ความสุขในวัยเยาว์ของ “ทิพย์สุดา สินชวาลวัฒน์” คือการอ่านหนังสือทุกเล่มที่มีในบ้าน กับความฝันที่จะเป็นคนทำหนังสือให้คนอื่นได้อ่านบ้าง จากวันนั้นถึงแม้บางช่วงความฝันจะไม่เป็นไปตามที่ต้องการ แต่วันนี้เธอได้ทำหนังสือให้คนอื่นอ่านเป็นเรื่องจริงแล้ว
ปัจจุบัน ทิพย์สุดา เป็นผู้บริหารสำนักพิมพ์ บุ๊ค เมกเกอร์ และรับตำแหน่ง นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
>>> สถานการณ์ของวงการหนังสือในปัจจุบันตั้งแต่เกิดโควิด-19 เป็นอย่างไรบ้าง
วงการหนังสือก็เหมือนกับธุรกิจอื่น ๆ ทุกธุรกิจที่โดนผลกระทบโดยตรงจากโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเกิดการ ล็อกดาวน์ และปิดห้างร้านต่าง ๆ รวมทั้งร้านหนังสือ เมื่อร้านหนังสือซึ่งสร้างยอดขายหลักให้กับสำนักพิมพ์ต้องปิดด้วย ยอดขายของหลายสำนักพิมพ์แทบจะเป็นศูนย์ในทันที แผนการพิมพ์หนังสือใหม่หยุดชะงัก
แม้ว่าหลังจากคลายล็อกดาวน์และร้านหนังสือกลับมาเปิดได้ตามข้อกำหนดแล้ว แต่สำนักพิมพ์หลายแห่งก็ยังระมัดระวังในการลงทุน ยังรีรอที่จะดูสถานการณ์ ไม่กล้าตีพิมพ์หนังสือใหม่ออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนักพิมพ์ที่พึ่งพารายได้การออกบูธในงานหนังสือของสมาคม ฯ เป็นหลักไม่ว่าจะเป็น งานสัปดาห์หนังสือ หรืองานมหกรรมหนังสือที่จัดขึ้นทั้งในกรุงเทพ ฯ และต่างจังหวัด ซึ่งในปีที่แล้วยังจัดงานได้บ้าง แต่ในปีนี้ไม่สามารถจัดขึ้นได้เลย ทำให้ยอดขายหนังสือต่องานประมาณ 200-600 ล้านบาทหายไปด้วย นั่นหมายถึงรายได้ของสำนักพิมพ์เหล่านั้นเท่ากับศูนย์
>>> การปรับตัวของสำนักพิมพ์และร้านหนังสือต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
ในระยะเวลาเกือบ ๆ 2 ปีนี้ ทุกสำนักพิมพ์ไม่ว่าจะเป็นขนาดใหญ่-กลาง-เล็ก ต่างปรับและเปลี่ยนตัวเอง สรรหารูปแบบการขายที่เหมาะสมกับตัวเอง โดยเฉพาะช่องทางการจัดจำหน่าย นอกจากการวางจำหน่ายในร้านหนังสือเป็นหลักแล้ว ยังนำเสนอรูปแบบในการขายแบบสั่งจองล่วงหน้าก่อนจัดพิมพ์ หรือที่เราเรียกกันว่า “พรีออเดอร์” มากขึ้น ถ้านักอ่านสั่งพรีออเดอร์ จะได้หนังสือในราคาพิเศษและได้รับก่อนวางจำหน่าย ซึ่งปัจจุบันนักอ่านเริ่มเคยชินกับการซื้อหนังสือแบบพรีออเดอร์จากสำนักพิมพ์ ในขณะเดียวกัน นักเขียนบางท่านก็เริ่มปรับตัวขายแบบพรีออเดอร์ให้กับนักอ่านโดยตรง ทำให้สำนักพิมพ์ก็ต้องเริ่มปรับตัว เพื่อให้นักเขียนเห็นความสำคัญของสำนักพิมพ์ และมอบหน้าที่การจัดพิมพ์และจัดจำหน่ายให้กับสำนักพิมพ์
นอกจากนี้ สำนักพิมพ์และร้านหนังสือปรับตัวเข้าสู่การขายออนไลน์มากขึ้น ปรากฎการณ์ที่เกิดเหมือนกันทั่วโลกคือ สำนักพิมพ์มีสัดส่วนการขายออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นมาก หลายสำนักพิมพ์สามารถผ่านช่วงโควิดมาได้อย่างราบรื่น เพราะเปิดขายหนังสือผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก และ Marketplace ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักอ่าน และเป็นช่องทางที่จะสื่อสารกับกลุ่มผู้อ่านแฟนคลับของสำนักพิมพ์ได้โดยตรง
