ห้วงยามนี้ ศิลปินไทยมากหน้าหลายตาพากันอวดโฉมผลงาน ผ่านโลก NFT อย่างคึกคัก ด้วยหลากหลายไอเดียที่น่าสนใจ อาทิ เหล่า GANGSTER ALL STAR ผลงานรวมชาวแก๊งค์หลากดีไซน์ โดย THE DUANG, ผลงานตุ๊กตาและผองสัตว์สุดน่ารักจากหลายศิลปิน, รวมคอลเลกชั่นผลไม้ที่ทั้งน่าทานและน่าสะสม, เหล่า Monster สุดแปลกที่ทั้งน่ารัก สุดเท่ห์ แสนครีเอทและชวนหลอนก็มีอีกนับไม่ถ้วน ไม่ต่างจากภาพวาดที่เน้นบรรยากาศ เรื่องราวหรือ theme ที่น่าสนใจก็มีอีกไม่น้อย ทั้งหลายทั้งปวง ปรากฎให้เห็นผ่านโลกของ NFT
NFT ย่อมาจากคำว่า Non Fungible Token แปลเป็นไทยก็คือ ‘สิ่งที่ไม่สามารถแลกเปลี่ยนและทดแทนได้ เป็นสิ่งที่มีแค่ชิ้นเดียวเท่านั้น’ ขณะที่ Fungible Token คือสิ่งที่สามารถแลกเปลี่ยนและทดแทนกันได้ โดยในโลกดิจิทัล Fungible Token หมายถึงพวกเหรียญ Cryptocurrency ต่าง ๆ โดยปัจจุบัน ในเมืองไทย เหรียญที่ใช้ซื้องานศิลปะ NFT เป็นหลักคือ Ethereum
การซื้อขาย NFT ในโลกดิจิทัลที่ได้รับความนิยมอย่างสูงยิ่งในเวลานี้ โดยเฉพาะงานศิลปะ มีกระบวนการซื้อขายอย่างไร และคนในวงการ NFT มองอย่างไร เมื่อ ‘ประวัติศาสตร์’ หน้าใหม่เกิดขึ้นแล้ว โดยผู้ที่ใช้ชื่อ IPUTSA ขายภาพ THE INVITATION ได้ในราคาสูงถึง 11 Ethereum หรือ 1 ล้าน 1 แสนบาท
‘ผู้จัดการออนไลน์’ สัมภาษณ์พิเศษ ‘ธัญลักษณ์ เตชศรีสุธี’ หรือ ‘บ.ก.ซัน’ บรรณาธิการสำนักพิมพ์การ์ตูนไทย Let's Comic ที่ไม่เพียงเป็นผู้กุมบังเหียน นำพานิตยสารการ์ตูนไทยที่รวบรวมศิลปินและเหล่านักวาดจำนวนมาก ให้ก้าวข้ามผ่านทศวรรษมาได้อย่างน่าชื่นชม ธัญลักษณ์ หรือ ‘บ.ก.ซัน’ ยังเป็นหนึ่งในศิลปินที่ร่วมขาย NFT อีกด้วย ไม่ว่าคอลเลกชั่นมนุษย์ปลา, EVERYTHING CAN BE SUPERHEROES และงานอื่นๆ ของเขา ล้วนได้รับความสนใจจากนักสะสมชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นจำนวนไม่น้อย
มุมมองที่ ‘บ.ก.ซัน’ มีต่อกระแส NFT ในไทยจึงน่าสนใจ ทั้งในฐานะบรรณาธิการมากประสบการณ์ และในฐานะน้องใหม่แห่งโลก NFT โดยบอกเล่ากระบวนการ ขั้นตอนต่างๆ ในการซื้อขาย รวมทั้งข้อชี้แนะซึ่งสะท้อนความห่วงใยต่อผู้ที่ก้าวเข้าสู่โลก NFT ใหม่หมาดพร้อมกับความคาดหวังสูงลิบ ขณะเดียวกัน ก็ประเมินประวัติศาตร์น่าใหม่ของวงการ NFT เมืองไทยว่างาน THE INVITATION ที่ขายได้ในราคาสูงถึง 11 Ethereum หรือ 1 ล้าน 1 แสนบาท นั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และเป็นไปได้สูงที่นักสะสมมีความชื่นชอบงานอย่างแท้จริง เนื่องจากตัวงานมีรายละเอียดสมราคา
ครั้นกล่าวถึงนักเขียน Let's Comic ธัญลักษณ์บอกกล่าวว่าขณะนี้พวกเขาเหล่านั้นเข้ามาโลดแล่นอยู่ในโลกของ NFT ไม่น้อยกว่า 80% โดยมีการจับกลุ่มที่พูดคุยกันเกียวกับ NFT กันตลอด และไม่แน่ว่าในปีที่ 14 ของ Let's Comic ธัญลักษณ์บอกว่าอาจชวนนักเขียนเหล่านี้มาสร้างโปรเจ็กต์งานสนุกๆ ด้วยกัน ขณะที่ Let's Comic เอง ก็จะยังคงยืนหยัดผลิตสู่นักอ่านที่ติดตามรอคอยพร้อมกับการปรับตัวที่ทำให้หนังสือยังดำรงอยู่ได้ โดยในเดือนตุลาคมปีนี้เป็นปีที่ Let's Comic ก้าวสู่ปีที่ 13
ถึงแม้ NFT คือเทคโนโลยีที่เข้ามาเป็นส่วนสำคัญของชีวิต ทำให้งานบรรณาธิการหนังสือและการวาดการ์ตูนในแบบดั้งเดิมลดลง จนอาจสะท้อนถึงโลกสิ่งพิมพ์ที่นับวันค่อยๆ เลือนหาย ทว่า Let's Comic ก็ยังทรงคุณค่า เปี่ยมความหมาย และยังคงมีลมหายใจในการสู้ต่อ อีกทั้งมีศิลปินในสังกัดอีกมากที่พร้อมจะก้าวเดินไปด้วยกัน ถ้อยความนับจากนี้ คือทัศนะของ ธัญลักษณ์ ที่ประเมินโลกคู่ขนานทั้ง NFT และงานในโลกสิ่งพิมพ์ได้อย่างน่าสนใจ
>>> กระแส NFT
ถามว่ามองกระแสของ NFT ในปัจจุบันอย่างไร และความน่าสนใจอยู่ตรงไหน ธัญลักษณ์ตอบว่า เมื่อเอ่ยถึง NFT ทีมันอาจจะฟังดูยากและซับซ้อน แต่เท่าที่ลองเล่นเองด้วยและศึกษาดูเอง พบว่ามันไม่มีอะไรมากไปกว่าการที่เหมือนกับว่าเรานำเอาไฟล์อะไรก็ตามไปแปลงเป็นเหรียญเป็น Token (โทเคน) หรือเป็นการนำเอาไฟล์มาแปลงขายลงบนเว็บไซต์นั่นเอง โดยที่อาจจะมีข้อดีคือ มีระบบเซิร์ฟเวอร์ที่คอยตรวจสอบได้ว่าเราขายไปเมื่อไหร่ ยังไง
“มีเซิร์ฟเวอร์ที่บริหารงานผ่าน blockchain ซึ่งก่อนหน้านี้ เราอาจจะเคยได้ยินคนบอกกันมาว่ามันยอดเยี่ยมถึงขั้นไม่มีการทำซ้ำได้ ลิขสิทธิ์ต่างๆ จะตรวจสอบได้หมด แต่ผมว่าไม่ได้เยี่ยมอะไรขนาดนั้น เพราะล่าสุดก็มีการก๊อบปี้งานกันมากมาย” ธัญลักษณ์ระบุ
ถามว่า ตัวอย่างเช่น THE DUANG ‘เดอะดวง’ นักเขียนการ์ตูนรายหนึ่งของ Let's Comic ที่ขายผลงานผ่าน NFT ก็ถูกก๊อบปี้งานใช่หรือไม่ ธัญลักษณ์ ตอบว่า “ใช่ครับ ระบบนี้ไม่ได้ถึงขั้นจะสกรีนได้ 100% ขนาดนั้น มันเป็นแค่ช่องทางที่ช่วยให้ซื้อขายบน blockchain ได้”
>>> NFT ซื้อขายกันอย่างไร
เมื่อขอให้ช่วยเล่าถึงกระบวนการขายงานในรูปแบบ NFTทำงานกับเหรียญ กับโทเคนยังไง ต้องซื้อขายงานกันอย่างไร ธัญลักษณ์ตอบว่า “ตัวสกุลเงินที่ใช้ผ่าน NFT เป็นหลักคือ Ethereum (อีเธอเรียม) หรือ ETH ซึ่งก็เป็นสกุลเงินที่แยกย่อยออกมาจากบิทคอยน์อีกทีครับผม ส่วนการซื้อขาย จริงๆ แล้ว มันก็เหมือนการซื้อขายด้วยเงินจริง เช่น สมมติว่าผมจะซื้อภาพถ่าย หรือวาดรูป แล้วผมไปจ่ายเงิน โอนเงินให้เพื่อน แบบนี้ก็ได้ เพียงแต่ว่าคนยุคนี้อาจจะไม่ทำแบบนั้น เพราะมันเสี่ยง มันก็เลยมีระบบ blockchain ขึ้นมา
“เหมือนเราซื้อขาย ผ่าน Shopee น่ะครับ เช่น ถ้าเราโอนเงินไปแล้ว ภาพวาดของเราจึงจะไปถึงคนรับ ซึ่งมันก็เป็นตัวป้องกันได้ดีในเรื่องของการทำธุรกรรม ซึ่งเป็นหน้าที่ของ cryptocurrency ที่เข้ามาทำตรงนี้ เหมือนกับว่า มันช่วยทำให้เราแทบจะไม่มีความเสี่ยงเลยในแง่ของการซื้อขาย เหมือนกับว่าเราซื้อ Shopee เรารับของ แล้วเรากดรับ เราก็จะเสียเงิน มันมีความแฟร์กับทั้งคนซื้อแล้วก็คนขาย เป็นระบบที่ผมเรียกว่า มันถูกโปรแกรมเมอร์ใช้ข้อโอกาส ใช้ทรัพยากรพวกเหรียญเอามาดัดแปลง ซึ่งก่อนหน้านี้มันก็ถูกดัดแปลง แต่มันเพิ่งมาลงตัวในยุคนี้ ซึ่งก็ยังมีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ ซึ่ง Ethereum เองช่วง ต้นปี จนถึงกลางปีนี้ก็มาฮิตเรื่องของเกม เล่นเกมแล้วได้เงิน โปรแกรมเมอร์เขาพัฒนาให้ซื้อขายไอเทมในเกมได้ โดยที่ไม่ต้องเสี่ยงเหมือนยุคที่เราเล่นเกม Ragnarok ที่เราต้องไปนัดเจอกัน แล้วโอนเงินกัน ทุกวันนี้ ก็สามารถทำได้โดยใช้คริปโตเคอร์เรนซี่เข้ามาช่วย เปรียบเหมือนมีโปรแกรมที่ทำให้เราซื้อขายได้ โดยไม่มีใครเสียเปรียบ” ธัญลักษณ์ระบุ
ถามว่า Ethereum มีราคาอยู่ที่ประมาณกี่บาทในตอนนี้
