เชลล์มอบรางวัลชนะเลิศภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและตะวันออกกลางแก่ทีมเยาวชนไทยในการแข่งออกแบบเมืองแห่งอนาคต IMAGINE THE FUTURE SCENARIOS COMPETITION 2021
กรุงเทพฯ - ท่ามกลางความพยายามปรับตัวเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตสู่ความปกติใหม่หรือ New Normal ของผู้คนทั่วโลก ซึ่งเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 หนึ่งในความท้าทายของผู้คนย่อมหนีไม่พ้นสถานการณ์ของ “อนาคต” หลากหลายรูปแบบที่ยากจะคาดการณ์จากบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป การมองไปยังอนาคตเพื่อหาทางออกแบบนโยบายหรือมาตรการเพื่อรับมือกับความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์ จำเป็นที่จะต้องจำลองสถานการณ์อนาคตจากพื้นฐานของสถานการณ์และปัจจัยต่างๆ ในปัจจุบัน ซึ่งการออกแบบเมืองแห่งอนาคตและการดำเนินชีวิตในแบบที่ยังคาดการณ์ได้ยาก จึงนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนผ่านที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านทางด้าน “พลังงาน” ที่สัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตของผู้คน
ด้วยความเชื่อมั่นในพลังของคนรุ่นใหม่ เชลล์ได้จัดการแข่งขันแบบจำลองสถานการณ์ “Imagine the Future Scenarios Competition 2021” ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและตะวันออกกลางรอบชิงชนะเลิศในวันที่ 26 สิงหาคม 2564 ในโครงการมีทีมตัวแทนเยาวชนจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเข้าร่วมแข่งขันจำนวน 277 ทีม โดยเป็นการเข้าร่วมการแข่งขันแบบ virtual ภายใต้หัวข้อ “MORE AND CLEANER ENERGY IN AN ASIA PACIFIC OR MIDDLE EASTERN CITY - HOW WILL RESIDENTS LIVE, WORK AND PLAY?” เน้นรูปแบบสร้างการมีส่วนร่วมและเตรียมความพร้อมเยาวชนสู่การเปลี่ยนผ่านไปยังอนาคตที่ให้ความสำคัญต่อพลังงานที่สะอาด เพิ่มประสิทธิภาพ และดีต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการสามารถจำลองสถานการณ์ของเมืองผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า SHELL SCENARIOS เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอให้เห็นถึงสถานการณ์ที่เป็นไปได้ในอนาคต บนพื้นฐานการให้ความสำคัญต่อพลังงานที่ยั่งยืน ตลอดจนความท้าทายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เยาวชนจากประเทศต่างๆ ได้ผ่านการคัดเลือกในระดับประเทศ และเข้านำเสนอความคิดเห็นและมุมมองเกี่ยวกับเมืองในอนาคต ตลอดจนการดำเนินชีวิตของผู้คนในระดับภูมิภาคนี้
นายปนันท์ ประจวบเหมาะ ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “เชลล์ขอแสดงความยินดีกับทีมเยาวชนทุกคนที่เข้าร่วมโครงการนี้ ถือเป็นโอกาสที่ดีในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเมือง ขณะที่ตอบรับความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายที่ทุกคนเผชิญทั้งในปัจจุบันและอนาคต เชลล์ ประเทศไทย มีความมุ่งมั่นในการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อ Powering Progress อย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน สำหรับการสานต่อเจตนารมณ์ Trusted Partner for Better Life พันธมิตรที่ไว้วางใจได้ โครงการประกวดนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมสนับสนุนและเปิดเวทีให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการสร้างอนาคตในแบบที่คนรุ่นใหม่จินตนาการและทำให้เกิดขึ้นร่วมกันได้ ผมเชื่อมั่นในพลังของเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่จะร่วมมือกันพัฒนาเมืองแห่งอนาคตและสร้างเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดต่อไป
