Iron Man ซูเปอร์ฮีโร่จากค่าย Marvel ที่แฟน ๆ ชื่นชอบมากที่สุด ปิดฉากปฏิบัติการกู้โลก ในเวอร์ชั่นภาพยนตร์ เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ในภาพยนตร์ชุด Avengers หลังจากนั้น Iron man มาจุติใหม่บนแพล็ตฟอร์มเกมเสมือนจริง หรือ VR (virtual reality) Playstation VR ของค่ายโซนี่ ซึ่งออกวางตลาดเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2020
ในเกม Marvel’s Iron Man VR คนธรรมดา ๆ ก็เป็นซูเปอร์ฮีโร่ได้ เพียงแค่สวม Playstation VR Headset ก็จะกลายเป็น โทนี่ สตาร์ค และเป็น Iron Man ในชุดสูทเสื้อเกราะ ต่อสู้กับศัตรู ทั้งบนพื้นดินและในอากาศ ทั้งเตะต่อย และยิงเลเซอร์จากมือ
แคโมฟลาจ (Camoufloj) ผู้ผลิตเกมวีอาร์ชื่อดังสัญชาติสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ผลิตเกม Marvel’s Iron Man VR บริษัทนี้ มีสำนักงานที่ซีแอตเติ้ล สหรัฐฯ เป็นผู้ผลิตเกม Republique ซึ่งเป็นเกมส์ที่เล่นบนโทรศัพท์มือถือ เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ตอนที่บริษัทเพิ่งเกิด
Marvel’s Iron Man VR ได้รับรางวัล Game of the Year, Best VR Game จากหลาย ๆ สถาบัน และหนึ่งในทีมงานผู้พัฒนาเกมนี้ เป็นหญิงสาววัย 25 ปี จากประเทศไทย “นิตย์สิริ อานามวัฒน์" หรือ “แหวน” ซึ่งเป็นหนี่งในห้าของทีม concept designers
แหวนอธิบายว่า งานของ concept designer หรือ concept artist คือ การเปลี่ยนไอเดียของผู้ออกแบบเกม ให้เป็นภาพ คนที่เป็น concept designer ต้องออกแบบ วาดรูปเป็น ต้องเข้าใจโจทย์ที่รับมาจาก คนออกแบบเกม เพื่อจะได้วาดภาพหรือแบบแผนออกมาเพื่อให้ทุกคนในทีมเข้าใจไอเดียตรงกัน
“งานจะต่างกับ illustrator ตรงที่เราเน้นดีไซน์มากกว่าความสวยงาม” แหวน กล่าว
concept designer ต้องสื่อสารกับคนในทีมที่ทำงานด้านอื่น ๆ ด้วย จะได้รู้ว่า พวกเขาต้องการอะไร จะออกแบบอย่างไรให้ตรงความต้องการของเขา แหวนต้องคุยกับ game designer, โปรแกรมเมอร์ คนเขียนบท ไปจนถึงเจ้าของลิขสิทธิ์ของ IP ที่เธอทำงานด้วย
“ทำงานกับ Marvel ตื่นเต้นดีค่ะ ได้ทำ research หาข้อมูลทำงานด้วยการดูหนัง Avengers”
ในเกม Marvel’s Iron Man VR นิตย์สิริ บอกว่า เธอออกแบบคอนเซ็ปต์อาวุธกับเอฟเฟคต์ สำหรับ Final Boss (Boss ในภาษาเกมคือ ศัตรู)
“ในด่านสุดท้ายของเกมบอสตัวใหญ่สุดมีอาวุธเยอะมาก ทั้งโดรน เลเซอร์ เลเซอร์ยักษ์ ดาบ โล่ แหวน ทำงานกับเกมดีไซเนอร์ แล้วก็ออกแบบอาวุธพวกนั้น แล้วก็มีออกแบบของเล็ก ๆ น้อย ๆ ในเกมด้วยค่ะ”
ฝันให้ไกล ไปให้ถึง
จากเด็กศิลป์สู่โลกดิจิทัล
แหวนบอกว่า งานของ concept designer เน้นการวาดภาพและออกแบบ ทักษะด้าน coding ไม่จำเป็น แต่ถ้ามีพื้นฐานก็เป็นประโยชน์ในการทำงาน
“บางทีแหวนจะเขียนโค้ด python สั้น ๆ ไว้ใช้กับโปรแกรม 3D”
นิตย์สิริ เกิดในครอบครัวชนชั้นกลาง เรียนมัธยมปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แผนกศิลป์ ภาษาญี่ปุ่น เธอชอบวาดรูปมาตั้งแต่เด็ก วาดมาเรื่อย ตลอดเวลา และเล่นเกมในเวลาว่างจากการเรียน เล่มเกมไป ก็คิดไปด้วยว่า รูปร่างหน้าตาของเกม รวมทั้งวิธีเล่น ถ้าเธอเป็นคนทำเกมนั้น จะให้เป็นอย่างไร