ธัญลักษณ์ตอบว่า ตอนนี้ 1 อีเธอเรียมอยู่ที่ประมาณ 106,740 บาท (หนึ่งแสนหกพันเจ็ดร้อยสี่สิบบาท) แต่ราคาก็ขึ้นๆ ลงๆ เช่นก่อนหน้านี้ก็อยู่ประมาณแสนสองหมื่นบาท
ถามว่า อะไรทำให้ Ethereum เป็นสกุลที่มีมูลค่า
ธัญลักษณ์ตอบว่า “ความจริงผมว่าการที่ Ethereum มันมีมูลค่า เพราะว่ามันเป็นสกุลที่พลิกแพลงได้เยอะ มีคนใช้งานเยอะ เช่น คนทำเกมก็ใช้ Ethereum คนทำ NFT ก็ใช้ Ethereum ขณะที่บิทคอยน์ จะใช้ในการ Trade (เทรด) ซะเยอะ แต่ต้องออกตัวก่อนว่า ผมไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องคริปโตเคอร์เรนซี่มากนัก เพียงแต่ผมเคยลงทุน เคยศึกษามาบ้าง” ธัญลักษณ์บอกเล่าถึงข้อมูลเท่าที่มี
>>> เมื่ออยากขายงานศิลป์ผ่าน NFT
ถามว่า เมื่อมีคนสนใจ NFT แล้ว เขาจะเข้าสู่กระบวนการขาย ต้องทำอย่างไรบ้าง
ธัญลักษณ์ตอบว่า “ ข้อ 1. คือ ต้องมี กระเป๋าเงิน หรือ wallet (วอลเล็ต) สำหรับใส่ตัวเหรียญที่เราจะใช้ ซึ่งคนทั้วไปก็มักจะใช้ metamask wallet กัน เพราะเป็นกระเป๋าเงินฟรี แต่ก็แลกมาด้วยการที่ต้องระวังเรื่องการถูกแฮ็ก ข้อ 2. หาเว็บไซต์แลกเปลี่ยน คือเนื่องจากตัวกระเป๋าเงินนี้ ในเมืองไทย ยังไม่สามารถหาซื้อเหรียญเข้าไปได้โดยตรง เราต้องไปหาเว็บไซต์แลกเปลี่ยน หรือแอปพลิเคชั่นแลกเปลี่ยน ว่าจะเอาเงินเราเข้ามาใช้ในโลกของคริปโตเคอร์เรนซี่ยังไง ที่ฮิตๆ กันก็จะมี Binance ที่ฮิตที่สุด รองลงมาก็เป็นของคนไทย เช่น Bitkub (บิทคัพ) ที่ฮิตรองลงมา
“ข้อ 3. เราก็ไปซื้อเหรียญ จะแลกปลี่ยนกับคนหรือแลกเปลี่ยนผ่านเว็บไซต์ก็แล้วแต่ความถนัด ซึ่งขั้นตอนนี้จะยุ่งยากสำหรับคนที่เพิ่งลงมาเล่นใหม่ๆ เพราะว่าเหรียญแต่ละเหรียญ ยกตัวอย่างเช่น หากเราจะใช้ Ethereum โดยเราจะไปซื้อผ่านเว็บไซต์นั้น มันก็เปรียบเหมือนการเดินทางผ่านคนละประเทศ เงินสกุลนี้ใช้กับที่นี่ไม่ได้ บางทีเราซื้อมาแล้วไปซื้อผิดที่ ก็ทำให้เราต้องไปเสียค่าธุรกรรมใหม่ครับ ซึ่งข้อเสียอย่างหนึ่ง ของพวกคริปโตเคอร์เรนซี่ คือ มันมีค่าธุรกรรมค่อนข้างสูง เพราะว่า ค่าธุรกรรมจะถูกส่งไปให้กับคนที่เขาขุดเหรียญ ซึ่งเรียกกันว่าค่า แก๊ส (Gas Fee) ถ้าเปรียบเทียบคือค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายในการทำธุรกรรมใดๆ ในคริปโตเคอร์เรนซี่ ทำให้ทุกๆ ครั้งที่เราทำอะไรพลาดเราก็จะเสียเงิน
“ข้อ 4. เมื่อเราได้เหรียญมาแล้ว เอาประเภทที่เราต้องการใช้ คือ ETH หรือ Ethereum มาใช้ ก็ต้องมาดูกันว่าเราจะเอางานของเราไปขายที่ไหน ซึ่งที่ฮิตๆ กัน ก็จะมีอยู่สองที่ คือที่ OpenSea (ตลาดซื้อขายผลงานศิลปะและของสะสมดิจิทัลรูปแบบ NFT (non-fungible token) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก) และ Foundation”
ธัญลักษณ์ระบุและกล่าวเพิ่มเติมว่า วิธีการเลือกเว็บไซต์ที่เหมาะกับเราคือ เทียบกันอย่างง่ายๆ ที่โอเพ่นซี อาจเปรียบได้กับบิ๊กซี แล้วที่ฟาวเดชั่น เปรียบเหมือนสยามพารากอน ที่โอเพ่นซี ค่าเช่าก็จะถูก จ่ายครั้งแรกทีเดียวจบ เปรียบเหมือนค่าตั้งแผงขายสินค้าจะมีราคาถูก เน้นของถูก ขายถูก ขายเยอะ ขณะที่ฟาวเดชั่นราคาแพง จะต้องจ่ายทุกครั้งที่ลงของ ในขณะที่ การขายของแต่ละชิ้นก็มีราคาสูง
“แต่ผมมาเปรียบเทียบดูก็ไม่เสมอไป เพราะเพื่อนนักวาดของผมหลายๆ คน ก็ขายงานราคาสูงๆ ได้ที่โอเพ่นซี เหมือนกัน ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับฝีมือและจังหวะด้วยครับผม” ธัญลักษณ์เน้นย้ำ
ถามว่า ธัญลักษณ์เล่น NFT มานานแค่ไหนแล้ว เห็นกระแสอะไรบ้าง ธัญลักษณ์ตอบว่า “เรียกผมว่าเป็นมือใหม่ก็ว่าได้ ผมเพิ่งเล่นมาได้ไม่นานครับ กระแสที่เห็น ผมแบ่งเป็นตอนที่ผมมาใหม่ๆ ถึงปัจจุบันก็แล้วกัน ช่วงที่ผมเล่นใหม่ๆ มันเลยจุดบูมมานิดหนึ่งแล้ว ผมเองก็ไม่ได้เป็นนักวาดหรือ ศิลปินเต็มตัว ต้องรอความมั่นใจ ก่อนที่จะลงงานไป ไม่เหมือนนักเขียน นักวาดที่เขาเป็นศิลปินเต็มตัว ผมก็จะช้ากว่านักเขียนที่เป็นมืออาชีพ เมื่อลงงานไป คือ ตามหลังกระแส แต่ก็ยังขายได้บ้าง อยู่ในกลุ่มที่พอจะมีคนรู้จัก ยอดขายก็ประมาณกลางๆ แต่ถ้าเทียบกับนักเขียนอาชีพ เราเทียบไม่ได้ แต่ถามว่าน่าพอใจไหม ผมก็มองว่าน่าพอใจ
“ช่วงถัดมา สิ่งที่ยากสำหรับการขายงานคือ ทำยังไงให้เกิด second sale คือ งานเราถูกนำไปขายต่อในราคาที่สูงขึ้นได้ อันนี้ ถ้าใครทำได้ จะก้าวไปอยู่อีกระดับหนึ่งเลยครับ” ธัญลักษณ์บอกเล่าประสบการณ์การขาย NFT
เมื่อถามว่า หากเกิด second sale ตัวศิลปินจะได้อะไร
ธัญลักษณ์ตอบว่า คนที่ซื้อไปเอาแล้วงานเราไปขาย เราจะได้เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการตั้งเปอร์เซ็นต์ขึ้นอยู่กับแต่ละเว็บไซต์ เช่น โอเพ่นซี เราสามารถตั้งได้เลย ว่าเราจะได้กี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่วนใหญ่จะตั้งกันที่ 10% ส่วนฟาวเดชั่น ถ้าจำไม่ผิดจะบังคับว่าให้อยู่ที่ 10%
>>> ศิลปินชาว Let's ในโลกของ NFT
ถามว่า ศิลปินของ Let's Comic เรียกได้ว่าฝีไม้ลายมือดีๆ ทั้งนั้น พวกเขาเข้ามาอยู่ในโลกของการขาย NFT มากน้อยแค่ไหน ธัญลักษณ์ตอบว่า “ผมมองว่า เกือบๆ 70% ส่วนใหญ่ถ้าเป็นศิลปินที่มีแฟนคลับ มีความพร้อม มีคอมพ์ใช้ มีฐานผู้ติดตามในโลกโซเชียล เขาก็จะพร้อมที่จะเข้ามา แต่ศิลปินของ Let's บางท่านอาจจะยังไม่พร้อม เช่น อยู่ต่างจังหวัด บางท่านอาจจะ low tech ก็ยังไม่เข้ามา แบบนี้ก็อาจมีบ้าง”
ถามว่า ในมุมมอง ของธัญลักษณ์ วงการ NFTระดับโลก เป็นยังไงบ้าง ธัญลักษณ์ตอบว่า NFT มันคือระดับโลกในตัวเองอยู่แล้ว นี่นับเป็นข้อดีของวงการนี้ คือ มันไม่มีขอบเขตเรื่องชนชั้น ทำให้ตลาดมันใหญ่มาก ทำให้นักวาดไทยค่อนข้างได้เปรียบ เพราะคุณภาพงานของนักวาดไทยเมื่อเทียบกับราคาแล้ว ราคาค่อนข้างต่ำกว่ามาตรฐานโลกไปเยอะทั้งที่มีคุณภาพงานสูง ดังนั้น เมื่อมาอยู่ NFT เราเลยเห็นได้ชัดว่า ศิลปินไทยมีมาตรฐานงานที่สูง และราคางานที่ต่ำอย่างเห็นได้ชัด
>>> ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ THE INVITATION @IPUTSA ราคา 11 Ethereum
เมื่อถามถึงประเด็นที่ภาพ THE INVITATION โดย @IPUTSA ขายได้ 1 ล้าน 1 แสนบาท หรือ 11 Ethereum คิดว่าเป็นเพราะอะไร ธัญลักษณ์ตอบว่า เกินความคาดหมายเหมือนกัน เพราะไม่คิดว่าจะมีภาพไหนขึ้นมาได้หลักสิบ Ethereum
“ผมว่าราคา ขนาดนั้น ก็ไม่น่าจะมาจากการเก็งกำไรแล้วมั้ง น่าจะมาจากความชอบจริงๆ ผมเข้าไปดูแล้ว คนซื้อเป็นคนไทยด้วย คงมาจากความชอบจริงๆ โดยส่วนตัว ผมมองว่าตัวงานโอเคเลย มีความสมราคา มีความตั้งใจ มีดีเทล แต่การจะไปถึงขนาดนี้ ไม่ใช่ด้วยตัวงานอย่างเดียว มันมีจังหวะของมันด้วย แต่ให้วิเคราะห์นี่ยากจริงๆ เพราะผมเองก็ไม่คิดว่าจะไปถึงขนาดนั้น”