ข้อแตกต่างระหว่างการซื้อหนังสือออนไลน์กับสำนักพิมพ์โดยตรง กับการซื้อออนไลน์ผ่านร้านหนังสือ การซื้อกับสำนักพิมพ์โดยตรงก็จะได้รับส่วนลดที่มากกว่าสั่งจากร้านหนังสือ แต่ในขณะเดียวกัน หากซื้อจากร้านหนังสือ เราจะสามารถเลือกหนังสือได้จากหลากหลายสำนักพิมพ์ ประหยัดค่าจัดส่งและเวลาในการเลือกซื้อได้
ประเด็นที่น่าสนใจคือ เมื่อสำนักพิมพ์มาทำการตลาดออนไลน์เอง เป็นการเปิดโอกาสให้นักอ่านได้รู้จักกับหนังสือทั้งใหม่และเก่าของสำนักพิมพ์ สร้างยอดขายได้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่แสดงหนังสือ เพราะพื้นที่ในร้านหนังสือมีจำกัดนั่นเอง
>>> บทบาทของสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ ในยุคโควิด
ในช่วงโควิดสมาชิกออกหนังสือใหม่ได้น้อยลง ร้านหนังสือปิด จัดงานหนังสือและออกบูธขายของไม่ได้ เราต้องอาศัยจังหวะนี้เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับสมาชิก โดยการจัดอบรมสัมมนาเรื่องต่าง ๆ ทั้งทางการด้านการผลิต การตลาด การขายและลิขสิทธิ์ ไปจนถึงหาพันธมิตรเพื่อมาช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับสมาชิกของสมาคมฯ ทั้งพันธมิตรที่เป็นบริษัทขนส่งเพื่อลดต้นทุนการจัดส่งหนังสือ พันธมิตรที่เป็น Online Marketplace เพื่อเสริมช่องทางการขาย ไปจนถึงมองหาช่องทางสนับสนุนจากรัฐบาลที่จะช่วยสนับสนุนสมาชิกในทุก ๆ เรื่อง สมาคมฯ วางแผนที่จะจัดงานหนังสือในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรามีความพร้อมในการจัดงานได้ทันทีที่ภาครัฐอนุญาต
อย่างไรก็ตาม เดือนตุลาคมของทุกปี จะมีงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ถึงแม้ว่าปีนี้จะยังไม่สามารถจัดงานได้ตามปกติ แต่เราก็ยืนยันการจัดงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 26 Hybrid Book Fair 2564 ระหว่างวันที่ 23 – 31 ตุลาคม 2564 โดยตั้งเป้ายอดขายทั้งงานไว้ที่ 200 ล้านบาท
>>> งานหนังสือที่กำลังจะมาถึงมีรูปแบบการจัดอย่างไร มีอะไรน่าสนใจบ้าง
งานมหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 26 Hybrid Book Fair 2564 งานหนังสือผสมผสาน จะจัดขึ้นทั้งบนโลกออนไลน์ และในร้านหนังสือ เป็นงานที่ทุกคนได้มีส่วนร่วม ทั้งสำนักพิมพ์ ร้านหนังสือ และนักอ่าน สร้างบรรยากาศแห่งการอ่านให้กลับมาคึกคัก พบกันสำนักพิมพ์ 177 แห่ง และหนังสือออกใหม่กว่า 650 ปก ใครสะดวกเลือกสั่งทางออนไลน์ สามารถเลือกช้อปได้ที่ www.ThaiBookFair.com, JD Central, Lazada, Shopee และเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์ ซึ่งแต่ละแพลทฟอร์มจะมอบโปรโมชั่นพิเศษมูลค่ารวมกันกว่า 3,500,000 บาท
และหากคิดถึงบรรยากาศของงานหนังสือ สามารถคลายความคิดถึงโดยการไปเลือกซื้อหนังสือในร้านหนังสือที่ร่วมจัดงานในครั้งนี้ ไม่ว่าจะในร้านหนังสือเชน (ร้านหนังสือขนาดใหญ่ที่มีสาขา) ได้แก่ ร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ ร้านนายอินทร์ ร้านบีทูเอส และศูนย์หนังสือจุฬาฯ ซึ่งร้านเชนทั้งหมดมีสาขาทั่วประเทศรวมกันกว่า 500 ร้าน และร้านหนังสืออิสระกว่า 50 ร้านทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ซึ่งในแต่ละร้านจะมีกิจกรรมต่าง ๆ พร้อมส่วนลดและของที่ระลึกพิเศษมอบให้นักอ่านในช่วงการจัดงานระหว่างวันที่ 23 – 31 ตุลาคม 2564 นี้
