xs
xsm
sm
md
lg

เปิดมิติใหม่ HR Trend จากเหล่ากูรูชั้นนำ ในงาน FutureSkill NEXT: Developing People for Tomorrow's Success

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกในยุคปัจจุบัน หลายองค์กรต้องเผชิญกับกระแสความท้าทายในหลากหลายมิติ สิ่งสำคัญที่สุดคือ การเตรียมความพร้อมด้านทักษะของบุคลากรในทุกด้านเพื่อให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น Future Skill for Business ในฐานะของผู้นำด้าน Online Training Solution จึงได้ร่วมกับ Future Trends, Glowfish Workplace, HREX.Asia และ Major Group จัดงาน Future Skill NEXT: Developing People for Tomorrow's Success ภายใต้แนวคิด The Next Era of People Development เวทีสัมมนาครั้งสำคัญของแวดวงบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ที่จะตอกย้ำให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาคน การพัฒนาองค์กร รวมถึงเป็นแนวทางให้ผู้เกี่ยวข้องได้นำไปปรับใช้เป็นกลยุทธ์เพื่อกำหนดทิศทางการบริหารงานบุคคล รองรับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายต่างๆ ทั้งในวันนี้ และในอนาคต

ผลสรุปจากเหล่ากูรูชั้นนำที่มาร่วมเจาะลึกแนวทางพัฒนาบุคลากรและองค์กรในยุคดิจิทัล ในงาน Future Skill NEXT: Developing People for Tomorrow's Success ซึ่งนำโดย โอชวิน จิรโสตติกุล ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Future Skill (ฟิวเจอร์สกิล) และผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ อีกมากมาย ได้เปิดเผยข้อมูลที่มีความสำคัญและทิศทางแนวโน้มของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่องค์กรจำเป็นต้องเตรียมพร้อมรับมือเทรนด์การย้ายงานในอนาคตให้แก่ HR จากบริษัทชั้นนำทั่วประเทศ นับเป็นมิติใหม่ของการสร้างเสริมองค์ความรู้และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ (Networking) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนระหว่างทีม HR ซึ่งเป็นกำลังหลักในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้องค์กร


ทีม HR ที่แข็งแกร่งจะสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มั่นคง

โอชวิน จิรโสตติกุล เปิดเผยว่า “ทุกวันนี้ทักษะหรือความสามารถในการทำงานพนักงานในองค์กรเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา คนทำงานจึงจำเป็นต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มากขึ้นเรื่อยๆ และเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ในขณะเดียวกัน องค์กรต้องเติบโตขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในองค์กรที่ต้องการความก้าวหน้าเช่นกัน”

บริษัทระดับโลกหลายแห่งประสบความสำเร็จ สามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้จากการพัฒนาทักษะพนักงานในองค์กร อาทิ Starbucks ซึ่งประสบภาวะติดลบ ในปี 2008 ได้จัดเทรนนิ่งบาริสตาทั่วโลก ยกระดับทักษะให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน พร้อมปรับมายด์เซตของผู้จัดการร้านเพื่อให้พวกเขาสามารถสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้แก่ผู้บริโภค จนสตาร์บัคส์สามารถขยายสาขาและกลายเป็นยักษ์ที่ไม่มีใครล้มได้ในอุตสาหกรรมเดียวกัน 

เช่นเดียวกับ Amazon.com ที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีของพนักงานจนกลายเป็นบริษัทอีคอมเมิร์ซที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก ได้รับรางวัลการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) Impact Award ประจำปี 2018 ซึ่งแนวทางปฏิบัติด้าน HRM หลักของ Amazon คือการ “มุ่งสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันสำหรับพนักงานทุกคน” ให้ความสำคัญต่อความหลากหลาย Diversity, equity, and inclusion : DEI

“ในปี 2030 พนักงานจะใช้เวลากับทักษะคิดวิเคราะห์ชั้นสูงมากขึ้นถึง 9% ซึ่งแม้ทักษะสำคัญในการทำงานจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ แต่มี 2 ทักษะที่จะไม่เปลี่ยน นั่นคือ Humen skill ได้แก่ Communication/ Storytelling/ Influencer skill และ Digital skill ได้แก่ AI and Bigdata / UX UI” รายงานจากวิกฤตการลาออกครั้งใหญ่ พบว่า 66% ของคนทำงานให้ความสำคัญต่อบริษัทที่พัฒนาทักษะ ดังนั้น ถ้าบริษัทพัฒนาทักษะการทำงานหรือ Skill based Credential จะเกิดกระบวนการหมุนเวียนความสามารถของพนักงานภายในองค์กร โดยพนักงานเป็นผู้ตัดสินใจเลือกการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเอง (Internal mobility) ซึ่งเห็นผลสำเร็จจากการที่ Schneider Electric หันมาใช้ AI ทำ OTM (Open Talent Marketplace) platform การแมตช์คนกับงานในองค์กร ซึ่งสามารถเพิ่มโอกาสที่จะทำให้พนักงานไม่ลาออกได้สูงถึง 75%


