เขาคือผู้ก่อตั้ง Coins.co.th บริษัทเล็ก ๆ ที่เมื่อ 8-9 ปีก่อน กำเนิดขึ้นบนชั้นลอยของร้านขายเสื้อผ้าที่ประตูน้ำของพ่อแม่ พร้อมด้วยคอมพิวเตอร์เพียงหนึ่งเครื่อง บริหารทุกอย่างตามลำพังด้วยตัวคนเดียวอยู่นานนับสิบเดือน ก่อนที่ในเวลาต่อมา บริษัทแห่งหนึ่งจะมาขอซื้อไป จึงเปิดบริษัทที่สอง คือ Bitkub สตาร์ทอัพที่ระดมทุนได้ 327 ล้านบาท ผ่านมา 3 ปี 5 เดือน บิทคัพมี 4 บริษัทในเครือ มีพนักงาน 1,478 คน ปีนี้คาดว่าจะทำเงินได้ 3-4,000 ล้านบาท นับเป็นหนึ่งใน Potential Unicorn ที่น่าจับตามอง ซึ่งปลายปี 2564 ก็น่าจะเป็นยูนิคอร์น ด้วยมูลค่า 30,000 ล้านบาท
ดีกรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง คณะเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ และปริญญาโทเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ผู้เชื่อมั่นในบิทคอยน์ เชื่อในสกุลเงินดิจิทัล เชื่อมั่นในดิจิทัล เคอเรนซี่ เขาคือผู้ที่นั่งสนทนากับผู้บริหาร PayPal ใน Silicon Valley ที่ร้านแพนเค้กในวันเสาร์ เพื่อถามไถ่โดยเฉพาะว่าคิดอย่างไรกับบิทคอยน์
บทสนทนาในวันนั้น ตอกย้ำว่า บิทคอยน์จะมาเปลี่ยนแปลงโลก ย้ำความเชื่อมั่นใน Cryptocurrency จากนั้นไม่ถึงเดือนเขาก็บินกลับมาเมืองไทย และเปิดบริษัทแรกในนาม Coins.co.th ราวปี 2013-2014 บนร้านขายเสื้อผ้าของคุณพ่อคุณแม่ ก่อนที่จะมีบริษัทซึ่งเติบโตถึง 1,000% ในวันนี้
ผู้จัดการออนไลน์ สัมภาษณ์พิเศษ ท็อป-จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา Group CEO ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บิทคัพ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือ Bitkub ซึ่งมีหนึ่งในบริษัทลูกเป็น Platform Business ในการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล บิทคอยน์ คริปโตเคอเรนซี่ Digital currency และการเทรด การลงทุนที่หลากหลาย ผู้ที่เปิดบัญชีกับบิทคัพมีทั้งเพื่อลงทุนระยะยาว มีทั้งเก็งกำไรระยะสั้น มีทั้งโอนเงินเกม จ่ายค่าน้ำ จ่ายค่าโทรศัพท์มือถือ และอีกจิปาถะ ‘ผู้จัดการ’ พูดคุยกับ ท็อป-จิรายุส เพื่อถามไถ่ถึงวิสัยทัศน์ ความเชื่อมั่นในโลกยุคอนาคต รวมทั้งความเป็นมาก่อนประสบความสำเร็จอย่างสูงยิ่งในวันนี้
>>> ความเป็นมา กระทั่งเติบโต 1,000%
เมื่อถามว่า การที่บริษัทเติบโตถึง 1,000% อยากให้เล่าถึงวิสัยทัศน์ในการทำงาน รวมถึงเล่าย้อนความเป็นมาว่ามาทำธุรกิจเกี่ยวกับบิทคอยน์ และสกุลเงินดิจิทัลได้อย่างไร
จิรายุสตอบว่า “จริงๆ แล้ว Bitkub ที่โต 1,000% เป็นบริษัทที่ 2 ที่ผมเปิดขึ้นมา ส่วนตัวแล้วผมอยู่ในวงการ Digital Currency มาแปดปีแล้ว เป็นคนไทยคนแรกๆ ที่ผลักดันดิจิทัล บิทคอยน์ ให้ทุกคนรู้จักและถูกต้องตามกฎหมาย”
จิรายุสกล่าวว่า หากถามว่าเริ่มได้อย่างไร คงต้องย้อนกลับไปนับแต่จบปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์จากอังกฤษ ค้นหาตัวเอง ไปทดลองงาน เป็น Investment banking ที่จีน ทำได้ประมาณ 2 เดือนกว่า ก็ไปเห็นดิจิทัลบิทคอยน์บนอินเทอร์เน็ต ราคาตอนนั้น พุ่งจาก 11 ดอลลาร์ ไปถึง 1,000 กว่าดอลลาร์ ก็เลยเกิดสนใจ ศึกษาเพิ่ม แล้วก็ไปอ่านเจอบล็อคของมาร์ค แอนเดอร์สัน เขาเขียนถึงมุมที่ว่าบิทคอยน์จะเปลี่ยนแปลงโลกยังไง จะทำให้โทรศัพท์มือถือหรืออินเทอร์เน็ตกลายเป็นบัญชีธนาคารยังไง เป็นไมโครเพย์เมนท์ให้เราโอนเงินข้ามประเทศ 5 บาท 10 บาทได้ยังไง โดยที่ธนาคารไม่สามารถทำได้ ก็เลยสนใจ และเกิดความเชื่อมั่นในสิ่งที่เรียกว่าบิทคอยน์นี้ ในแปดปีที่แล้ว