กิจกรรมเสวนาหลักของงาน จะผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก นักอ่านและผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ทางแฟนเพจ Thai Book Fair การเสวนาจากสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ และสำนักพิมพ์ต่าง ๆ และโปรแกรม Zoom นำเสนอประเด็นสนทนา โดยเชิญทั้งนักเขียนและผู้ที่มีชื่อเสียงร่วมพูดคุย
และยังมีกิจกรรมเสวนาที่เกี่ยวกับหนังสือ การอ่าน และประเด็นที่กำลังได้รับความสนใจในสังคม รวมทั้งการเปิดตัวใหม่ พบกับนักเขียน และผู้มีชื่อเสียงที่จะมาร่วมพูดคุย ซึ่งสามารถติดตามชมผ่านทาง Facebook Live เพจ Thai Book Fair ซึ่งในเพจจะมีการอัพเดตโปรโมชั่น และกิจกรรมทั้งออนไลน์และในร้านหนังสือตลอดระยะเวลาการจัดงาน
>>> รูปแบบของงานหนังสือในอนาคตจะเป็นอย่างไร
เพราะโควิด-19 ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป การจัดงานหนังสือก็เช่นกัน ก็ต้องตอบวิถีนิวนอร์มัลเช่นกัน รวมทั้งหนอนหนังสือบางส่วนคุ้นเคยกับการซื้อหนังสือออนไลน์ อยู่ที่ไหนก็สั่งหนังสือได้ คือความท้าทายที่เราต้องทำให้งานหนังสือยังมีมนต์ขลังมัดใจผู้อ่านทั้งเพื่อนใหม่และเพื่อนเก่า รู้สึกตื่นเต้นและรอคอยที่จะได้มางานหนังสืออย่างจดจ่อ อย่างไรก็ตามสิ่งที่เราตระหนักได้ คือ งานหนังสือจะต้องจัดควบคู่กันไประหว่างงานออนไลน์ และออนกราวน์ จะสั่งทาง หรือจะมาเดินเลือกเองก็ได้ โดยในแต่ละช่องทางก็จะมีรูปแบบเฉพาะตัวที่เหมาะกับนักอ่าน
และงานหนังสือที่นักอ่านคิดถึงมากที่สุด คือ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ซึ่งปกติจะจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายนนั้น ขณะนี้ สมาคมผู้จัดพิมพ์ ฯ เริ่มเตรียมงานแล้ว สำหรับงานปีหน้า (2565) ณ เวลานั้น ถ้าภาครัฐเปิดให้จัดงานได้ตามปกติแล้ว คนรักหนังสือจะได้กลับมาพบกันในบรรยากาศที่คุ้นเคยอย่างแน่นอน
>>> มีหนังสือเล่มไหนที่อยากชวนหนอนหนังสือมา อ่านได้ เถียงได้ บ้าง
กำลังอ่าน Untitled Case : Human Horror ชมรมคนหัวลุก จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์แซลมอน หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาที่สนุกมาก นำเรื่องราวจากรายการพ็อดแคสต์ Untitled Case ของ ยชญ์ บรรพพงศ์ และธัญวัฒน์ อีพภูดม สองนักเล่าเรื่องผู้เสพติดความลี้ลับมาออกเป็นหนังสือเล่มนี้ เนื้อหาเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องลึกลับ ฆาตกรรม และทฤษฎีสมคบคิด ในหนังสือจะเล่าถึงลัทธิต่าง ๆ ซึ่งแต่ละลัทธิมักจะมีปัจจัยความเชื่อร่วมกัน อ่านแล้วอยากจะชวนหนอนหนังสือทั้งหลายมา ถกกันเรื่องความเชื่อของคนไทย ในแง่มุมของความเป็นไปได้ทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์และจิตวิทยา
พบกับงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 26 Hybrid Book Fair 2564 ผ่าน เฟซบุ๊กแฟนเพจ Thai Book Fair พร้อมช้อปหนังสืออย่างจุใจ ผ่านทางช่องทางออนไลน์ 24 ชั่วโมงได้ที่ ThaiBookFair.com, JD Central, Lazada, Shopee และเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์ หรือเลือกช้อปหนังสือจากร้านหนังสือใกล้บ้านที่เข้าร่วมงานได้ ตั้งแต่วันที่ 23-31 ตุลาคม 2564