ถามว่า เกิดจากการประมูลด้วยใช่หรือไม่ ธัญลักษณ์ตอบว่า “ใช่ครับ เกิดจากการประมูล ในวงการเรียก Bid War เมื่อไหร่ที่มีบิดวอร์ ราคาของงานก็จะไปสูง เหมือนกับมีเรื่องของศักดิ์ศรีเข้ามา ว่าใครจะได้ไป”
ถามว่าการเปิด Bid War ขึ้นอยู่กับอะไร
ธัญลักษณ์ตอบว่า “การ Bid จะจำกัดเวลาไว้ที่ 24 ชั่วโมง ในช่วงท้ายๆ เท่าที่ผมจำได้จะมีการเพิ่มเวลาให้ถ้ามีการ Bid War แต่อันนี้ผมไม่แน่ใจ เพราะตอนผมขายถ้าไม่มีใครมาบิดเพิ่มมันก็จบที่ราคานั้นเลย นั่นแหละครับ ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ ที่จะเห็นราคาระดับนี้ ก็ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ไปเลย”ธัญลักษณ์ระบุและกล่าวเพิ่มเติมว่า ในวงการ NFT art ฮือฮาพอสมควรกับกรณีนี้ ผมยังไม่เคยเห็นเลยราคาระดับนี้”
ถามว่า เรื่อง Bid War นี้ศิลปินทุกคนที่ขายงาน NFT ต้องเปิด Bid ไหม ธัญลักษณ์ตอบว่า “ถ้าเป็นเว็บฟาวเดชั่น จะบังคับให้เปิด Bid แต่ถ้าโอเพ่นซี เราจะเลือกได้ ว่าจะเปิดบิดหรือไม่”ธัญลักษณ์ระบุ
>>> ความเปิดกว้างของ NFT
ถามว่า NFT ครอบคลุมเฉพาะศิลปะเท่านั้นหรือไม่ ธัญลักษณ์ตอบว่า เท่าที่ผมเห็นตอนนี้ ก็จะมีดนตรี มีคนเอางานเขียนมาลงผมก็เคยเห็นนะ แต่หลักๆ ก็ภาพวาด ภาพเคลื่อนไหว ยังเป็นสัดส่วนที่เยอะที่สุด
ถามว่า คนซื้องานของคุณ เป็นคนไทยหรือต่างชาติ ธัญลักษณ์ตอบว่า “ปนๆ กันครับ ช่วงแรกๆ ที่ผมลงงานขาย จะเป็นคนไทย 70%-80%เลยที่ซื้อ เพราะอาจด้วยความที่ผมทำหนังสือ ทำสำนักพิมพ์มาก็อาจจะพอมีคนรู้จักอยู่บ้าง แต่พอมาพักหลังๆ ช่วงที่ค่าแก๊ส ( Gas Fee ) เริ่มแพง คนไทย ซื้อไม่ไหว ก็เป็นฝรั่งที่เข้ามาซื้อ เป็นชาวต่างชาติ ซึ่งเมื่อเขาซื้อ เราก็จะตามไปคุย ไปดูว่าเขาเป็นชาวอะไร ชาติอะไร” ธัญลักษณบอกเล่าประสบการณ์ขายงาน
ถามว่า ศิลปินไทย ฝีมือดีๆ เข้ามาขายงาน NFT เยอะมาก เพราะอะไร ธัญลักษณ์ตอบว่า เพราะมันคุ้มค่ามากๆ คุ้มค่ากว่าค่าแรงที่เขาเคยได้ในประเทศเรา
ถามว่า ถ้าเปรียบงานที่ธัญลักษณ์ขาย เป็นเงินไทย ราคา อยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ธัญลักษณ์ตอบว่า “ของผม น่าจะยังไม่ถึงแสนบาทนะ อยู่ที่สักประมาณเกือบๆ แสนบาทครับ”
ถามถึงคอลเลกชั่นชุดมนุษย์ปลา ว่าขายไปในเท่าไหร่
ธัญลักษณ์ตอบว่า “ชุดนั้น มนุษย์ปลา ราคาไม่สูงมาก ราวๆ 7,000-8,000 บาท แต่ผมจะมีคอลเลกชั่นอื่นด้วย ผมมี สามคอลเลกชั่น ขายรวมๆ กัน ก็ได้เกือบแสนบาทครับ มีคอลเล็คชั่นหลังๆ ที่ผมขายราคาต่อชิ้นสูงขึ้นจากเดิมมากด้วย เลยทำให้รวม 3 คอลเลกชั่น ก็ราวๆ 70,000 บาท ในเวลา เดือนเศษๆ ครับ
“งานที่ผมขายก็มีตัวการ์ตูนที่เป็นหุ่นยนตร์ขี่ปลาเหล็ก มีคอลเลกชั่นฮีโร่อะไรก็ได้ (EVERYTHING CAN BE SUPERHEROES) อันนี้ยอดขายสูงสุด เพราะปริมาณที่ลงขายสูงสุด และเป็นอันแรกที่เอาลงขาย แล้วก็มีงานวาดเล่น คือเป็นงานที่ผมเคยวาดเพื่อเอาไปลงหน้าบรรณาธิการ เอาไปลงเฉยๆ ไม่เคยคิดว่ามันจะเอามาสร้างรายได้อะไร แล้วผมก็เห็นว่ามันเยอะ ก็เอามาขาย ไม่คิดว่าจะขายได้ แต่มันก็ขายได้ราคาสูงด้วย ชิ้นละ 7,000-8,000 บาทครับ” ธัญลักษณ์บอกเล่าถึงรายละเอียดของราคางานที่ขาย
ถามถึง กระบวนการในการแลก Ethereum เป็นเงิน ทำอย่างไร ธัญลักษณ์ตอบว่า อันดับแรก เมื่อได้เหรียญ Ethereum ก็นำไปแลกบนเว็บไซต์ เช่น ถ้าเป็นของคนไทย ก็มีอย่าง Bitkub ที่อาจจะผูกกับบัญชีธนาคารได้เลย น่าจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเว็บ Binance ของต่างชาติ ก็ต้องเอาไปแลกกับคนที่เขาเอาเหรียญมาวางไว้ ซึ่งก็ต้องดูความน่าเชื่อถือ ดูว่าเขามีประวัติการแลกเปลี่ยนมานานแค่ไหน มีอะไรน่าสงสัยไหม ซึ่งเขาจะมีประวัติให้สามารถตรวจสอบได้อยู่แล้ว ซึ่งระบบค่อนข้างดี ไม่เสี่ยงอะไรมากมาย
>>> ข้อดี-ข้อเสีย ของ NFT
ถามว่า NFT จะช่วยพัฒนางานของศิลปินไทยไปในแง่ไหนบ้าง
ธัญลักษณ์ตอบว่า “ผมมองว่าอันดับแรก พัฒนาให้ศิลปินมีทักษะในแง่ของการประชาสัมพันธ์ เพราะการทำงาน NFT ขาย มันค่อนข้างต้องคิดเป็นระบบเบ็ดเสร็จในตัวศิลปินค่อนข้างสูง จะคิดคอนเซ็ปต์ยังไง จะขายยังไง เช่น ปกติแล้ว ศิลปินที่ผมเคยร่วมงานมาด้วย เขาจะเอาหน้าที่ตรงนี้ให้ ทางสำนักพิมพ์ หรือบรรณาธิการ เพราะเขาคิดว่า เขาวาดมาแล้ว คุณก็เอาไปทำการตลาดให้หน่อย วางขายให้หน่อย
แต่เมื่อ NFT เข้ามาปุ๊บ เขาต้องทำด้วยตัวเอง มีสกิลการขายของเก่งขึ้น นอกจากนี้ บางคนก็อาจมีเทคนิคแพรวแพราวขึ้น ทำภาพเคลื่อนไหวจากที่เมื่อก่อนไม่คิดจะทำภาพเคลื่อนไหว เพราะไม่ได้ตังค์ ก็พัฒนาขึ้น มีใส่เพลงเข้าไปในงานด้วย ซึ่งเมื่อก่อน แค่ให้วาดธรรมดายังขี้เกียจเลยครับ เหล่านี้เป็นส่วนดีที่มองเห็น ผมมองว่าอะไรก็ตาม พอมีเงินโยนเข้าไปมันก็วิ่งได้เหมือนเติมน้ำมัน
แต่มันก็มีข้อเสีย คือ หลังๆ มีมิจฉาชีพแฝงเข้ามา แล้วก็มีคนที่ตั้งใจเข้ามา NFT เพื่อจะเอาตังค์อย่างเดียว ก็อาจเกิดอาการฟูมฟาย และอาจจะมีเรื่องของคนที่ภูมิคุ้มกันไม่เข้มแข็งพอ เหมือนคนที่ไม่เคยผ่านการขายงานมาก่อน กึ่งๆ เหมือนคุณมาเปิดร้าน แล้วขายไม่ได้เลย ก็เสียสุขภาพจิตได้เหมือนกัน แต่ก่อน ผมมองว่า นักวาดศิลปะในไทย เขาทำเพราะได้ทำงานที่เขารัก เขาอาจไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจว่าเราต้องมาแบกรับทุกสิ่งทุกอย่าง ในการแข่งขันที่ชัดเจนขนาดนี้ เพราะเมื่อก่อนศิลปะไม่ได้มีการแข่งขันที่ชัดเจนขนาดนี้ ขณะที่เดี๋ยวนี้ มันขึ้นอยู่กับว่างานคุณขายได้ หรือขายไม่ได้ คือความกดดันมันแรงกว่ากันเยอะ
จริงๆ แล้วต่อให้เตรียมตัวเตรียมใจมาดีแล้ว พอมาเจอของจริงก็สะอึกเหมือนกัน มันไม่ใช่อะไรที่ใจเราจะนิ่งได้ขนาดนั้น ผมเองก็คิดเหมือนเขา บางทีจะลงเล่นๆ แต่ไปๆ มาๆ เราก็จริงจังโดยไม่รู้ตัวเหมือนกันนะ” ธัญลักษณ์ให้แง่คิดและมุมมองที่น่าสนใจของ NFT
>>> NFT ต้อนรับศิลปินหน้าใหม่เสมอ
ถามว่าแม้จะมีทั้งข้อดีข้อด้อย ถึงกระนั้น โลกของ NFT ก็ยังน่าสนใจ และพร้อมต้อนรับศิลปินหน้าใหม่เสมอ ธัญลักษณ์ตอบว่า “ใช่ครับ โอกาสที่จะได้รับกลับคืนมา มันสูงกว่าที่ลงไปมากๆ ทำให้มันได้รับความน่าสนใจมากๆ แต่ต้องดูว่า สิ่งที่เสียเยอะหน่อยคือ สุขภาพจิต ถ้าไม่ใช่คนที่มีปัญหาสุขภาพจิต จิตตกง่าย เป็นโรคซึมเศร้า ก็ลงมาเถอะครับ แต่ถ้าเป็นก็ผมว่าบางทีมันเป็นสิ่งสำคัญนะ เรื่องสุขภาพจิต
ถามว่า วาดงานมือ ไม่ใช่ดิจิตอลอาร์ต ก็สามารถลงขาย NFT ได้ใช่ไหม ธัญลักษณ์ตอบว่า “ใช่ครับ ผมเองงานชิ้นที่เป็นปลา ผมวาดมือหมดเลย ไม่ได้ใช้คอมพ์เลย แค่ใช้ตอนเอามาวาง Final แต่ไม่ใช้ในการวาดเลย ใช้สีมาร์คเกอร์ เหมือนเมจิค Copic ดินสอแล้วตัดเส้น เป็นงานมือทั้งหมดเลยครับ งานสีน้ำผมก็เห็นคนที่เอามาลงก็มีนะครับ” คำตอบของธัญลักษณ์สะท้อนถึงความเปิดกว้างของ NFT
