xs
xsm
sm
md
lg

TMA จัดงาน ‘Digital Transformation Forum & Thailand Digital Excellence Awards 202’ เฟ้นหาองค์กรแห่งความเป็นเลิศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA)  จัดงานสัมมนา Digital Transformation Forum และการมอบรางวัล “Thailand Digital Excellence Awards 2021” สำหรับองค์กรภาครัฐและเอกชนจากกลุ่มธุรกิจต่างๆ เพื่อเฟ้นหาองค์กรแห่งความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการดิจิทัลประจำปี 2564”

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA)จัดงานสัมมนาออนไลน์ พร้อมประกาศผลและมอบรางวัลองค์กรแห่งความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการดิจิทัล “Digital Transformation Forum & Thailand Digital Excellence Awards 2021” ในรูปแบบการสัมมนาออนไลน์ (Online Conference) สำหรับผู้บริหารจากองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจากกลุ่มธุรกิจต่างๆ บุคลากรสายงานดิจิทัล และผู้สนใจทั่วไป เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมอง ยกย่อง และสนับสนุนองค์กรที่มีความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการดิจิทัล พร้อมยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการดิจิทัลในประเทศไทยให้เท่าเทียมกับมาตรฐานสากล เมื่อวันที่ 8  ธันวาคม 2564 ณ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย

โดยการสัมมนาเชิงวิชาการ “Digital Transformation Forum 2021” ภายใต้หัวข้อ “The Platform Economy” และงานประกาศรางวัล “Thailand Digital Excellence Awards 2021” จัดขึ้นในรูปแบบการสัมมนาออนไลน์เพื่อเป็นการส่งเสริม Green Meeting อันจะช่วยยกระดับมาตรฐานการจัดประชุมในองค์กรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหารระดับสูงและผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์และแนวทางการบริหารจัดการดิจิทัลเทคโนโลยี ในประเด็นที่หลากหลาย พร้อมนำเสนอมุมมอง เรื่องราว เทคนิค และกลยุทธ์ความสำเร็จของหน่วยงานผู้ชนะรางวัลในครั้งนี้ด้วย

Mr.BENJAMIN FINGERLE, Partner, The Boston Consulting Group (BCG)แลกเปลี่ยนความรู้ในหัวข้อ “What’s Up Now: The Platform Economy” กล่าวว่า BCG ใช้เครื่องมือ Digital Acceleration Index (DAI) ซึ่ง BCG ออกแบบมาเพื่อประเมินศักยภาพด้านดิจิทัล (Digital Maturity) ของภาคธุรกิจ โดยมีบริษัทจากทุกกลุ่มอุตสาหกรรมและทุกภูมิภาคของโลกเข้าร่วมการสำรวจกว่า 1,000 บริษัทสำหรับประเทศไทย BCG ได้ร่วมกับสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (Thailand Management Association - TMA) เพื่อทำการศึกษาว่าองค์กรในประเทศไทยอยู่ในขั้นที่ 2 (Digital Literate) โดยการยกระดับด้านดิจิทัลนั้นสามารถทำได้โดยการเพิ่มการลงทุนด้านดิจิทัล และการพัฒนายกระดับทักษะด้านดิจิทัลขององค์กร
อย่างไรก็ตาม บริษัทไทยมีความต้องการที่จะยกระดับอย่างมากโดยบริษัทซึ่งสามารถพัฒนาศักยภาพทั้ง 7 ด้านตาม DAI ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการดำเนินกระบวนการ Digital Transformation ได้สำเร็จ จากเดิม 30% เป็น 80% ในการรวมกลยุทธ์กับเป้าหมายในการทำ Transformation ที่ชัดเจนขององค์กร 

คุณณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ในหัวข้อ “Keynote Address : The Platform Revolution” เผยประสบการณ์และมุมมอง Innovation ในการพัฒนาแพลตฟอร์ม ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัจจุบันแพลตฟอร์มที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในโลกดิจิทัล เป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มในรูปแบบตลาดกลาง หรือ Match Making และให้คนจากรอบด้านมา interact กัน และทำ Transaction บนแพลตฟอร์ม โดยไม่มีต้นทุนในด้าน content หรือ สินค้า โดยแพลตฟอร์มที่ดีควรต้องสามารถ facilitate บริการต่างๆ ช่วยให้ Interaction ต่างๆ เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มได้ง่าย โลกดิจิทัลเป็นเรื่องของข้อมูลที่สามารถรับส่งกันได้แบบไม่มีขอบเขต ข้อมูลคือหัวใจสำคัญของแพลตฟอร์ม ซึ่ง IoT จะเชื่อมโยงข้อมูลจากโลกออฟไลน์เข้ามาในแพลตฟอร์ม และใช้ข้อมูลทั้งจากโลกออนไลน์และโลกออฟไลน์มาประมวลผลด้วย AI แบบ realtime และนำ insight ไปปรับปรุง ทำให้แพลตฟอร์มเรียนรู้และบริการได้ดีมากขึ้น ซึ่งแพลตฟอร์มยิ่งเปิดกว้างทั้งในฝั่งของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการก็จะยิ่งทำให้แพลตฟอร์มเติบโตเร็ว โดยกลุ่มทรูมีระบบนิเวศครบวงจรที่พร้อมสนับสนุนองค์กรธุรกิจที่ต้องการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อให้บริการในด้านต่างๆ ทั้งการทำงานและการใช้ชีวิตในมิติต่างๆ 

สำหรับ มุมมองในการใช้แพลตฟอร์ม คือ การใช้ดาต้าและสร้างข้อมูลในเชิงลึก และทำให้เป็นระบบอัตโนมัติ ที่จะใช้ดาต้าในการพัฒนาแพลตฟอร์มให้เก่งขึ้น ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และใช้ Scale ให้เกิด learning เพื่อบริหารต้นทุนและให้บริการแพลตฟอร์มที่มีฟีเจอร์ที่หลากหลาย รวมถึงการใช้ประโยชน์จาก social media ต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้ และ ดึงผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆเข้ามาในแพลตฟอร์มให้มากที่สุด นอกจากนี้ คุณณัฐวุฒิ ยังให้แนวทางในการสร้างหรือคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ว่า Innovation ไม่ได้เกิดจากเทคโนโลยีขั้นสูงเสมอไป แต่เกิดจากการเปลี่ยนกระบวนการ และคิดบวก ซึ่งทุกคนสามารถเป็น Innovator สร้าง Innovation หรือสร้าง revolution ได้ทุกวัน 

ในหัวข้อเสวนา “Conversation with the Transformers : Creating Competitive Advantage through Digital Platform”
ด้าน ดร.ก่อศักดิ์ โตวรรธกวณิชย์ ผู้จัดการสถาบันนวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงวิสัยทัศน์ของบางจาก คือ การเป็นผู้นำด้านBCG Economy Model ทั้งในแง่ของการเติบโตอย่างยั่งยืนและให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านการดำเนินงานของ 3 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่

กลุ่ม Bio - Synthetic Biology Consortiumโดยบางจากได้มีการประยุกต์ใช้ Bio - based Business ในการแก้ไขปัญหาการผลิตอาหารต่างๆ
กลุ่ม Circular การทำ Carbon Market Club ในการซื้อขายคาร์บอน เพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อนและเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงของคนรุ่นใหม่ที่จะช่วยขับเคลื่อน New Economy พร้อมส่งเสริมCircular Business ในการใช้วัสดุและบรรจุภัณฑ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
กลุ่ม Greenovative Experience พยายามพัฒนาปั๊มน้ำมันต้นแบบในการเชื่อมโยงเพื่อสร้างดิจิทัลแพลตฟอร์มซื้อขายไฟฟ้า และมีการใช้Digital Token เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสู่โลกอนาคต พร้อมสร้างความร่วมมือกับ PEA ทำแท่นชาร์จ EV ทั่วไทย และร่วมมือกับ MG ผู้ผลิตรถไฟฟ้า ในการเปลี่ยนจากธุรกิจน้ำมันสู่ธุรกิจไฟฟ้า สิ่งสำคัญ คือ การสร้างศักยภาพบุคลากรของบางจาก เปิดโอกาสให้พนักงานทุกระดับสามารถร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ และร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเพื่อดึงกลุ่มเด็กเยาวชนรุ่นใหม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมสู่อนาคต 