ปัจจุบัน ทิพย์สุดา เป็นผู้บริหารสำนักพิมพ์ บุ๊ค เมกเกอร์ และรับตำแหน่ง นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
>>> สถานการณ์ของวงการหนังสือในปัจจุบันตั้งแต่เกิดโควิด-19 เป็นอย่างไรบ้าง
วงการหนังสือก็เหมือนกับธุรกิจอื่น ๆ ทุกธุรกิจที่โดนผลกระทบโดยตรงจากโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเกิดการ ล็อกดาวน์ และปิดห้างร้านต่าง ๆ รวมทั้งร้านหนังสือ เมื่อร้านหนังสือซึ่งสร้างยอดขายหลักให้กับสำนักพิมพ์ต้องปิดด้วย ยอดขายของหลายสำนักพิมพ์แทบจะเป็นศูนย์ในทันที แผนการพิมพ์หนังสือใหม่หยุดชะงัก
แม้ว่าหลังจากคลายล็อกดาวน์และร้านหนังสือกลับมาเปิดได้ตามข้อกำหนดแล้ว แต่สำนักพิมพ์หลายแห่งก็ยังระมัดระวังในการลงทุน ยังรีรอที่จะดูสถานการณ์ ไม่กล้าตีพิมพ์หนังสือใหม่ออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนักพิมพ์ที่พึ่งพารายได้การออกบูธในงานหนังสือของสมาคม ฯ เป็นหลักไม่ว่าจะเป็น งานสัปดาห์หนังสือ หรืองานมหกรรมหนังสือที่จัดขึ้นทั้งในกรุงเทพ ฯ และต่างจังหวัด ซึ่งในปีที่แล้วยังจัดงานได้บ้าง แต่ในปีนี้ไม่สามารถจัดขึ้นได้เลย ทำให้ยอดขายหนังสือต่องานประมาณ 200-600 ล้านบาทหายไปด้วย นั่นหมายถึงรายได้ของสำนักพิมพ์เหล่านั้นเท่ากับศูนย์
>>> การปรับตัวของสำนักพิมพ์และร้านหนังสือต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
ในระยะเวลาเกือบ ๆ 2 ปีนี้ ทุกสำนักพิมพ์ไม่ว่าจะเป็นขนาดใหญ่-กลาง-เล็ก ต่างปรับและเปลี่ยนตัวเอง สรรหารูปแบบการขายที่เหมาะสมกับตัวเอง โดยเฉพาะช่องทางการจัดจำหน่าย นอกจากการวางจำหน่ายในร้านหนังสือเป็นหลักแล้ว ยังนำเสนอรูปแบบในการขายแบบสั่งจองล่วงหน้าก่อนจัดพิมพ์ หรือที่เราเรียกกันว่า “พรีออเดอร์” มากขึ้น ถ้านักอ่านสั่งพรีออเดอร์ จะได้หนังสือในราคาพิเศษและได้รับก่อนวางจำหน่าย ซึ่งปัจจุบันนักอ่านเริ่มเคยชินกับการซื้อหนังสือแบบพรีออเดอร์จากสำนักพิมพ์ ในขณะเดียวกัน นักเขียนบางท่านก็เริ่มปรับตัวขายแบบพรีออเดอร์ให้กับนักอ่านโดยตรง ทำให้สำนักพิมพ์ก็ต้องเริ่มปรับตัว เพื่อให้นักเขียนเห็นความสำคัญของสำนักพิมพ์ และมอบหน้าที่การจัดพิมพ์และจัดจำหน่ายให้กับสำนักพิมพ์
นอกจากนี้ สำนักพิมพ์และร้านหนังสือปรับตัวเข้าสู่การขายออนไลน์มากขึ้น ปรากฎการณ์ที่เกิดเหมือนกันทั่วโลกคือ สำนักพิมพ์มีสัดส่วนการขายออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นมาก หลายสำนักพิมพ์สามารถผ่านช่วงโควิดมาได้อย่างราบรื่น เพราะเปิดขายหนังสือผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก และ Marketplace ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักอ่าน และเป็นช่องทางที่จะสื่อสารกับกลุ่มผู้อ่านแฟนคลับของสำนักพิมพ์ได้โดยตรง
ข้อแตกต่างระหว่างการซื้อหนังสือออนไลน์กับสำนักพิมพ์โดยตรง กับการซื้อออนไลน์ผ่านร้านหนังสือ การซื้อกับสำนักพิมพ์โดยตรงก็จะได้รับส่วนลดที่มากกว่าสั่งจากร้านหนังสือ แต่ในขณะเดียวกัน หากซื้อจากร้านหนังสือ เราจะสามารถเลือกหนังสือได้จากหลากหลายสำนักพิมพ์ ประหยัดค่าจัดส่งและเวลาในการเลือกซื้อได้
