“ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา” ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยฯ ไบโอเทค โพสต์ข้อความชี้ “โควิดสายพันธุ์เดลตา พลัส” ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด เหตุจากมีการกลายพันธุ์ตำแหน่งที่ทำให้ไวรัสแพร่ช้าลง อาจเจอได้บ้างประปราย
จากกรณี สธ.เผยพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เดลตา พลัส มีแค่ผู้ติดเชื้อรายเดียวเป็นผู้ป่วยใน จ.กำแพงเพชร 1 ราย เดินทางมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา โดยเข้ารักษาตัวใน รพ.สนาม รักษาหายแล้ว ชี้ยังไม่พบการแพร่ระบาด รวมทั้งยังไม่พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา พลัส ที่พบการติดเชื้อเพิ่มขึ้นในอังกฤษ
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 26 ต.ค. ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์เฟซบุ๊ก “Anan Jongkaewwattana” ระบุถึงความกังวลดังกล่าวว่า
“ส่วนตัวผมไม่คิดว่าการบอกว่ามี Alpha Plus (ชื่อนี้เพิ่งเคยได้ยิน) ระบาดจะมีประโยชน์เท่าไหร่ในบริบทตอนนี้ จริงๆ ออกจะเป็นการทำให้คนที่ไม่คุ้นกับชื่อไวรัสตัวนี้จะตื่นกลัวไปโดยไม่จำเป็นมากกว่า
จากที่มีการแถลงออกมาว่า Alpha Plus คือ Alpha ที่มีการกลายพันธุ์ตำแหน่ง E484K เหมือนกับสายพันธุ์หนีภูมิเก่งอย่าง เบตา และ แกมมา การมี Plus ดังกล่าวจึงทำให้บางคนตกใจว่า Alpha plus จะทำให้วัคซีนที่ฉีดๆ กันไปช่วยอะไรไม่ได้หรือไม่ เพราะมีตัวช่วยหนีภูมิขึ้นมา...ทำอะไรไม่ได้นอกจากเฝ้าระวัง จบข่าว
แต่ถ้ามีการให้ข้อมูลเพิ่มจะมีประโยชน์มากๆ คือ E484K เมื่อเกิดขึ้นจะทำให้ไวรัสแพร่ช้าลงอย่างชัดเจน เห็นชัดๆ คือ Beta ที่เข้ามาในไทยหลายเดือนแล้วไม่ไปไหนไกล เพราะ E484K ที่ทำให้ไวรัสวิ่งช้า Delta เองที่มี E484K ก็พบว่าไม่ได้ไปไหนได้ไกลเหมือน Delta ปกติ ดังนั้น Alpha Plus ที่มี E484K ขึ้นมาก็ควรมีการชี้ว่าไวรัสตัวนี้ไม่ใช่ตัวที่วิ่งไว จริงๆ จะช้ากว่า Alpha ปกติด้วยซ้ำ เจอได้ประปราย ไม่มีอะไรที่ต้องกังวล ถ้าจบข่าวแบบนี้ ผมว่าอารมณ์คนรับสารจะเปลี่ยนไปครับ...”
อ่านโพสต์ต้นฉบับ