‘หมอปอง’ หรือ นพ.ทีปทัศน์ ชุณหสวัสดิกุล อุปนายกสมาคมการแพทย์มนุษยปรัชญาไทย คือแพทย์มนุษยปรัชญา ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกัน และผู้มีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยด้วยการแพทย์แบบองค์รวม ซึ่งให้ความสำคัญกับการดูแลรักษากาย และจิตใจ หรือ Body & Mind ยิ่งไปกว่านั้น การแพทย์มนุษยปรัชญา (Anthroposophic medicine) ยังมององค์ประกอบของความเป็นมนุษย์ว่าย่อมมีทั้งกาย จิต และจิตวิญญาณ อารมณ์ ความรู้สึก สุขภาพ ล้วนสัมพันธ์กับธาตุต่างๆ ในร่างกาย
ไม่เพียงเท่านั้น หมอปองยังศึกษา การแพทย์โฮมิโอพาธีย์ (homeopathy ศาสตร์สมุนไพร ธรรมชาติบำบัดหรือการแพทย์พื้นบ้านของยุโรปที่มีอายุมากกว่า 200 ปี ) ทั้งยังให้ความสำคัญกับการรักษาแบบผสมผสานกับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนจีน นอกจากนี้ ในแนวทางกระบวนการเยียวยายังมี Art Therapy และ Music Therapy ศาสตร์การใช้ดนตรีบำบัด และศิลปะบำบัด เพื่อเยียวยาจิตใจผู้ที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์ หรือกลุ่มผู้ป่วยจิตเวช อาทิ ผู้ป่วยโรคซีมเศร้า หรือไบโพลาร์ ผสานกับการแพทย์แผนปัจจุบันและการเยียวยาในแนวทางอื่นๆ
ด้วยองค์ความรู้ที่ครอบคลุมและเปิดกว้างต่อศาสตร์การแพทย์ในหลายแขนง ‘ผู้จัดการออนไลน์’ จึงสัมภาษณ์พิเศษ นพ.ทีปทัศน์ ชุณหสวัสดิกุล อุปนายกสมาคมการแพทย์มนุษยปรัชญาไทย เพื่อขอให้บอกเล่าถึงศาสตร์แพทย์องค์รวมที่ให้ความสำคัญต่อร่างกายและจิตใจที่เกี่ยวพันกับสรรพสิ่งและธาตุต่างๆ ตามองค์ความรู้ของบรรพชนที่สืบต่อกันมายาวนาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิ่งใดคือแก่นสำคัญของการแพทย์มนุษยปรัชญา ความรู้ที่สืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ทั้งจากยุโรป ไทย จีน จึงหลอมรวมอยู่ในเรื่องราวอย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อองค์ความรู้ทั้งมวลได้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง แก่ผู้ป่วยหลายราย ไม่เว้นแม้แต่ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับคำแนะนำจาก นพ.ทีปทัศน์ ชุณหสวัสดิกุล แล้วอาการดีขึ้นด้วยศาสตร์สมุนไพร ขณะที่มุมมองเรื่องการทำงานของร่างกายที่สอดประสานกับจิตใจและจิตวิญญาณ ทำงานเชื่อมโยงกับสีสันและธาตุเจ้าเรือนอย่างไรนั้น ทั้งหลายทั้งปวงนี้ ล้วนได้รับการบอกกล่าวไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง
>>> ได้รับการถ่ายทอดความรู้จากบิดา-มารดา
เมื่อถามว่าปัจจุบัน นพ.ทีปทัศน์ เป็นแพทย์เฉพาะทางด้านไหน นพ.ทีปทัศน์ ตอบว่า
“ผมเป็นแพทย์แผนปัจจุบัน ที่จบจากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี แล้วก็ไปศึกษาต่อเป็นแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ป้องกัน โดยผมเป็นรุ่นที่สอง ก่อนนั้น มีคุณหมอบรรจบกับหมอลลิตา (หมายเหตุ- นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล อดีตผู้ดำรงค์ตำแหน่ง คณบดีวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์, พญ.ลลิตา ธีระสิริ เป็นบิดา-มารดาของ นพ.ทีปทัศน์) ท่านทำด้าน Wellness (เวลเนส) และศูนย์ธรรมชาติบำบัดมา
“ตัวผมเองก็เลยได้รับการถ่ายทอดความรู้จากคุณพ่อคุณแม่ เรื่องวิตามิน การฝังเข็ม เรื่องสมุนไพร แล้วก็ศึกษาลงลึกเรื่องโฮมีโอพาธีย์ (ระบบ Homeopathy-การแพทย์ทางเลือกที่ถือกำเนิดจากประเทศเยอรมัน เน้นการรักษาทางธรรมชาติบำบัด) ซึ่งดูเหมือนเป็นศาสตร์ใหม่ แต่จริงๆ มีมานานแล้วในยุโรป แต่เพิ่งมาถึงเมืองไทย เมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา จากนั้นผมก็ไปเรียนต่อด้านการลงลึกเรื่องวิตามิน และการบำบัดด้วยอาหารและโภชนาการ ของ American Board of Nutritional Wellness แต่สุดท้าย ตำแหน่งที่ผมดำรงอยู่ปัจจุบัน คือ อุปนายกสมาคมแพทย์มนุษยปรัชญาไทย”
>>> การแพทย์มนุษยปรัชญา (Anthroposophic medicine)และดร.รูดอล์ฟ สไตเนอร์ ผู้ตระหนักถึงกาย-จิต-จิตวิญญาณ
นพ.ทีปทัศน์ กล่าวว่า การแพทย์มนุษยปรัชญา (Anthroposophic medicine) ที่มีในไทยเป็นการแพทย์องค์รวม (Holistic & Wellness) ซึ่งกำเนิดในเยอรมัน โดย ดร.รูดอล์ฟ สไตเนอร์ (หมายเหตุ-Rudolf Steiner-ผู้ริเริ่มโรงเรียนและการศึกษาวอลดอร์ฟ The Waldorfschule การศึกษาที่มีรากฐานมาจากมนุษยปรัชญา(Anthroposophy) ได้รับความสนใจในวงกว้างตลอดระยะเวลานับศตวรรษที่ผ่านมา ) ดร.รูดอล์ฟ สไตเนอร์ ซึ่งเป็นนักคิด นักปรัชญาที่ดูแลคนมากมาย มีลูกศิษย์ที่ทำงานด้านการแพทย์ ก็นำเอาความรู้ด้านองค์รวมมาดูแลคนไข้
ถามว่า แนวทางดังกล่าวเรียกว่าแนววอลดอร์ฟ ใช่หรือไหม
นพ.ทีปทัศน์ กล่าวว่า “ใช่เลยครับ แต่ผมจะเรียนอย่างนี้ครับว่า ดร.รูดอล์ฟ สไตเนอร์ จากที่เขามีผู้ร่วมอุดมการณ์มาทำงานเป็นสมาคมมนุษยปรัชญานั้น ในสมาคมมนุษยปรัชญา ยุคแรกๆ ดร.รูดอล์ฟ สไตเนอร์ ซึ่งเป็นนักปรัชญา ก็นำความรู้เรื่องปรัชญาและภาพรวมของชีวิตมาเล่า และสร้างเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ๆ ลูกศิษย์รุ่นหนึ่งก็จะเป็นนักบำบัดที่เป็นศิลปิน เป็น Art Therapist, Music Therapist คือ ใช้ดนตรีมาบำบัด ใช้ศิลปะมาบำบัด คราวนี้เขาก็พบว่า การที่รอคนป่วยมารักษาแล้วใช้แนวคิดมาบำบัดมันไม่พอ”
“ก็มีคนถามดร.รูดอล์ฟ สไตเนอร์ ว่า ถ้าอย่างนั้น ลูกหลานของเราไม่แย่เหรอ เพราะสมัยของ ดร.รูดอล์ฟ สไตเนอร์ ก็ตั้งแต่ร้อยปีที่แล้ว บางคนก็เริ่มมีผลกระทบจากเศรษฐกิจ สังคม ความเครียด ทำอย่างไร ไม่ต้องให้คนเราป่วย” นพ.ทีปทัศน์ ระบุและกล่าวเพิ่มเติมว่า
ดร.รูดอล์ฟ สไตเนอร์ จึงให้แนวคิดว่า ถ้าอย่างนั้น ต้องเปลี่ยนวิธีการศึกษา เพราะวิธีการศึกษาที่ไม่เหมาะสม ทำให้เด็ก โตมาอย่างป่วยๆ เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะป้องกันรักษาตรงส่วนนี้ จึงเป็นที่มาทำให้เกิด Movement เกิดการตั้งโรงเรียนขึ้นมา โดยมุ่งเน้นไปที่การเจริญเติบโตของเด็กในแบบที่เป็นองค์รวม คือ body and mind (ทั้งกายและใจ) ที่ดี ก็เลยเกิดการศึกษาแบบวอลดอร์ฟขึ้น เป็นสิ่งหนึ่งที่ ดร.รูดอล์ฟ สไตเนอร์ ก่อตั้งขึ้น แต่ในช่วงชีวิตต่อมาของเขาก็มีการก่อตั้งคลินิคร่วมกับหมอชาวดัตช์ ชื่อคลินิก อารเลสไฮม์ (Arlesheim) ขึ้นมา Movement ตรงนี้ก็คือ เริ่มเอาหลักการมนุษยปรัชญาว่าคนเรามีกาย มีจิต มีจิตวิญญาณ เข้ามาในการรักษาโรค เกิดการก่อตั้งการแพทย์ในแนวมนุษยปรัชญาขึ้น
การแพทย์มนุษยปรัชญา คือ เมื่อป่วยแล้วทำอย่างไรที่จะรักษาฟื้นฟูเขา ซึ่งประเด็นนี้ก็คือสาขาที่นพ.ทีปทัศน์ทำอยู่โดยตรงและเป็นอุปนายกสมาคมอยู่ แล้วก็สุดท้าย ก่อนที่ ดร.รูดอล์ฟ สไตเนอร์ จะเสียชีวิตก็มีการพูดกันว่า การที่เราจะไม่ป่วย เราต้องมีการเกษตรที่ผลิตอาหารที่ดีด้วย เพราะอาหารที่ไม่ดีหลายๆ อย่างนั่นแหละที่ทำให้คนเราป่วย
นพ.ทีปทัศน์กล่าวว่า “เพราะฉะนั้น ถ้าเราติดตามวงการมนุษยปรัชญาในเมืองไทย มีการพูดถึงเกษตรอินทรีย์ เกษตรไบโอไดนามิค หรือว่า เกษตรชีวพลวัต (Biodynamic Agriculture) อันนี้ คือ สิ่งที่ ดร.รูดอล์ฟ สไตเนอร์ บอกไว้เมื่อ 100 ปีที่แล้วว่าอาหารเราเริ่มแย่แล้วนะ เพราะฉะนั้น Movement ของมนุษยปรัชญา ถ้าจะให้สมบูรณ์ ต้องมีสี่สาขาหรือสี่ประการ”
ประการแรก การศึกษาเชิงป้องกันและเกี่ยวกับสุขภาพ
ประการที่สอง ศิลปะบำบัด Art Therapy และ Music Therapy
ประการที่สาม สาขาของการแพทย์เพื่อเยียวยาและบำบัด
ประการสุดท้าย สาขาของการเกษตรที่เป็นเกษตรอินทรีย์ในแบบเกษตรชีวพลวัตร เหล่านี้จึงจะทำให้เกิดการเยียวยาผู้คนในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพในภาพรวม
>>> การแพทย์องค์รวม
ถามว่า การทำงานของคุณหมอซึ่งเป็นแพทย์ในแนวทางของมนุษยปรัชญา ทำงานร่วมกันอย่างไรกับแพทย์แขนงอื่นๆ
นพ.ทีปทัศน์ กล่าวว่า จริงๆ แล้ว การแพทย์แผนปัจจุบันมีคุณูปการอย่างมาก ในการช่วยยืดคุณภาพชีวิตของผู้คน ในช่วง 100-200 ปีที่ผ่านมาได้ เพียงแต่ว่า มุมมองนี้ การแพทย์ในแบบมาตรฐานจะใช้มุมมองในแบบที่ผมเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware-หมายเหตุ เปรียบกับร่างกาย ) ของชีวิตคนเรา เพราะว่า ในมุมมองการแพทย์องค์รวมคนเราไม่ได้มีแต่ร่างกายที่เป็นฮาร์ดแวร์เท่านั้น แต่ว่าคนเรายังมีสิ่งที่เรียกว่าซอฟต์แวร์ (software) คือ จิต ดวงจิตหรือจิตวิญญาณที่เข้ามาทำงานในเชิงของการรู้ตัวรู้ตน ทั้งชอบ และไม่ชอบ รวมถึงความเครียดต่างๆ ที่เกิดขึ้น
