xs
xsm
sm
md
lg

“ทนายนพ” ชูประเด็นสนับสนุนกฎหมายความเท่าเทียมทางเพศ เพื่อสิทธิของทุกเพศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จุดเริ่มต้นของเดือนแห่งความภาคภูมิใจเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1960 ซึ่งยุคที่สังคมยังไม่เปิดรับผู้มีความหลากหลายทางเพศเหมือนในวันนี้ ส่งผลให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ บางคนถึงขับไล่ออกจากบ้าน พวกเขาจำต้องหลบปิดบังตัวตนไม่ให้ใครได้รู้

เมื่อยุคนั้นไม่มีใครยอมรับ สถานที่ปลอดภัยของพวกเขาจึงมีเพียงแค่ "บาร์เกย์" เอาไว้เป็นที่นัดไปรวมตัวกันเพื่อสังสรรค์ และเป็นที่พักสำหรับใครก็ตามที่ถูกบ้านขับไล่มา

ด้วยการเลือกปฏิบัติ บาร์เกย์ในยุคแรกๆ จึงยังไม่ได้รับการยอมรับทางกฎหมาย พอจะไปจดทะเบียน เจ้าหน้าที่ก็ไม่ให้จด เพียงเพราะว่าเป็นเกย์

ดังนั้นคนกลุ่มนี้จึงมักจะเปิดบาร์เกย์เถื่อน กระทั่งเกิดเหตุการณ์ในวันที่ 28 มิถุนายน 1969 คือ ตำรวจบุกจับกุมผู้ใช้บริการในบาร์เกย์ "สโตนวอลล์ อิน" (Stonewall Inn) ซึ่งเป็นแหล่งรวมตัวกันของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นทรานส์ เกย์ และอื่นๆ แต่พวกเขาไม่ยอม สุดท้ายเหตุการณ์จึงบานปลาย มีการใช้ความรุนแรงในการปราบปราม

เหตุการณ์ในครั้งนั้นจึงกลายเป็นชนวนให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศออกมาเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิ ความเท่าเทียม และต่อสู้เพื่อเสรีภาพในการแสดงออกทางตัวตน

แต่ยิ่งตำรวจปราบปรามมากเท่าไร ฝูงชนก็ยิ่งเดินทางมารวมตัวกันมากขึ้น จนนำไปสู่การเดินขบวนประท้วง ขบวนพาเหรด และการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่สื่อถึง "ไพรด์" (Pride) หรือความภาคภูมิใจในตัวเอง

โดยพวกเขาเริ่มจากการเคลื่อนไหวในมหานครนิวยอร์ก ก่อนจะขยายไปยังเมืองใหญ่อื่นๆ ในสหรัฐอเมริกา และกระจายไปทั่วโลก

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทุกวันที่ 28 มิถุนายน จึงเป็นวันที่ทั่วโลกร่วมกันรำลึกถึงเหตุการณ์จลาจลสโตนวอลล์ (Stonewall Riots) อันเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียมให้แก่กลุ่มความหลากหลายทางเพศมาจนถึงปัจจุบัน

แต่การระลึกถึงเหตุการณ์จลาจลในวันนั้น ได้ขยายใหญ่ออกไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสุดท้ายกลายเป็นเรียกร้องแบบทั้งเดือนยาวต่อเนื่อง เพื่อแสดงถึงตัวตนของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ เป็นที่มาของเทศกาล "Pride Month" เดือนแห่งความภาคภูมิใจที่ยาวนานตลอดทั้งเดือนมิถุนายนนั่นเอง

กฎหมายควรจะให้การรับรองอย่างเท่าเทียมกับทุกคนไม่ว่าจะมีเพศใด เนื่องในเดือนนี้เป็นเดือนแห่งความภาคภูมิใจของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ผมขอสนับสนุนกฎหมายสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างแท้จริง ในอดีตที่ผ่านมาอาจยังไม่เป็นที่ยอมรับ แต่ในช่วงเวลาไม่นานมานี้สังคมเริ่มตระหนักถึงและยอมรับว่า

"อัตลักษณ์ทางเพศไม่ได้ถูกกำหนดโดยเพศกำเนิด แต่ถูกกำหนดโดยรสนิยม ความรู้สึก ความพึงพอใจที่แตกต่างกันของแต่ละคน สิ่งที่ควรผลักดัน คือการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้มีความเท่าเทียมทางเพศ และเพื่อสิทธิของทุกเพศ ผมขอสนับสนุนทุกความแตกต่างหลากหลาย รับฟังทุกเสียงเพื่อความเท่าเทียม" ทนายนพ ธนพล กล่าว




กำลังโหลดความคิดเห็น