จิรายุสเล่าว่า จากนั้นเขาก็เริ่มค้นหาตัวเอง “ทำงานที่แรกในระยะเวลาสองเดือนรู้สึกว่าไม่ชอบ จึงไปทำอีกที่หนึ่งที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา ทำด้าน Consulting ก็รู้ว่าไม่น่าจะเหมาะกับตนเอง แต่คิดว่าในเมื่อมาถึงซานฟรานซิสโกแล้ว ก็เลยลองสอบถามเพื่อนๆ ดูว่ามีใครรู้จักใครบ้างไหมที่ทำงานใน Silicon Valley ที่อยู่ในซานฟรานซิสโก ช่วยนัดเจอให้หน่อย มีเพื่อนบอกว่ารู้จักกับผู้บริหาร PayPal ชื่อแดน แชท อยากเจอไหม ก็เลยนัดเจอ คุยกันที่ร้านแพนเค้กในวันเสาร์ ผมก็ถามเขาว่า แดน คุณคิดยังไงกับบิทคอยน์”
“เขาบอกว่า บิทคอยน์จะมาเปลี่ยนแปลงโลก เขาต้องการสร้างดิจิทัล ดอลลาร์ แต่ตอนนั้น เทคโนโลยีไม่พร้อม คลาวด์ยังไม่มี บล็อกเชนก็ยังไม่มา วันนี้ คนรุ่นใหม่ คุณเป็นรุ่นที่โชคดีมาก คลาวด์ก็มีแล้ว บล็อกเชนก็มี โทรศัพท์มือถือก็มี บรอดแบนด์มีหมด อินเทอร์เน็ตมีหมดแล้ว บิทคอยน์จะมาเปลี่ยนแปลงโลก มันก็เลยย้ำความเชื่อมั่นใน Cryptocurrency จากนั้นไม่ถึงเดือนผมก็บินกลับมาเมืองไทย และเปิดบริษัทแรกเลยชื่อ Coins.co.th ซึ่งตอนนั้นปี 2013-2014 ก็เปิดจากร้านขายเสื้อผ้าของคุณพ่อคุณแม่”
“คุณพ่อคุณแม่ผมขายเสื้อผ้า มีร้านที่ประตูน้ำ ผมไม่อยากใช้เงินคุณพ่อคุณแม่ เขาส่งเราเรียนมาสิบปีแล้ว ก็เลยเปิดอยู่ที่ชั้นลอย กับเครื่องคอมพิวเตอร์โตชิบาเครื่องหนึ่ง ทำมาสิบเดือนไม่ได้ใช้เงินสักบาท เก็บเงินทุกบาททุกสตางค์เพื่อที่จะขยายทีม เพื่อจ้างพนักงานมาทำงาน” จิรายุสเล่าถึงความเป็นมาในการก่อตั้งบริษัทแห่งแรกที่ยังคงแจ่มชัดในความทรงจำ
>>> เผชิญบททดสอบ แบงค์ชาติ-ปปง.สรรพากร ตรวจสอบหนัก หวั่นบิทคอยน์เป็นแชร์ลูกโซ่ กระทั่งก้าวผ่านอุปสรรค เป็นว่าที่ “ยูนิคอร์น” แห่งวงการสตาร์ทอัพ
จิรายุสเล่าว่าในปี 2014 แบงก์ชาติหรือธนาคารแห่งประเทศไทย ส่งหนังสือถึงธนาคารพาณิชย์ต่างๆ เตือนว่าบิทคอยน์จะเป็นแชร์ลูกโซ่ มูลค่าจะเหลือศูนย์ อย่าได้เข้าไปยุ่ง ทำให้จิรายุสทะเลาะกับครอบครัว เพราะครอบครัวอยากให้เลิกธุรกิจที่ทำอยู่เพราะกลัวเป็นแชร์ลูกโซ่
“เพราะครอบครัวก็ฟังคำเตือนของแบงก์ชาติอยู่แล้ว ไม่ฟังลูกชายเพิ่งจบใหม่หรอก ก็ทะเลาะกัน แต่เราก็ไม่หยุด จากนั้นก็โดน ปปง.(สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน) เรียกตัวไป โดนสรรพากรเรียกตัวไป ในทุก ๆ ปี ก็จะมีปัญหากับ Regulator ในสิ่งที่ทำสิ่งใหม่ ในสิ่งที่คนไทยไม่เข้าใจสุดท้ายก็มีบริษัทหนึ่งมาขอซื้อไป ก็มาเปิดบริษัทที่สอง ชื่อว่า Bitkub ซึ่งในเมื่อเรามีประสบการณ์จากบริษัทแรกแล้ว บริษัทที่สองเราก็ระดมทุนในรอบ Seed Round ได้ 525 ล้านบาท ซึ่งถือว่าใหญ่ที่สุดในรอบ Seed Round ในสตาร์ทอัพเมืองไทยในตอนนั้น แล้วสุดท้าย มี Series A อีกรวมเป็นทั้งหมด 327 ล้าน แล้วก็ตอนนี้ก็ผ่านมา 3 ปี 5 เดือน บิทคัพมี 4 บริษัทในเครือ มีพนักงาน 1,478 คน แล้วก็ปีหน้าจะทำเงินได้ 3-4 พันล้านบาท ก็น่าจะเป็นหนึ่งใน Potential Unicorn เป็นยูนิคอร์น 30,000 ล้าน ปลายปีก็น่าจะเป็นยูนิคอร์น
"เรา Run ธุรกิจบนกำไร ไม่ได้ Run ธุรกิจบนความขาดทุน นี่คือ เรื่องราวคร่าวๆ ครับ” จิรายุสบอกเล่าถึงธุรกิจที่มีแนวโน้มจะเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง” จิรายุสระบุ
>>> ความหลังเมื่อครั้งเปิดบริษัทแรก ความเจ็บปวดที่ต้องแบกรับ
เมื่อถามว่าตอนที่อยู่ชั้นลอยของร้านขายเสื้อผ้า พร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์โตชิบาหนึ่งเครื่องตลอดสิบเดือน ทำอะไรบ้าง จิรายุสตอบว่า “ทำทุกอย่างครับ เปิดบริษัท ซึ่งเราไม่เคยเปิดบริษัทมาก่อน ต้องเรียนรู้เยอะมาก การจดทะเบียนบริษัทต้องมีอะไรบ้าง โอเปอร์เรชั่น ดีไซน์เว็บไซต์ ตอนนั้นยังไม่มี Wallet เลย มีแค่หน้ากากอย่างเดียว พอลูกค้าสั่งมาก็ไปซื้อบริษัทอื่นมาให้ พอลูกค้าขายบิทคอยน์ ก็ต้องไปขายที่อื่นแล้วเอาเงินมาให้ลูกค้า โอนเงิน จำได้ว่า ตอนตี 3ต้องไปเคาะประตูห้องคุณพ่อคุณแม่ เพราะโอนเงินให้ลูกค้าไม่ทันก็มี ในยุคนั้น การตลาดต้องทำเอง ทำอย่างไรทั้งที่ไม่ได้มีงบเยอะขนาดนั้น ทำ HR เอง ทำ Operation ทำ accounting เอง ภาษีอะไรก็ทำเองทั้งหมด เรียนรู้และทำเองทุกอย่าง เจ็บปวดมาก เป็นสิบเดือนที่เจ็บปวดมาก ไม่ได้ออกสังคม เก็บเงินทุกบาททุกสตางค์เพื่อที่จะจ้างพนักงาน แล้วก็เป็นสิบเดือนที่ได้เรียนรู้เยอะมาก” จิรายุสระบุ