ด้าน ตรัง สุวรรณศิลป์ ที่ปรึกษาด้านการวางแผนกลยุทธ์องค์กรและ Gamification เผย Insight สำหรับองค์กรและธุรกิจที่ต้องเริ่มทำทันทีก่อนจะก้าวสู่ปี 2024 ว่า “โจทย์สำคัญในยุคนี้และอนาคตคือ องค์กรจะบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลอย่างไรเพื่อดึงดูดพนักงานรุ่นใหม่ในสงครามการย้ายงาน รวมถึงการสร้างความก้าวหน้าเพื่อให้พนักงานเเติบโตไปพร้อมองค์กร ดังนั้น องค์กรต้องเข้าใจก่อนว่า นอกจากปัจจัยในเรื่องของค่าตอบแทนและความก้าวหน้าในสายงานแล้ว พนักงานยังมองหาการเติมเต็มความหมายในการทำงานอีกด้วย โดยเฉพาะพนักงานรุ่นใหม่ที่มีความแตกต่างจากรุ่นก่อนๆ ทั้งเรื่องของความสนใจ เป้าหมาย ตลอดจนทัศนคติ องค์กรโดยเฉพาะทีม HR ต้องหาจุดเชื่อมโยงกับพนักงานแต่ละคนให้ได้”

“สงครามแย่งชิงคนเก่ง” คือสิ่งที่องค์กรต้องรับมือ
จากการประเมินของ Korn Ferry Institute เปิดเผยว่าการขาดแคลนบุคลากรผู้มีความสามารถทั่วโลกอาจสูงถึง 85 ล้านคนภายในปี 2573 ซึ่งเป็นผลมาจากจำนวนประชากรลดลงจากอัตรการเกิดต่ำอย่างต่อเนื่องหลายทศวรรษ ภาวะวิกฤตด้านความสามารถของบุคลากรจะสร้างผลกระทบต่อภาคธุรกิจของประเทศมหาอำนาจ


ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน ผู้ประกาศและผู้ดำเนินรายการ The Standard ขึ้นกล่าวในหัวข้อ Beyond the Future: The War of Talents เพื่อให้ทีม HR ตระหนักและเตรียมพร้อมรับมือกับสงครามแย่งชิงบุคลากรว่า “แต่ละบริษัทสร้างวัฒนาธรรมองค์กรที่ต่างกัน ความหลากหลายจะกลายเป็นจุดแข็งขององค์กรเมื่อผู้บริหารในสายงานทรัพยากรมนุษย์ และทีม HR เข้าใจประเด็นนี้อย่างถ่องแท้ เพราะองค์ประกอบหลักของบริษัทคือบุคลากร อันประกอบไปด้วยมิติที่แตกต่างกัน ทั้งในแง่ของเชื้อชาติ 

อาทิ คนไทยมีความครีเอทีฟ แต่มักจะทำงานนาทีสุดท้าย อีกทั้งยังมีความเปราะบางทางอารมณ์มากกว่า ในขณะที่คนจากฝั่งอเมริกาและยุโรปก็แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ยังมีมิติของช่วงวัยหรือ Generation ที่มีประสบการณ์ชีวิต ทัศนคติ ความเชื่อ และการหล่อหลอมจากสังคมที่แตกต่างกัน ดังนั้น ทักษะสำคัญที่องค์กรจะสามารถเหนี่ยวนำบุคลากรให้อยู่กับองค์กรได้คือการสื่อสารระหว่าง Generation และการสร้างทักษะการอยู่ร่วมกัน โดยจูงใจบุคลากรด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน ด้วยจิตวิทยาการสื่อสาร สร้างสรรค์วัฒนธรรมองค์กรแห่งการปรับตัว พูดคุย รับฟังความเห็นต่าง ตลอดจนสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงาน”

วัฒนธรรมการเรียนรู้และการฝึกอบรมให้แก่บุคลากรอย่างต่อเนื่อง นอกจากจะดึงดูดพนักงานใหม่แล้ว ยังเป็นการลดอัตราการลาออกอีกด้วย สอดคล้องกับแนวทางของ FutureSkill for Business ในฐานะของผู้นำด้าน Online Training Solution ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ จึงกล่าวได้ว่าการจัดงาน FutureSkill NEXT: Developing People for Tomorrow's Success ในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะพัฒนาทักษะการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้แก่ HR ซึ่งเป็นหัวใจหลักขององค์กรนั่นเอง




กำลังโหลดความคิดเห็น