ด้าน คุณอภิรัตน์หวานชะเอม Chief Digital Officer บริษัท เอสซีจีซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด กล่าวว่า SCG ได้มองเป้าหมายจากเดิมที่เป็น B2C เป็น B2B2C โดยต้องการเป็น Experienced Company ที่ดูแลทั้ง Journey ของลูกค้า จากเดิมเป็นเพียงผู้ผลิตแต่ในปัจจุบันเปลี่ยนมาให้บริการด้วย และมีการใช้ Innovation Portfolio เข้ามาช่วยดูแลตั้งแต่ความฝันของลูกค้า เช่น การออกแบบบ้านในฝัน โดยมองว่า การ Platform Marketing อาจจะไม่เพียงพอต่อการพัฒนา จึงได้มีการนำ IoT มาใช้ในการแก้ไขปัญหาหลายประการ เช่น Smart City Smart Home เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีความเห็นว่า IoT คือ 4th Gen Technology ที่จะช่วยรักษาและสร้างโอกาสในอนาคตทางธุรกิจ

ปัจจุบัน SCG เริ่มพัฒนาด้านนวัตกรรมและดิจิทัลเทคโนโลยีให้กับสินค้าและบริการของไทยทั้งยังเป็น Maker Exchange สร้างศักยภาพบุคลากรรุ่นใหม่ ภายใต้แนวคิด “Born in Thailand” (BiT) เพื่อสนับสนุนให้เด็กรุ่นใหม่ เชื่อว่า สามารถสร้างเทคโนโลยีของเราได้ นอกจากนั้น ยังมีโครงการ Work From Where You Areให้สามารถทำงานกับ SCG ได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม 

ด้าน คุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ Country Manager บริษัท อะเมซอนเว็บเซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันผ่าน Cloud Platform โดยจะเห็นได้จากวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา ว่า องค์กรที่ไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่อง Digital Transformation จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์นี้ค่อนข้างสูง
พร้อมยกตัวอย่างตัวอย่างบริษัทขนาดใหญ่ในประเทศอย่าง SCG ที่ประสบความสำเร็จในการนำ Public Cloud มาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเชิงต้นทุนและทำให้มั่นใจได้ว่าบริษัทสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง หรือ Application หาหมอออนไลน์ Raksa ที่ให้บริการ Telemedicine เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สามารถพลิกแพลงธุรกิจให้อยู่กับการเปลี่ยนแปลง แบบ New Normal ได้

ในหัวข้อเสวนา “Live Chat with the Real Crowd Pleasers” ได้รับเกียรติจากผู้บริหารทั้ง 3 ท่าน ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในครั้งนี้ พร้อมผู้ดำเนินการอภิปราย ดร.ชินาวุธ ชินะประยูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจดิจิทัล และผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมดิจิทัล สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)

ท่านแรก คุณเจษฎา สุขทิศ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟินโนมีนา จำกัด ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบริหารเงินลงทุนแบบ One Stop Service และให้ความรู้ด้านการลงทุนแก่คนไทย กล่าวว่า ในโลกยุคปัจจุบัน Digital Platform Supply Chain เปลี่ยนไปมาก เราต้องสร้างแพลตฟอร์มที่สามารถสร้าง Engagement ให้ได้มากที่สุด และเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคซึ่งจะเป็นโอกาสของธุรกิจ