เมื่อถามว่า ณ ตอนนี้บิทคอยน์ มีมูลค่าเกินล้านบาทแล้วใช่หรือไม่
จิรายุสตอบว่า “ใช่ครับ ถึง 2 ล้านบาทด้วยครับ”
>>> แนะคนรุ่นใหม่ ศึกษาให้รู้ลึกหากสนใจสกุลเงินดิจิทัล-บิทคอยน์
เมื่อขอให้แนะนำคนรุ่นใหม่ที่สนใจ บิทคอยน์ หรือคริปโตเคอเรนซี่แต่ยังไม่มีความรู้เรื่องนี้ เขาควรเริ่มจากจุดไหน
จิรายุสกล่าวว่า ต้องเริ่มต้นจากความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ควรเข้าไปศึกษาว่าดิจิทัล เคอเรนซี่คืออะไร บิทคอยน์คืออะไร คริปโตเคอเรนซีคืออะไร บล็อกเชนเทคโนโลยีคืออะไร เทคโนโลยีพวกนี้จะมาเปลี่ยนแปลงวงการการเงิน ต่างๆ ในโลกอนาคตอย่างไรบ้าง เมื่อศึกษาเข้าใจแล้วก็ไปศึกษาวิธีเปิดบัญชีกับ Bitkub ก็ได้ หรือ Bitkub Academy ในเฟซบุ๊คแฟนเพจก็มี หรือจะไปลงเรียนคอร์สต่างๆ ก็จะมีสอนว่าเปิดบัญชียังไง ซื้อยังไง ขายยังไง โอนยังไงให้ปลอดภัย Public key คืออะไร Private key คืออะไร ทดลองซื้อ มีเงิน 100 บาทก็ทดลองซื้อได้ Limit order กับ Market order ต่างกันยังไง ลองซื้อดู ลองขายดู แล้วค่อยเพิ่มเงินเมื่อทำทุกอย่างคล่องแล้ว
เมื่อถามว่า ถ้ามีวัยรุ่นหรือคนวัยทำงาน มีเงินเก็บสักหนึ่งหมื่นบาท อยากมาลงทุนกับบิทคัพ ต้องทำอย่างไรบ้าง
จิรายุสตอบว่า “อย่างแรกต้องศึกษาหาความรู้ที่ถูกต้องก่อนว่า บล็อคเชนคืออะไร บิทคอยน์คืออะไร ซื้อขายยังไง ฝากเงิน โอนเงิน ถอนเงิน รับเงิน ถอนเงินคืออะไร Limit order กับ Market order คืออะไร สามารถเข้าไป Bitkub.com หรือแอปพลิเคชั่นบิทคัพก็ได้ แล้วก็ดาวน์โหลดมา เปิดบัญชีก็เหมือนสมัครเฟซบุ๊ค ใช้อีเมล์ ใช้พาสเวิร์ด คอนเฟิร์มในอีเมล์ คอนเฟิร์มแอคเคาท์ ทำพาสเวิร์ดสองขั้นเพื่อความปลอดภัยอีกระดับนึง ฝากเงินก็โอนเงินออนไลน์ได้เลย ซื้อขายหุ้นเป็น ก็เทรดคริปโตเคอเรนซี่เป็น มันเหมือนกันเลย ลิมิทออเดอร์ มาร์เก็ตออเดอร์ เหมือนกันเป๊ะเลยครับ” จิรายุสระบุ
>>> การทำงานของบล็อกเชน รองรับโลกแห่งอนาคต
เมื่อขอให้ช่วยอธิบายถึงการทำงานของบล็อกเชน จิรายุสเปรียบเทียบให้เห็นภาพว่า ถ้าหากเปรียบง่ายๆ อินเทอร์เน็ต คือเจนเนอเรชั่นแรก ที่จะมาเปลี่ยนทุกอย่างที่เป็นข้อมูลให้เป็นดิจิทัล ทำให้เราแลกเปลี่ยนทุกอย่างที่เป็นฟอร์แมท ข้อมูล เป็นออนไลน์ทุกอย่าง เช่น เพลง เมื่อก่อนก็เป็นเทป ซีดี เอ็มพีสาม กลายเป็น Youtube Jook ออนไลน์ การโฆษณา การอ่านข่าวก็ออนไลน์ มัน Digitize ทุกอย่าง ใน 20 ปีแรก
“แต่ข้อเสียคือ การส่งข้อมูล ไฟล์งานไฟล์เสียง เมื่อเราส่งไปให้คนอื่นแล้ว ไฟล์ภาพไฟล์เสียงก็ยังอยู่ที่เรา มันเป็นการสื่อสารแบบเพิ่มสำเนา เช่นการส่งอีเมล์แล้วมีสองสำเนา ถ้าเราทำแบบเดียวกับเงิน มันเปรียบเหมือนการเกิดเงินเฟ้อมหาศาล ภายในหนึ่งวันเมืองไทยก็เกิดเงินเฟ้อ หนึ่งล้านเปอร์เซ็นต์ มันไม่เวิร์ค
“แต่พอบล็อกเชนมา มันเหมือนเปลี่ยนมูลค่าให้เป็นดิจิทัล อาจเรียกว่า Tokenization เป็น Infrastructure หลังบ้าน เป็น Layer ที่สองของอินเทอร์เน็ต ทำให้เราสามารถดิจิไทซ์มูลค่าทุกชนิด ไม่ว่าเพชร ทอง บ้าน ทุกอย่าง ให้เป็นดิจิทัล ซึ่งส่งไปไหนก็ได้ทั่วโลก ไม่ต้องเสีย 4-5% เวลาส่งข้ามประเทศ ทั่วโลก
"ยกตัวอย่างเหมือนส่งอีเมล์หากัน แต่ข้อดีกว่านั้นคือ เมื่อเราใช้บล็อกเชน มันจะไม่มีสำเนาเดิมอยู่ในเครื่อง เมื่อส่งปุ๊บสำเนาเดิมหายไปเลย เพราะฉะนั้นมันไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางอีกต่อไป ดังนั้น ธุรกิจที่เป็นตัวกลางให้เราสามารถแลกเปลี่ยนทุกชนิด เมื่อก่อน เวลาส่งเพลงก็มีร้านแมงป่อง มีบล็อคบัสเตอร์ เป็นตัวกลาง แต่พอเป็นดิจิทัลแล้ว ตัวกลางก็ต้องเปลี่ยนเป็นดิจิทัล โพรไวเดอร์ เช่น ยูทูป เน็ตฟลิกซ์ ไลน์ทีวี