สำหรับตัวแทนทีมเยาวชนไทย ผมมีความภูมิใจและหวังว่าน้องๆ จะนำองค์ความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนมิตรภาพในระดับภูมิภาคนี้ไปต่อยอดทางความคิดและส่งต่อพลังงานที่สร้างสรรค์ของพวกเขา เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนและดียิ่งขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์และความร่วมมือของทุกคนในสังคม”
ด้านทีม Global Minds ตัวแทนประเทศไทย ซึ่งมีสมาชิกในทีม 5 คน ประกอบด้วย น.ส.นัชชา ยงพิพัฒน์วงศ์ จาก University of Oxford นายคณิน ตั้งชาติสิริ จาก University of Illinois at Urbana Champaign นายอยุช โคการ์ จาก University of British Columbia น.ส.ชนารดี ลีลาแม้นเทพ จาก Carnegie Mellon University และ น.ส.แครี่ เหล่าฤกษ์อุทัย จาก University of British Columbia เปิดเผยความรู้สึกหลังคว้ารางวัลชนะเลิศว่า “พวกเราภูมิใจและดีใจที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ เพราะการแข่งขัน IMAGINE THE FUTURE เป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีค่าสำหรับพวกเรา ทำให้เราตระหนักว่ายังต้องเรียนรู้อีกมากเกี่ยวกับตัวเองและโลกรอบตัว ได้ขยายมุมมองที่แตกต่างออกไปเพื่ออนาคต รวมทั้งการวิเคราะห์เชิงวิพากษ์เกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้คนรอบตัวเรา เนื่องจากเรากำลังเข้าสู่โลกที่ถูกทำให้กลายเป็นดิจิทัลมากขึ้น และจะมีความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายภายในไม่กี่ทศวรรษนี้
ตลอดระยะเวลาของการแข่งขัน เราได้รับการสนับสนุนจากเชลล์แห่งประเทศไทยอย่างมาก โดยได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากคุณณิชา ถิรทิตสกุล คุณจาวิกรณ์ ฉันทนะสุขศิลป์ และพี่ๆ โค้ชจากเชลล์ที่มอบคำแนะนำด้านต่างๆ รวมถึงโอกาสในการได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ เช่น คุณ Ignatius Lim จากเชลล์แห่งประเทศสิงคโปร์ และ ดร. Non-A. จาก DEPA และวิทยากรรับเชิญท่านอื่นๆ ซึ่งช่วยพัฒนากระบวนการคิด และการจำลองสถานการณ์อย่างถูกต้อง และครอบคลุม ผ่านการตีโจทย์ต่างๆ รวมถึงการได้ทำโปรเจกต์ การเรียนรู้การใช้เครื่องมือการทำ scenarios เพื่อวางรูปแบบอนาคตของเมืองในอนาคตที่ต้องการเห็น เราจึงสามารถเติมเต็มศักยภาพของตนเองได้ ทุกกระบวนการการทำงานของพวกเราในการแข่งขันครั้งนี้ ทำให้เห็นภาพอนาคตที่เป็นไปได้ในแบบต่างๆ เราได้เห็นภาพของโลกที่เราอยากใช้ชีวิตอยู่ และเราคือคนที่จะลงมือสร้างอนาคตนั้น อนาคตที่สดใสและยั่งยืน”
