xs
xsm
sm
md
lg

ชาวนาปลื้ม “ขอบคุณ” จุรินทร์ ทำเพื่อเกษตรกร เงินถึงมือตรง เชียร์เดินหน้า “ประกันรายได้ปี 3”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ให้นโยบายกรมการค้าภายใน เกี่ยวกับการประสานงานกับกระทรวงการคลัง และ สำนักงบประมาณ รวมทั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) อย่างต่อเนื่อง เหมือนที่เป็นมากับโครงการประกันรายได้ปี 1 และ 2 ขณะนี้การเดินหน้าโครงการประกันรายได้เกษตรกรปี 3 ในพืช 5 ชนิด คือ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด และปาล์มน้ำมัน

“อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จ ช่วยเกษตรกรได้กว่า 7.8 ล้านครัวเรือน ยังไม่นับการบริหารจัดการเกษตรกรสวนผลไม้ ที่ทำให้ราคาดีด้วย การส่งออกแก้ปัญหาด้านการตลาดและพืชชนิดอื่น ที่เกิดจากนโยบายยกระดับราคาร่วมงานกันระหว่างกระทรวงเกษตรและกระทรวงพาณิชย์

การเดินหน้าปีที่ 3 นี้ พืชทุกชนิดราคาดีสูงกว่ารายได้ที่ประกันไว้ ทำให้รัฐไม่ต้องจ่ายเงินงบประมาณสำหรับการชดเชยมีเฉพาะข้าวเท่านั้นที่เริ่มต้นฤดูกาลนี้ สถานการณ์ราคาไม่ค่อยดี ด้วยหลายปัจจัย ขณะนี้รัฐจึงต้องจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างให้กับเกษตรกรโดยตรงตามนโยบาย ที่ นายจุรินทร์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาก่อนการเข้าร่วมรัฐบาล”

นางมัลลิกา กล่าวว่า บรรยากาศการกดเงินเบิกเงินส่วนต่างประกันรายได้เกษตรกรตั้งแต่เมื่อวานนี้ ชาวนามีความสุข พร้อมขอบคุณรัฐบาล และรองนายกฯ “จุรินทร์” ที่เดินหน้านโยบายอย่างเต็มที่ และได้รับรายงานว่า การโอนเงินชดเชยส่วนต่างประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 64/65 (9 พ.ย. 64) จ่ายกว่า 1.12 หมื่นล้าน เกษตรกรได้ประโยชน์ 5.3 แสนครัวเรือน เป็นเกษตรกรชุดแรก ซึ่งแจ้งวันเกี่ยวข้าวไว้เป็นงวดที่ 1 สำหรับชาวนาชุดที่เหลือ ซึ่งทยอยเก็บเกี่ยวข้าว โดยแจ้งวันเก็บเกี่ยวไว้ตั้งแต่ต้นฤดูการผลิตแล้วนั้นขณะนี้ สำหรับงวด 2-4 คณะอนุกรรมการราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงได้ประกาศราคาอ้างอิงไว้แล้ว เมื่อมีส่วนต่างก็จะทยอยตามไป

อย่างไรก็ตาม เมื่อวานนี้ ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี รองนายกฯ จุรินทร์ ได้อธิบายเรื่องการขอให้เงินงบประมาณเพื่อชดเชยให้กับชาวนา ตามที่เคยดูแลมา 2 ปี ซึ่งข้อมูลในการพิจารณาทั้งหมดได้ผ่านคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ ซึ่งมีนายกฯเป็นประธานมาแล้ว ขณะนี้ติดเพียงว่าสำนักงบประมาณ กับกระทรวงการคลัง มีข้อท้วงติงเกี่ยวกับงบประมาณที่เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องทำให้ผ่านมาตรา 28 เกี่ยวกับวินัยการเงินการคลัง ตรงจุดนี้จึงเป็นหน้าที่ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ สำนักงบประมาณ และกระทรวงการคลัง ต้องหารือกัน








กำลังโหลดความคิดเห็น