ลูกโพสต์เศร้า ถามถึงระบบราชการไทย ทำไมถึงต้องให้แบกพ่อที่ป่วยติดเตียงไปทำบัตรประชาชนใหม่ สุดท้ายวันรุ่งขึ้นพ่อเสียชีวิต
เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์เรื่องราวแสนเศร้าหลังสูญเสียคุณพ่อที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง พร้อมระบายความในใจของระบบราชการว่า
ฝากอ่านแล้วช่วยแชร์ทีนะคะ
บัตร ปชช.คุณพ่อหมดอายุ แต่คุณพ่อติดเตียง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และอาการไม่ดีมาตลอด.. ถามแล้วถามอีกว่า มีวิธีอื่นไหมคะที่จะไม่ต้องแบกผู้ป่วยมา มันทุลัก ทุเลมากนะคะ เพราะคุณพ่อช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย ย้ำแล้วนะคะว่าช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย!! มีเอกสารมอบอำนาจมาได้ไหมคะ แล้วให้คุณพ่อปั๊มนิ้วมือมา รึมี จนท.ทางอำเภอไปตรวจสอบที่บ้าน
ทางอำเภอยืนยันว่าต้องแบกผู้ป่วยมาค่ะ จะติดเตียง อาการหนัก ใส่รถเข็น รถนอน เดินไม่ได้ ใส่สายมากมาย รึเครื่องช่วยหายใจ ก็ต้องมาทำบัตรที่อำเภอค่ะ ต้องมา!! ให้รถพยาบาลไปแบกมาค่ะ บัตรคนพิการ ถ้าหมดอายุก็ต้องมาทำใหม่ค่ะ แบกไปที่ศาลากลางจังหวัดเหมือนกัน! หลายๆคนก็ต้องแบกไปทำค่ะ!!
สรุป แบกคุณพ่อมาทำบัตร ปชช.ใหม่ วันที่ 7 มิ.ย. 2566 คุณพ่อเสียชีวิตวันที่ 8 มิ.ย. 2566 มาแค่ถ่ายรูป จบ ที่เหลือใช้ข้อมูลเดิม
ถามว่า ทำไมต้องทำ คุณพ่อยังต้องใช้เบิกจ่ายตรงและรับสิทธิจากทาง รพ.ที่คุณพ่อรับยาต่างๆ รักษาอยู่ค่ะ .. (เบิกหลวงเพราะพี่ชายเป็นทหารค่ะ)
อะไรคือระบบราชการไทย!!! แล้วบัตร ปชช.ใหม่ของพ่อจะใช้ตอนไหนดี?? ในเมื่อวันนี้พ่อไม่อยู่แล้วค่ะ ถามว่าจะต้อง แบกกันไปอีกกี่เคส? และต้องเสียชีวิตอีกกี่คน? น่าหดหู่ใจสิ้นดี #อำเภอเมืองปทุมธานี #ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดปทุมธานี #ช่วยกันแชร์และแก้ไขระบบราชการทีค่ะ
ผู้ใช้เฟซบุ๊กท่านนี้ยังได้ขอให้เรื่องราวของเธอกับพ่อบอกต่อไปยังลูกทุกคน เตือนใจกันไว้ว่า อย่าลืมพ่อกับแม่ ในวันที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ กอดให้แน่น ถ้ามีโอกาสได้กอด ได้คุย ได้จับมือ ทำให้เต็มที่
คลิกอ่านโพสต์ต้นฉบับ