นางสาวฐิติภา ลักษณพิสุทธิ์ ผู้อำนวยการส่วนงานสื่อสารองค์กร และประธานจัดการแข่งขัน ITF Thailand กล่าวถึงมุมมองเกี่ยวกับการจำลองสถานการณ์อนาคตกับการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ในการเปลี่ยนผ่านพลังงาน “ตลอดระยะเวลาการจัดการแข่งขัน ITF มีหลายประเด็นที่สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น ประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีประชากรโลกเพิ่มขึ้นอีกกว่า 75% ภายในปี 2050 นอกจากนี้ เมืองใหญ่มักถูกมองว่าเป็นศูนย์กลางการค้า การเมือง สังคม วัฒนธรรม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ นั่นหมายความว่าหากคาดหวังถึงเมืองที่มีความปลอดภัย ความหลากหลายและการยอมรับ พลังงานที่สะอาดขึ้น การรณรงค์ลดปริมาณก๊าซคาร์บอน ยังมีความท้าทายที่เราจำต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ที่ต้องตระหนักให้มากคือ ‘NOW’ เวลา ณ ปัจจุบันซึ่งสำคัญมากกว่าครั้งไหนๆ ในการทำให้ทุกคนร่วมกันจินตนาการถึงอนาคตและทบทวนว่าเราจะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเมืองของเราได้อย่างไร เชลล์ได้มีโอกาสร่วมงานกับภาคส่วนต่างๆ ในหลายเมืองเพื่อร่วมกัน Powering Progress สร้างสรรค์แนวทางในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนร่วมกัน อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้สำเร็จในช่วงเวลาเดียวเพียงลำพัง ศักยภาพของผู้คนทุกรุ่นจากเจเนอเรชันสู่เจเนอเรชัน ล้วนมีบทบาทสำคัญในการออกแบบเมืองและสร้างอนาคต เราสามารถเริ่มจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ขับเคลื่อนสู่พลังงานที่สะอาดขึ้น และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกคนในการบรรลุเป้าหมายไปด้วยกัน ท้ายนี้ ดิฉันขอขอบคุณน้องๆ เยาวชนทุกทีมจากประเทศไทยที่เข้าร่วมการแข่งขัน Imagine the Future Thailand และขอแสดงความยินดีกับ Global Minds ตัวแทนประเทศไทยและแชมป์ ITF เอเชียแปซิฟิกและตะวันออกกลางอีกครั้งค่ะ”
ทีม Global Minds ได้นำเสนอแบบจำลองสถานการณ์เมือง “ฮ่องกง” แห่งอนาคต โดยคาดการณ์ถึงความท้าทายต่างๆ ในอนาคตที่ฮ่องกงจะต้องเผชิญหน้าในปี ค.ศ. 2050 ด้วยการฉายภาพอนาคต 2 รูปแบบภายใต้เงื่อนไขการปกครองที่ต่างกัน ซึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลต่ออนาคตของฮ่องกง คือ อำนาจการปกครองของจีนต่อฮ่องกง ซึ่งแกนหลักที่นำมาใช้คือ การเมืองการปกครองและการจัดการระบบภาษี โดยวิเคราะห์และนำเสนอใน 2 รูปแบบ คือ 1. “มังกรยุคใหม่” (Modern Dragon) คือฮ่องกงภายใต้การปกครองของจีนอย่างเต็มรูปแบบ เป็นเมืองที่มีอัตราภาษีสูง เป็นรัฐสวัสดิการที่แข็งแกร่ง มีการอุดหนุนโครงการการศึกษา STEM และร่วมกับ Shenzhen กลายเป็นฮับของเทคโนโลยี และ 2. “เหยี่ยวตาบอด” (Blind Falcon) คือฮ่องกงที่มีการปกครองแบบ 1 ประเทศ 2 ระบบ มีอัตราภาษีสูง มีระดับสวัสดิการต่ำ มีปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและความไม่เท่าเทียมกัน อาจร่วมมือกับ Shenzhen บางด้าน แต่ค่อนข้างจำกัด และจะล้าหลังเมืองอื่นๆ ของจีนในแง่ของเทคโนโลยี
สำหรับทีมที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ได้แก่ทีม American University Cairo ประเทศอียิปต์ที่จำลองสถานการณ์ถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ณ เมืองอเล็กซานเดรียใน พ.ศ. 2593 และ Nanyang Technological University จากสิงคโปร์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง นำเสนอแบบจำลอง Sang Kancil vs Buto Ijo