ท่านที่สอง คุณสีหนาท ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เพอร์เพิลเวนเจอร์ส จำกัด กล่าวว่า Key Success Factor ของการเปลี่ยนมาสู่แพลตฟอร์มนั้นต้องรู้ว่าทำเพื่อตอบโจทย์อะไรบ้าง เช่น ในเรื่องของการตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ คิดว่า Food delivery ตอบโจทย์ แต่เป็น Red Ocean เพราะในไทยมีหลายแพลตฟอร์มจากต่างชาติ แพลตฟอร์ม Robinhood มีจุดยืน คือการช่วยธุรกิจขนาดเล็ก เพราะค่า GP เป็น 0 ประการที่ 2 คือ คนที่เป็นลูกค้า ที่เป็น Price Sensitive เป็น Gen Z ที่จะตรวจสอบราคาก่อน Robinhood จึงเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยสังคม คือ คนซื้อ คนสั่ง และคนส่ง และเป็น Kindness platform ในการส่งต่อ ถ่ายทอดความดี แบ่งปันความสุข และสร้าง Community ร่วมกัน

ท่านที่สาม  คุณอริยะ พนมยงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท ทรานส์ฟอร์เมชั่นนอล จำกัด กล่าวว่า  หากธุรกิจจะหันมาพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มต้องคำนึงถึง สิ่งที่เป็นพื้นฐานในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา คำว่า Digital Transformation ค่อนข้างจะเป็นที่นิยม แต่ในความเป็นจริงเป็นเรื่องที่ยากมาก รวมถึงความเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยียังผิวเผิน โดยมองว่าส่วนใหญ่ยังมองเห็นเพียงแค่ความสำเร็จบน Iceberg เท่านั้น (5%) ในความเป็นจริงแล้วสิ่งที่ควรตั้งคำถาม คือ กลยุทธ์ของบริษัทที่ประสบความสำเร็จคืออะไร ทำอย่างไรที่เขาไปถึงจุดมุ่งหมาย ดังนั้น ในการสร้างธุรกิจใหม่จะต้องลงมือทำ และคาดการณ์ถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น โดยถ้าเรามีบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้า ฐานลูกค้าก็จะใหญ่ขึ้นได้ในท้ายที่สุด จึงต้องคิดใหญ่ แต่เริ่มเล็ก 
ส่วนในหัวข้อ The Rising Stars: A Shift from Traditional to Digital Businessได้รับเกียรติจากท่านผู้บริหารทั้ง 2 ท่าน มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในครั้งนี้

ด้าน คุณณัฐพล วิมลเฉลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในการทำ Digital Transformation องค์กรมักไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงไหน โดยสยามราชธานีที่มีพนักงานกว่าหนึ่งหมื่นคนและเป็นธุรกิจที่ทำมากว่า 40 ปี Digital Transformation จึงต้องประกอบด้วย 5 ประการ คือ 1) การมีกลยุทธ์ด้านดิจิทัลและวัฒนธรรมที่ชัดเจน 2) ความร่วมมือจากพนักงานและลูกค้า 3) กระบวนการและนวัตกรรม 4) เทคโนโลยี และ 5) ข้อมูลและการวิเคราะห์

นอกจากนี้ ยังมองว่า ควรให้ความสำคัญเรื่องต้นทุนและเรื่องของ Process Analysis ด้วย ว่าอะไรเป็น Bottlenecked เลือกโครงการที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด รวมถึง Digitize ระบบ HRM ให้ได้มากที่สุด ดังนั้น แนวทางการให้บริการคือ Hardware Software และ Peopleware นอกจากนั้น ต้องเข้าใจว่า Digitization นั้น ไม่ใช่ Digital Transformation เพราะ Digitization หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ แต่ Digital Transformation หมายถึงการสร้างสินค้าและบริการใหม่ และใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยลดต้นทุน 