แน่นอน หากลองนึกว่าถ้าเราดูแลแต่ฮาร์ดแวร์ แล้ววันหนึ่ง คอมพิวเตอร์ ของเราติดไวรัส ถ้าเราปล่อยทิ้งไว้ก็เป็นไปได้ว่า เดี๋ยวการ์ดจอก็เสีย ฮาร์ดไดร์ฟก็เสีย เพราะซอฟแวร์มันเสียหาย
เช่นเดียวกัน ด้วยนัยอย่างนี้ ถ้าเรามองว่าการแพทย์แผนปัจจุบัน มองไปที่การรักษาร่างกายมากๆ แทบจะรู้ไปจนถึงทุกเซลล์ ทุกอณู ทุกดีเอ็นเอแล้ว แต่ทว่าก็มีความเจ็บป่วยหลายๆ อย่างที่ไม่ตอบโจทย์ด้านชีวโมเลกุลเพียงอย่างเดียว
ยกตัวอย่างเช่น สมมติ มีคนมารักษากับหมอด้วยอาการปวดหัวเรื้อรัง การแพทย์แผนปัจจุบันจะตอบโจทย์มากๆ ในแง่ที่เราปวดหัวมากแล้วเราไปเอ็กซเรย์สมอง แล้วเจอเนื้องอกในสมอง อันนั้น หมายความว่าเราเจอฮาร์ดแวร์ที่ผิดปกติ เช่น อาจจะน็อตหลุด แล้วต้องเปลี่ยนฮาร์ดไดรฟ์
แต่ปรากฎว่า 80% ของคนที่ปวดหัว เมื่อเอ็กซเรย์สมองแล้วก็กลับพบว่าปกติ สบายดี ไม่เป็นไร สบายใจได้ ปวดหัวก็กินยาแก้ปวดหัวไป แต่ถ้าเรามองว่า คนเรามีซอฟท์แวร์ มีความเครียด บางคน ถ้าเราไปซักอาการดีๆ เราพบว่า เขาปวดหัวทุกครั้งที่มีอาการหงุดหงิดหรือโกรธ พื้นนิสัยบางอย่างเขาเป็นคนขี้โกรธ ถ้าเราไม่ทำอะไรสักอย่างกับความขี้โกรธของเขา เดี๋ยวกินยาไปก็หยุด หยุดกินยาก็ปวดหัวอีก
แต่ถ้าเป็นความเครียดจากจิตใจ นี่เป็นคนละเรื่อง บางคนบอกปวดหัวทุกครั้งที่ซึมเศร้า น้อยใจ เสียใจ ปวดหัว ร้องไห้จนปวดหัว เอ็กซเรย์ก็ไม่เจออะไร เราก็ต้องไปจัดการกับนิสัยใจคอของเขา ตรงนี้มันก็เลยทำให้เราต้องมาจำแนกคนเป็นบุคลิกภาพ หรือความแตกต่างเฉพาะบุคคล เพราะฉะนั้น แพทย์มนุษยปรัชญาจะเข้าไปตอบโจทย์เรื่องของการรักษาคนไข้เป็น The Individual หรือ Personalized medicine หรือมองคนๆ นั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งการแพทย์แบบองค์รวมมีมายาวนานแล้ว ทั้งการแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนจีน มีมาหมดเลย
>>> ‘ธาตุเจ้าเรือน’ กับการทำงานของร่างกาย
นพ.ทีปทัศน์กล่าวว่า ยกตัวอย่าง คนไทยรู้จักธาตุเจ้าเรือน คนเราประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ
คนเราประกอบ ด้วย พลังชีวิต ชี่ ปราณ ทั้งหมดนี้ต้องสอดประสานกัน การแพทย์ที่ดูแลแต่ฮาร์ดแวร์ อาจเปรียบเหมือนกับการตรวจตัวถังรถยนต์แล้ว ปกติ แต่แพทย์ที่ดูเรื่องปราณ เรื่องพลังชีวิต เรื่องบุคลิกภาพ เรื่องอุปนิสัย เรื่องธาตุต่างๆ ที่เขาถูกเปรียบเทียบ มันก็จะเหมือนกับว่า เราจูนเครื่องให้มันเดินเรียบ เหมือนบางทีเครื่องมันไม่ได้เสีย แต่การสันดาปมันไม่ดี มันเดินสะดุด ประสบการณ์ในการขับก็ไม่ดี เราก็ต้องมาจูนทั้งหมด
“เหล่านี้ ผมเรียกว่า มันขยายออกมาจากการแพทย์แผนปัจจุบัน แล้วถ้าเรามองให้ดีกว่านั้น หากการแพทย์แผนปัจจุบัน มีหมอสักคนที่นอกจากรักษา เรื่องร่างกายแล้ว มาเข้าอกเข้าใจเราด้วย ก็จะนับว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆ เลย ซึ่งนั่นก็คืออุดมคติที่หมอในแนวมนุษยปรัชญาพยายามจะไปให้ถึง” นพ.ทีปทัศน์ระบุ
ถามว่า หากถือว่า นพ.ทีปทัศน์ เป็นหมอในอุดมคติแบบนั้นได้ไหม
นพ.ทีปทัศน์ ตอบว่า หมอก็เป็นหมอที่อยู่ในวงซึ่งมีนักบำบัด มีผู้เชี่ยวชาญ และมีอุดมการณ์เดียวกันแบบนี้ ทำหน้าที่ด้วยกันมาสักสิบกว่าปีแล้ว
>>> มนุษยปรัชญา-การแพทย์องค์รวมกับการดูแลความป่วยไข้ทางจิตใจ
ถามว่า ปัจจุบัน สังคมมีผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มมากขึ้น อาทิ ไบโพร์ลาร์ หรือโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยเหล่านี้ สามารถใช้แนวทางมนุษยปรัชญามาดูแลเขาด้วยได้หรือไม่ นอกจากการทานยาตามแพทย์สั่ง
นพ.ทีปทัศน์ ตอบว่า ตรงนี้น่าสนใจมาก เพราะกรอบการแพทย์องค์รวม เราจะมองคนทั้งคน และมองว่าจิตใจมีผลต่อร่างกาย ถ้าเป็นภาษาพุทธเราจะบอก ‘จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว’ แต่ในขณะเดียวกัน ร่างกายที่ผิดปกติก็มีผลต่อจิตใจด้วย ภาษาพระท่านบอก ธาตุที่ไม่ปกติมันก็ส่งผลทำให้จิตใจมันหวั่นไหว นอนไม่ดี ฝันร้าย
“เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นแพทย์แบบที่เราคุ้นชินจะบอกว่า ถ้าเราซึมเศร้า เราอารมณ์ไม่ดีนี้ เพราะสารเคมีในสมองมันทำงานผิดปกติ ก็จะไปทำการตรวจ หมอเองก็ตรวจนะ ในบางกรณีเพื่อดูว่า สารโดปามีน สารสื่อประสาท ปกติไหม ระดับของฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตปกติไหม หรือดูไปถึงสารเซโรโทนิน ซึ่งเราเรียกว่าเป็นสารสื่อประสาทแห่งความแฮปปี้ ว่าสารเหล่านี้ ปกติหรือเปล่า ถ้าเป็นการแพทย์แผนปกติก็จะมองว่าสารเคมีในสมองไม่ปกติ เพราะฉะนั้น ก็เอายาไปกิน ซึ่งยาจะเลียนแบบสารในสมอง เพื่อช่วยให้สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้
ซึ่งถามว่ายาได้ประสิทธิผลไหม มันก็แก้ได้ในหลายๆ เคส แต่ในบางเคสแค่ใช้เรื่องสารสื่อประสาทหรือยาที่เข้าไปเติมนั้นมันไม่พอ เราก็ต้องมาดูว่า ในตัวเขามี ‘ธาตุ’ ที่มันผิดปกติไปไหม เราก็ต้องมาดู ยกตัวอย่าง เราก็บอกว่า ในการย่อยที่ไม่ดี เราพบว่าเด็กบางคน ที่ย่อยไม่ดี เขาจะมีปัญหาเชิงพฤติกรรมด้วย ถามว่า ทำไม หากเป็นสมัยก่อนคงตอบไม่ได้
แต่ปัจจุบัน การแพทย์พบว่า สารเซโรโทนิน ซึ่งเป็นสารแฮปปี้ มันไม่ได้ถูกสร้างในสมองอย่างเดียว แต่มันถูกสร้างในลำไส้ด้วย ดังนั้น ถ้าลำไส้ย่อยไม่ดี มีการอักเสบ เซโรโทนินก็รั่วไหล ผลิตออกมาเท่าไหร่ก็ไม่พอ เพราะฉะนั้น ตราบใดที่เราบอกว่าเด็กสมาธิสั้น เด็กอารมณ์ไม่ดี แล้วเราไปแก้แต่ยาสมาธิสั้น โดยไม่แก้เรื่องระบบย่อยอาหาร ไม่ดูเรื่องอาหารการกิน ไม่แก้ด้วยโปรไบโอติกส์ (Probiotic) เด็กก็จะมีภาวะไม่เสถียรอยู่อย่างนั้น ซึ่งเราต้องมาแก้ด้วยอาการทางกาย” นพ.ทีปทัศน์ระบุและกล่าวเพิ่มเติมว่า
ลึกลงไปกว่านั้นอีก เราพบว่า ในบรรดาธาตุทั้งสี่ ของแนวทางมนุษยปรัชญา จะคล้ายแพทย์แผนไทย คือ มีธาตุต่างๆ ที่ไหลเวียน จับต้องไม่ได้ แต่มันทำงานอยู่ในตัวเรา ซึ่งธาตุทั้งสี่ จะถูกควบคุมโดยอวัยวะสี่ตัวหลักๆ
ธาตุดิน เกี่ยวกับ ปอด แพทย์แผนจีนเรียกธาตุทอง คือ อะไรที่เป็นโลหะแน่นๆ
ธาตุน้ำ จะถูกกำกับควบคุมโดยตับ เพราะฉะนั้น ใครที่มีปัญหาเรื่องตับจะมีอาการบวมน้ำ เพราะไม่สามารถควบคุมการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองในตัวได้
ธาตุลม การแพทย์มนุษยปรัชญาบอกว่าเกี่ยวกับไต เพราะฉะนั้น เมื่อไหร่ก็ตาม ที่เราจะควบคุมธาตุลม เราจะต้องบำรุงไตให้ดี ในการแพทย์แผนจีนก็มีการบำรุงไต มี concept ที่เชื่อมโยงกันอยู่
ธาตุไฟ ถูกควบคุมเป็นหลักโดยหัวใจของเรา
>>> ธาตุในกายกับภาวะติดเชื้อโควิด-19
นพ.ทีปทัศน์กล่าวว่า “ดังนั้น ถ้าเราอยู่ในภาวะปกติ ไม่เป็นไร แต่ถ้าเราไปเจอโรคหนักๆ อย่างตอนนี้ที่หนักคือ โควิด-19 เราพบว่าคนที่ทรุดหนัก ส่วนหนึ่งมีปัญหาเรื่องภูมิต้านทานที่ทำลายตัวเอง ซึ่งเราพบว่ามันจะถูกผลิตส่วนหนึ่งในเซลล์ของท่อน้ำดี แล้วก็ตับ เพราะฉะนั้น ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามมีการติดเชื้อ คือ ธาตุไฟทำงานหนักมากเพื่อจะไปสู้รบกับเชื้อโรค ระบบตับจะต้องทำหน้าที่เป็นน้ำหล่อเย็น เพื่อไม่ให้ธาตุไฟเสียสมดุลมากจนเกินไป”
“คนที่มีเรื่องพลังงานของตับไม่ดี ก็เกิดอาการโอเวิอร์ฮีทหรือหม้อน้ำเดือด เกิดอาการอักเสบทั่วตัวขึ้นมา ดังนั้น แนวทางการรักษา มี Research อยู่ว่า ตัวยาละลายเสมหะอย่าง NAC ที่นอกจากขับสารพิษแล้ว ยังช่วยลดอาการของตับอักเสบด้วย มันช่วยลดโอกาสการเกิดการอักเสบทำร้ายตัวเองที่เรียกว่า Cytokine storm ได้ด้วย ถ้ามองในเชิงการทำงานของตับ จึงสำคัญมาก”นพ.ทีปทัศน์ระบุและกล่าวเพิ่มเติมว่า
ดังนั้น ถ้าเราไปกินยาลดไข้ เยอะๆ หรือกินยาที่มีฤทธิ์เย็นจัด ซึ่งมีอยู่ช่วงหนึ่งที่คนโปรโมทฟ้าทะลายโจรกันเยอะๆ แล้วกินกันยาวนาน กลายเป็นว่า อะไรที่รสขม มันทำให้ตับอักเสบนิดๆ ได้ จะเห็นได้ว่าทุกอย่างมันเชื่อมโยงถึงกันหมด นอกจากนั้น หลังจากอักเสบแล้ว เราพบว่าหลายคน เมื่อหายจากโควิดแล้ว นานหลายเดือน ก็ยังเพลียอยู่ ถ้าเรามองในมุมของการแพทย์ ปัจจุบัน อาจมองว่า ก็ไม่เป็นไร ปอดคงยังมีพังผืดอยู่ จึงอาจไม่มีการรักษาช่วยฟื้นตัวอื่นๆ ที่ต้องทำ