ด้วยการสนับสนุนของพ่อและแม่ ที่ส่งเสริมให้ลูกได้ทำในสิ่งที่รักและมีแวว แหวนสมัคร เรียนปริญญาตรี หลักสูตรการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล (IDD -Innovative Digital Design) หลักสูตรนานาชาติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เธอผ่านการคัดเลือกได้เข้าเรียนในหลักสูตรที่เป็นวิชาแห่งอนาคต ตอนต้นปี 2558
สาขา IDD ของธรรมศาสตร์ มีโครงการร่วมกับ DigiPen Institute of Technology ในการพัฒนาหลักสูตร สร้างบุคลากร
DigiPen เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน อยู่ที่เรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน มีหลักสูตปริญญาตรีและโท ด้านคอมพิวเตอร์ซายน์ อนิเมชั่น การออกแบบเกมส์ และวิศวะคอมพิวเตอร์
เมื่อจบปีสอง แหวนได้ทุนไปเรียนปีสาม ปีสี่ที่ DigiPen เธอจบการศึกษาในปี 2560 ได้สองปริญญา เป็นบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง สาขาออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ บัณฑิตเกียรตินิยม สาขา Fine Arts in Digital and animation ของ DigiPen
เรียนจบแล้ว เพื่อนคนอเมริกันซึ่งทำงานที่ Camouflaj แนะนำให้ไปสมัครงานที่นั่น แหวนส่งผลงานตอนเรียนไปให้ แล้วถูกเรียกตัวไปสัมภาษณ์ เธอบอกว่า ในการสัมภาษณ์ Camouflaj จะถามว่า งานใน Portfolio มีแนวความคิดอย่างไร แหวนต้องอธิบายกระบวนการคิดว่า ได้ทำ research อะไรไปบ้าง ถึงออกแบบงานมาแบบนี้
แหวนเริ่มทำงานในทีม Concept Art กับ Camouflaj ในเดือนสิงหาคม ปี 2562 ตอนนั้นเธอเป็นสมาชิกทีมที่อายุน้อยที่สุด เธอมีส่วนร่วมในการพัฒนาเกม Republique ไม่มากนัก เพราะเป็นการทำงาน post production ของชุดครบรอบ 10 ปี แต่ได้ร่วมสร้างเกม Marvel’s Iron Man VR ตั้งแต่ช่วง Production จนจบเกม
ปัจจุบัน แหวนกำลังทำงานโปรเจคใหม่ อย่างเต็มตัว ได้ร่วมทีมตั้งแต่เริ่มต้น และมีส่วนร่วมมากขึ้นในฐานะคนนำการออกแบบตัวละคร (Charcter Concept Artist) เธอบอกว่า การใช้ภาษาอังกฤษ เป็นเรื่องจำเป็นมากเวลาทำงาน ที่ต้องคุยกับผู้ร่วมงานทุกฝ่ายในเรื่องรายละเอียดให้เข้าใจ พราะวิธีการทำงานที่ Camouflaj มีกฎกติกาน้อยมาก เน้นที่ผลงาน การทำงานกันเป็นทีมจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
“แหวนคิดว่า เด็กไทยเก่ง ไม่แพ้ใครคะ แค่ต้องการโอกาส แบบที่แม่กับพ่อ สนับสนุนแหวน ธรรมศาสตร์ให้โอกาส ทุกคนทำได้ค่ะ”
นอกจากงานที่ Camouflaj นิตย์สิริยังทำงานใช้ทุน เป็นอาจารย์สอนเรื่อง character designer ที่มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าบางมด ผ่านระบบออนไลน์ เธอบอกว่า อยากสอนหนังสือ ได้ถ่ายทอดความรู้ให้คนรุ่นใหม่ เหมือนที่เธอเคยได้รับความรู้จากอาจารย์ที่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ธรรมศาสตร์และที่ DigiPen รวมทั้งเป็นการแบ่งปันประสบการณ์อันมีค่าที่ได้รับจากการทำงานที่ Camouflaj ด้วย
ขณะเดียวกัน เธอก็อยากทำงานที่ Camouflaj ต่อไป เพราะสหรัฐฯ เป็นต้นธารนวัตกรรมดิจิทัลของโลก ทำให้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ทันการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว เพราะกว่าที่นวัตกรรมเหล่านั้นจะมาถึงคนไทยแบบของสำเร็จรูป ก็อาจต้องใช้เวลาหลายปี
