xs
xsm
sm
md
lg

นิติวิทย์รับรางวัลดีเด่น “องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ปี 2564”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



วันนี้ (30 ก.ย.) พ.ต.อ.ทรงศักดิ์ รักศักดิ์สกุล ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัล “องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมุษยชน ประจำปี 2564” ในระดับ “ดีเด่น” ประเภทองค์กรภาครัฐ ระดับกรมหรือเทียบเท่า จากคณะกรรมการขับเคลื่อนงานสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย โดยโครงการองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นจากความริเริ่มของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เมื่อปี 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้องค์กรทุกภาคส่วนมีความรู้ความเข้าใจ และเห็นถึงความสำคัญของการนำหลักการสิทธิมนุษยชนมาเป็นพื้นฐานในการบริหารจัดการและปฏิบัติงานในทุกระดับ ส่งเสริมให้เกิดการเคารพสิทธิมนุษยชนซึ่งกันและกันรวมถึงลดความเสี่ยงหรือปริมาณข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน

พ.ต.อ.ทรงศักดิ์ กล่าวอีกว่า สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เป็นองค์กรที่ปฏิบัติงานตามภารกิจบนพื้นฐานของการเคารพสิทธิมนุษยชน สร้างความเชื่อมั่นในการให้บริการด้านการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ อำนวยความยุติธรรม ดำเนินการตามกรอบของระเบียบและกฎหมาย บริหารงานด้วยความโปร่งใส ปฏิบัติหน้าที่โดยปลอดจากการทุจริต สุจริตในจรรยาวิชาชีพ เพื่อให้เป็นหน่วยงานที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและพึ่งได้

“สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ได้ทำการตรวจสารพันธุกรรมแก่ราษฎรไร้สถานะและประสบปัญหาสถานะทางทะเบียนราษฎร ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน ครอบคลุมกว่า 50 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนรวมถึง 2,675 ราย โดยในปี 2563 สถาบันฯ ได้ให้บริการตรวจสารพันธุกรรมแก่ราษฎรไร้สถานะและประสบปัญหาทางทะเบียนราษฎร ได้ถึง 1,600 ราย”

พ.ต.อ.ทรงศักดิ์ กล่าวต่อว่า ในด้านการบูรณาการความร่วมมือในการตรวจพิสูจน์คนนิรนาม ณ สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง โดยสถาบันฯ ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบการติดตามคนหาย และการพิสูจน์คนนิรนามและศพนิรนาม ได้มีการแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสนับสนุนการปฏิบัติงานติดตามคนหายและการพิสูจน์คนนิรนามและศพนิรนาม พ.ศ. 2564 ให้สอดคล้องกับการคุ้มครองสิทธิ์ของคนนิรนามและได้บูรณาการความร่วมมือในการดำเนินการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลของผู้ใช้บริการในความดูแลของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร เป็นบุคคลนิรนาม ให้ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2545 ถึงปัจจุบัน อันเป็นการสนับสนุนกระบวนการด้านสิทธิมนุษยชนและเป็นการคุ้มครองสิทธิให้กับประชาชนตั้งแต่แรกเกิดจนเสียชีวิต โดยยึดหลัก “ความเสมอภาค ความเท่าเทียม พวกเราทุกคนล้วนต้องมีในหัวใจและมีส่วนร่วม” พาสังคมไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป






กำลังโหลดความคิดเห็น