"ทุกวันนี้ ทองคำต้องจับต้องได้ ที่ดิน เงิน ต้องจับต้องได้ เราก็ต้องมีเครื่องนับเงินสาขา ตู้เอทีเอ็ม แต่ในอนาคตถ้าทุกอย่างต้องเป็นดิจิทัล เพลเยอร์ตรงกลางก็ต้องเปลี่ยนตัว เช่น เป็น ร้านแมงป่องไม่ได้แล้ว เป็นบล็อคบัลเสอตร์ ไม่ได้แล้ว ก็ต้องเป็น ดิจิทัล เพลเยอร์มากขึ้น เราก็จะมี ‘ดิจิทัลแบงค์ บิทคัพ’ เกิดขึ้นมาในโลกอนาคต” จิรายุสระบุ
>>> Bitkub เปรียบเสมือน Platform Business
เมื่อถามว่าบิทคัพหรือบริษัทในเครือของจิรายุสทำหน้าที่อะไร หรือเป็นตัวกลางอย่างไรระหว่างดิจิทัลแอสเส็ท หรือคริปโตเคอเรนซี่
จิรายุสตอบว่า ในเมื่อเรามีความเชื่อว่ามูลค่าทุกชนิดจะเป็นดิจิทัลแล้ว เหมือนกับเพลงที่เป็นดิจิทัลไปแล้ว จะเป็นบล็อคบัสเตอร์ หรือเป็นเทปไม่ได้แล้ว เป็นซีดี เอ็มพีสามเหมือนเดิมไม่ได้แล้ว ต้องเป็นยูทูป เป็นไลน์ทีวีเพิ่มมากขึ้น
เหล่านี้คือแพลตฟอร์มบิสเนส ซึ่งเรามองว่าเราได้สร้างแพลตฟอร์มขึ้นมา แพลตฟอร์มบิสเนส คือสะพานที่แข็งแรงมาก ยกตัวอย่าง Facebook เป็นแพลตฟอร์มบิสเนสของวงการสื่อ เขาเป็นแพลตฟอร์ม เป็นสื่อที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยไม่มีบรรณาธิการเป็นของตัวเอง ไม่มีคอนเทนต์เป็นของตัวเอง แต่เขาเป็นสะพานที่ใหญ่มาก Uber Grab เป็นอู่รถที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยไม่มีแท็กซี่เป็นของตัวเอง
Lazada Shopee Amezon เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยไม่มีคลังสินค้าอะไรเป็นของตัวเอง Airbnb เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นเครือโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ไม่มีโรงแรมเป็นของตัวเอง
“เหล่านี้ คือ แพลตฟอร์ม บิสเนส มันหมายความว่าอะไร มันหมายความว่า สถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือสถาบันการเงินที่ไม่มีเงินเป็นของตัวเอง ซึ่งบิทคัพคือสถาบันการเงินที่โตเร็วมาก ที่ไม่มีเงินเป็นของตนเอง คือการทำธุรกิจสำหรับโลกอนาคต เป็นแพลตฟอร์ม บิสเนส อันแรกที่เป็นของคนไทยร้อยเปอร์เซ็นต์ อันอื่นที่พูดมาเป็นของชาวต่างชาติทั้งหมด ไม่ว่าเป็นไลน์ อินสตาแกรม ลาซาด้า เฟซบุ๊ค โชปี้ วีแชท อโกด้า ทราเวลโลก้า เป็นของชาวต่างชาติทั้งหมด ที่เป็นแพลตฟอร์ม บิสเนส
"บริษัทส่วนใหญ่ของไทย หากไม่ให้บริการก็ให้ผลิตภัณฑ์ที่ตัดกันที่ราคา แต่ถ้าเราพูดถึงแพล็ตฟอร์ม บิสเนส หรือ อีโค ซิสเต็ม พวกนี้ Profit margin เยอะมาก เช่น แอปเปิล เฟซบุ๊ค เป็นธุรกิจของโลกอนาคต ซึ่งบิทคัพพยายามที่จะเป็นธุรกิจของโลกอนาคตที่เป็นของคนไทย 100% ซึ่งกลุ่มของเรา มี 4 บริษัท” จิรายุสระบุ
>>> มุ่งสู่การเป็นธุรกิจของโลกอนาคต
จิรายุสเล่าถึงบริษัททั้ง 4 ในเครือว่า “บริษัทแรกเป็น แพล็ตฟอร์ม บิสเนส เป็นสะพานให้คนซื้อขายทรัพย์สินดิจิทัลได้ 100% ถูกต้องตามกฎหมาย 100% เรา Control market share กว่า 90% ยอดเทรด จุดสูงสุดอยู่ที่ 13,000 ล้านบาทต่อวัน มีลูกค้าสองล้านคนที่มาเปิดบัญชีกับเรา เดือนที่แล้วคนเข้าเว็บไซต์ 14 ล้านคน เป็นเว็บไซต์ทางการเงินและการลงทุนที่คนเข้ามากที่สุดในประเทศไปแล้ว แอปพลิเคชั่นของเรา มีการเข้า 50 กว่าล้าน Session ในสองสามเดือนที่ผ่านมา
“บริษัทที่สองของเรา ทำบิทคัพเชน เป็นอีโคซิสเต็ม เป็นเจ้าของหลายสะพานในที่เดียว ล็อคอินเน็ตเวิร์ค บริษัทที่สองเราสร้างเป็นอีโค ซิสเต็ม บิสเนส นอกจากสะพานที่หนึ่งแล้วเราก็ขาย NFT, Intellectual Property มี FanToken ที่ขายชื่อเสียงดารา จะปฏิวัติวงการโฆษณา วงการเอ็นเตอร์เทนเมนท์ทั้งหมดในไทยเรา ซึ่งเราสร้างอีก 2-3 แพล็ตฟอร์ม