“ถ้าได้ทำงานพร้อมกับสอนหนังสือแบบไฮบริด อาจจะลดวันทำงานสักหนึ่งวัน เพื่อมีเวลาสอนหนังสือมากขึ้น แหวนก็อยากทำแบบนั้นค่ะ”
ในเกม Marvel’s Iron Man VR คนธรรมดา ๆ ก็เป็นซูเปอร์ฮีโร่ได้ เพียงแค่สวม Playstation VR Headset ก็จะกลายเป็น โทนี่ สตาร์ค และเป็น Iron Man ในชุดสูทเสื้อเกราะ ต่อสู้กับศัตรู ทั้งบนพื้นดินและในอากาศ ทั้งเตะต่อย และยิงเลเซอร์จากมือ
แคโมฟลาจ (Camoufloj) ผู้ผลิตเกมวีอาร์ชื่อดังสัญชาติสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ผลิตเกม Marvel’s Iron Man VR บริษัทนี้ มีสำนักงานที่ซีแอตเติ้ล สหรัฐฯ เป็นผู้ผลิตเกม Republique ซึ่งเป็นเกมส์ที่เล่นบนโทรศัพท์มือถือ เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ตอนที่บริษัทเพิ่งเกิด
Marvel’s Iron Man VR ได้รับรางวัล Game of the Year, Best VR Game จากหลาย ๆ สถาบัน และหนึ่งในทีมงานผู้พัฒนาเกมนี้ เป็นหญิงสาววัย 25 ปี จากประเทศไทย “นิตย์สิริ อานามวัฒน์" หรือ “แหวน” ซึ่งเป็นหนี่งในห้าของทีม concept designers
แหวนอธิบายว่า งานของ concept designer หรือ concept artist คือ การเปลี่ยนไอเดียของผู้ออกแบบเกม ให้เป็นภาพ คนที่เป็น concept designer ต้องออกแบบ วาดรูปเป็น ต้องเข้าใจโจทย์ที่รับมาจาก คนออกแบบเกม เพื่อจะได้วาดภาพหรือแบบแผนออกมาเพื่อให้ทุกคนในทีมเข้าใจไอเดียตรงกัน
“งานจะต่างกับ illustrator ตรงที่เราเน้นดีไซน์มากกว่าความสวยงาม” แหวน กล่าว
concept designer ต้องสื่อสารกับคนในทีมที่ทำงานด้านอื่น ๆ ด้วย จะได้รู้ว่า พวกเขาต้องการอะไร จะออกแบบอย่างไรให้ตรงความต้องการของเขา แหวนต้องคุยกับ game designer, โปรแกรมเมอร์ คนเขียนบท ไปจนถึงเจ้าของลิขสิทธิ์ของ IP ที่เธอทำงานด้วย
“ทำงานกับ Marvel ตื่นเต้นดีค่ะ ได้ทำ research หาข้อมูลทำงานด้วยการดูหนัง Avengers”
ในเกม Marvel’s Iron Man VR นิตย์สิริ บอกว่า เธอออกแบบคอนเซ็ปต์อาวุธกับเอฟเฟคต์ สำหรับ Final Boss (Boss ในภาษาเกมคือ ศัตรู)
“ในด่านสุดท้ายของเกมบอสตัวใหญ่สุดมีอาวุธเยอะมาก ทั้งโดรน เลเซอร์ เลเซอร์ยักษ์ ดาบ โล่ แหวน ทำงานกับเกมดีไซเนอร์ แล้วก็ออกแบบอาวุธพวกนั้น แล้วก็มีออกแบบของเล็ก ๆ น้อย ๆ ในเกมด้วยค่ะ”
ฝันให้ไกล ไปให้ถึง
จากเด็กศิลป์สู่โลกดิจิทัล
แหวนบอกว่า งานของ concept designer เน้นการวาดภาพและออกแบบ ทักษะด้าน coding ไม่จำเป็น แต่ถ้ามีพื้นฐานก็เป็นประโยชน์ในการทำงาน
“บางทีแหวนจะเขียนโค้ด python สั้น ๆ ไว้ใช้กับโปรแกรม 3D”
นิตย์สิริ เกิดในครอบครัวชนชั้นกลาง เรียนมัธยมปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แผนกศิลป์ ภาษาญี่ปุ่น เธอชอบวาดรูปมาตั้งแต่เด็ก วาดมาเรื่อย ตลอดเวลา และเล่นเกมในเวลาว่างจากการเรียน เล่มเกมไป ก็คิดไปด้วยว่า รูปร่างหน้าตาของเกม รวมทั้งวิธีเล่น ถ้าเธอเป็นคนทำเกมนั้น จะให้เป็นอย่างไร
ด้วยการสนับสนุนของพ่อและแม่ ที่ส่งเสริมให้ลูกได้ทำในสิ่งที่รักและมีแวว แหวนสมัคร เรียนปริญญาตรี หลักสูตรการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล (IDD -Innovative Digital Design) หลักสูตรนานาชาติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เธอผ่านการคัดเลือกได้เข้าเรียนในหลักสูตรที่เป็นวิชาแห่งอนาคต ตอนต้นปี 2558
