xs
xsm
sm
md
lg

“หมออดุลย์” เผยวิธีการเรียนรู้ PDPA กับการรับสื่อ แชร์ข้อมูลส่วนบุคคลของเคสหมอป่วยมะเร็งปอด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศ.คลินิก นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกมาโพสต์ข้อมูลในหัวข้อ "เรียนรู้ PDPA กับการรับสื่อ แชร์ข้อมูลส่วนบุคคล" ยกเคสหมอเป็นมะเร็งปอดระยะสุดท้ายเป็นตัวอย่าง

วันนี้ (12 พ.ย.) เฟซบุ๊ก "บันทึกเรื่องน่ารู้ by Dr.Adune" ของ ศ.คลินิก นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกมาโพสต์ให้ข้อมูลในหัวข้อ "เรียนรู้ PDPA กับการรับสื่อ แชร์ข้อมูลส่วนบุคคล"

โดยผู้โพสต์ระบุข้อความว่า "ข่าวดังในสื่อ social ช่วงนี้ คือการที่มีคุณหมอมาแชร์ข้อมูลว่าตนเองอายุน้อย ป่วยเป็นมะเร็งปอดระยะลุกลาม ซึ่งเป็นการบอกความจริงทางการแพทย์แก่สังคมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ แต่ก็มีข่าว มีสื่อที่เข้าเจาะลึก หรือ วิจารณ์ในแง่มุมต่างๆ เราลองมาดูว่า การกระทำดังกล่าว มีอะไรบ้างที่อาจจะผิดหลัก PDPA หรือกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

- การที่เราเอาโต๊ะตัวหนึ่ง (ของเราเอง)​ มาวางตั้งไว้ที่หน้าบ้านโดยไม่ได้เปิดลิ้นชัก ไม่ได้แปลว่าเราอนุญาตให้คนอื่นมาหยิบจับ ลูบคลำ หรือเปิดลิ้นชักค้นดูของข้างในหรือหยิบของในลิ้นชักออกไปใช้ หรือยกโต๊ะของเราไปวางแสดงในงานนิทรรศการ โดยไม่ได้บอกเราหรือขออนุญาตจากเรา ... แต่ถ้าเป็นตำรวจ สามารถทำได้หากมีการสืบทราบมาว่าโต๊ะตัวนี้ขโมยมา และมีหมายค้น หรือถ้าเจ้าของติดป้ายไว้ที่โต๊ะ หรือป่าวประกาศว่ามีระเบิดซ่อนอยู่ในโต๊ะ เจ้าหน้าที่สามารถ​เข้ามาค้นดูโต๊ะ​ได้ หลักคิดของ PDPA ก็คล้ายกันครับ

- ข้อมูลที่แชร์ใน page หากคนที่มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านสื่อ ทราบว่าเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง สามารถขุดคุ้ย และให้เจ้าหน้าที่รัฐทำการตรวจสอบ และดำเนินการ หากข้อมูลใน page มีลักษณะที่จะส่อให้เกิดอันตรายต่อสาธารณะ คนที่รู้ สามารถแจ้งให้เจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการควบคุม และแก้ไข คนทั่วๆ ไปสามารถ อ่าน page และแชร์ข้อความตามจริงที่ page นั้นเผยแพร่ เพราะว่า page ยินดีให้สาธารณะรับรู้ รับทราบข้อมูล แต่ถ้า page ไม่ได้ให้รายละเอียดว่า มะเร็งมากน้อยแค่ไหน ไม่ได้แสดงภาพถ่ายทางรังสี หรือไม่ได้บอกสูตรยาที่ใช้รักษา หรือชื่อคุณหมอที่รักษา หรือแม้แต่ประวัติ​ชีวิตส่วนตัว บุคคลอื่นไม่สามารถไปขุดคุ้ยข้อมูล และนำมาแสดงแก่สาธารณะได้ โดยไม่ได้ขออนุญาตเจ้าของข้อมูลก่อน การวิจารณ์แนวทางการดูแลรักษาโดยที่ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับอนุญาตจากผู้ป่วย หรือผู้ที่ดูแล ก็เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ตามหลักของ PDPA

- การแสดงความเห็นใจเป็นสิ่งที่ทำได้ แต่ การให้ของ ให้คำแนะนำ เป็นสิ่งที่ควรทำโดยตรง และรับการอนุญาตจากเจ้าของข้อมูล การพูดลอยๆ หรือการแสดงออกทั้งทางความเห็น และการกระทำในสื่อสังคม โดยไม่มีเหตุอันชอบธรรม เป็นสิ่งที่ขัดกับ หลักที่สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ตามวัตถุประสงค์การใช้ข้อมูล 7 หมวดที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายครับ"





กำลังโหลดความคิดเห็น