“บริษัทที่สามคือ บิทคัพอะคาเดมี คล้ายๆ การให้ความรู้คน ซึ่งเราก็มีการเปิดสอนทุกอาทิตย์ ทั้งออฟไลน์ ออนไลน์ เปิดสอนทุกอาทิตย์ ฝากเงิน ถอนเงินยังไง
บริษัทที่สี่คือ บิทคัพเวนเจอร์ มีไว้เพื่อการลงทุน ลงทุนในสตาร์ทอัพรุ่นน้อง หรือ เพื่อ Protocolต่างๆ ตอนนี้ก็มี 4 บริษัทนี้ครับ” จิรายุสบอกเล่าถึง 4 บริษัท
>>> วิสัยทัศน์ในการทำงาน พลังแห่งความเชื่อมั่น
เมื่อถามว่า นับแต่ช่วงสิบเดือนแรกกับเครื่องคอมพิวเตอร์โตชิบา กระทั่งอาจจะกลายเป็นยูนิคอร์นแห่งวงการสตาร์ทอัพ วิสัยทัศน์แบบใดทำให้เติบโตได้ขนาดนี้ ใช้หลักอะไรในการบริหารงาน
จิรายุสตอบว่า มีอยู่สามอย่างที่อยากจะแชร์เป็นประสบการณ์กับผู้ประกอบการ
ข้อแรก การที่คุณจะประสบความสำเร็จได้ คุณต้องเป็นคนส่วนน้อย ที่เห็นอะไรบางอย่าง ที่คนส่วนใหญ่มองไม่เห็นแล้วคนส่วนใหญ่เข้าใจผิด
การที่เราจะประสบความสำเร็จเกินค่าเฉลี่ยได้ เราต้องเป็นคนส่วนน้อย ที่เห็นมัน แล้วคนส่วนใหญ่เข้าใจมันผิด
“สังเกตนะครับในอดีต คนที่ประสบความสำเร็จเกินค่าเฉลี่ย เขาจะเป็นคนที่ถูกต้องกับอะไรบางอย่างที่คนส่วนใหญ่ผิดมากๆ เช่น บิลเกตส์, สตีฟ จ็อบส์ เขาเป็นคนที่สร้าง Operating system ขึ้นมา ในขณะที่คนส่วนใหญ่มองข้าม หรือ Jeff Bezos ขายหนังสือออนไลน์ ก็ถูกมองว่าเป็น Crazy Idea คนส่วนใหญ่มองข้ามอินเทอร์เน็ต แต่คนส่วนน้อยมองถูกต้องมากๆ เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
หรือถ้าสิบปีที่แล้ว มีคนบอกว่าจะแชร์บ้านกับคนแปลกหน้า คนส่วนใหญ่ก็บอกว่าเครซี่ไอเดีย แต่ Airbnb ก็ถูกมากๆ หรือสิบปีที่แล้ว มีคนบอกว่าจะแชร์รถกับคนแปลกหน้า ก็จะบอกว่า Stupid Idea ใครจะมาแชร์รถกับคนแปลกหน้า แต่แกร็บกับอูเบอร์ก็เป็นคนส่วนน้อยที่ถูกมากๆ ซึ่งคนส่วนใหญ่ผิดมากๆ
“ซึ่งผมก็ไม่ได้เป็นคนที่ฉลาดมากๆ หรือฉลาดกว่าเพื่อนที่จบรุ่นเดียวกันเลย แต่ผมเป็นคนส่วนน้อยที่ถูกมากๆ เกี่ยวกับบิทคอยน์ ในขณะที่คนส่วนใหญ่ผิดมากๆ คิดว่ามันเป็นแชร์ลูกโซ่ ฟอกเงินซื้อขายตลาดมืด เงินของเล่น ซึ่งถ้าธนาคารหรือตลาดหลักทรัพย์เข้าใจเหมือนที่ผมเห็น มันคงไม่มีวันเกิดขึ้นที่เด็กคนหนึ่ง กับเครื่องคอมพิวเตอร์โตชิบา ในร้านขายเสื้อผ้า ไม่มีทางมาถึงจุดนี้หรอก เพราะธนาคารก็มีคอนเนคชั่น มีพาวเวอร์มากกว่าอยู่แล้ว แต่เขาเป็นคนส่วนมากไม่ใช่คนส่วนน้อย
Tip ข้อแรกเลย เราต้องเป็นคนส่วนน้อยที่เกินค่าเฉลี่ย เราต้องมองเห็นอะไรที่คนส่วนใหญ่มองไม่เห็น แล้วเราต้องถูกมากๆ แล้วคนส่วนใหญ่ต้องผิดมากๆ
ถ้าทุกคนคิดจะขายชานมไข่มุก มันก็แชร์มาเก็ตแชร์กับคนอื่น แต่ถ้าไม่คิดเหมือนเราเลย เราจะเป็น Monopoly เราจะเป็นคนเดียวที่ทำมัน แล้วถ้าลมมันเปลี่ยนทิศเมื่อไหร่คุณจะโตเร็วมาก” จิรายุสระบุถึงวิสัยทัศน์ข้อแรก
ข้อสอง Stick to vision อย่าให้คนอื่นมาเปลี่ยนความคิด หรือล้มเลิกความเชื่อมั่นของคุณ เพราะว่าทุกคนที่เราเจอ หนังสือที่เราอ่าน กลุ่มเพื่อนที่คบ สิ่งที่หล่อหลอมเราให้เราแตกต่างจากอีก 7 พันล้านคนทั่วโลก แม้แต่พี่น้องยังเห็นไม่เหมือนกันเลย เพราะว่ามันคือประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เราต้อง Stick to vision ของเรา อย่าให้คนอื่นมาเปลี่ยนมัน
“ซึ่งผมเห็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จทุกคน จะมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือ Conviction เขาจะมี Conviction กับอะไรบางอย่างที่ Strong แข็งแรงมากๆ มากกว่าคนอื่น ลองไปดู อีลอนมัสก์ ที่เขาให้สัมภาษณ์ เขาเชื่อมั่นมากๆ ว่าเขาจะไปดาวอังคารได้ ด้วยจรวดของเขา คนส่วนอื่นว่าเขา Crazy แต่เขาพูดอย่างมี Conviction ว่ามันเป็นไปได้ เขาเชื่อในวิชชั่นนี้แล้วเขาก็ทำมันทุกวัน จนมันเป็นความจริง เขาไม่ล้มเลิกง่ายๆ” จิรายุสระบุ