>>> โลกของ Let’s
หลังจากเต็มอิ่มกับการพูดคุยเรื่อง NFT แล้ว ถามถึง Let's Comic บ้างว่ามีความคืบหน้าหรือวางแผนงาน แผนการตลาด และมีผลงานใดที่รอตีพิมพ์ในห้วงสถานการณ์ของสิ่งพิมพ์ไทยที่ตกอยู่ในภาวะวิกฤติมานานปี แต่ทว่า สำนักพิมพ์การ์ตูนไทยแห่งนี้ก็ยังยืนหยัดมายาวนานข้ามทศวรรษ และนับแต่เล่มแรกจวบจนถึงปัจจุบันนี้ ผ่านมากี่ปีแล้ว
ธัญลักษณ์ตอบว่า “เริ่มวางแผงครั้งแรกปี 2008 เดือนตุลาคม เป็นเล่มแรกที่เปิดขายอย่างเป็นทางการ ตอนนี้ใกล้เดือนตุลาคม 2021 แล้ว รวมระยะเวลา 13 ปีครับ”
ถามว่า ปัจจุบันนักเขียน Let's Comic 70% ไปขายใน NFT แต่ก็ยังสร้างงานให้ Let's Comic ใช่หรือไม่ ช่วงที่ผ่านมา นับแต่ทำ Let's Comic มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง ธัญลักษณ์ตอบว่า ยุคแรกสุด เรียกว่าเป็นยุคนิตยสาร เราทำนิตยสารไปอยู่บนแผงกันได้ มีนิตยสารมากมาย ในประเทศไทย ช่วงนั้น กินระยะเวลา 1-1ปีครึ่ง เป็นช่วงที่นิตยสารในไทย อยู่ได้ด้วยสปอนเซอร์ ซึ่งช่วงแรกๆ ที่มีสปอนเซอร์ เราก็อยู่กันได้ แต่เมื่อสปอนเซอร์เริ่มหายเราก็ปรับตัว ย้ายแพลตฟอร์มไปเป็น Bookazine (บุ๊คกาซีน-นิตยสารขนาดเท่าพ็อกเก็ตบุ๊ค) ร่วมกับอมรินทร์สำนักพิมพ์ ร่วมกับร้านหนังสือนายอินทร์ และซีเอ็ด เราก็ย้ายไปอยู่บนร้านหนังสือ ช่วงแรกๆ ก็ไม่มีพวกหนังสือการ์ตูนไปอยู่บนนั้นสักเท่าไหร่ นั่นเป็นช่วงปีที่ 2 ของ Let's Comic ประมาณปี 2010 ช่วงนั้นเรารู้สึกแฮปปี้ ที่เราทำหนังสือได้ โดยที่เราไม่ต้องไปพึ่งค่าโฆษณา อยู่ด้วยยอดขาย
“ช่วงเวลานั้น Let's Comic ก็เริ่มเติบโต มีกำไร มีการทำรวมเล่มของนักเขียนออกมา เป็นเวลา ราวๆ สัก 27 เล่ม เฉพาะนิตยสาร เป็นเวลา 13 เดือน และจากนั้นอีก 2-3 ปี ก็เข้าสู่ยุควิกฤติสิ่งพิมพ์ ยุคที่สิ่งพิมพ์เริ่มที่จะมีปัญหา ตอนนั้นมีนิตยสาร Boom ( บูม หนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ เจ้าของคือสำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ ) ประกาศปิดตัวเป็นเจ้าแรก วงการหนังสือก็เริ่มแตกตื่นว่าคนจะย้ายไปอ่าน E-BOOK กันไหม แต่ตอนนั้น ทางสำนักพิมพ์เอง ก็ยังไม่มีปัญหาอะไร เพียงแค่ว่าเราเองก็เริ่มรู้สึกว่าต้องปรับเปลี่ยนอะไรบ้างแล้ว เราก็เลยปรับให้นิตยสารมีลักษณะของความเป็นพ็อกเก็ตบุ๊คมากขึ้น เป็นฉบับที่มีคอนเซ็ปต์ชัดเจนในแต่ละเล่ม ลดความเป็นแม็กกาซีนลง วางราย 3 เดือน
“ก็ทำมาได้อีกเรื่อยๆ ประมาณ 2-3 ปี เป็นยุคปลายๆ ของสิ่งพิมพ์แล้ว เป็นยุคที่งานมหกรรมหนังสือกำลังจะย้ายที่จัด ตอนนั้น Let's Comicเองกำลังจะครบรอบสิบปี ผมก็คุยกับทางนักเขียน และผู้ใหญ่ว่า เราจะทำ Let's Magazine ฉบับเท่าบุ๊คกาซีนเป็นฉบับสุดท้ายแล้ว หลังจากนี้ เราจะไม่ได้กำหนดแล้ว ว่าเราจะออกเมื่อไหร่ จะออกตามวาระ วาระแรกก็ออกมาเมื่อประมาณ 3 ปี ที่แล้ว ก่อนวิกฤติโควิด-19 โควิดหนึ่งปีส่วนใหญ่ผมจะวางคร่าวๆ ว่าปีนี้อาจจะออกสัก 4-6 เล่ม แล้วเราเองตอนนั้น ไปเน้นคอนเทนต์ออนไลน์มากขึ้น ทำเพจ ทำไลฟ์
>>> Let's Comic ในวันนี้และวันหน้า
ถามว่า ปัจจุบัน Let's Comic ก็ยังยืนหยัด ยืนยง ธัญลักษณ์ตอบว่า “ผมมองว่า ในปัจจุบัน หนังสือเท่าที่เห็นเป็นฮาวทู ( How-to ) กันซะเป็นส่วนมาก เนื่องจากมองยอดขายแล้ว รู้สึกว่าหนังสือฮาวทู ยังมียอดขายที่ดี ผมก็ออกไลน์ของหนังสือฮาวทู เพิ่งออกไปเมื่อเดือนก่อน และก่อนหน้านั้น ก็ออกไป 2-3 เล่ม เป็นหนังสือในเครือ Let's Comic และนักเขียนของ Let's Comic เช่น สอนวาดฉาก สอนทำ 3D ใช้ชื่อ Let's สอนแนะนำเทคนิคการวาดภาพเพราะฐานแฟนผู้อ่านของเราก็เป็นคนที่ชอบวาดภาพอยู่แล้วด้วย ก็คิดว่าเป็นอะไรที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย” ธัญลักษณ์ระบุ
ถามว่า เข้าสู่ปีที 13 ประเมินไว้ว่าจะทำอย่างไรกับ Let's Comic บ้าง
ธัญลักษณ์ตอบว่า ณ ตอนนี้ ผมมีโปรเจ็กต์สำคัญคือ เป็นเล่มของผมเอง เป็น เล่มสุดท้ายของชุด คือผมวาดไว้ 3 เล่มจบ ออกไปแล้ว 2 เล่ม เล่มจบจะออกในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ ซึ่งเป็นงานที่หนักเหมือนกัน มันเป็นซีรี่ยส์ มีรายละอียดเยอะ และช่วงนี้ ภรรยาผมก็ตั้งท้องด้วย หลังจากนี้ ก็ต้องมองรูปแบบการทำงาน ที่อาจไม่ได้บู๊เหมือนก่อน
ในส่วนของหนังสือ ผมรู้สึกว่า มันยังไม่มีตัวแทนที่ชัดเจน มีคนถามว่า ทำไมไม่ไปทำอีบุ๊คหรือทำเว็บตูน ผมเองยังคุยกับทางผู้ใหญ่และภรรยาว่า มันยังไม่ใช่ทางออก อีบุ๊คหรือเว็บตูน มันอาจยังไม่ได้เป็นหมุดหมายใหม่ของวงการนี้ที่ชัดเจนนัก น่าจะต้องมีการพัฒนาอะไรอีกพอสมควร บางที NFT อาจยังดูมีหวังกว่าในแง่ของตัวเลข
เมื่อถามว่า หนังสือของธัญลักษณ์ ชือเรื่องอะไร ธัญลักษณ์ตอบว่า “ชื่ออาจจะดูรุนแรงหน่อยครับ ชื่อ ‘จุดจบของบรรณาธิการครับ’ จริงๆ มันเป็นซีรีย์ส 3 เล่มครับ เล่มแรกชื่อ ‘คำสารภาพของบรรณาธิการ’ เล่มที่ 2 ชื่อ ‘การเดินทางของบรรณาธิการ’ เล่มก่อนหน้า ‘การเดินทางของบรรณาธิการ’ เล่มที่สองในชุดนี้เพิ่งได้รางวัลเซเว่นบุ๊คอะวอร์ดปีล่าสุด เนื้อหา จริงๆ แล้ว ผมแค่ตั้งชื่อนี้ เพราะเป็นการเอาตัวเองมาเป็นตัวละคร แต่ถามว่า มันเจาะลึกหรือกล่าวถึงวงการสิ่งพิมพ์ไหม ก็ไม่ถึงขนาดนั้นครับ”ธัญลักษณ์ระบุถึงผลงานตนเอง
ถามว่า หน้ากากที่เป็นเอกลักษณ์ของธัญลักษณ์หรือ บ.ก.ซัน มีที่มาอย่างไร
ธัญลักษณ์ตอบว่า มีของจริงอยู่ที่ออฟฟิศ เป็นโลโก้บริษัท ต้องให้เครดิตนักวาดการ์ตูน คือ ‘เดอะดวง’ ด้วย เพราะดวงก็มาช่วยออกแบบด้วยในตอนนั้น
“พอดีช่วงนั้นจะมี Let's Comic ฉบับครบรอบสิบปี คือ จริงๆ ผมตั้งใจจะวาดตัวเอง แต่วาดยังไงก็ไม่ลงตัวสักที จนท้ายๆ ผมออกแบบไว้หลายตัว เจ้าดวงก็มาแนะๆ ว่าทำไมไม่เอาตัวนี้ ก็กลายมาเป็นที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน” ธัญลักษณ์ระบุถึงที่มาหน้ากากอันเป็นเอกลักษณ์
ถามว่ามองไปถึงอนาคตของ Let's Comic ปีที่ 14 แล้วหรือยัง
ธัญลักษณ์ตอบว่า “เอาจริงๆ สิ่งที่ผมอยากทำคือ พอผมเห็นว่านักเขียนขาย NFT กันจนรวยแล้ว ก็อยากชวนเขากลับมาทำอะไรสนุกๆ กัน เพราะเห็นเขาก็บ่นๆ ว่าอยากกลับมาทำแบบอารมณ์เก่าๆ” ธัญลักษณ์หรือ ‘บ.ก.ซัน’ ทิ้งท้ายถึงสิ่งที่ตั้งใจไว้ สะท้อนถึงมิตรภาพและความผูกพันที่ทั้งนักเขียนและ บ.ก.มีให้แก่กัน…ไม่ว่าในโลกของ Let' หรือโลกของ NFT
..................................................
