จากกรณีที่ 3 แม่ลูกเจ้าของโรงงานทำขนมเยลลี่ ถูก 15 แรงงานชาวเมียน มายัดข้อหา “กักขัง-ค้ามนุษย์” จนถูกฟ้องศาล ก่อนจะได้ฟ้องกลับ 15 แรงงานชาวเมียนมา เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ล่าสุด ทนายกระดูกเหล็ก พา 3 แม่ลูกเจ้าของโรงงานทำขนมเยลลี่ ร้องขอความเป็นธรรม และขอให้ตรวจสอบเกี่ยวกับผู้ที่แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่สถานทูตเมียนมา
นายอนันต์ชัย ไชยเดช หรือ ทนายกระดูกเหล็ก พร้อมด้วย นางสาวสุธิดา เนาว์รุ่งโรจน์, นายจักรกฤษณ์ วิบูลย์ลักษณากุล และนางสาวลักษมน วิบูลย์ลักษณากุล 3 แม่ลูกเจ้าของโรงงานทำขนมเยลลี่ ได้เดินทางมายื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรม และขอให้ตรวจสอบว่า นายเน ซอ โม เป็นเจ้าหน้าที่สถานทูตเมียนมา ตามที่กล่าวอ้าวจริงหรือไม่ และสถานเอกอัครราชทูตเมียนมาได้รับเรื่องร้องเรียนตามที่แรงงานชาวเมียนมาทั้ง 14 คน ให้ความเท็จมาจากผู้ใด หรือได้รับเรื่องร้องเรียน และได้ส่งผู้ช่วยทูตฝ่ายแรงงานให้เข้าไปตรวจสอบบ้านเลขที่ 6 หรือ 59/18 ซอยลาดพร้าว-วังหิน 6 ถนนลาดพร้าว-วังหิน แขวง-เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2564 หรือไม่ เพื่อให้ความเป็นธรรมกับบริษัท แอบโซลูท แม็กซิมัม จำกัด พร้อมทั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็มชูก้าร์ และ 3 แม่ลูกเจ้าของโรงงานทำขนมเยลลี่
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 นายเน ซอ โม อ้างว่า เป็นเจ้าหน้าที่สถานทูตเมียนมา มีการข่มขู่ว่า จะนำตำรวจ ทหาร ทั้งประเทศไทยเข้ามาค้นโรงงานทำขนมเยลลี่ ต่อมาในวันที่ 27 มกราคม 2564 เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI และหน่วยงานราชการอีกหลายหน่วย โดยเฉพาะผู้ช่วยทูตฝ่ายแรงงาน ของสถานเอกอัครราชทูตเมียนมา ประจำประเทศไทย ก็ได้เข้ามาช่วยเหลือแรงงานชาวเมียนมา จำนวน 18 คน ในที่เกิดเหตุด้วย จากนั้น แรงงานชาวเมียนมาจำนวน 14 คน ใน 18 คน ได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จกล่าวหาว่า บริษัท แอบโซลูท แม็กซิมัม จากัด, ห้างหุ้นส่วนจากัด เอ็มชูก้าร์ และ 3 แม่ลูกเจ้าของโรงงานทำขนมเยลลี่ กักขังหน่วงเหนี่ยว และถูกดำเนินคดีข้อหาค้ามนุษย์
ทั้งนี้ ทาง 3 แม่ลูกเจ้าของโรงงานทำขนมเยลลี่ ได้แจ้งความกับตำรวจกองปราบปราม เพื่อให้ดำเนินคดีกับแรงงานชาวเมียนมา จำนวน 15 คน ฐาน “แจ้งข้อความอันเป็นเท็จให้ผู้อื่นได้รับโทษทางอาญา โดยมิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น และกรรโชกทรัพย์” เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
เบื้องต้นทางสถานทูต ยืนยันมาว่า นายเน ซอ โม ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่สถานทูตตามที่กล่าวอ้าง