ด้าน คุณมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย) กล่าวว่า Sea เป็นธุรกิจแม่ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ให้บริการ Garenaธุรกิจเกมใน 130 ประเทศทั่วโลก และ Shopee ซึ่งให้บริการซื้อขายสินค้าในประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ละตินอเมริกา โดยกำลังขยายไปสู่ยุโรป และ Sea Money ได้แก่ Shopee Pay โดยจุดเริ่มต้นของธุรกิจเป็น Startup เกิดขึ้นจากธุรกิจเกมส์และเป็น Unicorn รายแรกของประเทศสิงคโปร์ในปี 2014 หลังจากนั้นองค์กรจึงได้ตั้งเป้าหมายขึ้นมาว่าจะเป็นองค์กรที่เปลี่ยนชีวิตคนและธุรกิจขนาดเล็กให้ดีขึ้นด้วยเทคโนโลยี

ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของคน เช่น E-Commerceจึงได้พัฒนา Shopee ขึ้นมา และ Digital Financeจึงพัฒนามาเป็น Sea Money โดยธุรกิจของ Sea (Group) มุ่งสร้างความเข้าใจ และทำให้ทั้ง Ecosystem เติบโตไปด้วยกันอย่างเข้มแข็ง

ดังนั้น ในปี 2019 Sea (Group) จึงได้เริ่มดำเนินโครงการ “10 in 10 Initiatives” เพื่อพัฒนา Digital Talent สำหรับตลาดแรงงาน ผ่านหลายโครงการ เช่น Shopee University (เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้สำหรับ SMEs และผู้ขาย (Sellers))  Shopee Code league (การแข่งขันวิเคราะห์ข้อมูล-Data Analytic Competition) และ Garena Academy (การให้ความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเกม) ทั้งยังพัฒนาความสามารถในการใช้ดิจิทัลสำหรับทุกคน ผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น Young Happy – Silver age ช่วยคนสูงวัยใช้เทคโนโลยี Echo-Knowledge Hub ให้รู้เท่าทันเทคโนโลยีต่างๆ และ Startdee : Accessible Digital Tools for Education จนถึงปัจจุบัน โครงการ “10 in 10 Initiatives” ได้ให้การฝึกอบรมไปแล้วถึง 4,187,000 คน 
ในหัวข้อเสวนา “Winner’s Forum”ได้รับเกียรติจากท่านผู้บริหาร 3 ท่าน จากองค์กรที่ได้รับรางวัล Thailand Digital Excellence Awards 2021มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความสำเร็จในครั้งนี้

ท่านแรก คุณญาดา  ศาสตรสาธิต Chief Marketing Officer บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ลอรีอัลเป็นบริษัท FMCG ที่จำหน่ายสินค้ามากกว่า 20 แบรนด์ในไทย และในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การจัดจำหน่ายแบบออฟไลน์รวมถึงการเสนอบริการ Physical Beauty ServiceAdvisors หายไปอย่างรวดเร็ว โดยในช่วงล็อกดาวน์ จึงหันมาขายผ่าน E-Commerce มากขึ้น ดังนั้น ลอรีอัลจึงต้องเร่งทำตามแผนที่วางไว้เมื่อหลายปีก่อน เช่น Virtual Try-On คือ การทำให้ลูกค้าสามารถลองสีลิปสติกหลายเฉดสีผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ หรือการให้คำปรึกษาด้านความงามผ่านทางออนไลน์ (E-Beauty Platform) โดยมี Retail Partners เช่น Central Group ที่ร่วมกันทดสอบและเรียนรู้ ซึ่งสำหรับผู้บริโภคอาจจะใช้เวลาในการปรับตัวมาซื้อของออนไลน์ รวมทั้งผู้บริโภคมีความยึดติดกับแบรนด์ที่เขาเชื่อถือ อันเป็นข้อได้เปรียบสำหรับลอรีอัลที่มีความน่าเชื่อถือและก่อตั้งมากว่า 100 ปีนอกจากนั้น ยังเป็นการสร้างโอกาสในการเจาะตลาดไปยังพื้นที่ที่ลอรีอัลยังไม่มีหน้าร้านแบบออฟไลน์อีกด้วย 

