xs
xsm
sm
md
lg

ฟื้นคืนภูมิปัญญาพื้นถิ่น ให้มีความร่วมสมัย เพื่อวิถีชุมชนที่ยั่งยืน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย นำโดย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย น้อมสำนึกในพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในพระวิสัยทัศน์ดังกล่าว ประกอบกับข้อมูลเกี่ยวกับผู้ผลิต และผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้า ในปี พ.ศ. 2563 บ่งชี้ว่า ผู้ผลิต ผู้ประกอบการจำนวนกว่า 30,000 กลุ่ม/ราย ยังต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และยังต้องมีการขยายตลาดผู้ใช้ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในและนอกประเทศ ทั้งประเภทกลุ่มเสื้อผ้าแฟชั่น เครื่องแต่งกาย กลุ่มเคหะสิ่งทอ และงานหัตถกรรม กรมการพัฒนาชุมชนเล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีกลยุทธ์เพื่อพัฒนาชุมชนต้นแบบการทอผ้า มีกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบให้สามารถตอบสนองตลาดผู้บริโภคเป้าหมาย โดยเฉพาะกลุ่มที่นิยมผลิตภัณฑ์ผ้าจากเส้นใยธรรมชาติ ซึ่งโดยมากเป็นกลุ่มผู้ที่มีรายได้สูง นิยมเสื้อผ้าสำเร็จรูปแบรนด์เนม ตัดเย็บด้วยความประณีต ทันสมัย จึงเห็นควรที่จะพัฒนายกระดับมาตรฐานสินค้าผ้าไทยให้เป็นผลิตภัณฑ์พรีเมี่ยม เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้สูงดังกล่าว เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นของลูกค้า ส่งเสริมภาพลักษณ์ และประชาสัมพันธ์แบรนด์ผ้าไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

ด้วยเหตุนี้ กรมพัฒนาชุมชนจึงได้จัดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายให้เป็น Premium OTOP ขึ้น และได้รวบรวมข้อมูลเนื้อหาและผลงานมาไว้ในหนังสือดอนกอยโมเดลฉบับสมบูรณ์ 2 ภาษา (ไทย-อังกฤษ) และฉบับดิจิทัล หนังสือดอนกอยโมเดล บรรจุข้อมูลการพัฒนาหมู่บ้านทอผ้าย้อมครามและย้อมสีธรรมชาติในรูปเล่มที่ทันสมัย ตามแนวทางของโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดขึ้นตามแนวพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา โดยนำรูปแบบของการพัฒนาคุณภาพการย้อมผ้า ทอผ้า รวมทั้งการพัฒนา Branding และ Storytelling มาเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าในระยะยาว เพื่อให้ชุมชนมีรายได้และช่วยเหลือตนเองได้อย่างยั่งยืน ตามวัตถุประสงค์ของแนวพระดำริโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ที่ได้พระราชทานไว้ภายในเล่มประกอบด้วยเนื้อหาที่ครบถ้วน ตั้งแต่อารยธรรมและความเป็นมาเกี่ยวกับการใช้สอยครามในทวีปต่างๆ ทั่วโลก และพันธุ์พืชที่ให้สีคราม ซึ่งทั่วโลกใช้กันอย่างแพร่หลาย ความเป็นมาของการใช้ครามย้อมผ้าในจังหวัดสกลนคร https://static.posttoday.com/media/content/2021/11/23/39B09BA36E4FEB2CFA681DB6D56A4AD9_1000.jpg ของไทย ผ่านการอพยพ ย้ายถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหลายที่เข้ามายังภาคอีสานในช่วงต้นยุครัตนโกสินทร์ ก่อนจะกล่าวถึงประวัติการตั้งและการขยายหมู่บ้านดอนกอย อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร วิถีชีวิตของ 4 กลุ่มชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมโครงการดอนกอยโมเดล

https://static.posttoday.com/media/content/2021/11/23/F2E9033D7BB5B3B49BF124AFC5298040_1000.jpg ในโครงการดอนกอยโมเดล ออกแบบโดยนักออกแบบชั้นนำของประเทศ รวมทั้งแนวคิดเบื้องหลังการสร้างสรรค์ผลงานแต่ละคอลเลคชั่น และแนวคิดการทำแบรนดิ้งดอนกอยสกล ตราสัญลักษณ์ และบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ อีกทั้งหนังสือดอนกอยโมเดล ยังนำระบบการตลาดออนไลน์เข้ามาประกอบการขายผ่านการสแกนคิวอาร์โค้ดของสินค้าในเล่ม ซึ่งทำให้ผู้ซื้อสามารถเข้าถึงผู้ขายและผลิตภัณฑ์ได้โดยตรง นอกจากวัตถุประสงค์โครงการดอนกอยโมเดลได้เผยแพร่พระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ด้านการออกแบบเครื่องแต่งกาย สิ่งทอ และด้านการอนุรักษ์ผ้าไทยให้เป็นที่ประจักษ์กันทั่วไปแล้ว ผลประโยชน์ที่ชุมชนได้รับจากโครงการดอนกอยโมเดลยังมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น 10 เท่า นับตั้งแต่มีการพัฒนาชุมชนต้นแบบ จากรายได้เดือนละ 700 บาท สามารถเพิ่มเป็น 7,000 บาท ต่อครัวเรือน สามารถพึ่งพาตนเองได้ในยามที่เกิดวิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19










กำลังโหลดความคิดเห็น