Text by รพีพรรณ สายัณห์ตระกูล
Photo by ภาพผลงาน ‘ธัญลักษณ์ เตชศรีสุธี’ หรือ ‘บ.ก.ซัน’ และผลงานศิลปินท่านอื่นๆ จาก Facebook Group ‘NFT and Crypto Art Thailand’
NFT ย่อมาจากคำว่า Non Fungible Token แปลเป็นไทยก็คือ ‘สิ่งที่ไม่สามารถแลกเปลี่ยนและทดแทนได้ เป็นสิ่งที่มีแค่ชิ้นเดียวเท่านั้น’ ขณะที่ Fungible Token คือสิ่งที่สามารถแลกเปลี่ยนและทดแทนกันได้ โดยในโลกดิจิทัล Fungible Token หมายถึงพวกเหรียญ Cryptocurrency ต่าง ๆ โดยปัจจุบัน ในเมืองไทย เหรียญที่ใช้ซื้องานศิลปะ NFT เป็นหลักคือ Ethereum
การซื้อขาย NFT ในโลกดิจิทัลที่ได้รับความนิยมอย่างสูงยิ่งในเวลานี้ โดยเฉพาะงานศิลปะ มีกระบวนการซื้อขายอย่างไร และคนในวงการ NFT มองอย่างไร เมื่อ ‘ประวัติศาสตร์’ หน้าใหม่เกิดขึ้นแล้ว โดยผู้ที่ใช้ชื่อ IPUTSA ขายภาพ THE INVITATION ได้ในราคาสูงถึง 11 Ethereum หรือ 1 ล้าน 1 แสนบาท
‘ผู้จัดการออนไลน์’ สัมภาษณ์พิเศษ ‘ธัญลักษณ์ เตชศรีสุธี’ หรือ ‘บ.ก.ซัน’ บรรณาธิการสำนักพิมพ์การ์ตูนไทย Let's Comic ที่ไม่เพียงเป็นผู้กุมบังเหียน นำพานิตยสารการ์ตูนไทยที่รวบรวมศิลปินและเหล่านักวาดจำนวนมาก ให้ก้าวข้ามผ่านทศวรรษมาได้อย่างน่าชื่นชม ธัญลักษณ์ หรือ ‘บ.ก.ซัน’ ยังเป็นหนึ่งในศิลปินที่ร่วมขาย NFT อีกด้วย ไม่ว่าคอลเลกชั่นมนุษย์ปลา, EVERYTHING CAN BE SUPERHEROES และงานอื่นๆ ของเขา ล้วนได้รับความสนใจจากนักสะสมชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นจำนวนไม่น้อย
มุมมองที่ ‘บ.ก.ซัน’ มีต่อกระแส NFT ในไทยจึงน่าสนใจ ทั้งในฐานะบรรณาธิการมากประสบการณ์ และในฐานะน้องใหม่แห่งโลก NFT โดยบอกเล่ากระบวนการ ขั้นตอนต่างๆ ในการซื้อขาย รวมทั้งข้อชี้แนะซึ่งสะท้อนความห่วงใยต่อผู้ที่ก้าวเข้าสู่โลก NFT ใหม่หมาดพร้อมกับความคาดหวังสูงลิบ ขณะเดียวกัน ก็ประเมินประวัติศาตร์น่าใหม่ของวงการ NFT เมืองไทยว่างาน THE INVITATION ที่ขายได้ในราคาสูงถึง 11 Ethereum หรือ 1 ล้าน 1 แสนบาท นั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และเป็นไปได้สูงที่นักสะสมมีความชื่นชอบงานอย่างแท้จริง เนื่องจากตัวงานมีรายละเอียดสมราคา
ครั้นกล่าวถึงนักเขียน Let's Comic ธัญลักษณ์บอกกล่าวว่าขณะนี้พวกเขาเหล่านั้นเข้ามาโลดแล่นอยู่ในโลกของ NFT ไม่น้อยกว่า 80% โดยมีการจับกลุ่มที่พูดคุยกันเกียวกับ NFT กันตลอด และไม่แน่ว่าในปีที่ 14 ของ Let's Comic ธัญลักษณ์บอกว่าอาจชวนนักเขียนเหล่านี้มาสร้างโปรเจ็กต์งานสนุกๆ ด้วยกัน ขณะที่ Let's Comic เอง ก็จะยังคงยืนหยัดผลิตสู่นักอ่านที่ติดตามรอคอยพร้อมกับการปรับตัวที่ทำให้หนังสือยังดำรงอยู่ได้ โดยในเดือนตุลาคมปีนี้เป็นปีที่ Let's Comic ก้าวสู่ปีที่ 13
ถึงแม้ NFT คือเทคโนโลยีที่เข้ามาเป็นส่วนสำคัญของชีวิต ทำให้งานบรรณาธิการหนังสือและการวาดการ์ตูนในแบบดั้งเดิมลดลง จนอาจสะท้อนถึงโลกสิ่งพิมพ์ที่นับวันค่อยๆ เลือนหาย ทว่า Let's Comic ก็ยังทรงคุณค่า เปี่ยมความหมาย และยังคงมีลมหายใจในการสู้ต่อ อีกทั้งมีศิลปินในสังกัดอีกมากที่พร้อมจะก้าวเดินไปด้วยกัน ถ้อยความนับจากนี้ คือทัศนะของ ธัญลักษณ์ ที่ประเมินโลกคู่ขนานทั้ง NFT และงานในโลกสิ่งพิมพ์ได้อย่างน่าสนใจ
>>> กระแส NFT
ถามว่ามองกระแสของ NFT ในปัจจุบันอย่างไร และความน่าสนใจอยู่ตรงไหน ธัญลักษณ์ตอบว่า เมื่อเอ่ยถึง NFT ทีมันอาจจะฟังดูยากและซับซ้อน แต่เท่าที่ลองเล่นเองด้วยและศึกษาดูเอง พบว่ามันไม่มีอะไรมากไปกว่าการที่เหมือนกับว่าเรานำเอาไฟล์อะไรก็ตามไปแปลงเป็นเหรียญเป็น Token (โทเคน) หรือเป็นการนำเอาไฟล์มาแปลงขายลงบนเว็บไซต์นั่นเอง โดยที่อาจจะมีข้อดีคือ มีระบบเซิร์ฟเวอร์ที่คอยตรวจสอบได้ว่าเราขายไปเมื่อไหร่ ยังไง
“มีเซิร์ฟเวอร์ที่บริหารงานผ่าน blockchain ซึ่งก่อนหน้านี้ เราอาจจะเคยได้ยินคนบอกกันมาว่ามันยอดเยี่ยมถึงขั้นไม่มีการทำซ้ำได้ ลิขสิทธิ์ต่างๆ จะตรวจสอบได้หมด แต่ผมว่าไม่ได้เยี่ยมอะไรขนาดนั้น เพราะล่าสุดก็มีการก๊อบปี้งานกันมากมาย” ธัญลักษณ์ระบุ
ถามว่า ตัวอย่างเช่น THE DUANG ‘เดอะดวง’ นักเขียนการ์ตูนรายหนึ่งของ Let's Comic ที่ขายผลงานผ่าน NFT ก็ถูกก๊อบปี้งานใช่หรือไม่ ธัญลักษณ์ ตอบว่า “ใช่ครับ ระบบนี้ไม่ได้ถึงขั้นจะสกรีนได้ 100% ขนาดนั้น มันเป็นแค่ช่องทางที่ช่วยให้ซื้อขายบน blockchain ได้”
>>> NFT ซื้อขายกันอย่างไร
เมื่อขอให้ช่วยเล่าถึงกระบวนการขายงานในรูปแบบ NFTทำงานกับเหรียญ กับโทเคนยังไง ต้องซื้อขายงานกันอย่างไร ธัญลักษณ์ตอบว่า “ตัวสกุลเงินที่ใช้ผ่าน NFT เป็นหลักคือ Ethereum (อีเธอเรียม) หรือ ETH ซึ่งก็เป็นสกุลเงินที่แยกย่อยออกมาจากบิทคอยน์อีกทีครับผม ส่วนการซื้อขาย จริงๆ แล้ว มันก็เหมือนการซื้อขายด้วยเงินจริง เช่น สมมติว่าผมจะซื้อภาพถ่าย หรือวาดรูป แล้วผมไปจ่ายเงิน โอนเงินให้เพื่อน แบบนี้ก็ได้ เพียงแต่ว่าคนยุคนี้อาจจะไม่ทำแบบนั้น เพราะมันเสี่ยง มันก็เลยมีระบบ blockchain ขึ้นมา
“เหมือนเราซื้อขาย ผ่าน Shopee น่ะครับ เช่น ถ้าเราโอนเงินไปแล้ว ภาพวาดของเราจึงจะไปถึงคนรับ ซึ่งมันก็เป็นตัวป้องกันได้ดีในเรื่องของการทำธุรกรรม ซึ่งเป็นหน้าที่ของ cryptocurrency ที่เข้ามาทำตรงนี้ เหมือนกับว่า มันช่วยทำให้เราแทบจะไม่มีความเสี่ยงเลยในแง่ของการซื้อขาย เหมือนกับว่าเราซื้อ Shopee เรารับของ แล้วเรากดรับ เราก็จะเสียเงิน มันมีความแฟร์กับทั้งคนซื้อแล้วก็คนขาย เป็นระบบที่ผมเรียกว่า มันถูกโปรแกรมเมอร์ใช้ข้อโอกาส ใช้ทรัพยากรพวกเหรียญเอามาดัดแปลง ซึ่งก่อนหน้านี้มันก็ถูกดัดแปลง แต่มันเพิ่งมาลงตัวในยุคนี้ ซึ่งก็ยังมีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ ซึ่ง Ethereum เองช่วง ต้นปี จนถึงกลางปีนี้ก็มาฮิตเรื่องของเกม เล่นเกมแล้วได้เงิน โปรแกรมเมอร์เขาพัฒนาให้ซื้อขายไอเทมในเกมได้ โดยที่ไม่ต้องเสี่ยงเหมือนยุคที่เราเล่นเกม Ragnarok ที่เราต้องไปนัดเจอกัน แล้วโอนเงินกัน ทุกวันนี้ ก็สามารถทำได้โดยใช้คริปโตเคอร์เรนซี่เข้ามาช่วย เปรียบเหมือนมีโปรแกรมที่ทำให้เราซื้อขายได้ โดยไม่มีใครเสียเปรียบ” ธัญลักษณ์ระบุ
ถามว่า Ethereum มีราคาอยู่ที่ประมาณกี่บาทในตอนนี้
ธัญลักษณ์ตอบว่า ตอนนี้ 1 อีเธอเรียมอยู่ที่ประมาณ 106,740 บาท (หนึ่งแสนหกพันเจ็ดร้อยสี่สิบบาท) แต่ราคาก็ขึ้นๆ ลงๆ เช่นก่อนหน้านี้ก็อยู่ประมาณแสนสองหมื่นบาท
ถามว่า อะไรทำให้ Ethereum เป็นสกุลที่มีมูลค่า