ข้อสาม การจะเป็นผู้ประกอบการที่ดีคุณต้องยอมรับความเจ็บปวดให้ได้เยอะ มันไม่ใช่อาชีพ มันไม่ใช่เข้างานเก้าโมงเช้า เลิกงาน ห้าโมงเย็น การเป็นผู้ประกอบการ คือคุณต้องทำมัน 7วัน ตลอด 24 ชั่วโมง
“คุณต้องฝันถึงมัน พูดถึงเกี่ยวกับมัน ไปเจอใครคุณก็พูดถึงมัน ไปเจอเพื่อนคุณก็ต้องพูดเกี่ยวกับธุรกิจของคุณอย่างมี Passion มากๆ มันคือชีวิตไปแล้ว มันไม่ใช่งาน ไลฟ์ กับ เวิร์ค มันเหมือนกัน แล้วต้องทำในระยะยาวด้วย
ดังนั้น คุณต้องรับความเจ็บปวดให้ได้ดี เวลาออกสื่อ มักจะออกแค่ด้านดี ด้านไม่ดีจะไม่ออกสื่อ ไม่มีใครรู้หรอกว่าผมโดนแบงค์ชาติเรียกตัว โดน ปปง. โดน สรรพากรเรียกตัว โดน กลต.(สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) เรียกตัว แทบจะทุก Regulator ในเมืองไทยแล้วตอนนี้ ซึ่งคุณต้องรับความเจ็บปวดได้มากกว่าค่าเฉลี่ย ถ้าคุณทำได้ คุณจะประสบความสำเร็จมาก เพราะทุกธุรกิจยากหมด ถ้าง่าย ทุกคนคงประสบความสำเร็จกันหมด” จิรายุสระบุ และบอกกล่าวเพิ่มเติมว่า
คนที่ประสบความสำเร็จ คือคนที่อดทนได้นาน อดทนได้มากกว่าคนอื่น อดทนได้มากกว่าค่าเฉลี่ยของคนอื่น คนอื่นจะล้มเลิกก่อน เขาไม่สามารถรับความเจ็บปวดได้ เช่น เกือบจะประสบความสำเร็จอยู่แล้วก็ล้มเลิก เพราะฉะนั้น อีกอย่างหนึ่งที่ผู้ประกอบการที่ดีมีเหมือนกันก็คือ รับความเจ็บปวดได้ดี มีเหมือนกันทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจไหนก็ตาม
>>> เชื่อมั่นใน ‘ดิจิทัล เคอเรนซี่’
เมื่อถามว่า ที่ประเมินว่าบิทคอยน์มีมูลค่าทะลุสองล้านบาทไปแล้ว หากให้ช่วยประเมินบิทคอยน์ทั่วโลก มองว่าสะท้อนอะไรบ้าง
จิรายุสยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า ส่วนตัวไม่สามารถบอกได้ เพราะย่อมขึ้นอยู่กับดีมานด์ ซัพพลายของทั้งโลก
“ถ้าใครตอบคำถามนี้ได้ก็เป็น Millionaire คนต่อไป แต่ถามว่าผมเชื่อมั่นไหม ผมเชื่อมั่นใน ดิจิทัล เคอเรนซี่ เพราะทำมาแปดปีแล้ว แล้วก็เป็นคนที่ผลักดันมันมา ผมก็ต้องเป็นคนที่เชื่อมั่นในสิ่งนี้อยู่แล้ว” จิรายุสระบุ
เมื่อถามว่าเพราะเหตุใด จึงเชื่อมั่นในดิจิทัล เคอเรนซี่
จิรายุสตอบว่า “เพราะว่ามันทำอะไรที่โลกการเงินในยุคที่แล้ว ทำไม่ได้ เราแค่มีโทรศัพท์มือถือ ต่ออินเทอร์เน็ต เปิดบัญชีธนาคารเชื่อมกับคนทั้งโลกได้แล้ว มันสร้างอำนาจและอิสระให้กับคน ธุรกิจอะไรก็ตามที่ทำให้เราเคลื่อนย้ายคนได้เร็ว เคลื่อนย้าย Property ได้เร็ว หรือเคลื่อนย้ายเงินได้เร็ว จะประสบความสำเร็จในอนาคต ซึ่งบล็อกเชนมันมาช่วยเรา ในการเคลื่อนย้ายมูลค่าที่มีประสิทธิภาพมากๆ เหมือนอินเทอร์เน็ตที่เคลื่อนย้ายข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากๆ ใน 20 ปีแรก แต่นี่คืออินเทอร์เน็ตในเจนเนอเรชั่นที่ 2 ที่ทำให้เราเคลื่อนย้ายมูลค่าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากๆ
“ดังนั้น ผมจึงเชื่อมั่นมากๆ ว่า มันเป็น Trend point ที่โลกของเราจำเป็นต้องใช้ การเงินยุคเก่าไม่สามารถโอนเงิน 5 บาท 10 บาท ข้ามประเทศได้ แต่ในโลกยุคใหม่ บริษัทที่เพิ่งเปิดมา 3 ปี 5 เดือน สามารถทำให้คนไทยทำแบบนั้นได้ เพียงมีโทรศัพท์มือถือที่ต่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้น สามารถทำให้คนที่ไม่มีบัญชีธนาคารเข้าถึงบริการทางการเงินได้เหมือนกันและดีกว่า ซึ่งคนทั่วโลกตอนนี้ 1 ส่วน 3 ของโลก ไม่มีบัญชีธนาคาร ซึ่งต้นทุนของการเข้าถึงมันสูงเกินไป ธนาคารไม่สามารถทำให้ต้นทุนมันต่ำได้ เพราะต้องเปิดสาขา เปิดตู้เอทีเอ็ม นี่คือต้นทุนที่ต้องส่งให้ลูกค้า
“แต่เราสามารถปฏิวัติ เปลี่ยนวิธีคิด วิธีการทำงานของวงการการเงินให้ต้นทุนมันถูกลงอย่างน้อยเป็นสิบเท่า พอต้นทุนมันถูกลงสิบเท่า มันก็สามารถทำให้เข้าถึงคนจำนวนมหาศาลได้เลย เข้าถึงคนระดับมาก เพราะต้นทุนต่ำลงแล้ว เหมือนกับโทรทางไกล เมื่อก่อนมีคนรวยเท่านั้น ที่โทรไปต่างประเทศได้ แต่พอมีสไกป์ มีไลน์ มีเฟซคอลกันทั้งโลก เห็นหน้าด้วย ไม่ว่าคนรวยคนจน เข้าถึงหมด อะไรที่สร้างโอกาสให้กับคน อย่างไรมันก็เวิร์ค ผมก็เลยเชื่อมั่น” จิรายุสกล่าวอย่างหนักแน่น