ประเด็นที่น่าสนใจคือ เมื่อสำนักพิมพ์มาทำการตลาดออนไลน์เอง เป็นการเปิดโอกาสให้นักอ่านได้รู้จักกับหนังสือทั้งใหม่และเก่าของสำนักพิมพ์ สร้างยอดขายได้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่แสดงหนังสือ เพราะพื้นที่ในร้านหนังสือมีจำกัดนั่นเอง
>>> บทบาทของสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ ในยุคโควิด
ในช่วงโควิดสมาชิกออกหนังสือใหม่ได้น้อยลง ร้านหนังสือปิด จัดงานหนังสือและออกบูธขายของไม่ได้ เราต้องอาศัยจังหวะนี้เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับสมาชิก โดยการจัดอบรมสัมมนาเรื่องต่าง ๆ ทั้งทางการด้านการผลิต การตลาด การขายและลิขสิทธิ์ ไปจนถึงหาพันธมิตรเพื่อมาช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับสมาชิกของสมาคมฯ ทั้งพันธมิตรที่เป็นบริษัทขนส่งเพื่อลดต้นทุนการจัดส่งหนังสือ พันธมิตรที่เป็น Online Marketplace เพื่อเสริมช่องทางการขาย ไปจนถึงมองหาช่องทางสนับสนุนจากรัฐบาลที่จะช่วยสนับสนุนสมาชิกในทุก ๆ เรื่อง สมาคมฯ วางแผนที่จะจัดงานหนังสือในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรามีความพร้อมในการจัดงานได้ทันทีที่ภาครัฐอนุญาต
อย่างไรก็ตาม เดือนตุลาคมของทุกปี จะมีงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ถึงแม้ว่าปีนี้จะยังไม่สามารถจัดงานได้ตามปกติ แต่เราก็ยืนยันการจัดงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 26 Hybrid Book Fair 2564 ระหว่างวันที่ 23 – 31 ตุลาคม 2564 โดยตั้งเป้ายอดขายทั้งงานไว้ที่ 200 ล้านบาท
>>> งานหนังสือที่กำลังจะมาถึงมีรูปแบบการจัดอย่างไร มีอะไรน่าสนใจบ้าง
งานมหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 26 Hybrid Book Fair 2564 งานหนังสือผสมผสาน จะจัดขึ้นทั้งบนโลกออนไลน์ และในร้านหนังสือ เป็นงานที่ทุกคนได้มีส่วนร่วม ทั้งสำนักพิมพ์ ร้านหนังสือ และนักอ่าน สร้างบรรยากาศแห่งการอ่านให้กลับมาคึกคัก พบกันสำนักพิมพ์ 177 แห่ง และหนังสือออกใหม่กว่า 650 ปก ใครสะดวกเลือกสั่งทางออนไลน์ สามารถเลือกช้อปได้ที่ www.ThaiBookFair.com, JD Central, Lazada, Shopee และเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์ ซึ่งแต่ละแพลทฟอร์มจะมอบโปรโมชั่นพิเศษมูลค่ารวมกันกว่า 3,500,000 บาท
และหากคิดถึงบรรยากาศของงานหนังสือ สามารถคลายความคิดถึงโดยการไปเลือกซื้อหนังสือในร้านหนังสือที่ร่วมจัดงานในครั้งนี้ ไม่ว่าจะในร้านหนังสือเชน (ร้านหนังสือขนาดใหญ่ที่มีสาขา) ได้แก่ ร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ ร้านนายอินทร์ ร้านบีทูเอส และศูนย์หนังสือจุฬาฯ ซึ่งร้านเชนทั้งหมดมีสาขาทั่วประเทศรวมกันกว่า 500 ร้าน และร้านหนังสืออิสระกว่า 50 ร้านทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ซึ่งในแต่ละร้านจะมีกิจกรรมต่าง ๆ พร้อมส่วนลดและของที่ระลึกพิเศษมอบให้นักอ่านในช่วงการจัดงานระหว่างวันที่ 23 – 31 ตุลาคม 2564 นี้