สาขา IDD ของธรรมศาสตร์ มีโครงการร่วมกับ DigiPen Institute of Technology ในการพัฒนาหลักสูตร สร้างบุคลากร
DigiPen เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน อยู่ที่เรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน มีหลักสูตปริญญาตรีและโท ด้านคอมพิวเตอร์ซายน์ อนิเมชั่น การออกแบบเกมส์ และวิศวะคอมพิวเตอร์
เมื่อจบปีสอง แหวนได้ทุนไปเรียนปีสาม ปีสี่ที่ DigiPen เธอจบการศึกษาในปี 2560 ได้สองปริญญา เป็นบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง สาขาออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ บัณฑิตเกียรตินิยม สาขา Fine Arts in Digital and animation ของ DigiPen
เรียนจบแล้ว เพื่อนคนอเมริกันซึ่งทำงานที่ Camouflaj แนะนำให้ไปสมัครงานที่นั่น แหวนส่งผลงานตอนเรียนไปให้ แล้วถูกเรียกตัวไปสัมภาษณ์ เธอบอกว่า ในการสัมภาษณ์ Camouflaj จะถามว่า งานใน Portfolio มีแนวความคิดอย่างไร แหวนต้องอธิบายกระบวนการคิดว่า ได้ทำ research อะไรไปบ้าง ถึงออกแบบงานมาแบบนี้
แหวนเริ่มทำงานในทีม Concept Art กับ Camouflaj ในเดือนสิงหาคม ปี 2562 ตอนนั้นเธอเป็นสมาชิกทีมที่อายุน้อยที่สุด เธอมีส่วนร่วมในการพัฒนาเกม Republique ไม่มากนัก เพราะเป็นการทำงาน post production ของชุดครบรอบ 10 ปี แต่ได้ร่วมสร้างเกม Marvel’s Iron Man VR ตั้งแต่ช่วง Production จนจบเกม
ปัจจุบัน แหวนกำลังทำงานโปรเจคใหม่ อย่างเต็มตัว ได้ร่วมทีมตั้งแต่เริ่มต้น และมีส่วนร่วมมากขึ้นในฐานะคนนำการออกแบบตัวละคร (Charcter Concept Artist) เธอบอกว่า การใช้ภาษาอังกฤษ เป็นเรื่องจำเป็นมากเวลาทำงาน ที่ต้องคุยกับผู้ร่วมงานทุกฝ่ายในเรื่องรายละเอียดให้เข้าใจ พราะวิธีการทำงานที่ Camouflaj มีกฎกติกาน้อยมาก เน้นที่ผลงาน การทำงานกันเป็นทีมจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
“แหวนคิดว่า เด็กไทยเก่ง ไม่แพ้ใครคะ แค่ต้องการโอกาส แบบที่แม่กับพ่อ สนับสนุนแหวน ธรรมศาสตร์ให้โอกาส ทุกคนทำได้ค่ะ”
นอกจากงานที่ Camouflaj นิตย์สิริยังทำงานใช้ทุน เป็นอาจารย์สอนเรื่อง character designer ที่มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าบางมด ผ่านระบบออนไลน์ เธอบอกว่า อยากสอนหนังสือ ได้ถ่ายทอดความรู้ให้คนรุ่นใหม่ เหมือนที่เธอเคยได้รับความรู้จากอาจารย์ที่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ธรรมศาสตร์และที่ DigiPen รวมทั้งเป็นการแบ่งปันประสบการณ์อันมีค่าที่ได้รับจากการทำงานที่ Camouflaj ด้วย
ขณะเดียวกัน เธอก็อยากทำงานที่ Camouflaj ต่อไป เพราะสหรัฐฯ เป็นต้นธารนวัตกรรมดิจิทัลของโลก ทำให้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ทันการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว เพราะกว่าที่นวัตกรรมเหล่านั้นจะมาถึงคนไทยแบบของสำเร็จรูป ก็อาจต้องใช้เวลาหลายปี
“ถ้าได้ทำงานพร้อมกับสอนหนังสือแบบไฮบริด อาจจะลดวันทำงานสักหนึ่งวัน เพื่อมีเวลาสอนหนังสือมากขึ้น แหวนก็อยากทำแบบนั้นค่ะ”