จิรายุสเล่าว่า ผู้ที่เปิดบัญชีกับบิทคัพเพื่อลงทุน มีทั้งลงทุนระยะยาว มีทั้งเก็งกำไรระยะสั้น มีทั้งโอนเงินเกม จ่ายค่าน้ำ จ่ายค่าโทรศัพท์มือถือ มีหลายอย่าง
เมื่อถามว่า ยังมีอะไรที่อยากทำ อยากพัฒนาให้กับบริษัท
จิรายุสตอบว่า “โอย มีอีกเยอะมากๆ เลยครับ จะปฏิวัติเปลี่ยนแปลงวงการโฆษณาทั้งหมดในประเทศไทย เปลี่ยนแปลงวงการเอ็นเตอร์เทนเมนต์ทั้งหมด แล้วก็สร้างทุกอย่างที่สามารถซื้อขายได้ตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเรือรบได้เลย แม้กระทั่งยูนิตของไฟฟ้า ก็สามารถซื้อขายได้ คาร์บอนเครดิต ก็สามารถซื้อขายได้ ทุกอย่างที่มีมูลค่าจะเป็นเหมือนหุ้น จะเป็นเหมือนเหรียญ นี่คือความเชื่อของเราในโลกอนาคต
“มันไม่ใช่แค่ ดิจิทัล เคอเรนซี่ แต่ทุกอย่างจะเป็น คริปโตเบส โปรดักส์ ส่วนหนึ่งของที่ดิน ส่วนหนึ่งของคอนโด ก็สามารถซื้อขายเหมือนหุ้นได้แล้ว เช่น อนันดา จ่ายด้วยคริปโตฯ ได้แล้ว เฟอร์รารี่ เทสล่า รับคริปโตเพย์เมนท์ ทั้งหมดแล้ว มันคือการ Transition ที่กำลังจะเปลี่ยนไป ในอนาคต หุ้นจะเป็นแค่ซับเซ็ตของ ดิจิทัล แอสเสททั้งหมด
“เราสามารถซื้อขายได้ตั้งแต่ไม้จิ้งฟันยันเรือรบ เหมือนหุ้นได้เลย เหมือนอินเตอร์เน็ตมาแล้วเปลี่ยนข้อมูลการสื่อสารเป็นดิจิทัลทั้งหมด เพลงก็เป็นดิจิทัลหมดแล้ว ดังนั้น เรากำลังจะเข้าสู่ยุคที่อีก 20 ปี ทุกอย่างจะเป็นดิจิทัล เพชร ทอง คอนโด ที่ดิน ทุกอย่างเป็นดิจิทัลหมดเลย ผมว่าภายใน 5 ปีนี้ ก็น่าจะเห็นภาพแล้วครับ เงินจะไม่ใช่กระดาษแล้วครับ อย่างแบงค์ชาติจะมีดิจิทัลบาทออกมาแล้ว ในไตรมาศที่ 1 ปีหน้า” จิรายุสระบุ
>>> ‘สะพานทั้ง 4’ สิ่งที่อยากผลักดันในฐานะอุปนายกสมาคมฟินเทคฯ
นอกจากวิสัยทัศน์ในการทำงานแล้ว เมื่อขอให้เล่าถึงบทบาทของการเป็นอุปนายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย จิรายุสตอบว่า
“จริงๆ สมาคมฟินเทคฯ ผมเป็นกรรมการสมัยที่ 2 แล้ว เมื่อ 2 ปีแรกก็เคยเป็นมา ซึ่งหน้าที่บทบาทของสมาคมเป็นเหมือนสะพาน 4 สะพาน”
จิรายุสกล่าวว่า สะพานที่หนึ่ง คือการเชื่อมกับ Regulator เพราะปัจจุบัน อยู่ในยุคที่ต้องสื่อสารกัน คนที่ทำธุรกรรมการเงินแบบใหม่ ที่เรียกว่าฟินเทค ต้องเข้าไปคุยกับผู้กำกับดูแล สื่อสารให้ตรงกัน ขณะที่ Regulator ใส่ใจเรื่องความเสี่ยง
ฟินเทคเพลเยอร์ ห่วงเรื่อง Innovation จะหาจุดตรงกลางยังไงให้ประเทศเราไม่ผลักดันอินโนเวชั่นออกไปนอกประเทศ และทำยังไงให้ไม่เสี่ยงเกินไป
“สะพานที่สอง เชื่อมโยงระหว่าง Traditional Bank และฟินเทค เพลย์เยอร์ เราอยู่ในยุคที่ต้องจับมือกัน เปลี่ยนรูปแบบนวัตกรรมทางการเงินให้เป็นของโลกอนาคตก่อนที่จะเป็นของชาวต่างชาติ เพราะสถาบันการเงินเป็นวงการสุดท้ายที่ยังเป็นของคนไทย วงการอื่นเช่น เฟซบุ๊ค อินสตาแกรม ไลน์ เป็นของชาวต่างชาติหมด E-Commerce ก็เป็นของชาวต่างชาติไปแล้ว ถ้าเราไม่จับมือกันตอนนี้ วงการการเงินอาจไม่ใช่ของไทยในอีก 5 ปี ข้างหน้า 10 ปีข้างหน้า เราเลยเป็นสะพานให้จับมือกัน เสริมกัน อุดข้อเสียซึ่งกันและกันและไปสู้กับชาวต่างชาติให้ได้ ก่อนที่ GDP จะไหลออกนอกประเทศ แล้วประเทศไทยจะติดอยู่ในกับดัก” จิรายุสระบุ
สะพานที่สาม คนที่มีความรู้ยังคงกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ เราพยายามให้คนได้เข้าถึงความรู้ความเข้าใจว่าการออมเงินคืออะไร ให้เข้าถึงคนทั้งประเทศ ทำยังไงให้เราสอนออนไลน์ได้ ทำยังไงให้เด็กจบมามี Skill ที่ตรงกับตลาด ทำยังไงให้ระหว่างเรียนอยู่สามารถฝึกงานกับ บริษัทกลุ่มฟินเทคในประเทศไทยได้ เพราะความรู้ความเข้าใจในมหาวิทยาลัย ตามกันไม่ทันแล้ว ทำยังไงให้เด็กได้ไปฝึกงานกับบริษัทชั้นนำด้านฟินเทค จบมาจะได้มีงานทำที่ตรงกับตลาด ในขณะเดียวกันทำยังไงให้คนทั่วไปเข้าใจเกี่ยวกับการออมเงินการลงทุน