“แต่การแพทย์มนุษยปรัชญาจะมองว่า ตับของเขายังอ่อนล้า อ่อนแรงอยู่ ทำให้ตัวความสดชื่นยังไม่กลับคืนมา เราก็จะใช้วิธีประคบตับ ด้วยสมุนไพรที่มีรสขม คือลองนำเอามะระจีน มะระไทยสับเป็นชิ้น เล็กๆ ให้มีรสขม แล้วก็ใส่ในน้ำ เช็ดตัว ลดไข้ แล้วเราก็ใช้ผ้าขนหนูประคบตรงชายโครงขวา ซึ่งตรงนั้น เป็นตำแหน่งตับของเรา เมื่อประคบไปเรื่อยๆ อาการที่เรียกว่า Long Covid คือ ไม่ฟื้นตัวสักที เราพบว่าคนไข้ฟื้นตัวดีขึ้น ประเด็นนี้น่าสนใจ
ส่วนกรณีผู้ที่เป็นซึมเศร้า ปัญหาที่เคยดูเป็นเรื่องเล็ก ถ้าพลังชีวิตเราไม่พอ เราจะมองเห็นเป็นลูกเนินที่ใหญ่มาก เพราะฉะนั้น มันจะเกิดเป็นซึมเศร้าได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น บางคน เรื่องการรักษาจิตใจ แทนที่จะไปบำรุง กินยาแก้ซึมเศร้า เราก็มาบำรุงตับ บางคนก็มีเรี่ยวแรง มีแรงกาย แรงใจสดใสขึ้น มีแรงกายแรงใจจะไปแก้ปัญหาได้ นี่เป็นตัวอย่างเพียงแค่ธาตุเดียว” นพ.ทีปทัศน์ระบุ
>>> ‘ไต’ กับ ธาตุลม
นพ.ทีปทัศน์กล่าวว่า ธาตุที่สองที่หมอแนะนำ คือการดูแล ‘ไต’ ซึ่งควบคุมธาตุลม
“ไต ในการแพทย์แบบองค์รวมจะรวมไปจนถึงต่อมหมวกไตด้วยนะครับ ลองดูว่า สมมติเราเป็นโรคปอด เป็นมากๆ มันเกิดการตีบตัวของหลอดลม เพราะฉะนั้น ถ้าแพทย์ปกติ ก็ให้ยาสเตียรอยด์ (Steroid) ซึ่ง ฮอสพิเทล (Hospitel) ที่หมอไปดูก็เป็นแบบนั้น
แต่ในธรรมชาติของเรา ต่อมหมวกไต สร้างคอร์ติซอล (Cortisol) ให้เรา เพราะฉะนั้น มันจึงมีการรักษาที่เรียกว่า ประคบไต โดยเอาขิง มาซอยๆๆๆๆ ขูด ให้ถี่ๆ ให้มันเป็นฝอยๆ ต้มเอาน้ำขิงออกมา ห่อผ้าขาวบาง แล้วประคบที่ไต คือตำแหน่งที่เราเอามือเท้าสะเอว แล้วจากนั้นเอามือไว้ตรงหลังในตำแหน่งที่เท้าสะเอว นั่นคือประคบไต ก็ใช้ผ้าขนหนูผืนใหญ่ทับอีกทีเพื่อให้เกิดความอบอุ่น เราพบว่า เมื่อประคบไตแล้ว อาการหอบหืด อาการหลอดลมอักเสบ มีอาการดีขึ้น
ช่วงเดือน กรกฎาคมที่ผ่านมาผมมีเคสที่เยอะมาก แล้วเขาหาโรงพยาบาลแอดมิดไม่ได้เขาก็อินบ็อกซ์เฟซบุ๊คมาหาว่าทำยังไงดี ผมก็บอกเขาให้ใช้การประคบไตด้วย เขาบอกว่าเมื่อเขาทำไป พบว่าออกซิเจนปลายนิ้วของเขา จากเดิมที่อยู่ 94 ขึ้นมาเป็น 95-96 หรือ 1-2% ซึ่งมันช่วยเขาได้ในช่วงที่เขายังหาโรงพยาบาลไม่ได้
คำอธิบายกรณีนี้จึงน่าสนใจว่า การที่เราบอกว่า การทำให้หลอดลมคลายการตีบตัว มันสามารถช่วยผ่านการประคบไต (รวมถึงต่อมหมวกไต ที่ผลิตสารคอร์ติซอล) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ร่างกายมันฮึดสู้ กับสภาวะร่างกายที่ติดเชื้อ ทำให้ผ่านไปได้ เหล่านี้ก็เป็นแนวทางที่เรานำเอาความรู้ด้านสมุนไพรมาดูแลผู้ป่วยทางบ้านได้ แต่ต้องมีความเข้าใจเชิงลึก เพราะมันไม่ใช่กลไกของชีววิทยาสมัยใหม่ แต่มันเป็นกลไกของธาตุที่ทำงานอยู่ในตัวของเรา” นพ.ทีปทัศน์ระบุถึงประสบการณ์การทำงานแบบการแพทย์องค์รวม และกล่าวเพิ่มเติมว่า
กรณีต่อมา เมื่อเริ่มมีเสมหะเหนียว เราก็ใช้วิธีเข้าไปประคบปอดโดยใช้น้ำขิงเหมือนกัน ต้ม และใช้ผ้าที่ประคบให้บิดผ้าให้หมาด แห้ง และร้อน แล้วประคบปอด ทับด้วยกระเป๋าน้ำร้อน เราพบว่า หลายๆ เคสที่เชื้อเริ่มลงปอด ก็ช่วยให้เขาฟื้นฟูขึ้นมาได้ มีหลายเคสที่ฟื้นตัวได้ดีเมื่อเราประคบปอด เหล่านี้ ส่งผลไม่ใช่เฉพาะร่างกาย
ถ้าในการแพทย์ แบบ body and mind เราจะพูดว่าไตเป็นเรื่องของความรับรู้ ความรู้สึก ความสวยงามของชีวิต มีคนที่สังเกตพบว่าคนที่เป็นโรคไตและต้องล้างไต อารมณ์เขาจะหม่นๆ ไม่สวยสดงดงาม หลายๆ เคสที่เป็นซึมเศร้า จะมีความเกี่ยวข้องกับพลังงานของไตที่มันอ่อนแอ หมอก็จะใช้วิธีประคบไต เขาก็จะตื่นตัว และสดชื่นขึ้น นอกเหนือไปจากวิธีที่ต้องพึ่งแต่ยา
ส่วนเรื่องปอด จะเกี่ยวข้องกับการหายใจเข้าออก ปอดที่ทำงานผิดปกติ มันก็ทำให้ลมหายใจเราติดๆ ขัดๆ ซึ่งลมหายใจ ทางพุทธเรารู้อยู่แล้ว ว่ามันทำงานเชิงลึกกับความคิด สมาธิ เพราะฉะนั้น เมื่อไหร่ก็ตามที่เราหายจากโรคปอดอักเสบมันก็ส่งผลต่อจิตใจด้วยเหมือนกัน เพราะฉะนั้น เคส Long Covid หลายๆ เคส มีภาวะย้ำคิดย้ำทำ มีความไม่ยืดหยุ่นทางความคิด
“ผมก็ตอบในแนวมนุษยปรัชญาว่าปอดยังฟื้นตัวไม่ดีในเชิงกายภาพ ยังไม่ 100% ถ้าเราไปแก้ ไปช่วยประคบปอดและช่วยฝึกหายใจยาวๆ ให้ดีขึ้น ปรากฏว่าอารมณ์ ความรู้สึก ที่ติดๆ ขัดๆ มันดีขึ้น เพราะลมหายใจมันลื่นไหล” นพ.ทีปทัศน์ระบุ
>>> ‘หัวใจ’ และธาตุไฟ
นพ.ทีปทัศน์กล่าวว่า “เรื่องของหัวใจ ที่ควบคุมโดยธาตุไฟ การแพทย์แผนจีนพูดว่าถ้าเกิดการอักเสบเยอะๆ จะมีภาวะที่ทำให้เรามีธาตุไฟในหัวใจล้นเกิน ถ้าแปลเป็นภาษาบ้านๆ คือ ‘ร้อนรุ่มในหัวจิตหัวใจ’ ทำให้นอนไม่ค่อยดี นอนแล้วเหมือนฝันวุ่นวาย ฝันเยอะแยะไปหมดเลย ตื่นขึ้นมาแล้วเหมือนพักผ่อนไม่เต็มที่ ซึ่งน่าแปลกว่า ‘โควิด’ อธิบายเรื่องเหล่านี้ เกือบหมดเลย
เคสคนสูงอายุที่เสียชีวิต ไม่ได้เสียชีวิตจากการที่มีเชื้อไวรัสเยอะ แต่เสียชีวิตจากการที่มีลิ่มเลือด ไปเกาะอยู่ในหลอดเลือดหัวใจ หรือการฉีดวัคซีนก็ถูกสงสัย มีการเก็บข้อมูลด้วยว่า ในเด็กที่อายุ 14-17 ปี หลายๆ เคส ที่ไปฉีดวัคซีนตัวที่ว่าดี เหมือนมีอาการอักเสบหน่อยๆ เพราะมันมีลักษณะของเชื้อไวรัสบางอย่างที่ไปทำลายภูมิ ไปทำลายหลอดเลือดเหล่านี้
เราก็พบว่าหลายๆ เคส พอหายจากโควิด จิตใจยังไม่ปกติ นอนหลับไม่ได้ กระวนกระวาย อยู่นิ่งไม่ได้ แพทย์แผนปัจจุบัน อาจมองว่า ทำไมไปเกี่ยวข้องอะไรกับอารมณ์หรือสมอง แต่แพทย์องค์รวมมองว่า เรายังไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องธาตุของเขาให้มันปกติไง ดังนั้น ความรู้สึกอึดอัด กระวนกระวาย ไม่สบายอกสบายใจ ในแง่หนึ่งมันเป็น อาฟเตอร์เอฟเฟกต์ (After Effects) ถ้าเรามีความเข้าใจในเรื่องนี้ เราก็จะประคบหัวใจ มานวด แล้วมีเทคนิคการนวดน้ำมันดอกกุหลาบที่หน้าอก เพราะมีหลายเคสทำให้ความรู้สึกผ่อนคลาย กลับมาหลับได้ดีขึ้น เหล่านี้คือผมเล่าให้ฟังคร่าวๆ เพื่อให้เห็นภาพว่าในผู้ป่วย Long Covid เราใช้การแพทย์ องค์รวมอยู่พอสมควร” นพ.ทีปทัศน์ระบุ
>>> โฮมีโอพาธีย์ (Homeopathy)
นพ.ทีปทัศน์กล่าวว่า ในมุมของแพทย์มนุษยปรัชญา จะใช้ยาในกลุ่มของ โฮมีโอพาธีย์ (Homeopathy) เข้ามาร่วมด้วย เป็นศาสตร์ทางเยอรมัน เกิดก่อนการแพทย์มนุษยปรัชญา คอนเซ็ปต์ของเขาคือ แทนที่จะใช้ยาเข้มข้น เขาจะใช้สมุนไพรหรือสิ่งต่างๆ ที่ใช้รักษาด้วยความเจือจาง หากเจือจาง 1 ใน 100 เรียกว่า 1 C เช่น ยาโฮมีโอพาธีย์ซึ่ง มีการแจกโดยกรมแพทย์ทางเลือก ตำรับ Bryonia alba 200C
“อย่างผมก็ใช้โฮมีโอพาธีย์ด้วย มีการให้คนไข้กินเพื่อป้องกัน เช่นตัวอย่างเคสหนึ่ง เป็นกรณีคลัสเตอร์โรงน้ำแข็งที่สมุทรปราการ คนไข้ที่ผมดูแลกันอยู่ตอนนั้น ยังไม่มีวัคซีนนะครับ ก็ให้เขากินโฮมีโอพาธีย์ สะใภ้บ้านนี้ก็ได้กินด้วย แล้วกินก็เหมือนน้ำเปล่าๆ สัปดาห์ละสองครั้ง จากนั้นก็ปรากฏว่า เกิดการระบาดขึ้นในโรงน้ำแข็ง ตัวเขาเป็นเสมียนในโรงน้ำแข็ง แล้วติดกันตั้ง 80 คน คิดภาพว่าเขาเป็นเสมียนอยู่ในห้องเล็กๆ 6 ตารางเมตร เสมียนทุกคนเป็นหมดเลย ทุกคนก็คิดว่าเขาต้องเป็น ก็ต้องแยกกักตัว แต่ปรากฏว่าเขาเป็นคนเดียวที่รอดจากโควิด
เพราะเขามีโฮมีโอพาธีย์กินด้วย นี่ก็เป็นการใช้สมุนไพรเข้ามา เป็นการกินเชิงป้องกัน เป็นการที่เรานำเอาการแพทย์องค์รวม แพทย์มนุษยปรัชญาและโฮมีโอพาธีย์เข้าไปใช้ หรือบางเคสก็มีเคสที่ไปฉีดวัคซีนแล้วไม่สบายตัวมาก ปวดหัวอยู่สัปดาห์หนึ่ง ก็มีโฮมีโอพาธีย์ ชื่อ ทูยา ( Thuja ) ให้เขากินก่อนและหลังฉีดวัคซีน ก็ปรากฏว่า หลายๆ เคสก็ผ่านการฉีดวัคซีนโดยที่ไม่มีอาการไม่สบาย หรือหากว่าไม่สบาย ก็เป็นไม่มาก เหล่านี้เป็นแนวทางที่เราใช้ประกอบกัน เพื่อให้การรักษาเกิดขึ้นได้ดี