กิจกรรมเสวนาหลักของงาน จะผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก นักอ่านและผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ทางแฟนเพจ Thai Book Fair การเสวนาจากสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ และสำนักพิมพ์ต่าง ๆ และโปรแกรม Zoom นำเสนอประเด็นสนทนา โดยเชิญทั้งนักเขียนและผู้ที่มีชื่อเสียงร่วมพูดคุย
และยังมีกิจกรรมเสวนาที่เกี่ยวกับหนังสือ การอ่าน และประเด็นที่กำลังได้รับความสนใจในสังคม รวมทั้งการเปิดตัวใหม่ พบกับนักเขียน และผู้มีชื่อเสียงที่จะมาร่วมพูดคุย ซึ่งสามารถติดตามชมผ่านทาง Facebook Live เพจ Thai Book Fair ซึ่งในเพจจะมีการอัพเดตโปรโมชั่น และกิจกรรมทั้งออนไลน์และในร้านหนังสือตลอดระยะเวลาการจัดงาน
>>> รูปแบบของงานหนังสือในอนาคตจะเป็นอย่างไร
เพราะโควิด-19 ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป การจัดงานหนังสือก็เช่นกัน ก็ต้องตอบวิถีนิวนอร์มัลเช่นกัน รวมทั้งหนอนหนังสือบางส่วนคุ้นเคยกับการซื้อหนังสือออนไลน์ อยู่ที่ไหนก็สั่งหนังสือได้ คือความท้าทายที่เราต้องทำให้งานหนังสือยังมีมนต์ขลังมัดใจผู้อ่านทั้งเพื่อนใหม่และเพื่อนเก่า รู้สึกตื่นเต้นและรอคอยที่จะได้มางานหนังสืออย่างจดจ่อ อย่างไรก็ตามสิ่งที่เราตระหนักได้ คือ งานหนังสือจะต้องจัดควบคู่กันไประหว่างงานออนไลน์ และออนกราวน์ จะสั่งทาง หรือจะมาเดินเลือกเองก็ได้ โดยในแต่ละช่องทางก็จะมีรูปแบบเฉพาะตัวที่เหมาะกับนักอ่าน
และงานหนังสือที่นักอ่านคิดถึงมากที่สุด คือ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ซึ่งปกติจะจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายนนั้น ขณะนี้ สมาคมผู้จัดพิมพ์ ฯ เริ่มเตรียมงานแล้ว สำหรับงานปีหน้า (2565) ณ เวลานั้น ถ้าภาครัฐเปิดให้จัดงานได้ตามปกติแล้ว คนรักหนังสือจะได้กลับมาพบกันในบรรยากาศที่คุ้นเคยอย่างแน่นอน
>>> มีหนังสือเล่มไหนที่อยากชวนหนอนหนังสือมา อ่านได้ เถียงได้ บ้าง
กำลังอ่าน Untitled Case : Human Horror ชมรมคนหัวลุก จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์แซลมอน หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาที่สนุกมาก นำเรื่องราวจากรายการพ็อดแคสต์ Untitled Case ของ ยชญ์ บรรพพงศ์ และธัญวัฒน์ อีพภูดม สองนักเล่าเรื่องผู้เสพติดความลี้ลับมาออกเป็นหนังสือเล่มนี้ เนื้อหาเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องลึกลับ ฆาตกรรม และทฤษฎีสมคบคิด ในหนังสือจะเล่าถึงลัทธิต่าง ๆ ซึ่งแต่ละลัทธิมักจะมีปัจจัยความเชื่อร่วมกัน อ่านแล้วอยากจะชวนหนอนหนังสือทั้งหลายมา ถกกันเรื่องความเชื่อของคนไทย ในแง่มุมของความเป็นไปได้ทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์และจิตวิทยา
พบกับงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 26 Hybrid Book Fair 2564 ผ่าน เฟซบุ๊กแฟนเพจ Thai Book Fair พร้อมช้อปหนังสืออย่างจุใจ ผ่านทางช่องทางออนไลน์ 24 ชั่วโมงได้ที่ ThaiBookFair.com, JD Central, Lazada, Shopee และเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์ หรือเลือกช้อปหนังสือจากร้านหนังสือใกล้บ้านที่เข้าร่วมงานได้ ตั้งแต่วันที่ 23-31 ตุลาคม 2564