ธัญลักษณ์ตอบว่า “ความจริงผมว่าการที่ Ethereum มันมีมูลค่า เพราะว่ามันเป็นสกุลที่พลิกแพลงได้เยอะ มีคนใช้งานเยอะ เช่น คนทำเกมก็ใช้ Ethereum คนทำ NFT ก็ใช้ Ethereum ขณะที่บิทคอยน์ จะใช้ในการ Trade (เทรด) ซะเยอะ แต่ต้องออกตัวก่อนว่า ผมไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องคริปโตเคอร์เรนซี่มากนัก เพียงแต่ผมเคยลงทุน เคยศึกษามาบ้าง” ธัญลักษณ์บอกเล่าถึงข้อมูลเท่าที่มี
>>> เมื่ออยากขายงานศิลป์ผ่าน NFT
ถามว่า เมื่อมีคนสนใจ NFT แล้ว เขาจะเข้าสู่กระบวนการขาย ต้องทำอย่างไรบ้าง
ธัญลักษณ์ตอบว่า “ ข้อ 1. คือ ต้องมี กระเป๋าเงิน หรือ wallet (วอลเล็ต) สำหรับใส่ตัวเหรียญที่เราจะใช้ ซึ่งคนทั้วไปก็มักจะใช้ metamask wallet กัน เพราะเป็นกระเป๋าเงินฟรี แต่ก็แลกมาด้วยการที่ต้องระวังเรื่องการถูกแฮ็ก ข้อ 2. หาเว็บไซต์แลกเปลี่ยน คือเนื่องจากตัวกระเป๋าเงินนี้ ในเมืองไทย ยังไม่สามารถหาซื้อเหรียญเข้าไปได้โดยตรง เราต้องไปหาเว็บไซต์แลกเปลี่ยน หรือแอปพลิเคชั่นแลกเปลี่ยน ว่าจะเอาเงินเราเข้ามาใช้ในโลกของคริปโตเคอร์เรนซี่ยังไง ที่ฮิตๆ กันก็จะมี Binance ที่ฮิตที่สุด รองลงมาก็เป็นของคนไทย เช่น Bitkub (บิทคัพ) ที่ฮิตรองลงมา
“ข้อ 3. เราก็ไปซื้อเหรียญ จะแลกปลี่ยนกับคนหรือแลกเปลี่ยนผ่านเว็บไซต์ก็แล้วแต่ความถนัด ซึ่งขั้นตอนนี้จะยุ่งยากสำหรับคนที่เพิ่งลงมาเล่นใหม่ๆ เพราะว่าเหรียญแต่ละเหรียญ ยกตัวอย่างเช่น หากเราจะใช้ Ethereum โดยเราจะไปซื้อผ่านเว็บไซต์นั้น มันก็เปรียบเหมือนการเดินทางผ่านคนละประเทศ เงินสกุลนี้ใช้กับที่นี่ไม่ได้ บางทีเราซื้อมาแล้วไปซื้อผิดที่ ก็ทำให้เราต้องไปเสียค่าธุรกรรมใหม่ครับ ซึ่งข้อเสียอย่างหนึ่ง ของพวกคริปโตเคอร์เรนซี่ คือ มันมีค่าธุรกรรมค่อนข้างสูง เพราะว่า ค่าธุรกรรมจะถูกส่งไปให้กับคนที่เขาขุดเหรียญ ซึ่งเรียกกันว่าค่า แก๊ส (Gas Fee) ถ้าเปรียบเทียบคือค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายในการทำธุรกรรมใดๆ ในคริปโตเคอร์เรนซี่ ทำให้ทุกๆ ครั้งที่เราทำอะไรพลาดเราก็จะเสียเงิน
“ข้อ 4. เมื่อเราได้เหรียญมาแล้ว เอาประเภทที่เราต้องการใช้ คือ ETH หรือ Ethereum มาใช้ ก็ต้องมาดูกันว่าเราจะเอางานของเราไปขายที่ไหน ซึ่งที่ฮิตๆ กัน ก็จะมีอยู่สองที่ คือที่ OpenSea (ตลาดซื้อขายผลงานศิลปะและของสะสมดิจิทัลรูปแบบ NFT (non-fungible token) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก) และ Foundation”
ธัญลักษณ์ระบุและกล่าวเพิ่มเติมว่า วิธีการเลือกเว็บไซต์ที่เหมาะกับเราคือ เทียบกันอย่างง่ายๆ ที่โอเพ่นซี อาจเปรียบได้กับบิ๊กซี แล้วที่ฟาวเดชั่น เปรียบเหมือนสยามพารากอน ที่โอเพ่นซี ค่าเช่าก็จะถูก จ่ายครั้งแรกทีเดียวจบ เปรียบเหมือนค่าตั้งแผงขายสินค้าจะมีราคาถูก เน้นของถูก ขายถูก ขายเยอะ ขณะที่ฟาวเดชั่นราคาแพง จะต้องจ่ายทุกครั้งที่ลงของ ในขณะที่ การขายของแต่ละชิ้นก็มีราคาสูง
“แต่ผมมาเปรียบเทียบดูก็ไม่เสมอไป เพราะเพื่อนนักวาดของผมหลายๆ คน ก็ขายงานราคาสูงๆ ได้ที่โอเพ่นซี เหมือนกัน ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับฝีมือและจังหวะด้วยครับผม” ธัญลักษณ์เน้นย้ำ
ถามว่า ธัญลักษณ์เล่น NFT มานานแค่ไหนแล้ว เห็นกระแสอะไรบ้าง ธัญลักษณ์ตอบว่า “เรียกผมว่าเป็นมือใหม่ก็ว่าได้ ผมเพิ่งเล่นมาได้ไม่นานครับ กระแสที่เห็น ผมแบ่งเป็นตอนที่ผมมาใหม่ๆ ถึงปัจจุบันก็แล้วกัน ช่วงที่ผมเล่นใหม่ๆ มันเลยจุดบูมมานิดหนึ่งแล้ว ผมเองก็ไม่ได้เป็นนักวาดหรือ ศิลปินเต็มตัว ต้องรอความมั่นใจ ก่อนที่จะลงงานไป ไม่เหมือนนักเขียน นักวาดที่เขาเป็นศิลปินเต็มตัว ผมก็จะช้ากว่านักเขียนที่เป็นมืออาชีพ เมื่อลงงานไป คือ ตามหลังกระแส แต่ก็ยังขายได้บ้าง อยู่ในกลุ่มที่พอจะมีคนรู้จัก ยอดขายก็ประมาณกลางๆ แต่ถ้าเทียบกับนักเขียนอาชีพ เราเทียบไม่ได้ แต่ถามว่าน่าพอใจไหม ผมก็มองว่าน่าพอใจ
“ช่วงถัดมา สิ่งที่ยากสำหรับการขายงานคือ ทำยังไงให้เกิด second sale คือ งานเราถูกนำไปขายต่อในราคาที่สูงขึ้นได้ อันนี้ ถ้าใครทำได้ จะก้าวไปอยู่อีกระดับหนึ่งเลยครับ” ธัญลักษณ์บอกเล่าประสบการณ์การขาย NFT
เมื่อถามว่า หากเกิด second sale ตัวศิลปินจะได้อะไร
ธัญลักษณ์ตอบว่า คนที่ซื้อไปเอาแล้วงานเราไปขาย เราจะได้เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการตั้งเปอร์เซ็นต์ขึ้นอยู่กับแต่ละเว็บไซต์ เช่น โอเพ่นซี เราสามารถตั้งได้เลย ว่าเราจะได้กี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่วนใหญ่จะตั้งกันที่ 10% ส่วนฟาวเดชั่น ถ้าจำไม่ผิดจะบังคับว่าให้อยู่ที่ 10%
>>> ศิลปินชาว Let's ในโลกของ NFT
ถามว่า ศิลปินของ Let's Comic เรียกได้ว่าฝีไม้ลายมือดีๆ ทั้งนั้น พวกเขาเข้ามาอยู่ในโลกของการขาย NFT มากน้อยแค่ไหน ธัญลักษณ์ตอบว่า “ผมมองว่า เกือบๆ 70% ส่วนใหญ่ถ้าเป็นศิลปินที่มีแฟนคลับ มีความพร้อม มีคอมพ์ใช้ มีฐานผู้ติดตามในโลกโซเชียล เขาก็จะพร้อมที่จะเข้ามา แต่ศิลปินของ Let's บางท่านอาจจะยังไม่พร้อม เช่น อยู่ต่างจังหวัด บางท่านอาจจะ low tech ก็ยังไม่เข้ามา แบบนี้ก็อาจมีบ้าง”
ถามว่า ในมุมมอง ของธัญลักษณ์ วงการ NFTระดับโลก เป็นยังไงบ้าง ธัญลักษณ์ตอบว่า NFT มันคือระดับโลกในตัวเองอยู่แล้ว นี่นับเป็นข้อดีของวงการนี้ คือ มันไม่มีขอบเขตเรื่องชนชั้น ทำให้ตลาดมันใหญ่มาก ทำให้นักวาดไทยค่อนข้างได้เปรียบ เพราะคุณภาพงานของนักวาดไทยเมื่อเทียบกับราคาแล้ว ราคาค่อนข้างต่ำกว่ามาตรฐานโลกไปเยอะทั้งที่มีคุณภาพงานสูง ดังนั้น เมื่อมาอยู่ NFT เราเลยเห็นได้ชัดว่า ศิลปินไทยมีมาตรฐานงานที่สูง และราคางานที่ต่ำอย่างเห็นได้ชัด
>>> ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ THE INVITATION @IPUTSA ราคา 11 Ethereum
เมื่อถามถึงประเด็นที่ภาพ THE INVITATION โดย @IPUTSA ขายได้ 1 ล้าน 1 แสนบาท หรือ 11 Ethereum คิดว่าเป็นเพราะอะไร ธัญลักษณ์ตอบว่า เกินความคาดหมายเหมือนกัน เพราะไม่คิดว่าจะมีภาพไหนขึ้นมาได้หลักสิบ Ethereum
“ผมว่าราคา ขนาดนั้น ก็ไม่น่าจะมาจากการเก็งกำไรแล้วมั้ง น่าจะมาจากความชอบจริงๆ ผมเข้าไปดูแล้ว คนซื้อเป็นคนไทยด้วย คงมาจากความชอบจริงๆ โดยส่วนตัว ผมมองว่าตัวงานโอเคเลย มีความสมราคา มีความตั้งใจ มีดีเทล แต่การจะไปถึงขนาดนี้ ไม่ใช่ด้วยตัวงานอย่างเดียว มันมีจังหวะของมันด้วย แต่ให้วิเคราะห์นี่ยากจริงๆ เพราะผมเองก็ไม่คิดว่าจะไปถึงขนาดนั้น”
ถามว่า เกิดจากการประมูลด้วยใช่หรือไม่ ธัญลักษณ์ตอบว่า “ใช่ครับ เกิดจากการประมูล ในวงการเรียก Bid War เมื่อไหร่ที่มีบิดวอร์ ราคาของงานก็จะไปสูง เหมือนกับมีเรื่องของศักดิ์ศรีเข้ามา ว่าใครจะได้ไป”