โฮมีโอพาธีย์เป็นศาสตร์กว้างๆ คือศาสตร์สมุนไพร แต่ว่า ศาสตร์สมุนไพรหนึ่งศาสตร์ ก็มีมากกว่าหนึ่งตำรับ ตำรับที่เราใช้แจกเชิงป้องกันคือตัวที่ชื่อว่า Bryonia alba 200C แต่ตำรับที่ใช้ในการช่วยลดอาการหรือป้องกันผลข้างเคียงของวัคซีนคือ ทูย่า Thuja คล้ายๆ กับสนแคระประเภทหนึ่ง เตรียมเจือจางเหมือนกัน เมื่อให้ Thuja 200 C ก็พบว่า กินก่อน และหลังฉีดวัคซีนก็ช่วยได้ดีครับ” นพ.ทีปทัศน์ระบุถึงโฮมีโอพาธีย์ (Homeopathy) ซึ่งช่วยป้องกันโควิด-19 ได้อย่างมีนัยสำคัญ
>>> Art Therapy ศิลปะบำบัดตามแนวทางของมนุษยปรัชญา
ถามว่า คลินิคของคุณหมอ มี Art Therapy ด้วย รวมถึงด้านต่างๆ มีกระบวนการทำงานอย่างไร
นพ.ทีปทัศน์ ตอบว่า Art Therapy เป็นหนึ่งใน Movement ของมนุษยปรัชญา ยกตัวอย่างด้านอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกัน เช่น หนึ่ง ด้านการศึกษา “เรามีการจัดการเรียนการสอน เพื่อดูพัฒนาการเด็กให้เหมาะสมกับธรรมชาติของเขาในแต่ละวัย เรื่องนี้หมอก็ทำไว้เยอะ เขียนหนังสือ ชื่อ “12 senses เลี้ยงลูกให้มีพัฒนาการ” เป็นการประเมินเด็ก แล้วหลังๆ ผมทำ AI เป็นแอปพลิเคชั่นที่ใช้ตรวจ จุดอ่อน-จุดแข็งของเด็กว่าเป็นอย่างไร
สอง เด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตาม เมื่อมีการเสียเสียดุล มันมีเลเวล ที่เป็นแค่หัวเลี้ยวหัวต่อ ของการเติบโต สมมติเด็กกำลังเป็นวัยรุ่น ก็จะมีการกล่าวว่าเด็กดื้อ พูดไม่เชื่อฟัง อันนั้นไม่ใช่โรค เป็นเพียงแค่ช่วงที่เขาเปลี่ยนผ่าน ต่างจากเด็กหรือคนไข้ที่เป็นโรคไปแล้ว ป่วยจากการทำงานในที่ทำงานปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ หรือสภาพสังคมมันบีบคั้น เริ่มมีภาวะซึมเศร้าหน่อยๆ แล้ว นี่คือ เสียสมดุล
สาม คือเริ่มเป็นโรคทางอารมณ์แล้ว คือ ไบโพลาร์ มีอาการหวาดระแวง เป็นโรคและซึมเศร้าต่างๆ เหล่านี้นอกจากการที่เราใช้โฮมีโอพาธีย์รักษาเฉพาะตัว การให้วิตามิน การทำ Analysis เรื่องสารสื่อประสาทแล้ว แล้วก็ยังใช้กิจกรรมเข้าไปบำบัด
กิจกรรมที่มีผลเยอะต่อการปรับสมดุลของร่างกายและจิตใจคือ เรื่องของการใช้ดนตรีบำบัดและศิลปะบำบัด” นพ.ทีปทัศน์ระบุและกล่าวเพิ่มเติมว่า ยกตัวอย่างเช่น เรารู้ว่าเคสนี้เครียด เถรตรง มองทุกอย่างเป็นขาว-ดำ ทำให้เขาเกิดปัญหากับคนอื่นๆ ถามว่าป่วยไหม ก็ไม่ป่วยนะแต่ว่าเราจะแก้ไขเขาอย่างไร
ถ้าเราบอกให้เขาไปฝึกสมาธิ บางคนอาจถูกจริต แต่ถ้าบางคนเขาไม่ชอบ มันก็จะเป็นที่มาที่ว่าหมอถามเขาว่า คุณชอบร้องเพลงไหม หรือชอบศิลปะไหม แทนที่จะใช้สมองซีกซ้ายที่เป็น logic อย่างเดียว มาใช้กระบวนการที่เป็นจิตบำบัด ศิลปะบำบัด การร้องเพลง ที่บาลานซ์ ได้ใช้สมองซีกขวา ก็ทำให้เขาประสบการณ์ที่ช่วยให้สมดุลมากขึ้น ดังนั้น เมื่อเขาทำบำบัดไปมากขึ้น เขาจะเริ่มมีความยืดหยุ่น ประนีประนอม ไม่มองอะไรเป็นขาวเป็นดำ ปรับตัวได้ง่ายขึ้น ก็เลยเป็นที่มาว่าที่คลินิกเรามีกิจกรรมศิลปะบำบัด และดนตรีบำบัด แต่เป็นแนวเฉพาะเรียกว่าแนวมนุษยปรัชญา
>>> ศิลปะคือ ‘ยา’
นพ.ทีปทัศน์ กล่าวว่า แนวมนุษยปรัชญา ไม่ได้มองว่าคุณชอบวาดอะไร แล้วเรามาวาดกัน เพราะนั่นเป็นความชอบของคนไข้ แต่เรามองศิลปะเป็นยา เพราะฉะนั้น บางคนมาด้วยเรื่องของการเป็นคนเจ้าไอเดียและไม่ยืดหยุ่น อย่างนี้ เราต้องให้เขาทำศิลปะบำบัดเฉพาะ เช่นการทำสีน้ำ ระบายสีน้ำ ใช้สีพาสเทล เข้ามาละลายความยึดติดของเขา แต่ขณะที่บางคนเข้ามาด้วยความคิดฟุ้งซ่าน ไม่เป็นระบบ แบบนี้เราอาจให้เขาทำ Art Therapy ด้วยการปั้นดิน หรือการสร้างรูปเรขาคณิต เรามองการใช้ศิลปะเป็นยา ปัญหาหนึ่งอย่าง อาจใช้การฝึกศิลปะแตกต่างกัน ซึ่งก็ต้องลงลึกไปอีกว่า ศิลปะมีผลต่อจิตใจแบบไหน และใช้ร่วมกับวิตามิน สมุนไพรต่างๆ ก็ช่วยให้ประสิทธิผลดีขึ้น
ถามว่า เคยมีผู้ป่วยไบโพลาร์หรือโรคอารมณ์สองขั้วมาทำศิลปะที่นี่ไหมและเกิดผลอย่างไร นพ.ทีปทัศน์ ตอบว่า “ก็มีมาพอสมควร ในสถานการณ์ปกตินะครับ ผมต้องออกตัวก่อนว่า ไม่ใช่ว่าไบโพลาร์ทุกเคสที่ต้องทำศิลปะ เราก็จะใช้กระบวนการอื่นๆ ร่วมกัน บางคนก็ต้องใช้ยาแผนปัจจุบันร่วมด้วย ไบโพลาร์เป็นลักษณะที่ว่า ถ้าเราลองจินตนาการก็คือ เป็นคนที่สีสันในชีวิตฉูดฉาดมาก ไม่มีจุดตรงกลาง หรือจุดที่มันบาลานซ์สดใสจนเกินไป
ช่วงที่เป็น Mania (หมายเหตุ-ภาวะแมเนีย คือ ภาวะอารมณ์ดีผิดปกติ ผู้ป่วยมักรู้สึกตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา อารมณ์ดีผิดปกติ มีพลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆ) ก็อาจจะทำโปรเจ็กต์ ไม่หลับไม่นอน ใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย นี่คือขั้วหนึ่ง ถ้าเป็นสีคงเป็นสีสดจัด แดงจัด อีกกลุ่มหนึ่งคือ พอหาย Mania กลับมาซึมเศร้า ฉันไม่ทำอะไร ไม่อยากกินข้าว ไม่อยากพบเจอผู้คน เป็นภาวะ depress ( ดีเพรส คือ ภาวะหดหู่ เศร้าใจ ) ถ้าเป็นสีก็คงเป็นสีทึมๆ สีบลูๆ เราจึงเรียกอารมณ์ซึมเศร้าว่าบลู เวลาเราเห็นคนเขาทำศิลปะบำบัด จะต้องมีการวินิจฉัยก่อนว่าบาลานซ์ข้างในของเขา มันไม่มีจุดตรงกลาง เราก็จะให้ระบายสีสองสีให้มันกลมกลืนกัน
Process ของการกลมกลืนนี่เราอาจจะบอกเขาเป็นวาจาไม่ได้ แต่ระหว่างที่ทำศิลปะเราฝึกผสมสีให้มันบาลานซ์ระหว่างสีร้อนสีเย็น แล้วเขาจะรู้สึก ‘เออ! มันเอาความรู้สึกนี้ไปใช้กับชีวิตประจำวันได้นะ’ เช่น จากที่สีฉูดฉาด ร้อนก็ร้อนแรงซึมเศร้าก็ซีมสุดๆ ก็ ‘เออ หาจุดตรงกลางหรือสมดุลได้ง่ายขึ้น’ นี่ก็อาจเป็นตัวอย่างที่ช่วยให้เห็นภาพ” นพ.ทีปทัศน์ระบุ
>>> การแพทย์มนุษยปรัชญาในไทยและความสำคัญ
ถามว่า แนวทางการแพทย์แบบมนุษยปรัชญา มีแพร่หลายในเมืองไทยมากน้อยแค่ไหน และจำเป็นเพียงใดในการนำมาใช้รักษาผู้คน นพ.ทีปทัศน์ ตอบว่า “ผมใช้คำว่า ถึงที่สุดแล้วหมอแนวทางมนุษยปรัชญาต้องเดินทางร่วมกับคนไข้ หรือ journey ไปด้วยกัน คงไม่ได้จบที่ว่าเมื่อโรคหายแล้วต่างคนต่างแยกย้าย เมื่อป่วยแล้ว ค่อยกลับมาใหม่
แต่สิ่งที่การแพทย์แนวมนุษยปรัชญาได้ทำงานเชิงลึกกับคนไข้คือ เรามองคนไข้เป็นมนุษย์ และเราก็จะสอดแทรกปรัชญามุมมองชีวิตที่มีสุขภาพดีให้เขา เพื่อที่ว่าเมื่อไหร่ก็ตาม เขาจบกระบวนการบำบัด เราอาจให้อิสระให้เขาได้กลับไปใช้ชีวิต แต่เขาก็ไม่ได้ใช้ชีวิตอย่างเสียสมดุลเหมือนเดิม เขาก็ยังรับรู้วิธี ได้มีศักยภาพใหม่ๆ เพื่อให้เขายังคงรักษาสมดุลของร่างกายและจิตใจได้
ถามว่า มันจำเป็นไหม ผมใช้คำว่ามันน่าสนใจไหม ถ้าเราสามารถผลิตหรือขยายแนวคิดให้หมอที่เรียนการแพทย์แผนปัจจุบัน มี Mindset ตรงนี้มากขึ้น ผมคิดว่าเราก็จะได้มุมมองของการบำบัดรักษาที่มันช่วยเยียวยาสังคมได้ในระยะยาว
ผมว่ามันไม่ได้จบแค่ว่า เครียดมา ปวดหัว ให้ยา จบ กลับไป แต่ไม่มีการพูดคุยอย่างสร้างสรรค์ให้คนในสังคมมีสมดุลของวิธีคิดและวิธีดำเนินชีวิตในระยะยาวที่ดีขึ้น ตรงนี้ผมคิดว่าต่อไปสังคมเราจะต้องการมากๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเราไปดูสถิติว่าทำไมเดี๋ยวนี้คนฆ่าตัวตายเยอะจังเลย ทำไมคนเป็นซึมเศร้าเยอะจังเลย เพราะว่า เรารักษาแต่ทางกายคือ ‘ฮาร์ดแวร์’ แต่ ‘ซอฟท์แวร์’ ซึ่งคือจิตใจ ยังมีแพทย์แผนปัจจุบันที่ไม่ใช่จิตแพทย์ ไม่รู้ว่าควรทำอย่างไร แต่ผมเชื่อว่าถ้าคุณมาสนใจแพทย์มนุษยปรัชญา คุณจะรู้ว่า คุณจะเป็นหมอที่สามารถรักษาคนไข้ได้ทั้งคน มากกว่าแค่รักษาทางกายเพียงอย่างเดียว” นพ.ทีปทัศน์ระบุและกล่าวว่า ในที่สุดแล้ว คนเรา ไม่ได้ดำเนินชีวิตไปแค่เพราะมีสุขภาพร่างกายเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่เราต้องสนใจ แต่การที่เราจะมีสุขภาพดีในระยะยาวได้ ก็ต่อเมื่อมนุษย์เราเข้าใจเรื่องการบาลานซ์ เข้าใจเรื่องของจิตใจ
“อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ การที่เรามีความรัก มีอุดมคติในการเป็นผู้ให้แก่สังคม สิ่งนั้นจะเป็นอาหารทางจิตวิญญาณของเรา ให้เรารู้สึกว่าเรามีคุณค่า สิ่งนี้ต่างหากที่ทำให้จิตวิญญาณเรามีคุณค่าในระยะยาว”
คือคำทิ้งท้ายที่น่าสนใจ สะท้อนหลักคิดและแนวทางในการทำงานของ นพ.ทีปทัศน์ อุปนายกสมาคมการแพทย์มนุษยปรัชญาไทย ที่แสดงให้เห็นถึงการสอดประสานระหว่างร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณที่ไม่อาจแยกส่วนจากกันได้ หากต้องดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล เปี่ยมคุณค่าความหมายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
……………..............................
