xs
xsm
sm
md
lg

"ASF" ระบาดทั่วอาเซียน นักเขียนดังตั้งคำถาม ทำไมไทยไม่ระบาด หรือปิดข่าวใครได้ประโยชน์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



"สฤณี อาชวานันทกุล" นักเขียนคนดัง โพสต์เฟซบุ๊กตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการระบากของ "โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร" หลังประเทศอาเซียนทยอยระบาดกันทั่วแต่ไม่มีรายงานติดเชื้อในประเทศไทย หรือ ภาครัฐจงใจปิดข่าว ถาม ใครได้ประโยชน์

จากกรณี ราคาเนื้อหมูแพงมาก เช่น ซี่โครงหมู ส่วนที่ติดกระดูกซึ่งนิยมนำไปทำเมนูอบ ต้ม ทำน้ำซุป หรือทอดกระเทียม กิโลกรัมละ 140 บาท หมูเนื้อแดงที่นำไปปรุงอาหารเมนูทั่วไป กิโลกรัมละ 170 บาท ส่วนคอหมูที่นิยมนำมาทำเป็นเมนูคอหมูทอด หรือคอหมูย่างแกล้มเหล้าเบียร์ ราคาพุ่งสูงถึงกิโลกรัมละ 200 บาทเลยทีเดียว นอกจากนี้ อีกสาเหตุที่ทำให้เนื้อหมูแพงเนื่องจากโรค ASF ทำให้เกิดความต้องการเนื้อหมูจากไทยมีมาก ฟาร์มขนาดใหญ่เน้นไปที่การส่งออก​เพราะขายได้ราคาดี จึงทำให้ขายกันเกลี้ยงฟาร์ม​จนหมูโตไม่ทัน ส่วนฟาร์มขนาดเล็ก ส่วนหนึ่งเลิกกิจการ เพราะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 จำนวนหมูในประเทศเลยมีน้อยลง สวนทางกับความต้องการบริโภคที่มีอย่างต่อเนื่อง

ประกอบกับเป็นช่วงเปิดภาคเรียน ภาครัฐมีมาตรการคลายล็อก ทำให้มีครอบครัวและกลุ่มเพื่อนออกมาสังสรรค์กันอย่างคึกคัก โดยเฉพาะเมนูหมูกระทะต่างๆ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ในขณะนี้เนื้อหมูมีราคาแพงขึ้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 6 ม.ค. สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียนคนดังได้ออกมาโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว "Sarinee Achavanuntakul" เกี่ยวกับการระบาดของ "ASF" หรือ "โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร" ว่ามีการระบาดในประเทศไทยหรือไม่ ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เนื้อหมูมีราคาแพง ทั้งนี้ เจ้าตัวได้ระบุข้อความว่า
"เพิ่งไปดูข้อมูลเรื่องการระบาดของโรค ASF ในหมู อันนี้รวบรวมโดย FAO เมื่อเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา จะเห็นว่าระบาดไปทั่วทุกประเทศในอาเซียนรวมทั้งจีนมาพักใหญ่แล้ว แต่ไทยดูบริสุทธิ์ผุดผ่องอยู่ประเทศเดียว เพราะรัฐไม่เคยยอมรับว่าเกิดโรค ASF ในไทย จึงไม่เคยรายงาน FAO ถถถถ

คิดว่า น่าจะได้เวลาที่สื่อมวลชนทั้งหลายโดยเฉพาะนักข่าวสืบสวนสอบสวน ลุกขึ้นมาทำข่าวเจาะดีๆ แล้วนะคะว่า "ทำไม" รัฐไทยจึงปิดข่าว ASF มาเป็นปีๆ และใครได้ประโยชน์จากการปิดข่าวนี้บ้าง
รอดูกึ๋นของสื่อไทย"

สำหรับ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือโรค ASF ซึ่งสร้างความเสียหายแก่ผู้เลี้ยงสุกรทั่วโลก เนื่องจากจนถึงปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันโรค

ความร้ายแรงของโรค ASF เป็นเชื้อที่มีความดื้อด้านสูง สามารถอยู่ในเนื้อหมูได้เป็นเวลานาน และทนความร้อนได้ดี แม้จะถูกแปรรูปเป็นแฮมรมควัน​ ลูกชิ้น​ ไส้กรอก​ กุนเชียง หรือเนื้อหมูที่นำมาทำอาหารแล้ว ก็ยังรอดชีวิตอยู่ได้

ถ้าจะให้เชื้อที่เป็นพาหะของโรค ASF ตาย ต้องปรุงอาหารผ่านความร้อนด้วยอุณหภูมิสูงถึง 70 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 20 นาทีขึ้นไป ถ้าเป็นแบบนี้เมนูจำพวกหมูตุ๋น หมูพะโล้ก็น่าจะเอาอยู่

ที่น่ากลัวก็คือ เชื้อที่เป็นพาหะของโรค ASF สามารถหลุดเข้ามาในประเทศไทยได้ ถ้ามีคนเป็นพาหะ​ แม้ว่าภาครัฐจะมีการจับกุมผู้ลักลอบนำเข้าหมูแช่แข็งอย่างเข้มงวดแล้วก็ตาม

โชคดีที่กรมปศุสัตว์ของไทยมีมาตรการเข้มงวด ในการนำเข้าสุกร และผลิตภัณฑ์สุกรทุกชนิด จากประเทศที่มีการระบาด ทำให้ในขณะนี้ ไทยเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคซีแอลเอ็มวีที่ปลอดโรค ASF

อ่านโพสต์ต้นฉบับ




กำลังโหลดความคิดเห็น