ถามว่าการเปิด Bid War ขึ้นอยู่กับอะไร
ธัญลักษณ์ตอบว่า “การ Bid จะจำกัดเวลาไว้ที่ 24 ชั่วโมง ในช่วงท้ายๆ เท่าที่ผมจำได้จะมีการเพิ่มเวลาให้ถ้ามีการ Bid War แต่อันนี้ผมไม่แน่ใจ เพราะตอนผมขายถ้าไม่มีใครมาบิดเพิ่มมันก็จบที่ราคานั้นเลย นั่นแหละครับ ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ ที่จะเห็นราคาระดับนี้ ก็ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ไปเลย”ธัญลักษณ์ระบุและกล่าวเพิ่มเติมว่า ในวงการ NFT art ฮือฮาพอสมควรกับกรณีนี้ ผมยังไม่เคยเห็นเลยราคาระดับนี้”
ถามว่า เรื่อง Bid War นี้ศิลปินทุกคนที่ขายงาน NFT ต้องเปิด Bid ไหม ธัญลักษณ์ตอบว่า “ถ้าเป็นเว็บฟาวเดชั่น จะบังคับให้เปิด Bid แต่ถ้าโอเพ่นซี เราจะเลือกได้ ว่าจะเปิดบิดหรือไม่”ธัญลักษณ์ระบุ
>>> ความเปิดกว้างของ NFT
ถามว่า NFT ครอบคลุมเฉพาะศิลปะเท่านั้นหรือไม่ ธัญลักษณ์ตอบว่า เท่าที่ผมเห็นตอนนี้ ก็จะมีดนตรี มีคนเอางานเขียนมาลงผมก็เคยเห็นนะ แต่หลักๆ ก็ภาพวาด ภาพเคลื่อนไหว ยังเป็นสัดส่วนที่เยอะที่สุด
ถามว่า คนซื้องานของคุณ เป็นคนไทยหรือต่างชาติ ธัญลักษณ์ตอบว่า “ปนๆ กันครับ ช่วงแรกๆ ที่ผมลงงานขาย จะเป็นคนไทย 70%-80%เลยที่ซื้อ เพราะอาจด้วยความที่ผมทำหนังสือ ทำสำนักพิมพ์มาก็อาจจะพอมีคนรู้จักอยู่บ้าง แต่พอมาพักหลังๆ ช่วงที่ค่าแก๊ส ( Gas Fee ) เริ่มแพง คนไทย ซื้อไม่ไหว ก็เป็นฝรั่งที่เข้ามาซื้อ เป็นชาวต่างชาติ ซึ่งเมื่อเขาซื้อ เราก็จะตามไปคุย ไปดูว่าเขาเป็นชาวอะไร ชาติอะไร” ธัญลักษณบอกเล่าประสบการณ์ขายงาน
ถามว่า ศิลปินไทย ฝีมือดีๆ เข้ามาขายงาน NFT เยอะมาก เพราะอะไร ธัญลักษณ์ตอบว่า เพราะมันคุ้มค่ามากๆ คุ้มค่ากว่าค่าแรงที่เขาเคยได้ในประเทศเรา
ถามว่า ถ้าเปรียบงานที่ธัญลักษณ์ขาย เป็นเงินไทย ราคา อยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ธัญลักษณ์ตอบว่า “ของผม น่าจะยังไม่ถึงแสนบาทนะ อยู่ที่สักประมาณเกือบๆ แสนบาทครับ”
ถามถึงคอลเลกชั่นชุดมนุษย์ปลา ว่าขายไปในเท่าไหร่
ธัญลักษณ์ตอบว่า “ชุดนั้น มนุษย์ปลา ราคาไม่สูงมาก ราวๆ 7,000-8,000 บาท แต่ผมจะมีคอลเลกชั่นอื่นด้วย ผมมี สามคอลเลกชั่น ขายรวมๆ กัน ก็ได้เกือบแสนบาทครับ มีคอลเล็คชั่นหลังๆ ที่ผมขายราคาต่อชิ้นสูงขึ้นจากเดิมมากด้วย เลยทำให้รวม 3 คอลเลกชั่น ก็ราวๆ 70,000 บาท ในเวลา เดือนเศษๆ ครับ
“งานที่ผมขายก็มีตัวการ์ตูนที่เป็นหุ่นยนตร์ขี่ปลาเหล็ก มีคอลเลกชั่นฮีโร่อะไรก็ได้ (EVERYTHING CAN BE SUPERHEROES) อันนี้ยอดขายสูงสุด เพราะปริมาณที่ลงขายสูงสุด และเป็นอันแรกที่เอาลงขาย แล้วก็มีงานวาดเล่น คือเป็นงานที่ผมเคยวาดเพื่อเอาไปลงหน้าบรรณาธิการ เอาไปลงเฉยๆ ไม่เคยคิดว่ามันจะเอามาสร้างรายได้อะไร แล้วผมก็เห็นว่ามันเยอะ ก็เอามาขาย ไม่คิดว่าจะขายได้ แต่มันก็ขายได้ราคาสูงด้วย ชิ้นละ 7,000-8,000 บาทครับ” ธัญลักษณ์บอกเล่าถึงรายละเอียดของราคางานที่ขาย
ถามถึง กระบวนการในการแลก Ethereum เป็นเงิน ทำอย่างไร ธัญลักษณ์ตอบว่า อันดับแรก เมื่อได้เหรียญ Ethereum ก็นำไปแลกบนเว็บไซต์ เช่น ถ้าเป็นของคนไทย ก็มีอย่าง Bitkub ที่อาจจะผูกกับบัญชีธนาคารได้เลย น่าจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเว็บ Binance ของต่างชาติ ก็ต้องเอาไปแลกกับคนที่เขาเอาเหรียญมาวางไว้ ซึ่งก็ต้องดูความน่าเชื่อถือ ดูว่าเขามีประวัติการแลกเปลี่ยนมานานแค่ไหน มีอะไรน่าสงสัยไหม ซึ่งเขาจะมีประวัติให้สามารถตรวจสอบได้อยู่แล้ว ซึ่งระบบค่อนข้างดี ไม่เสี่ยงอะไรมากมาย
>>> ข้อดี-ข้อเสีย ของ NFT
ถามว่า NFT จะช่วยพัฒนางานของศิลปินไทยไปในแง่ไหนบ้าง
ธัญลักษณ์ตอบว่า “ผมมองว่าอันดับแรก พัฒนาให้ศิลปินมีทักษะในแง่ของการประชาสัมพันธ์ เพราะการทำงาน NFT ขาย มันค่อนข้างต้องคิดเป็นระบบเบ็ดเสร็จในตัวศิลปินค่อนข้างสูง จะคิดคอนเซ็ปต์ยังไง จะขายยังไง เช่น ปกติแล้ว ศิลปินที่ผมเคยร่วมงานมาด้วย เขาจะเอาหน้าที่ตรงนี้ให้ ทางสำนักพิมพ์ หรือบรรณาธิการ เพราะเขาคิดว่า เขาวาดมาแล้ว คุณก็เอาไปทำการตลาดให้หน่อย วางขายให้หน่อย
แต่เมื่อ NFT เข้ามาปุ๊บ เขาต้องทำด้วยตัวเอง มีสกิลการขายของเก่งขึ้น นอกจากนี้ บางคนก็อาจมีเทคนิคแพรวแพราวขึ้น ทำภาพเคลื่อนไหวจากที่เมื่อก่อนไม่คิดจะทำภาพเคลื่อนไหว เพราะไม่ได้ตังค์ ก็พัฒนาขึ้น มีใส่เพลงเข้าไปในงานด้วย ซึ่งเมื่อก่อน แค่ให้วาดธรรมดายังขี้เกียจเลยครับ เหล่านี้เป็นส่วนดีที่มองเห็น ผมมองว่าอะไรก็ตาม พอมีเงินโยนเข้าไปมันก็วิ่งได้เหมือนเติมน้ำมัน
แต่มันก็มีข้อเสีย คือ หลังๆ มีมิจฉาชีพแฝงเข้ามา แล้วก็มีคนที่ตั้งใจเข้ามา NFT เพื่อจะเอาตังค์อย่างเดียว ก็อาจเกิดอาการฟูมฟาย และอาจจะมีเรื่องของคนที่ภูมิคุ้มกันไม่เข้มแข็งพอ เหมือนคนที่ไม่เคยผ่านการขายงานมาก่อน กึ่งๆ เหมือนคุณมาเปิดร้าน แล้วขายไม่ได้เลย ก็เสียสุขภาพจิตได้เหมือนกัน แต่ก่อน ผมมองว่า นักวาดศิลปะในไทย เขาทำเพราะได้ทำงานที่เขารัก เขาอาจไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจว่าเราต้องมาแบกรับทุกสิ่งทุกอย่าง ในการแข่งขันที่ชัดเจนขนาดนี้ เพราะเมื่อก่อนศิลปะไม่ได้มีการแข่งขันที่ชัดเจนขนาดนี้ ขณะที่เดี๋ยวนี้ มันขึ้นอยู่กับว่างานคุณขายได้ หรือขายไม่ได้ คือความกดดันมันแรงกว่ากันเยอะ
จริงๆ แล้วต่อให้เตรียมตัวเตรียมใจมาดีแล้ว พอมาเจอของจริงก็สะอึกเหมือนกัน มันไม่ใช่อะไรที่ใจเราจะนิ่งได้ขนาดนั้น ผมเองก็คิดเหมือนเขา บางทีจะลงเล่นๆ แต่ไปๆ มาๆ เราก็จริงจังโดยไม่รู้ตัวเหมือนกันนะ” ธัญลักษณ์ให้แง่คิดและมุมมองที่น่าสนใจของ NFT
>>> NFT ต้อนรับศิลปินหน้าใหม่เสมอ
ถามว่าแม้จะมีทั้งข้อดีข้อด้อย ถึงกระนั้น โลกของ NFT ก็ยังน่าสนใจ และพร้อมต้อนรับศิลปินหน้าใหม่เสมอ ธัญลักษณ์ตอบว่า “ใช่ครับ โอกาสที่จะได้รับกลับคืนมา มันสูงกว่าที่ลงไปมากๆ ทำให้มันได้รับความน่าสนใจมากๆ แต่ต้องดูว่า สิ่งที่เสียเยอะหน่อยคือ สุขภาพจิต ถ้าไม่ใช่คนที่มีปัญหาสุขภาพจิต จิตตกง่าย เป็นโรคซึมเศร้า ก็ลงมาเถอะครับ แต่ถ้าเป็นก็ผมว่าบางทีมันเป็นสิ่งสำคัญนะ เรื่องสุขภาพจิต
ถามว่า วาดงานมือ ไม่ใช่ดิจิตอลอาร์ต ก็สามารถลงขาย NFT ได้ใช่ไหม ธัญลักษณ์ตอบว่า “ใช่ครับ ผมเองงานชิ้นที่เป็นปลา ผมวาดมือหมดเลย ไม่ได้ใช้คอมพ์เลย แค่ใช้ตอนเอามาวาง Final แต่ไม่ใช้ในการวาดเลย ใช้สีมาร์คเกอร์ เหมือนเมจิค Copic ดินสอแล้วตัดเส้น เป็นงานมือทั้งหมดเลยครับ งานสีน้ำผมก็เห็นคนที่เอามาลงก็มีนะครับ” คำตอบของธัญลักษณ์สะท้อนถึงความเปิดกว้างของ NFT
>>> โลกของ Let’s