Text by รพีพรรณ สายัณห์ตระกูล
ไม่เพียงเท่านั้น หมอปองยังศึกษา การแพทย์โฮมิโอพาธีย์ (homeopathy ศาสตร์สมุนไพร ธรรมชาติบำบัดหรือการแพทย์พื้นบ้านของยุโรปที่มีอายุมากกว่า 200 ปี ) ทั้งยังให้ความสำคัญกับการรักษาแบบผสมผสานกับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนจีน นอกจากนี้ ในแนวทางกระบวนการเยียวยายังมี Art Therapy และ Music Therapy ศาสตร์การใช้ดนตรีบำบัด และศิลปะบำบัด เพื่อเยียวยาจิตใจผู้ที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์ หรือกลุ่มผู้ป่วยจิตเวช อาทิ ผู้ป่วยโรคซีมเศร้า หรือไบโพลาร์ ผสานกับการแพทย์แผนปัจจุบันและการเยียวยาในแนวทางอื่นๆ
ด้วยองค์ความรู้ที่ครอบคลุมและเปิดกว้างต่อศาสตร์การแพทย์ในหลายแขนง ‘ผู้จัดการออนไลน์’ จึงสัมภาษณ์พิเศษ นพ.ทีปทัศน์ ชุณหสวัสดิกุล อุปนายกสมาคมการแพทย์มนุษยปรัชญาไทย เพื่อขอให้บอกเล่าถึงศาสตร์แพทย์องค์รวมที่ให้ความสำคัญต่อร่างกายและจิตใจที่เกี่ยวพันกับสรรพสิ่งและธาตุต่างๆ ตามองค์ความรู้ของบรรพชนที่สืบต่อกันมายาวนาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิ่งใดคือแก่นสำคัญของการแพทย์มนุษยปรัชญา ความรู้ที่สืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ทั้งจากยุโรป ไทย จีน จึงหลอมรวมอยู่ในเรื่องราวอย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อองค์ความรู้ทั้งมวลได้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง แก่ผู้ป่วยหลายราย ไม่เว้นแม้แต่ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับคำแนะนำจาก นพ.ทีปทัศน์ ชุณหสวัสดิกุล แล้วอาการดีขึ้นด้วยศาสตร์สมุนไพร ขณะที่มุมมองเรื่องการทำงานของร่างกายที่สอดประสานกับจิตใจและจิตวิญญาณ ทำงานเชื่อมโยงกับสีสันและธาตุเจ้าเรือนอย่างไรนั้น ทั้งหลายทั้งปวงนี้ ล้วนได้รับการบอกกล่าวไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง
>>> ได้รับการถ่ายทอดความรู้จากบิดา-มารดา
เมื่อถามว่าปัจจุบัน นพ.ทีปทัศน์ เป็นแพทย์เฉพาะทางด้านไหน นพ.ทีปทัศน์ ตอบว่า
“ผมเป็นแพทย์แผนปัจจุบัน ที่จบจากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี แล้วก็ไปศึกษาต่อเป็นแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ป้องกัน โดยผมเป็นรุ่นที่สอง ก่อนนั้น มีคุณหมอบรรจบกับหมอลลิตา (หมายเหตุ- นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล อดีตผู้ดำรงค์ตำแหน่ง คณบดีวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์, พญ.ลลิตา ธีระสิริ เป็นบิดา-มารดาของ นพ.ทีปทัศน์) ท่านทำด้าน Wellness (เวลเนส) และศูนย์ธรรมชาติบำบัดมา
“ตัวผมเองก็เลยได้รับการถ่ายทอดความรู้จากคุณพ่อคุณแม่ เรื่องวิตามิน การฝังเข็ม เรื่องสมุนไพร แล้วก็ศึกษาลงลึกเรื่องโฮมีโอพาธีย์ (ระบบ Homeopathy-การแพทย์ทางเลือกที่ถือกำเนิดจากประเทศเยอรมัน เน้นการรักษาทางธรรมชาติบำบัด) ซึ่งดูเหมือนเป็นศาสตร์ใหม่ แต่จริงๆ มีมานานแล้วในยุโรป แต่เพิ่งมาถึงเมืองไทย เมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา จากนั้นผมก็ไปเรียนต่อด้านการลงลึกเรื่องวิตามิน และการบำบัดด้วยอาหารและโภชนาการ ของ American Board of Nutritional Wellness แต่สุดท้าย ตำแหน่งที่ผมดำรงอยู่ปัจจุบัน คือ อุปนายกสมาคมแพทย์มนุษยปรัชญาไทย”
>>> การแพทย์มนุษยปรัชญา (Anthroposophic medicine)และดร.รูดอล์ฟ สไตเนอร์ ผู้ตระหนักถึงกาย-จิต-จิตวิญญาณ
นพ.ทีปทัศน์ กล่าวว่า การแพทย์มนุษยปรัชญา (Anthroposophic medicine) ที่มีในไทยเป็นการแพทย์องค์รวม (Holistic & Wellness) ซึ่งกำเนิดในเยอรมัน โดย ดร.รูดอล์ฟ สไตเนอร์ (หมายเหตุ-Rudolf Steiner-ผู้ริเริ่มโรงเรียนและการศึกษาวอลดอร์ฟ The Waldorfschule การศึกษาที่มีรากฐานมาจากมนุษยปรัชญา(Anthroposophy) ได้รับความสนใจในวงกว้างตลอดระยะเวลานับศตวรรษที่ผ่านมา ) ดร.รูดอล์ฟ สไตเนอร์ ซึ่งเป็นนักคิด นักปรัชญาที่ดูแลคนมากมาย มีลูกศิษย์ที่ทำงานด้านการแพทย์ ก็นำเอาความรู้ด้านองค์รวมมาดูแลคนไข้
ถามว่า แนวทางดังกล่าวเรียกว่าแนววอลดอร์ฟ ใช่หรือไหม
นพ.ทีปทัศน์ กล่าวว่า “ใช่เลยครับ แต่ผมจะเรียนอย่างนี้ครับว่า ดร.รูดอล์ฟ สไตเนอร์ จากที่เขามีผู้ร่วมอุดมการณ์มาทำงานเป็นสมาคมมนุษยปรัชญานั้น ในสมาคมมนุษยปรัชญา ยุคแรกๆ ดร.รูดอล์ฟ สไตเนอร์ ซึ่งเป็นนักปรัชญา ก็นำความรู้เรื่องปรัชญาและภาพรวมของชีวิตมาเล่า และสร้างเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ๆ ลูกศิษย์รุ่นหนึ่งก็จะเป็นนักบำบัดที่เป็นศิลปิน เป็น Art Therapist, Music Therapist คือ ใช้ดนตรีมาบำบัด ใช้ศิลปะมาบำบัด คราวนี้เขาก็พบว่า การที่รอคนป่วยมารักษาแล้วใช้แนวคิดมาบำบัดมันไม่พอ”
“ก็มีคนถามดร.รูดอล์ฟ สไตเนอร์ ว่า ถ้าอย่างนั้น ลูกหลานของเราไม่แย่เหรอ เพราะสมัยของ ดร.รูดอล์ฟ สไตเนอร์ ก็ตั้งแต่ร้อยปีที่แล้ว บางคนก็เริ่มมีผลกระทบจากเศรษฐกิจ สังคม ความเครียด ทำอย่างไร ไม่ต้องให้คนเราป่วย” นพ.ทีปทัศน์ ระบุและกล่าวเพิ่มเติมว่า
ดร.รูดอล์ฟ สไตเนอร์ จึงให้แนวคิดว่า ถ้าอย่างนั้น ต้องเปลี่ยนวิธีการศึกษา เพราะวิธีการศึกษาที่ไม่เหมาะสม ทำให้เด็ก โตมาอย่างป่วยๆ เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะป้องกันรักษาตรงส่วนนี้ จึงเป็นที่มาทำให้เกิด Movement เกิดการตั้งโรงเรียนขึ้นมา โดยมุ่งเน้นไปที่การเจริญเติบโตของเด็กในแบบที่เป็นองค์รวม คือ body and mind (ทั้งกายและใจ) ที่ดี ก็เลยเกิดการศึกษาแบบวอลดอร์ฟขึ้น เป็นสิ่งหนึ่งที่ ดร.รูดอล์ฟ สไตเนอร์ ก่อตั้งขึ้น แต่ในช่วงชีวิตต่อมาของเขาก็มีการก่อตั้งคลินิคร่วมกับหมอชาวดัตช์ ชื่อคลินิก อารเลสไฮม์ (Arlesheim) ขึ้นมา Movement ตรงนี้ก็คือ เริ่มเอาหลักการมนุษยปรัชญาว่าคนเรามีกาย มีจิต มีจิตวิญญาณ เข้ามาในการรักษาโรค เกิดการก่อตั้งการแพทย์ในแนวมนุษยปรัชญาขึ้น
การแพทย์มนุษยปรัชญา คือ เมื่อป่วยแล้วทำอย่างไรที่จะรักษาฟื้นฟูเขา ซึ่งประเด็นนี้ก็คือสาขาที่นพ.ทีปทัศน์ทำอยู่โดยตรงและเป็นอุปนายกสมาคมอยู่ แล้วก็สุดท้าย ก่อนที่ ดร.รูดอล์ฟ สไตเนอร์ จะเสียชีวิตก็มีการพูดกันว่า การที่เราจะไม่ป่วย เราต้องมีการเกษตรที่ผลิตอาหารที่ดีด้วย เพราะอาหารที่ไม่ดีหลายๆ อย่างนั่นแหละที่ทำให้คนเราป่วย
นพ.ทีปทัศน์กล่าวว่า “เพราะฉะนั้น ถ้าเราติดตามวงการมนุษยปรัชญาในเมืองไทย มีการพูดถึงเกษตรอินทรีย์ เกษตรไบโอไดนามิค หรือว่า เกษตรชีวพลวัต (Biodynamic Agriculture) อันนี้ คือ สิ่งที่ ดร.รูดอล์ฟ สไตเนอร์ บอกไว้เมื่อ 100 ปีที่แล้วว่าอาหารเราเริ่มแย่แล้วนะ เพราะฉะนั้น Movement ของมนุษยปรัชญา ถ้าจะให้สมบูรณ์ ต้องมีสี่สาขาหรือสี่ประการ”
ประการแรก การศึกษาเชิงป้องกันและเกี่ยวกับสุขภาพ
ประการที่สอง ศิลปะบำบัด Art Therapy และ Music Therapy
ประการที่สาม สาขาของการแพทย์เพื่อเยียวยาและบำบัด
ประการสุดท้าย สาขาของการเกษตรที่เป็นเกษตรอินทรีย์ในแบบเกษตรชีวพลวัตร เหล่านี้จึงจะทำให้เกิดการเยียวยาผู้คนในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพในภาพรวม
>>> การแพทย์องค์รวม
ถามว่า การทำงานของคุณหมอซึ่งเป็นแพทย์ในแนวทางของมนุษยปรัชญา ทำงานร่วมกันอย่างไรกับแพทย์แขนงอื่นๆ
นพ.ทีปทัศน์ กล่าวว่า จริงๆ แล้ว การแพทย์แผนปัจจุบันมีคุณูปการอย่างมาก ในการช่วยยืดคุณภาพชีวิตของผู้คน ในช่วง 100-200 ปีที่ผ่านมาได้ เพียงแต่ว่า มุมมองนี้ การแพทย์ในแบบมาตรฐานจะใช้มุมมองในแบบที่ผมเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware-หมายเหตุ เปรียบกับร่างกาย ) ของชีวิตคนเรา เพราะว่า ในมุมมองการแพทย์องค์รวมคนเราไม่ได้มีแต่ร่างกายที่เป็นฮาร์ดแวร์เท่านั้น แต่ว่าคนเรายังมีสิ่งที่เรียกว่าซอฟต์แวร์ (software) คือ จิต ดวงจิตหรือจิตวิญญาณที่เข้ามาทำงานในเชิงของการรู้ตัวรู้ตน ทั้งชอบ และไม่ชอบ รวมถึงความเครียดต่างๆ ที่เกิดขึ้น
แน่นอน หากลองนึกว่าถ้าเราดูแลแต่ฮาร์ดแวร์ แล้ววันหนึ่ง คอมพิวเตอร์ ของเราติดไวรัส ถ้าเราปล่อยทิ้งไว้ก็เป็นไปได้ว่า เดี๋ยวการ์ดจอก็เสีย ฮาร์ดไดร์ฟก็เสีย เพราะซอฟแวร์มันเสียหาย
