xs
xsm
sm
md
lg

สาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์ คณะศิลปศาสตร์ ร่วมมือพันธมิตรทางการศึกษาจากจีน จัดกิจกรรมเพื่อสังคมด้านการศึกษา แลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรม ขับเคลื่อนพลังวัฒนธรรมระหว่างประเทศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา สาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (RMUTP) ร่วมกับ 2 องค์กร ได้แก่ วิทยาลัยเทคโนโลยีการอาชีพหนานหนิง (NCVT) ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านการศึกษานานกว่าทศวรรษ และบริษัท Guangxi Hualibo Media Co., Ltd บริษัทสื่อจากสาธารณรัฐประชาชนจีน จัดกิจกรรมเพื่อสังคมด้านการศึกษาแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมในรูปแบบการเสวนาออนไลน์ระหว่างประเทศ ภายใต้หัวข้อ “แลกเปลี่ยนความคิดพินิจภาษาและวัฒนธรรมไทย – จีน” ภายใต้กรอบความคิดหลัก "#ลำนำแห่งสายน้ำจากล้านช้างสู่น้ำโขง" #2023澜湄朗读者 ณ ห้องประชุมวังนางเลิ้ง 2 (LA 102) คณะศิลปศาสตร์ มทร.พระนคร

คุณฉิน ลี่(??)ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หวาลี่ปอ มีเดีย จำกัด มหาชน
โดย คุณฉิน ลี่(覃莉)ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หวาลี่ปอ มีเดีย จำกัด มหาชน กล่าววัตถุประสงค์การจัดงาน และกล่าวชื่นชมยินดีที่ฝ่ายจีน-ไทย ซึ่งมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นมานาน สานความร่วมมืออันดีต่อกันจัดกิจกรรมเสริมสร้างวัฒนธรรมอันดีของทั้งสองประเทศ ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุทธภูมิ สุวรรณเวช คณบดีคณะศิลปศาสตร์ บันทึกคลิปกล่าวต้อนรับ และมอบหมายอาจารย์พัดยศ เพชรวงษ์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะศิลปศาสตร์ กล่าวเปิดงานและต้อนรับคณะทำงานจากบริษัท Guangxi Hualibo Media Co., Ltd คณะวิทยากรผู้ร่วมเสวนาจาก วิทยาลัยเทคโนโลยีการอาชีพหนานหนิง (NCVT)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุทธภูมิ สุวรรณเวช คณบดีคณะศิลปศาสตร์

อาจารย์พัดยศ เพชรวงษ์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะศิลปศาสตร์
กิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมสืบเนื่องจาก ระยะที่ 1ซึ่งเป็นกิจกรรมการถ่ายทอดบทกวีไทย-จีน ในโครงการ “ค่ายภาษาและวรรณศิลป์ ครั้งที่ 6 กวีนิพนธ์ สารคดี ชีวิต “ ซึ่งจัดขึ้นโดยสาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 ณ อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี โดยกิจกรรมดังกล่าวมีคณาจารย์ สาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์ ศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบันร่วมอ่านลำนำไทย – จีน

สำหรับกิจกรรมระยะที่ 2 เป็นการเสวนาออนไลน์หัวข้อ “แลกเปลี่ยนความคิดพินิจภาษาและวัฒนธรรมไทย-จีน”โดยมีผู้นำเสวนาจากไทย ได้แก่ อ.วิไลลักษณ์ ตางาม หัวหน้าสาขาวิชาภาษาไทยประยุกตร์ และ อ.ปริวรรต นาครักษา อาจารย์ผู้สอนภาษาจีนและการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม ประจำสาขาวิชาภาษาไทยประยุกตร์ คณะศิลปศาสตร์ มทร.พระนคร และมีคณะวิทยากรร่วมแลกเปลี่ยน ได้แก่ ชิงชัย สายสินธุ์ (นามปากกา หทัยสินธุ สินธุหทัย) วิทยากรกระบวนการ ผู้กำกับละครเวที กวี นักเขียนบท ครูประจำบ้านเรียนมรดกใหม่ ดร.อทิตา อมรลักษณานนท์อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์ คณะศิลปศาสตร์ มทร.พระนคร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรีเขม อภิภัทรวโรดมวิทยากรด้านดนตรีไทย-จีน อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มทร.พระนครดร.ก้องเกียรติ มหาอินทร์ผู้ช่วยอธิการบดี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อำนาจ เอี่ยมสำอางค์ผู้ช่วยอธิการบดี มทร.พระนคร ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์


ด้านผู้นำการเสวนา และคณะวิทยากร จากวิทยาลัยเทคโนโลยีการอาชีพหนานหนิง (NCVT) สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้แก่

1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์หวง ซือหย่า(黄诗雅)หัวหน้าสาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์
2) รองศาสตราจารย์หลี่ เต๋อช่าน(李德灿)อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์
3) อ.หม่า หลินซวง(马林双)ที่ปรึกษาสาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์
4) อ.เหอ จู๋เหม่ย(何竺媚)อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์
5) คุณฉิน หรงฮวน(覃荣欢)นักเขียนจากมณฑลกวางสี เจ้าของนามปากกา "อาฝู"(阿福)
6) อ.เหลียง ซูถิง(梁舒婷)อาจารย์ฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ "

วิทยากรทั้งสองฝ่าย ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันถึงความงามของภาษา วรรณกรรม ดนตรี การแสดง และวัฒนธรรม ที่มีความเหมือนและความต่างของทั้งสองประเทศ ซึ่งล้วนแต่เป็นพลังด้านวัฒนธรรมที่จะช่วยขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ


ทั้งนี้ ระหว่างการเสวนา กิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจจากสื่อจีนโดยได้เผยแพร่ข่าวในช่องทางต่างๆ และทางผู้บริหารบริษัท Guangxi Hualibo Media Co., Ltd มีความสนใจจะให้เกิดความร่วมมือการร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมในโอกาสต่อไป

ที่มา สาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์ คณะศิลปศาสตร์



กำลังโหลดความคิดเห็น