หลังจากเต็มอิ่มกับการพูดคุยเรื่อง NFT แล้ว ถามถึง Let's Comic บ้างว่ามีความคืบหน้าหรือวางแผนงาน แผนการตลาด และมีผลงานใดที่รอตีพิมพ์ในห้วงสถานการณ์ของสิ่งพิมพ์ไทยที่ตกอยู่ในภาวะวิกฤติมานานปี แต่ทว่า สำนักพิมพ์การ์ตูนไทยแห่งนี้ก็ยังยืนหยัดมายาวนานข้ามทศวรรษ และนับแต่เล่มแรกจวบจนถึงปัจจุบันนี้ ผ่านมากี่ปีแล้ว
ธัญลักษณ์ตอบว่า “เริ่มวางแผงครั้งแรกปี 2008 เดือนตุลาคม เป็นเล่มแรกที่เปิดขายอย่างเป็นทางการ ตอนนี้ใกล้เดือนตุลาคม 2021 แล้ว รวมระยะเวลา 13 ปีครับ”
ถามว่า ปัจจุบันนักเขียน Let's Comic 70% ไปขายใน NFT แต่ก็ยังสร้างงานให้ Let's Comic ใช่หรือไม่ ช่วงที่ผ่านมา นับแต่ทำ Let's Comic มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง ธัญลักษณ์ตอบว่า ยุคแรกสุด เรียกว่าเป็นยุคนิตยสาร เราทำนิตยสารไปอยู่บนแผงกันได้ มีนิตยสารมากมาย ในประเทศไทย ช่วงนั้น กินระยะเวลา 1-1ปีครึ่ง เป็นช่วงที่นิตยสารในไทย อยู่ได้ด้วยสปอนเซอร์ ซึ่งช่วงแรกๆ ที่มีสปอนเซอร์ เราก็อยู่กันได้ แต่เมื่อสปอนเซอร์เริ่มหายเราก็ปรับตัว ย้ายแพลตฟอร์มไปเป็น Bookazine (บุ๊คกาซีน-นิตยสารขนาดเท่าพ็อกเก็ตบุ๊ค) ร่วมกับอมรินทร์สำนักพิมพ์ ร่วมกับร้านหนังสือนายอินทร์ และซีเอ็ด เราก็ย้ายไปอยู่บนร้านหนังสือ ช่วงแรกๆ ก็ไม่มีพวกหนังสือการ์ตูนไปอยู่บนนั้นสักเท่าไหร่ นั่นเป็นช่วงปีที่ 2 ของ Let's Comic ประมาณปี 2010 ช่วงนั้นเรารู้สึกแฮปปี้ ที่เราทำหนังสือได้ โดยที่เราไม่ต้องไปพึ่งค่าโฆษณา อยู่ด้วยยอดขาย
“ช่วงเวลานั้น Let's Comic ก็เริ่มเติบโต มีกำไร มีการทำรวมเล่มของนักเขียนออกมา เป็นเวลา ราวๆ สัก 27 เล่ม เฉพาะนิตยสาร เป็นเวลา 13 เดือน และจากนั้นอีก 2-3 ปี ก็เข้าสู่ยุควิกฤติสิ่งพิมพ์ ยุคที่สิ่งพิมพ์เริ่มที่จะมีปัญหา ตอนนั้นมีนิตยสาร Boom ( บูม หนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ เจ้าของคือสำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ ) ประกาศปิดตัวเป็นเจ้าแรก วงการหนังสือก็เริ่มแตกตื่นว่าคนจะย้ายไปอ่าน E-BOOK กันไหม แต่ตอนนั้น ทางสำนักพิมพ์เอง ก็ยังไม่มีปัญหาอะไร เพียงแค่ว่าเราเองก็เริ่มรู้สึกว่าต้องปรับเปลี่ยนอะไรบ้างแล้ว เราก็เลยปรับให้นิตยสารมีลักษณะของความเป็นพ็อกเก็ตบุ๊คมากขึ้น เป็นฉบับที่มีคอนเซ็ปต์ชัดเจนในแต่ละเล่ม ลดความเป็นแม็กกาซีนลง วางราย 3 เดือน
“ก็ทำมาได้อีกเรื่อยๆ ประมาณ 2-3 ปี เป็นยุคปลายๆ ของสิ่งพิมพ์แล้ว เป็นยุคที่งานมหกรรมหนังสือกำลังจะย้ายที่จัด ตอนนั้น Let's Comicเองกำลังจะครบรอบสิบปี ผมก็คุยกับทางนักเขียน และผู้ใหญ่ว่า เราจะทำ Let's Magazine ฉบับเท่าบุ๊คกาซีนเป็นฉบับสุดท้ายแล้ว หลังจากนี้ เราจะไม่ได้กำหนดแล้ว ว่าเราจะออกเมื่อไหร่ จะออกตามวาระ วาระแรกก็ออกมาเมื่อประมาณ 3 ปี ที่แล้ว ก่อนวิกฤติโควิด-19 โควิดหนึ่งปีส่วนใหญ่ผมจะวางคร่าวๆ ว่าปีนี้อาจจะออกสัก 4-6 เล่ม แล้วเราเองตอนนั้น ไปเน้นคอนเทนต์ออนไลน์มากขึ้น ทำเพจ ทำไลฟ์
>>> Let's Comic ในวันนี้และวันหน้า
ถามว่า ปัจจุบัน Let's Comic ก็ยังยืนหยัด ยืนยง ธัญลักษณ์ตอบว่า “ผมมองว่า ในปัจจุบัน หนังสือเท่าที่เห็นเป็นฮาวทู ( How-to ) กันซะเป็นส่วนมาก เนื่องจากมองยอดขายแล้ว รู้สึกว่าหนังสือฮาวทู ยังมียอดขายที่ดี ผมก็ออกไลน์ของหนังสือฮาวทู เพิ่งออกไปเมื่อเดือนก่อน และก่อนหน้านั้น ก็ออกไป 2-3 เล่ม เป็นหนังสือในเครือ Let's Comic และนักเขียนของ Let's Comic เช่น สอนวาดฉาก สอนทำ 3D ใช้ชื่อ Let's สอนแนะนำเทคนิคการวาดภาพเพราะฐานแฟนผู้อ่านของเราก็เป็นคนที่ชอบวาดภาพอยู่แล้วด้วย ก็คิดว่าเป็นอะไรที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย” ธัญลักษณ์ระบุ
ถามว่า เข้าสู่ปีที 13 ประเมินไว้ว่าจะทำอย่างไรกับ Let's Comic บ้าง
ธัญลักษณ์ตอบว่า ณ ตอนนี้ ผมมีโปรเจ็กต์สำคัญคือ เป็นเล่มของผมเอง เป็น เล่มสุดท้ายของชุด คือผมวาดไว้ 3 เล่มจบ ออกไปแล้ว 2 เล่ม เล่มจบจะออกในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ ซึ่งเป็นงานที่หนักเหมือนกัน มันเป็นซีรี่ยส์ มีรายละอียดเยอะ และช่วงนี้ ภรรยาผมก็ตั้งท้องด้วย หลังจากนี้ ก็ต้องมองรูปแบบการทำงาน ที่อาจไม่ได้บู๊เหมือนก่อน
ในส่วนของหนังสือ ผมรู้สึกว่า มันยังไม่มีตัวแทนที่ชัดเจน มีคนถามว่า ทำไมไม่ไปทำอีบุ๊คหรือทำเว็บตูน ผมเองยังคุยกับทางผู้ใหญ่และภรรยาว่า มันยังไม่ใช่ทางออก อีบุ๊คหรือเว็บตูน มันอาจยังไม่ได้เป็นหมุดหมายใหม่ของวงการนี้ที่ชัดเจนนัก น่าจะต้องมีการพัฒนาอะไรอีกพอสมควร บางที NFT อาจยังดูมีหวังกว่าในแง่ของตัวเลข
เมื่อถามว่า หนังสือของธัญลักษณ์ ชือเรื่องอะไร ธัญลักษณ์ตอบว่า “ชื่ออาจจะดูรุนแรงหน่อยครับ ชื่อ ‘จุดจบของบรรณาธิการครับ’ จริงๆ มันเป็นซีรีย์ส 3 เล่มครับ เล่มแรกชื่อ ‘คำสารภาพของบรรณาธิการ’ เล่มที่ 2 ชื่อ ‘การเดินทางของบรรณาธิการ’ เล่มก่อนหน้า ‘การเดินทางของบรรณาธิการ’ เล่มที่สองในชุดนี้เพิ่งได้รางวัลเซเว่นบุ๊คอะวอร์ดปีล่าสุด เนื้อหา จริงๆ แล้ว ผมแค่ตั้งชื่อนี้ เพราะเป็นการเอาตัวเองมาเป็นตัวละคร แต่ถามว่า มันเจาะลึกหรือกล่าวถึงวงการสิ่งพิมพ์ไหม ก็ไม่ถึงขนาดนั้นครับ”ธัญลักษณ์ระบุถึงผลงานตนเอง
ถามว่า หน้ากากที่เป็นเอกลักษณ์ของธัญลักษณ์หรือ บ.ก.ซัน มีที่มาอย่างไร
ธัญลักษณ์ตอบว่า มีของจริงอยู่ที่ออฟฟิศ เป็นโลโก้บริษัท ต้องให้เครดิตนักวาดการ์ตูน คือ ‘เดอะดวง’ ด้วย เพราะดวงก็มาช่วยออกแบบด้วยในตอนนั้น
“พอดีช่วงนั้นจะมี Let's Comic ฉบับครบรอบสิบปี คือ จริงๆ ผมตั้งใจจะวาดตัวเอง แต่วาดยังไงก็ไม่ลงตัวสักที จนท้ายๆ ผมออกแบบไว้หลายตัว เจ้าดวงก็มาแนะๆ ว่าทำไมไม่เอาตัวนี้ ก็กลายมาเป็นที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน” ธัญลักษณ์ระบุถึงที่มาหน้ากากอันเป็นเอกลักษณ์
ถามว่ามองไปถึงอนาคตของ Let's Comic ปีที่ 14 แล้วหรือยัง
ธัญลักษณ์ตอบว่า “เอาจริงๆ สิ่งที่ผมอยากทำคือ พอผมเห็นว่านักเขียนขาย NFT กันจนรวยแล้ว ก็อยากชวนเขากลับมาทำอะไรสนุกๆ กัน เพราะเห็นเขาก็บ่นๆ ว่าอยากกลับมาทำแบบอารมณ์เก่าๆ” ธัญลักษณ์หรือ ‘บ.ก.ซัน’ ทิ้งท้ายถึงสิ่งที่ตั้งใจไว้ สะท้อนถึงมิตรภาพและความผูกพันที่ทั้งนักเขียนและ บ.ก.มีให้แก่กัน…ไม่ว่าในโลกของ Let' หรือโลกของ NFT
..................................................
Text by รพีพรรณ สายัณห์ตระกูล
Photo by ภาพผลงาน ‘ธัญลักษณ์ เตชศรีสุธี’ หรือ ‘บ.ก.ซัน’ และผลงานศิลปินท่านอื่นๆ จาก Facebook Group ‘NFT and Crypto Art Thailand’