เช่นเดียวกัน ด้วยนัยอย่างนี้ ถ้าเรามองว่าการแพทย์แผนปัจจุบัน มองไปที่การรักษาร่างกายมากๆ แทบจะรู้ไปจนถึงทุกเซลล์ ทุกอณู ทุกดีเอ็นเอแล้ว แต่ทว่าก็มีความเจ็บป่วยหลายๆ อย่างที่ไม่ตอบโจทย์ด้านชีวโมเลกุลเพียงอย่างเดียว
ยกตัวอย่างเช่น สมมติ มีคนมารักษากับหมอด้วยอาการปวดหัวเรื้อรัง การแพทย์แผนปัจจุบันจะตอบโจทย์มากๆ ในแง่ที่เราปวดหัวมากแล้วเราไปเอ็กซเรย์สมอง แล้วเจอเนื้องอกในสมอง อันนั้น หมายความว่าเราเจอฮาร์ดแวร์ที่ผิดปกติ เช่น อาจจะน็อตหลุด แล้วต้องเปลี่ยนฮาร์ดไดรฟ์
แต่ปรากฎว่า 80% ของคนที่ปวดหัว เมื่อเอ็กซเรย์สมองแล้วก็กลับพบว่าปกติ สบายดี ไม่เป็นไร สบายใจได้ ปวดหัวก็กินยาแก้ปวดหัวไป แต่ถ้าเรามองว่า คนเรามีซอฟท์แวร์ มีความเครียด บางคน ถ้าเราไปซักอาการดีๆ เราพบว่า เขาปวดหัวทุกครั้งที่มีอาการหงุดหงิดหรือโกรธ พื้นนิสัยบางอย่างเขาเป็นคนขี้โกรธ ถ้าเราไม่ทำอะไรสักอย่างกับความขี้โกรธของเขา เดี๋ยวกินยาไปก็หยุด หยุดกินยาก็ปวดหัวอีก
แต่ถ้าเป็นความเครียดจากจิตใจ นี่เป็นคนละเรื่อง บางคนบอกปวดหัวทุกครั้งที่ซึมเศร้า น้อยใจ เสียใจ ปวดหัว ร้องไห้จนปวดหัว เอ็กซเรย์ก็ไม่เจออะไร เราก็ต้องไปจัดการกับนิสัยใจคอของเขา ตรงนี้มันก็เลยทำให้เราต้องมาจำแนกคนเป็นบุคลิกภาพ หรือความแตกต่างเฉพาะบุคคล เพราะฉะนั้น แพทย์มนุษยปรัชญาจะเข้าไปตอบโจทย์เรื่องของการรักษาคนไข้เป็น The Individual หรือ Personalized medicine หรือมองคนๆ นั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งการแพทย์แบบองค์รวมมีมายาวนานแล้ว ทั้งการแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนจีน มีมาหมดเลย
>>> ‘ธาตุเจ้าเรือน’ กับการทำงานของร่างกาย
นพ.ทีปทัศน์กล่าวว่า ยกตัวอย่าง คนไทยรู้จักธาตุเจ้าเรือน คนเราประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ
คนเราประกอบ ด้วย พลังชีวิต ชี่ ปราณ ทั้งหมดนี้ต้องสอดประสานกัน การแพทย์ที่ดูแลแต่ฮาร์ดแวร์ อาจเปรียบเหมือนกับการตรวจตัวถังรถยนต์แล้ว ปกติ แต่แพทย์ที่ดูเรื่องปราณ เรื่องพลังชีวิต เรื่องบุคลิกภาพ เรื่องอุปนิสัย เรื่องธาตุต่างๆ ที่เขาถูกเปรียบเทียบ มันก็จะเหมือนกับว่า เราจูนเครื่องให้มันเดินเรียบ เหมือนบางทีเครื่องมันไม่ได้เสีย แต่การสันดาปมันไม่ดี มันเดินสะดุด ประสบการณ์ในการขับก็ไม่ดี เราก็ต้องมาจูนทั้งหมด
“เหล่านี้ ผมเรียกว่า มันขยายออกมาจากการแพทย์แผนปัจจุบัน แล้วถ้าเรามองให้ดีกว่านั้น หากการแพทย์แผนปัจจุบัน มีหมอสักคนที่นอกจากรักษา เรื่องร่างกายแล้ว มาเข้าอกเข้าใจเราด้วย ก็จะนับว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆ เลย ซึ่งนั่นก็คืออุดมคติที่หมอในแนวมนุษยปรัชญาพยายามจะไปให้ถึง” นพ.ทีปทัศน์ระบุ
ถามว่า หากถือว่า นพ.ทีปทัศน์ เป็นหมอในอุดมคติแบบนั้นได้ไหม
นพ.ทีปทัศน์ ตอบว่า หมอก็เป็นหมอที่อยู่ในวงซึ่งมีนักบำบัด มีผู้เชี่ยวชาญ และมีอุดมการณ์เดียวกันแบบนี้ ทำหน้าที่ด้วยกันมาสักสิบกว่าปีแล้ว
>>> มนุษยปรัชญา-การแพทย์องค์รวมกับการดูแลความป่วยไข้ทางจิตใจ
ถามว่า ปัจจุบัน สังคมมีผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มมากขึ้น อาทิ ไบโพร์ลาร์ หรือโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยเหล่านี้ สามารถใช้แนวทางมนุษยปรัชญามาดูแลเขาด้วยได้หรือไม่ นอกจากการทานยาตามแพทย์สั่ง
นพ.ทีปทัศน์ ตอบว่า ตรงนี้น่าสนใจมาก เพราะกรอบการแพทย์องค์รวม เราจะมองคนทั้งคน และมองว่าจิตใจมีผลต่อร่างกาย ถ้าเป็นภาษาพุทธเราจะบอก ‘จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว’ แต่ในขณะเดียวกัน ร่างกายที่ผิดปกติก็มีผลต่อจิตใจด้วย ภาษาพระท่านบอก ธาตุที่ไม่ปกติมันก็ส่งผลทำให้จิตใจมันหวั่นไหว นอนไม่ดี ฝันร้าย
“เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นแพทย์แบบที่เราคุ้นชินจะบอกว่า ถ้าเราซึมเศร้า เราอารมณ์ไม่ดีนี้ เพราะสารเคมีในสมองมันทำงานผิดปกติ ก็จะไปทำการตรวจ หมอเองก็ตรวจนะ ในบางกรณีเพื่อดูว่า สารโดปามีน สารสื่อประสาท ปกติไหม ระดับของฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตปกติไหม หรือดูไปถึงสารเซโรโทนิน ซึ่งเราเรียกว่าเป็นสารสื่อประสาทแห่งความแฮปปี้ ว่าสารเหล่านี้ ปกติหรือเปล่า ถ้าเป็นการแพทย์แผนปกติก็จะมองว่าสารเคมีในสมองไม่ปกติ เพราะฉะนั้น ก็เอายาไปกิน ซึ่งยาจะเลียนแบบสารในสมอง เพื่อช่วยให้สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้
ซึ่งถามว่ายาได้ประสิทธิผลไหม มันก็แก้ได้ในหลายๆ เคส แต่ในบางเคสแค่ใช้เรื่องสารสื่อประสาทหรือยาที่เข้าไปเติมนั้นมันไม่พอ เราก็ต้องมาดูว่า ในตัวเขามี ‘ธาตุ’ ที่มันผิดปกติไปไหม เราก็ต้องมาดู ยกตัวอย่าง เราก็บอกว่า ในการย่อยที่ไม่ดี เราพบว่าเด็กบางคน ที่ย่อยไม่ดี เขาจะมีปัญหาเชิงพฤติกรรมด้วย ถามว่า ทำไม หากเป็นสมัยก่อนคงตอบไม่ได้
แต่ปัจจุบัน การแพทย์พบว่า สารเซโรโทนิน ซึ่งเป็นสารแฮปปี้ มันไม่ได้ถูกสร้างในสมองอย่างเดียว แต่มันถูกสร้างในลำไส้ด้วย ดังนั้น ถ้าลำไส้ย่อยไม่ดี มีการอักเสบ เซโรโทนินก็รั่วไหล ผลิตออกมาเท่าไหร่ก็ไม่พอ เพราะฉะนั้น ตราบใดที่เราบอกว่าเด็กสมาธิสั้น เด็กอารมณ์ไม่ดี แล้วเราไปแก้แต่ยาสมาธิสั้น โดยไม่แก้เรื่องระบบย่อยอาหาร ไม่ดูเรื่องอาหารการกิน ไม่แก้ด้วยโปรไบโอติกส์ (Probiotic) เด็กก็จะมีภาวะไม่เสถียรอยู่อย่างนั้น ซึ่งเราต้องมาแก้ด้วยอาการทางกาย” นพ.ทีปทัศน์ระบุและกล่าวเพิ่มเติมว่า
ลึกลงไปกว่านั้นอีก เราพบว่า ในบรรดาธาตุทั้งสี่ ของแนวทางมนุษยปรัชญา จะคล้ายแพทย์แผนไทย คือ มีธาตุต่างๆ ที่ไหลเวียน จับต้องไม่ได้ แต่มันทำงานอยู่ในตัวเรา ซึ่งธาตุทั้งสี่ จะถูกควบคุมโดยอวัยวะสี่ตัวหลักๆ
ธาตุดิน เกี่ยวกับ ปอด แพทย์แผนจีนเรียกธาตุทอง คือ อะไรที่เป็นโลหะแน่นๆ
ธาตุน้ำ จะถูกกำกับควบคุมโดยตับ เพราะฉะนั้น ใครที่มีปัญหาเรื่องตับจะมีอาการบวมน้ำ เพราะไม่สามารถควบคุมการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองในตัวได้
ธาตุลม การแพทย์มนุษยปรัชญาบอกว่าเกี่ยวกับไต เพราะฉะนั้น เมื่อไหร่ก็ตาม ที่เราจะควบคุมธาตุลม เราจะต้องบำรุงไตให้ดี ในการแพทย์แผนจีนก็มีการบำรุงไต มี concept ที่เชื่อมโยงกันอยู่
ธาตุไฟ ถูกควบคุมเป็นหลักโดยหัวใจของเรา
>>> ธาตุในกายกับภาวะติดเชื้อโควิด-19
นพ.ทีปทัศน์กล่าวว่า “ดังนั้น ถ้าเราอยู่ในภาวะปกติ ไม่เป็นไร แต่ถ้าเราไปเจอโรคหนักๆ อย่างตอนนี้ที่หนักคือ โควิด-19 เราพบว่าคนที่ทรุดหนัก ส่วนหนึ่งมีปัญหาเรื่องภูมิต้านทานที่ทำลายตัวเอง ซึ่งเราพบว่ามันจะถูกผลิตส่วนหนึ่งในเซลล์ของท่อน้ำดี แล้วก็ตับ เพราะฉะนั้น ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามมีการติดเชื้อ คือ ธาตุไฟทำงานหนักมากเพื่อจะไปสู้รบกับเชื้อโรค ระบบตับจะต้องทำหน้าที่เป็นน้ำหล่อเย็น เพื่อไม่ให้ธาตุไฟเสียสมดุลมากจนเกินไป”
“คนที่มีเรื่องพลังงานของตับไม่ดี ก็เกิดอาการโอเวิอร์ฮีทหรือหม้อน้ำเดือด เกิดอาการอักเสบทั่วตัวขึ้นมา ดังนั้น แนวทางการรักษา มี Research อยู่ว่า ตัวยาละลายเสมหะอย่าง NAC ที่นอกจากขับสารพิษแล้ว ยังช่วยลดอาการของตับอักเสบด้วย มันช่วยลดโอกาสการเกิดการอักเสบทำร้ายตัวเองที่เรียกว่า Cytokine storm ได้ด้วย ถ้ามองในเชิงการทำงานของตับ จึงสำคัญมาก”นพ.ทีปทัศน์ระบุและกล่าวเพิ่มเติมว่า
ดังนั้น ถ้าเราไปกินยาลดไข้ เยอะๆ หรือกินยาที่มีฤทธิ์เย็นจัด ซึ่งมีอยู่ช่วงหนึ่งที่คนโปรโมทฟ้าทะลายโจรกันเยอะๆ แล้วกินกันยาวนาน กลายเป็นว่า อะไรที่รสขม มันทำให้ตับอักเสบนิดๆ ได้ จะเห็นได้ว่าทุกอย่างมันเชื่อมโยงถึงกันหมด นอกจากนั้น หลังจากอักเสบแล้ว เราพบว่าหลายคน เมื่อหายจากโควิดแล้ว นานหลายเดือน ก็ยังเพลียอยู่ ถ้าเรามองในมุมของการแพทย์ ปัจจุบัน อาจมองว่า ก็ไม่เป็นไร ปอดคงยังมีพังผืดอยู่ จึงอาจไม่มีการรักษาช่วยฟื้นตัวอื่นๆ ที่ต้องทำ
