สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) จับมือ HUAWE Thailand จัดอบรมผู้ประกอบการนวัตกรรมและสตาร์ทอัพเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech Startup) ภายใต้โครงการศึกษาดูงานและการประชุมสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโครงการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้านปัญญาประดิษฐ์-หุ่นยนต์-เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงและไอโอที (ARI TECH CAPABILITY 2022) สานต่อโครงการเป็นปีที่ 4 หวังผลักดันผู้ประกอบการนวัตกรรมและสตาร์ทอัพให้เติบโตสาย Deep Tech อย่างต่อเนื่อง และเติบโตบนเวทีระดับโลก
วันนี้ (26 ก.ค.) ที่บริษัท หัวเว่ยเทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด สำนักงานใหญ่ อาคารจี ทาวเวอร์ นายปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวถึงกรอบความร่วมมือว่า สืบเนื่องจาก NIA และบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพของกำลังคน เพื่อสังคมนวัตกรรมที่ยั่งยืน ณ บริษัท หัวเว่ยเทคโนโลยี จำกัด สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2562 มีประเด็นสำคัญคือ การร่วมมือในการพัฒนาระบบนิเวศทางด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐ มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย และภาคเอกชน ร่วมกันพัฒนาบุคลากร ยกระดับขีดความสามารถ ทักษะดิจิทัล และนวัตกรรม
การจับมือระหว่าง NA กับ HUAWEI Thailand ผู้จัดหาโซลูชันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ชั้นนำระดับโลก ได้มีการทำมาอย่างต่อเนื่อง โดยก่อนหน้านี้ได้ร่วมกันพัฒนาด้าน IoT Cloud และ 5G มาแล้ว แต่ขณะนี้มีการคาดการณ์กันว่าในอนาคตจะมีกลุ่มเทคโนโลยีเชิงลึกที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง 10 ล้านล้านบาท นั่นคือ ARI Tech ปัญญาประดิษฐ์ Artificial Intelligence หรือ AI หุ่นยนต์ Robotics และเทคโนโลยีโลกเสมือนจริงและไอโอที Immersive & IoT ที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพและสร้งมูลค่าให้แก่สตาร์ทอัพทั่วโลกในทุกๆ อุตสาหกรรม ดังนั้น ปี 2565 จึงมุ่งเน้นการพัฒนากำลังในด้าน "ARI Tech" โดยได้จัดการอบรม "ARI Tech Capability 2022" ขึ้น เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและมุ่งเน้นการพัฒนากำลังคนให้มีความรู้ความสามารถ สร้างขีดความสามารถของวิสาหกิจเริ่มต้นให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ ที่สามารถแข่งขันในตลาดได้ ใน "โครงการพัฒนาขีดความสามารถ ของผู้ประกอบการด้านปัญญาประดิษฐ์-หุ่นยนต์-เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงและไอโอที" ที่ตอบโจทย์การพัฒนาในภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และภายในองค์กร
สำหรับการดำเนินงานในปีนี้ เริ่มต้นโครงการด้วยการอบรมออนไลน์ ARI TECH CAPABILITY 2022 โดย HUAWI Academy เปิดการเรียนรู้เรื่อง ICT, 5G, Cloud และ IoT, AI และ Big Data ตลอดเดือนกรกฎาคม มีสตาร์ทอัพและผู้ที่สนใจในเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์-หุ่นยนต์-เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงและไอโอที เข้าร่วมการอบรมรวม 40 คน และปิดกิจกรรมด้วยกิจกรรม Study Tour & Networking ที่ศูนย์นวัตกรรมโซลูชันและการเรียนรู้ของหัวเว่ย (Customer Solution Innovation and Integration Experience Center - CSIC)
คุณปริวรรตกล่าวต่อว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา NIA เห็นความสำคัญของธุรกิจสตาร์ทอัพกลุ่ม ARI Tech อย่างต่อเนื่อง และตั้งเป้าที่จะเพิ่มจำนวนสตาร์ทอัพในด้าน Deep Tech ให้เกิดขึ้นไม่น้อยกว่า 100 รายภายในปี 2566 เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับจุลภาค เช่น การเข้าไปแก้ไขปัญหาเกษตรกร การจัดการธุรกิจขนาดกลาง-เล็ก ต่อเนื่องถึงเศรษฐกิจในระดับมหภาคด้วยการช่วยปฏิวัติอุตสาหกรรมหรือธุรกิจแบบดั้งเดิมให้ไปสู่ความทันสมัยและแข่งขันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล
"การที่ไทยตื่นตัวเรื่อง Deep Tech Startup นับเป็นเรื่องที่ดี แต่การสนับสนุนและเตรียมความพร้อมจากภาครัฐอย่างเต็มที่ก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นในระยะยาว ไทยยังต้องพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมให้ครบวงจรเพื่อปูทางให้ทุกฝ่ายมาเจอกัน ทั้งตัวสตาร์ทอัพเอง นักวิจัย นักลงทุนและฝ่ายอื่นๆ เพื่อผลักดันให้ Deep Tech Startup เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งที่ผ่านมา สนช. (NA) และ HUAWEI Thailand นั้นได้ร่วมมือกันส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นและผู้ประกอบการนวัตกรรมในระยะเริ่มต้นมีความเข้าใจในศักยภาพและประโยชน์ของการประยุกต์รวมเทคโนโลยีให้เข้ากับผลิตภัณฑ์ การบริการ หรือแผนธุรกิจในระยะสั้นและในระยะยาว เป็นการพัฒนาขีดความสามารถของสตาร์ทอัพให้สามารถขยายธุรกิจต่อไปในอนาคต ตอบโจทย์โมเดลไทยแลนด์ 4.0 ในการใช้นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ"
นายสุรศักดิ์ วนิชเวทย์พิบูล หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี แผนกธุรกิจคลาวด์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า พันธกิจของ HUAWEI Thailand คือ มุ่งสนับสนุนธุรกิจในประเทศสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลมาอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยเทคโนโลยีเพิ่มโอกาสให้กับธุรกิจ ตั้งแต่การสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำให้กับธุรกิจ Startup ต่างๆ ทั้งทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐ ภาคการศึกษาและองค์กรเอกชนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงช่วยส่งเสริมอีโคชิสเต็มในประเทศผ่านความร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ ซึ่ง NIA เป็นหนึ่งในพาร์ตเนอร์สำคัญที่ได้มีส่วนในการร่วมกันพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech Startup) อย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ร่วมกันได้พัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมและสตาร์ทอัพในระยะเริ่มต้นด้าน Deep Tech ไปแล้ว 150 ราย
"เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ประกอบการนวัตกรรมและสตาร์ทอัพจะเติบโตอย่างรวดเร็วและมั่นคงยิ่งขึ้น ผ่านการสนับสนุนจาก HUAWEI Thailand และ NA และจะเกิดการสร้างงานขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก เพื่อฟื้นฟูทางเศรษฐกิจหลังจากวิกฤตโรคระบาด"