรรมการสืบสวนสอบสวบกรณี พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ประธานที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม ร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวหานายยงยุทธ ติยะไพรัช ส.ส.พรรคพลังประชาชน ปราศรัยใส่ร้าย กล่าวหาทหารเข้าไปบุกค้นบ้านหัวคะแนนของนายยงยุทธ เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯ ได้สืบสวนสอบสวนเสร็จแล้ว ซึ่งจะนำเสนอต่อ กกต. ได้ในวันนี้ (28 เม.ย.) แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ว่า คณะกรรมการฯ สรุปออกมาว่ายกคำร้อง หรือให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งแก่นายยงยุทธ หรือไม่ ซึ่งมีมติเป็นเอกฉันท์ 4 เสียง ที่มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน
สำหรับว่าที่ กรรมการ ป.ป.ท.คนอื่นๆ นั้น นายไสว พราหมณี เป็นอดีต ผู้สมัคร ส.ส.เขต 1 พรรคพลังประชาชน ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธ.ค.ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังเคยเป็น ส.ว.นครราชสีมา ชุดที่มีนายสุชน ชาลีเครือ เป็นประธานซึ่งมีข้อครหาว่าอยู่ภายใต้การครอบงำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร, นายบุญปลูก ชายเกตุ เป็นอดีตเลขาธิการสำนักงานข้าราชการและพลเรือน(ก.พ.)และอดีตประธานบอร์ด อสมท
นายกุลภัทชร์ อิทธิธรรมวินิจ เป็นอดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และเป็น 1 ใน 18 ผู้ที่ผ่านการสรรหาเพื่อให้วุฒิสภาลงมติคัดเลือกเป็น กรรมการ ป.ป.ช.เมื่อปี 2548 แต่เกิดมีปัญหาข้อกฎหมายขึ้นเมื่อผู้ผ่านการสรรหาบางคนถอนตัว ทำให้ ส.ว.ในขณะนั้นยังไม่สามารถทำการคัดเลือกได้
ส่วนนายพิศาล พิริยะสถิต เป็นอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา และเคยเป็น 1 ใน 10 ผู้ที่ผ่านการสรรหาเพื่อเสนอชื่อให้ ส.ว.ลงมติคัดเลือกเป็น กกต.ชุดเดียวกับ พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันที่ 30 เมษายนนี้ มีวาระที่น่าสนใจ คือ การพิจารณาให้ความเห็นชอบการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอ เนื่องจาก พ.ร.บ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 มาตรา 5 กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 5 คน ซึ่ง ครม.แต่งตั้งโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ตามลำดับ และตามความในมาตรา 66 ให้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2551 อันเป็นวันที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลใช้บังคับ
สำหรับผู้ที่สมควรได้รับการเสนอชื่อแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ได้แก่ นายพิศาล พิริยะสถิต ประธาน ส่วนกรรมการ 5 คน ได้แก่ นายไสว พราหมณี นายกุลพัชร์ อิทธิธรรมวินิจ นายบุญปลูก ชายเกตุ นายถวิล อินทรักษา นายอุดม มั่งมีดี
นายอุดม มั่งมีดี เป็นอดีตผู้พิพากษา ในคดีที่ตัดสินจำคุกนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในคดีหมิ่นประมาทนายภูมิธรรม เวชยชัย ส่วนนายถวิล อินทรักษา คือ ประธานคณะกรรมการสืบสวนสอบสวบกรณี พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ประธานที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม ร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวหานายยงยุทธ ติยะไพรัช ส.ส.พรรคพลังประชาชน ปราศรัยใส่ร้ายทหารนั่นเอง
ทั้งนี้ ในวันนี้ (28 เม.ย.) นายถวิล อินทรักษา ประธานคณะกรรมการสืบสวนสอบสวบกรณี พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ประธานที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม ร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวหานายยงยุทธ ติยะไพรัช ส.ส.พรรคพลังประชาชน ปราศรัยใส่ร้าย กล่าวหาทหารเข้าไปบุกค้นบ้านหัวคะแนนของนายยงยุทธ เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯ ได้สืบสวนสอบสวนเสร็จแล้ว ซึ่งจะนำเสนอต่อ กกต. ได้ในวันนี้ (28 เม.ย.) แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ว่า คณะกรรมการฯ สรุปออกมาว่ายกคำร้อง หรือให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งแก่นายยงยุทธ หรือไม่ ซึ่งมีมติเป็นเอกฉันท์ 4 เสียง ที่มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน
สำหรับว่าที่ กรรมการ ป.ป.ท.คนอื่นๆ นั้น นายไสว พราหมณี เป็นอดีต ผู้สมัคร ส.ส.เขต 1 พรรคพลังประชาชน ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธ.ค.ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังเคยเป็น ส.ว.นครราชสีมา ชุดที่มีนายสุชน ชาลีเครือ เป็นประธานซึ่งมีข้อครหาว่าอยู่ภายใต้การครอบงำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร, นายบุญปลูก ชายเกตุ เป็นอดีตเลขาธิการสำนักงานข้าราชการและพลเรือน(ก.พ.)และอดีตประธานบอร์ด อสมท
นายกุลภัทชร์ อิทธิธรรมวินิจ เป็นอดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และเป็น 1 ใน 18 ผู้ที่ผ่านการสรรหาเพื่อให้วุฒิสภาลงมติคัดเลือกเป็น กรรมการ ป.ป.ช.เมื่อปี 2548 แต่เกิดมีปัญหาข้อกฎหมายขึ้นเมื่อผู้ผ่านการสรรหาบางคนถอนตัว ทำให้ ส.ว.ในขณะนั้นยังไม่สามารถทำการคัดเลือกได้
ส่วนนายพิศาล พิริยะสถิต เป็นอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา และเคยเป็น 1 ใน 10 ผู้ที่ผ่านการสรรหาเพื่อเสนอชื่อให้ ส.ว.ลงมติคัดเลือกเป็น กกต.ชุดเดียวกับ พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