“แต่การแพทย์มนุษยปรัชญาจะมองว่า ตับของเขายังอ่อนล้า อ่อนแรงอยู่ ทำให้ตัวความสดชื่นยังไม่กลับคืนมา เราก็จะใช้วิธีประคบตับ ด้วยสมุนไพรที่มีรสขม คือลองนำเอามะระจีน มะระไทยสับเป็นชิ้น เล็กๆ ให้มีรสขม แล้วก็ใส่ในน้ำ เช็ดตัว ลดไข้ แล้วเราก็ใช้ผ้าขนหนูประคบตรงชายโครงขวา ซึ่งตรงนั้น เป็นตำแหน่งตับของเรา เมื่อประคบไปเรื่อยๆ อาการที่เรียกว่า Long Covid คือ ไม่ฟื้นตัวสักที เราพบว่าคนไข้ฟื้นตัวดีขึ้น ประเด็นนี้น่าสนใจ
ส่วนกรณีผู้ที่เป็นซึมเศร้า ปัญหาที่เคยดูเป็นเรื่องเล็ก ถ้าพลังชีวิตเราไม่พอ เราจะมองเห็นเป็นลูกเนินที่ใหญ่มาก เพราะฉะนั้น มันจะเกิดเป็นซึมเศร้าได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น บางคน เรื่องการรักษาจิตใจ แทนที่จะไปบำรุง กินยาแก้ซึมเศร้า เราก็มาบำรุงตับ บางคนก็มีเรี่ยวแรง มีแรงกาย แรงใจสดใสขึ้น มีแรงกายแรงใจจะไปแก้ปัญหาได้ นี่เป็นตัวอย่างเพียงแค่ธาตุเดียว” นพ.ทีปทัศน์ระบุ
>>> ‘ไต’ กับ ธาตุลม
นพ.ทีปทัศน์กล่าวว่า ธาตุที่สองที่หมอแนะนำ คือการดูแล ‘ไต’ ซึ่งควบคุมธาตุลม
“ไต ในการแพทย์แบบองค์รวมจะรวมไปจนถึงต่อมหมวกไตด้วยนะครับ ลองดูว่า สมมติเราเป็นโรคปอด เป็นมากๆ มันเกิดการตีบตัวของหลอดลม เพราะฉะนั้น ถ้าแพทย์ปกติ ก็ให้ยาสเตียรอยด์ (Steroid) ซึ่ง ฮอสพิเทล (Hospitel) ที่หมอไปดูก็เป็นแบบนั้น
แต่ในธรรมชาติของเรา ต่อมหมวกไต สร้างคอร์ติซอล (Cortisol) ให้เรา เพราะฉะนั้น มันจึงมีการรักษาที่เรียกว่า ประคบไต โดยเอาขิง มาซอยๆๆๆๆ ขูด ให้ถี่ๆ ให้มันเป็นฝอยๆ ต้มเอาน้ำขิงออกมา ห่อผ้าขาวบาง แล้วประคบที่ไต คือตำแหน่งที่เราเอามือเท้าสะเอว แล้วจากนั้นเอามือไว้ตรงหลังในตำแหน่งที่เท้าสะเอว นั่นคือประคบไต ก็ใช้ผ้าขนหนูผืนใหญ่ทับอีกทีเพื่อให้เกิดความอบอุ่น เราพบว่า เมื่อประคบไตแล้ว อาการหอบหืด อาการหลอดลมอักเสบ มีอาการดีขึ้น
ช่วงเดือน กรกฎาคมที่ผ่านมาผมมีเคสที่เยอะมาก แล้วเขาหาโรงพยาบาลแอดมิดไม่ได้เขาก็อินบ็อกซ์เฟซบุ๊คมาหาว่าทำยังไงดี ผมก็บอกเขาให้ใช้การประคบไตด้วย เขาบอกว่าเมื่อเขาทำไป พบว่าออกซิเจนปลายนิ้วของเขา จากเดิมที่อยู่ 94 ขึ้นมาเป็น 95-96 หรือ 1-2% ซึ่งมันช่วยเขาได้ในช่วงที่เขายังหาโรงพยาบาลไม่ได้
คำอธิบายกรณีนี้จึงน่าสนใจว่า การที่เราบอกว่า การทำให้หลอดลมคลายการตีบตัว มันสามารถช่วยผ่านการประคบไต (รวมถึงต่อมหมวกไต ที่ผลิตสารคอร์ติซอล) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ร่างกายมันฮึดสู้ กับสภาวะร่างกายที่ติดเชื้อ ทำให้ผ่านไปได้ เหล่านี้ก็เป็นแนวทางที่เรานำเอาความรู้ด้านสมุนไพรมาดูแลผู้ป่วยทางบ้านได้ แต่ต้องมีความเข้าใจเชิงลึก เพราะมันไม่ใช่กลไกของชีววิทยาสมัยใหม่ แต่มันเป็นกลไกของธาตุที่ทำงานอยู่ในตัวของเรา” นพ.ทีปทัศน์ระบุถึงประสบการณ์การทำงานแบบการแพทย์องค์รวม และกล่าวเพิ่มเติมว่า
กรณีต่อมา เมื่อเริ่มมีเสมหะเหนียว เราก็ใช้วิธีเข้าไปประคบปอดโดยใช้น้ำขิงเหมือนกัน ต้ม และใช้ผ้าที่ประคบให้บิดผ้าให้หมาด แห้ง และร้อน แล้วประคบปอด ทับด้วยกระเป๋าน้ำร้อน เราพบว่า หลายๆ เคสที่เชื้อเริ่มลงปอด ก็ช่วยให้เขาฟื้นฟูขึ้นมาได้ มีหลายเคสที่ฟื้นตัวได้ดีเมื่อเราประคบปอด เหล่านี้ ส่งผลไม่ใช่เฉพาะร่างกาย
ถ้าในการแพทย์ แบบ body and mind เราจะพูดว่าไตเป็นเรื่องของความรับรู้ ความรู้สึก ความสวยงามของชีวิต มีคนที่สังเกตพบว่าคนที่เป็นโรคไตและต้องล้างไต อารมณ์เขาจะหม่นๆ ไม่สวยสดงดงาม หลายๆ เคสที่เป็นซึมเศร้า จะมีความเกี่ยวข้องกับพลังงานของไตที่มันอ่อนแอ หมอก็จะใช้วิธีประคบไต เขาก็จะตื่นตัว และสดชื่นขึ้น นอกเหนือไปจากวิธีที่ต้องพึ่งแต่ยา
ส่วนเรื่องปอด จะเกี่ยวข้องกับการหายใจเข้าออก ปอดที่ทำงานผิดปกติ มันก็ทำให้ลมหายใจเราติดๆ ขัดๆ ซึ่งลมหายใจ ทางพุทธเรารู้อยู่แล้ว ว่ามันทำงานเชิงลึกกับความคิด สมาธิ เพราะฉะนั้น เมื่อไหร่ก็ตามที่เราหายจากโรคปอดอักเสบมันก็ส่งผลต่อจิตใจด้วยเหมือนกัน เพราะฉะนั้น เคส Long Covid หลายๆ เคส มีภาวะย้ำคิดย้ำทำ มีความไม่ยืดหยุ่นทางความคิด
“ผมก็ตอบในแนวมนุษยปรัชญาว่าปอดยังฟื้นตัวไม่ดีในเชิงกายภาพ ยังไม่ 100% ถ้าเราไปแก้ ไปช่วยประคบปอดและช่วยฝึกหายใจยาวๆ ให้ดีขึ้น ปรากฏว่าอารมณ์ ความรู้สึก ที่ติดๆ ขัดๆ มันดีขึ้น เพราะลมหายใจมันลื่นไหล” นพ.ทีปทัศน์ระบุ
>>> ‘หัวใจ’ และธาตุไฟ
นพ.ทีปทัศน์กล่าวว่า “เรื่องของหัวใจ ที่ควบคุมโดยธาตุไฟ การแพทย์แผนจีนพูดว่าถ้าเกิดการอักเสบเยอะๆ จะมีภาวะที่ทำให้เรามีธาตุไฟในหัวใจล้นเกิน ถ้าแปลเป็นภาษาบ้านๆ คือ ‘ร้อนรุ่มในหัวจิตหัวใจ’ ทำให้นอนไม่ค่อยดี นอนแล้วเหมือนฝันวุ่นวาย ฝันเยอะแยะไปหมดเลย ตื่นขึ้นมาแล้วเหมือนพักผ่อนไม่เต็มที่ ซึ่งน่าแปลกว่า ‘โควิด’ อธิบายเรื่องเหล่านี้ เกือบหมดเลย
เคสคนสูงอายุที่เสียชีวิต ไม่ได้เสียชีวิตจากการที่มีเชื้อไวรัสเยอะ แต่เสียชีวิตจากการที่มีลิ่มเลือด ไปเกาะอยู่ในหลอดเลือดหัวใจ หรือการฉีดวัคซีนก็ถูกสงสัย มีการเก็บข้อมูลด้วยว่า ในเด็กที่อายุ 14-17 ปี หลายๆ เคส ที่ไปฉีดวัคซีนตัวที่ว่าดี เหมือนมีอาการอักเสบหน่อยๆ เพราะมันมีลักษณะของเชื้อไวรัสบางอย่างที่ไปทำลายภูมิ ไปทำลายหลอดเลือดเหล่านี้
เราก็พบว่าหลายๆ เคส พอหายจากโควิด จิตใจยังไม่ปกติ นอนหลับไม่ได้ กระวนกระวาย อยู่นิ่งไม่ได้ แพทย์แผนปัจจุบัน อาจมองว่า ทำไมไปเกี่ยวข้องอะไรกับอารมณ์หรือสมอง แต่แพทย์องค์รวมมองว่า เรายังไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องธาตุของเขาให้มันปกติไง ดังนั้น ความรู้สึกอึดอัด กระวนกระวาย ไม่สบายอกสบายใจ ในแง่หนึ่งมันเป็น อาฟเตอร์เอฟเฟกต์ (After Effects) ถ้าเรามีความเข้าใจในเรื่องนี้ เราก็จะประคบหัวใจ มานวด แล้วมีเทคนิคการนวดน้ำมันดอกกุหลาบที่หน้าอก เพราะมีหลายเคสทำให้ความรู้สึกผ่อนคลาย กลับมาหลับได้ดีขึ้น เหล่านี้คือผมเล่าให้ฟังคร่าวๆ เพื่อให้เห็นภาพว่าในผู้ป่วย Long Covid เราใช้การแพทย์ องค์รวมอยู่พอสมควร” นพ.ทีปทัศน์ระบุ
>>> โฮมีโอพาธีย์ (Homeopathy)
นพ.ทีปทัศน์กล่าวว่า ในมุมของแพทย์มนุษยปรัชญา จะใช้ยาในกลุ่มของ โฮมีโอพาธีย์ (Homeopathy) เข้ามาร่วมด้วย เป็นศาสตร์ทางเยอรมัน เกิดก่อนการแพทย์มนุษยปรัชญา คอนเซ็ปต์ของเขาคือ แทนที่จะใช้ยาเข้มข้น เขาจะใช้สมุนไพรหรือสิ่งต่างๆ ที่ใช้รักษาด้วยความเจือจาง หากเจือจาง 1 ใน 100 เรียกว่า 1 C เช่น ยาโฮมีโอพาธีย์ซึ่ง มีการแจกโดยกรมแพทย์ทางเลือก ตำรับ Bryonia alba 200C
“อย่างผมก็ใช้โฮมีโอพาธีย์ด้วย มีการให้คนไข้กินเพื่อป้องกัน เช่นตัวอย่างเคสหนึ่ง เป็นกรณีคลัสเตอร์โรงน้ำแข็งที่สมุทรปราการ คนไข้ที่ผมดูแลกันอยู่ตอนนั้น ยังไม่มีวัคซีนนะครับ ก็ให้เขากินโฮมีโอพาธีย์ สะใภ้บ้านนี้ก็ได้กินด้วย แล้วกินก็เหมือนน้ำเปล่าๆ สัปดาห์ละสองครั้ง จากนั้นก็ปรากฏว่า เกิดการระบาดขึ้นในโรงน้ำแข็ง ตัวเขาเป็นเสมียนในโรงน้ำแข็ง แล้วติดกันตั้ง 80 คน คิดภาพว่าเขาเป็นเสมียนอยู่ในห้องเล็กๆ 6 ตารางเมตร เสมียนทุกคนเป็นหมดเลย ทุกคนก็คิดว่าเขาต้องเป็น ก็ต้องแยกกักตัว แต่ปรากฏว่าเขาเป็นคนเดียวที่รอดจากโควิด
เพราะเขามีโฮมีโอพาธีย์กินด้วย นี่ก็เป็นการใช้สมุนไพรเข้ามา เป็นการกินเชิงป้องกัน เป็นการที่เรานำเอาการแพทย์องค์รวม แพทย์มนุษยปรัชญาและโฮมีโอพาธีย์เข้าไปใช้ หรือบางเคสก็มีเคสที่ไปฉีดวัคซีนแล้วไม่สบายตัวมาก ปวดหัวอยู่สัปดาห์หนึ่ง ก็มีโฮมีโอพาธีย์ ชื่อ ทูยา ( Thuja ) ให้เขากินก่อนและหลังฉีดวัคซีน ก็ปรากฏว่า หลายๆ เคสก็ผ่านการฉีดวัคซีนโดยที่ไม่มีอาการไม่สบาย หรือหากว่าไม่สบาย ก็เป็นไม่มาก เหล่านี้เป็นแนวทางที่เราใช้ประกอบกัน เพื่อให้การรักษาเกิดขึ้นได้ดี
โฮมีโอพาธีย์เป็นศาสตร์กว้างๆ คือศาสตร์สมุนไพร แต่ว่า ศาสตร์สมุนไพรหนึ่งศาสตร์ ก็มีมากกว่าหนึ่งตำรับ ตำรับที่เราใช้แจกเชิงป้องกันคือตัวที่ชื่อว่า Bryonia alba 200C แต่ตำรับที่ใช้ในการช่วยลดอาการหรือป้องกันผลข้างเคียงของวัคซีนคือ ทูย่า Thuja คล้ายๆ กับสนแคระประเภทหนึ่ง เตรียมเจือจางเหมือนกัน เมื่อให้ Thuja 200 C ก็พบว่า กินก่อน และหลังฉีดวัคซีนก็ช่วยได้ดีครับ” นพ.ทีปทัศน์ระบุถึงโฮมีโอพาธีย์ (Homeopathy) ซึ่งช่วยป้องกันโควิด-19 ได้อย่างมีนัยสำคัญ
