xs
xsm
sm
md
lg

“กิน อยู่ รอด” ท่ามกลางวิกฤตโควิด ชุมชนริมทางรถไฟคลองเตย หนุนเสริมอาชีพ ลดการว่างงาน พึ่งพาตนเองระยะยาว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



วันนี้ (10 ก.ย.) ผศ.ดร.ปิ่นหทัย หนูนวล อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะนักวิจัยในโครงการพัฒนารูปแบบการเสริมพลังชุมชนการเฝ้าระวังทางสังคมและดูแลช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคมจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ชุมชนริมทางรถไฟคลองเตย ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส.กล่าวว่า ชุมชนริมทางรถไฟคลองเตย มีอยู่ 542 ครัวเรือน หรือกว่า 3,000 คน ได้ร่วมกันคิดตัดสินใจ ออกแบบตามสถานการณ์ปัญหา ความต้องการ คำนึงถึงระบบเศรษฐกิจและนำเสนอรูปแบบโครงการระยะต้น คือ การหนุนเสริมอาชีพในชุมชน ให้กิน อยู่ รอด ได้ท่ามกลางภาวะวิกฤตโควิดต่อยอดเรื่องอาชีพ ลดการว่างงาน และสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว โดยสนับสนุนร้านค้าเล็กในชุมชนให้ทำหน้าที่เป็นแหล่งทรัพยากรด้านการอุปโภค บริโภคสำหรับสมาชิกทั่วไปในชุมชน รวมถึงให้มีครัวกลาง ทำอาหารให้คนในชุมชน นอกจากนี้โครงการยังวางรากฐานให้ชุมชนทดลองเรื่องอาชีพ และปันส่วนอาหาร มีทีมสื่อสาร และประสานทรัพยากรให้เข้าถึง ซึ่งเป็นความพยายามของคณะกรรมการในชุมชนที่ได้ต่อยอดสานต่องานที่โครงการได้ริเริ่มไว้ ภายใต้กลไกการทำงานที่เข้มแข็ง ตลอดจนทำให้เป็นความปลอดภัยในชีวิตที่อยู่ร่วมกัน ซึ่งอาหาร และรายได้ การสนับสนุนทุนสำหรับผู้ค้ารายย่อย มีร้านค้าสำรองอาหารประจำวันสำหรับสมาชิกในราคาที่ไม่สูง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชุมชนอยู่รอดในสถานการณ์การแพร่ระบาด

ผศ.ดร.ปิ่นหทัย กล่าวว่า 5 ชุมชนของโครงการ ได้เรียนรู้ร่วมกัน นับเป็นความสำเร็จเล็กๆ ซึ่งความพร้อมที่ได้ตระเตรียมจะเป็นกลไกการทำงาน ทำให้ชุมชนต่างๆ และเครือข่ายอื่นๆเกาะเกี่ยวกันกันทำงานสอดประสาน ร่วมด้วยช่วยกันแก้ปัญหาหรือวิกฤตต่างๆ

นายปานชัย แก้วอัมพรดี ประธาน กอพม. เขตคลองเตย ในฐานะเครือข่ายโครงการ กล่าวว่า ทางโครงการได้ประชุมอบรมและวางแผนการใช้จ่ายงบประมาณโครงการร่วมกับ 12 ร้านค้าในชุมชน มีการสต๊อกสินค้า ให้ชาวบ้านนำสินค้าไปกินไปใช้หมุนเวียนกันและจ่ายเงินทีหลังซึ่งก็ได้รับเงินครบถ้วน รวมถึงเข้ามาสร้างอาชีพ รายได้ ให้บ้านที่เดือดร้อนจากสถานการณ์โควิด-19 จากนั้นยังได้นำไปต่อยอด ซึ่งเป็นการสร้างความสามัคคีในชุมชน ให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เช่น ชาวบ้านทำอาหารส่งให้ผู้ป่วยโควิด ที่อาศัยอยู่ใต้ทางด่วน จำนวน 60 คน 3 มื้อต่อวัน ตลอดกว่า 1 เดือนที่ผ่านมา จึงขอขอบคุณโครงการ ที่มาช่วยในด้านการดำรงชีวิต และอาชีพ ในช่วงบ้านเมืองวิกฤต โดยชุมชนคลองเตย มีถึง 40% ตกงานถูกเลิกจ้าง ค้าขายไม่ได้

นายปานชัย กล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 ในชุมชนคลองเตยปัจจุบัน จากผู้ป่วยกว่า 400 คน หายแล้วกว่าครึ่ง คน เหลือไม่ถคนที่ยังรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลส่วนหนึ่งและที่บ้านอีกส่วนหนึ่ง ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิต มี 8 คน นับได้ว่าปัจจุบันสถานการณ์เบาบางลง เนื่องจากชาวบ้านได้รับการฉีดวัคซีน และได้รับการตรวจหาเชื้อในเชิงรุก โดยในพื้นที่วัดสะพานมีเตียงผู้ป่วยว่าง และยังเปิดสเตเดียมเป็นโรงพยาบาลสนาม อีก 300 เตียงเพิ่มด้วย








กำลังโหลดความคิดเห็น