ท่านที่สอง คุณจรุง เกียรติสุภาพงศ์ Chief Information Officer (Kasikorn Business-Technology Group-KBTG) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วิกฤตครั้งนี้ส่งผลในแง่ดีกับภาคการเงิน ซึ่งจำเป็นต้องดูแลลูกค้า โดยธนาคาร มี Kasikorn Business Technology Bank (KBTG) ที่ได้ Spin-off ธุรกิจออกมาเมื่อปี 2016 เพราะเราเชื่อมั่นว่า บุคลากรในภาคเทคโนโลยีไม่เหมือนบุคลากรในภาคการเงิน รวมถึงเปิดโอกาสให้บุคลากรสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ (Work from Anywhere) นอกจากนั้น ในช่วงเวลาของวิกฤต Digital Banking จะทำให้ธุรกิจสามารถทำธุรกรรมได้ทุกอย่างผ่าน Digital Banking Platform และทำให้แพลตฟอร์มมีเสถียรภาพต่อการใช้งานไม่ว่าเมื่อไรและใช้ได้จากทุกที่  

ความสำเร็จในการทำ Digital Transformation ไม่ใช่คำตอบของทุกสิ่ง แต่เราต้องมองกลับไปย้อนดู Business Model และกลยุทธ์ขององค์กรว่าการทำ Digital Transformation นั้น จะช่วยส่งเสริมสนับสนุนธุรกิจและการให้บริการที่ดีพอต่อลูกค้า
การคัดเลือก Talent เข้ามาทำงานใน KBTG สิ่งที่ยากที่สุด คือ การรักษา Talent ไว้กับองค์กรโดยองค์กรพยายามที่จะช่วยให้ทำงานง่ายขึ้น และกำจัดงานที่ไม่ชอบออกไป ในช่วงของการระบาดโควิด-19 คือเรื่องของ Human Safety องค์กรจึงพยายามอำนวยความสะดวกให้สามารถทำงานได้ รวมถึงสื่อสารไปยังพนักงานว่าอะไรคือเป้าหมาย ความเป็นห่วง รับฟังความคิดเห็น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในช่วงวิกฤตนี้ 

และ คุณศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรานาถ สิงหรา ณ อยุธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ได้ให้ความสำคัญกับลูกค้าในช่วงการระบาดของโควิด-19 จึงได้สร้างหุ่นยนต์ UVC และ AI Navigation Platform หรือที่เรียกว่า AGV ซึ่งช่วยในการบริหารจัดการสินทรัพย์จากทางไกล ทั้งยังได้ร่วมมือกับบริษัทพันธมิตรที่มี Know-how และลงทุนในเรื่องของ Robotic & AI ด้วย

การทำ DigitalTransformation อุปสรรคขององค์กร คือ การเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์โดยพื้นฐาน ไม่ใช่บริษัทที่ทำธุรกิจดิจิทัลการบริการต้นทุน การรักษาความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล ไปจนถึงการพัฒนากลยุทธ์เพื่อสร้างความยั่งยืน และการสื่อสารกับทุกคนที่เกี่ยวข้องจึงเป็นความท้ายทายที่ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ต้องก้าวผ่านให้ได้เพื่อ Transform องค์กร 
ทั้งนี้ การประกาศรางวัล “Thailand Digital Excellence Awards 2021” ซึ่ง TMA ร่วมกับ The Boston Consulting Group (BCG) นำเครื่องมือประเมิน Digital Acceleration Index (DAI) มาเฟ้นหาองค์กรแห่งความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการดิจิทัลประจำปี 2564 เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการดิจิทัลขององค์กรในประเทศไทย และเพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรอันจะเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลไทยให้เติบโตอย่างมั่นคงต่อไป   


















กำลังโหลดความคิดเห็น