>>> Art Therapy ศิลปะบำบัดตามแนวทางของมนุษยปรัชญา
ถามว่า คลินิคของคุณหมอ มี Art Therapy ด้วย รวมถึงด้านต่างๆ มีกระบวนการทำงานอย่างไร
นพ.ทีปทัศน์ ตอบว่า Art Therapy เป็นหนึ่งใน Movement ของมนุษยปรัชญา ยกตัวอย่างด้านอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกัน เช่น หนึ่ง ด้านการศึกษา “เรามีการจัดการเรียนการสอน เพื่อดูพัฒนาการเด็กให้เหมาะสมกับธรรมชาติของเขาในแต่ละวัย เรื่องนี้หมอก็ทำไว้เยอะ เขียนหนังสือ ชื่อ “12 senses เลี้ยงลูกให้มีพัฒนาการ” เป็นการประเมินเด็ก แล้วหลังๆ ผมทำ AI เป็นแอปพลิเคชั่นที่ใช้ตรวจ จุดอ่อน-จุดแข็งของเด็กว่าเป็นอย่างไร
สอง เด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตาม เมื่อมีการเสียเสียดุล มันมีเลเวล ที่เป็นแค่หัวเลี้ยวหัวต่อ ของการเติบโต สมมติเด็กกำลังเป็นวัยรุ่น ก็จะมีการกล่าวว่าเด็กดื้อ พูดไม่เชื่อฟัง อันนั้นไม่ใช่โรค เป็นเพียงแค่ช่วงที่เขาเปลี่ยนผ่าน ต่างจากเด็กหรือคนไข้ที่เป็นโรคไปแล้ว ป่วยจากการทำงานในที่ทำงานปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ หรือสภาพสังคมมันบีบคั้น เริ่มมีภาวะซึมเศร้าหน่อยๆ แล้ว นี่คือ เสียสมดุล
สาม คือเริ่มเป็นโรคทางอารมณ์แล้ว คือ ไบโพลาร์ มีอาการหวาดระแวง เป็นโรคและซึมเศร้าต่างๆ เหล่านี้นอกจากการที่เราใช้โฮมีโอพาธีย์รักษาเฉพาะตัว การให้วิตามิน การทำ Analysis เรื่องสารสื่อประสาทแล้ว แล้วก็ยังใช้กิจกรรมเข้าไปบำบัด
กิจกรรมที่มีผลเยอะต่อการปรับสมดุลของร่างกายและจิตใจคือ เรื่องของการใช้ดนตรีบำบัดและศิลปะบำบัด” นพ.ทีปทัศน์ระบุและกล่าวเพิ่มเติมว่า ยกตัวอย่างเช่น เรารู้ว่าเคสนี้เครียด เถรตรง มองทุกอย่างเป็นขาว-ดำ ทำให้เขาเกิดปัญหากับคนอื่นๆ ถามว่าป่วยไหม ก็ไม่ป่วยนะแต่ว่าเราจะแก้ไขเขาอย่างไร
ถ้าเราบอกให้เขาไปฝึกสมาธิ บางคนอาจถูกจริต แต่ถ้าบางคนเขาไม่ชอบ มันก็จะเป็นที่มาที่ว่าหมอถามเขาว่า คุณชอบร้องเพลงไหม หรือชอบศิลปะไหม แทนที่จะใช้สมองซีกซ้ายที่เป็น logic อย่างเดียว มาใช้กระบวนการที่เป็นจิตบำบัด ศิลปะบำบัด การร้องเพลง ที่บาลานซ์ ได้ใช้สมองซีกขวา ก็ทำให้เขาประสบการณ์ที่ช่วยให้สมดุลมากขึ้น ดังนั้น เมื่อเขาทำบำบัดไปมากขึ้น เขาจะเริ่มมีความยืดหยุ่น ประนีประนอม ไม่มองอะไรเป็นขาวเป็นดำ ปรับตัวได้ง่ายขึ้น ก็เลยเป็นที่มาว่าที่คลินิกเรามีกิจกรรมศิลปะบำบัด และดนตรีบำบัด แต่เป็นแนวเฉพาะเรียกว่าแนวมนุษยปรัชญา
>>> ศิลปะคือ ‘ยา’
นพ.ทีปทัศน์ กล่าวว่า แนวมนุษยปรัชญา ไม่ได้มองว่าคุณชอบวาดอะไร แล้วเรามาวาดกัน เพราะนั่นเป็นความชอบของคนไข้ แต่เรามองศิลปะเป็นยา เพราะฉะนั้น บางคนมาด้วยเรื่องของการเป็นคนเจ้าไอเดียและไม่ยืดหยุ่น อย่างนี้ เราต้องให้เขาทำศิลปะบำบัดเฉพาะ เช่นการทำสีน้ำ ระบายสีน้ำ ใช้สีพาสเทล เข้ามาละลายความยึดติดของเขา แต่ขณะที่บางคนเข้ามาด้วยความคิดฟุ้งซ่าน ไม่เป็นระบบ แบบนี้เราอาจให้เขาทำ Art Therapy ด้วยการปั้นดิน หรือการสร้างรูปเรขาคณิต เรามองการใช้ศิลปะเป็นยา ปัญหาหนึ่งอย่าง อาจใช้การฝึกศิลปะแตกต่างกัน ซึ่งก็ต้องลงลึกไปอีกว่า ศิลปะมีผลต่อจิตใจแบบไหน และใช้ร่วมกับวิตามิน สมุนไพรต่างๆ ก็ช่วยให้ประสิทธิผลดีขึ้น
ถามว่า เคยมีผู้ป่วยไบโพลาร์หรือโรคอารมณ์สองขั้วมาทำศิลปะที่นี่ไหมและเกิดผลอย่างไร นพ.ทีปทัศน์ ตอบว่า “ก็มีมาพอสมควร ในสถานการณ์ปกตินะครับ ผมต้องออกตัวก่อนว่า ไม่ใช่ว่าไบโพลาร์ทุกเคสที่ต้องทำศิลปะ เราก็จะใช้กระบวนการอื่นๆ ร่วมกัน บางคนก็ต้องใช้ยาแผนปัจจุบันร่วมด้วย ไบโพลาร์เป็นลักษณะที่ว่า ถ้าเราลองจินตนาการก็คือ เป็นคนที่สีสันในชีวิตฉูดฉาดมาก ไม่มีจุดตรงกลาง หรือจุดที่มันบาลานซ์สดใสจนเกินไป
ช่วงที่เป็น Mania (หมายเหตุ-ภาวะแมเนีย คือ ภาวะอารมณ์ดีผิดปกติ ผู้ป่วยมักรู้สึกตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา อารมณ์ดีผิดปกติ มีพลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆ) ก็อาจจะทำโปรเจ็กต์ ไม่หลับไม่นอน ใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย นี่คือขั้วหนึ่ง ถ้าเป็นสีคงเป็นสีสดจัด แดงจัด อีกกลุ่มหนึ่งคือ พอหาย Mania กลับมาซึมเศร้า ฉันไม่ทำอะไร ไม่อยากกินข้าว ไม่อยากพบเจอผู้คน เป็นภาวะ depress ( ดีเพรส คือ ภาวะหดหู่ เศร้าใจ ) ถ้าเป็นสีก็คงเป็นสีทึมๆ สีบลูๆ เราจึงเรียกอารมณ์ซึมเศร้าว่าบลู เวลาเราเห็นคนเขาทำศิลปะบำบัด จะต้องมีการวินิจฉัยก่อนว่าบาลานซ์ข้างในของเขา มันไม่มีจุดตรงกลาง เราก็จะให้ระบายสีสองสีให้มันกลมกลืนกัน
Process ของการกลมกลืนนี่เราอาจจะบอกเขาเป็นวาจาไม่ได้ แต่ระหว่างที่ทำศิลปะเราฝึกผสมสีให้มันบาลานซ์ระหว่างสีร้อนสีเย็น แล้วเขาจะรู้สึก ‘เออ! มันเอาความรู้สึกนี้ไปใช้กับชีวิตประจำวันได้นะ’ เช่น จากที่สีฉูดฉาด ร้อนก็ร้อนแรงซึมเศร้าก็ซีมสุดๆ ก็ ‘เออ หาจุดตรงกลางหรือสมดุลได้ง่ายขึ้น’ นี่ก็อาจเป็นตัวอย่างที่ช่วยให้เห็นภาพ” นพ.ทีปทัศน์ระบุ
>>> การแพทย์มนุษยปรัชญาในไทยและความสำคัญ
ถามว่า แนวทางการแพทย์แบบมนุษยปรัชญา มีแพร่หลายในเมืองไทยมากน้อยแค่ไหน และจำเป็นเพียงใดในการนำมาใช้รักษาผู้คน นพ.ทีปทัศน์ ตอบว่า “ผมใช้คำว่า ถึงที่สุดแล้วหมอแนวทางมนุษยปรัชญาต้องเดินทางร่วมกับคนไข้ หรือ journey ไปด้วยกัน คงไม่ได้จบที่ว่าเมื่อโรคหายแล้วต่างคนต่างแยกย้าย เมื่อป่วยแล้ว ค่อยกลับมาใหม่
แต่สิ่งที่การแพทย์แนวมนุษยปรัชญาได้ทำงานเชิงลึกกับคนไข้คือ เรามองคนไข้เป็นมนุษย์ และเราก็จะสอดแทรกปรัชญามุมมองชีวิตที่มีสุขภาพดีให้เขา เพื่อที่ว่าเมื่อไหร่ก็ตาม เขาจบกระบวนการบำบัด เราอาจให้อิสระให้เขาได้กลับไปใช้ชีวิต แต่เขาก็ไม่ได้ใช้ชีวิตอย่างเสียสมดุลเหมือนเดิม เขาก็ยังรับรู้วิธี ได้มีศักยภาพใหม่ๆ เพื่อให้เขายังคงรักษาสมดุลของร่างกายและจิตใจได้
ถามว่า มันจำเป็นไหม ผมใช้คำว่ามันน่าสนใจไหม ถ้าเราสามารถผลิตหรือขยายแนวคิดให้หมอที่เรียนการแพทย์แผนปัจจุบัน มี Mindset ตรงนี้มากขึ้น ผมคิดว่าเราก็จะได้มุมมองของการบำบัดรักษาที่มันช่วยเยียวยาสังคมได้ในระยะยาว
ผมว่ามันไม่ได้จบแค่ว่า เครียดมา ปวดหัว ให้ยา จบ กลับไป แต่ไม่มีการพูดคุยอย่างสร้างสรรค์ให้คนในสังคมมีสมดุลของวิธีคิดและวิธีดำเนินชีวิตในระยะยาวที่ดีขึ้น ตรงนี้ผมคิดว่าต่อไปสังคมเราจะต้องการมากๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเราไปดูสถิติว่าทำไมเดี๋ยวนี้คนฆ่าตัวตายเยอะจังเลย ทำไมคนเป็นซึมเศร้าเยอะจังเลย เพราะว่า เรารักษาแต่ทางกายคือ ‘ฮาร์ดแวร์’ แต่ ‘ซอฟท์แวร์’ ซึ่งคือจิตใจ ยังมีแพทย์แผนปัจจุบันที่ไม่ใช่จิตแพทย์ ไม่รู้ว่าควรทำอย่างไร แต่ผมเชื่อว่าถ้าคุณมาสนใจแพทย์มนุษยปรัชญา คุณจะรู้ว่า คุณจะเป็นหมอที่สามารถรักษาคนไข้ได้ทั้งคน มากกว่าแค่รักษาทางกายเพียงอย่างเดียว” นพ.ทีปทัศน์ระบุและกล่าวว่า ในที่สุดแล้ว คนเรา ไม่ได้ดำเนินชีวิตไปแค่เพราะมีสุขภาพร่างกายเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่เราต้องสนใจ แต่การที่เราจะมีสุขภาพดีในระยะยาวได้ ก็ต่อเมื่อมนุษย์เราเข้าใจเรื่องการบาลานซ์ เข้าใจเรื่องของจิตใจ
“อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ การที่เรามีความรัก มีอุดมคติในการเป็นผู้ให้แก่สังคม สิ่งนั้นจะเป็นอาหารทางจิตวิญญาณของเรา ให้เรารู้สึกว่าเรามีคุณค่า สิ่งนี้ต่างหากที่ทำให้จิตวิญญาณเรามีคุณค่าในระยะยาว”
คือคำทิ้งท้ายที่น่าสนใจ สะท้อนหลักคิดและแนวทางในการทำงานของ นพ.ทีปทัศน์ อุปนายกสมาคมการแพทย์มนุษยปรัชญาไทย ที่แสดงให้เห็นถึงการสอดประสานระหว่างร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณที่ไม่อาจแยกส่วนจากกันได้ หากต้องดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล เปี่ยมคุณค่าความหมายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
……………..............................
Text by รพีพรรณ สายัณห์ตระกูล