สะพานที่สี่ คือหาหนทาง Connect เมืองไทย กับต่างประเทศ เนื่องจากฟินเทคเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก เพราะฉะนั้นจะมีการเรียนรู้ถูกผิดไปพร้อมกันทั่วโลก เราควรจะเรียนรู้ไปพร้อมกัน กับต่างประเทศ แล้วมาแชร์ประสบการณ์ ความรู้ ความผิดพลาดไปด้วยกัน ทำให้เราเรียนรู้ร่วมกันกับฟินเท็คสิงคโปร์ ฟินเท็คอังกฤษ Collaborate กัน จัดเวที จัดอีเวนท์ แชร์ประสบการณ์เพื่อให้เราเรียนรู้เร็วขึ้น นี่ก็จะเป็นสะพานที่เป็นอีกตัวเชื่อมหนึ่ง
“นี่เป็นหน้าที่ในสมาคมฯ ขณะที่ตัวผมเองผมน่าจะเป็นคนแรกๆ ในเมืองไทยที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับฟินเทคเมื่อแปดปีที่แล้วในเมืองไทย” จิรายุสกล่าวทิ้งท้าย สะท้อนภาพบทบาทที่หลากหลายและวิสัยทัศน์ก้าวไกลของชายผู้นี้
...............................................
Text by รพีพรรณ สายัณห์ตระกูล
ดีกรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง คณะเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ และปริญญาโทเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ผู้เชื่อมั่นในบิทคอยน์ เชื่อในสกุลเงินดิจิทัล เชื่อมั่นในดิจิทัล เคอเรนซี่ เขาคือผู้ที่นั่งสนทนากับผู้บริหาร PayPal ใน Silicon Valley ที่ร้านแพนเค้กในวันเสาร์ เพื่อถามไถ่โดยเฉพาะว่าคิดอย่างไรกับบิทคอยน์
บทสนทนาในวันนั้น ตอกย้ำว่า บิทคอยน์จะมาเปลี่ยนแปลงโลก ย้ำความเชื่อมั่นใน Cryptocurrency จากนั้นไม่ถึงเดือนเขาก็บินกลับมาเมืองไทย และเปิดบริษัทแรกในนาม Coins.co.th ราวปี 2013-2014 บนร้านขายเสื้อผ้าของคุณพ่อคุณแม่ ก่อนที่จะมีบริษัทซึ่งเติบโตถึง 1,000% ในวันนี้
ผู้จัดการออนไลน์ สัมภาษณ์พิเศษ ท็อป-จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา Group CEO ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บิทคัพ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือ Bitkub ซึ่งมีหนึ่งในบริษัทลูกเป็น Platform Business ในการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล บิทคอยน์ คริปโตเคอเรนซี่ Digital currency และการเทรด การลงทุนที่หลากหลาย ผู้ที่เปิดบัญชีกับบิทคัพมีทั้งเพื่อลงทุนระยะยาว มีทั้งเก็งกำไรระยะสั้น มีทั้งโอนเงินเกม จ่ายค่าน้ำ จ่ายค่าโทรศัพท์มือถือ และอีกจิปาถะ ‘ผู้จัดการ’ พูดคุยกับ ท็อป-จิรายุส เพื่อถามไถ่ถึงวิสัยทัศน์ ความเชื่อมั่นในโลกยุคอนาคต รวมทั้งความเป็นมาก่อนประสบความสำเร็จอย่างสูงยิ่งในวันนี้
>>> ความเป็นมา กระทั่งเติบโต 1,000%
เมื่อถามว่า การที่บริษัทเติบโตถึง 1,000% อยากให้เล่าถึงวิสัยทัศน์ในการทำงาน รวมถึงเล่าย้อนความเป็นมาว่ามาทำธุรกิจเกี่ยวกับบิทคอยน์ และสกุลเงินดิจิทัลได้อย่างไร
จิรายุสตอบว่า “จริงๆ แล้ว Bitkub ที่โต 1,000% เป็นบริษัทที่ 2 ที่ผมเปิดขึ้นมา ส่วนตัวแล้วผมอยู่ในวงการ Digital Currency มาแปดปีแล้ว เป็นคนไทยคนแรกๆ ที่ผลักดันดิจิทัล บิทคอยน์ ให้ทุกคนรู้จักและถูกต้องตามกฎหมาย”
จิรายุสกล่าวว่า หากถามว่าเริ่มได้อย่างไร คงต้องย้อนกลับไปนับแต่จบปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์จากอังกฤษ ค้นหาตัวเอง ไปทดลองงาน เป็น Investment banking ที่จีน ทำได้ประมาณ 2 เดือนกว่า ก็ไปเห็นดิจิทัลบิทคอยน์บนอินเทอร์เน็ต ราคาตอนนั้น พุ่งจาก 11 ดอลลาร์ ไปถึง 1,000 กว่าดอลลาร์ ก็เลยเกิดสนใจ ศึกษาเพิ่ม แล้วก็ไปอ่านเจอบล็อคของมาร์ค แอนเดอร์สัน เขาเขียนถึงมุมที่ว่าบิทคอยน์จะเปลี่ยนแปลงโลกยังไง จะทำให้โทรศัพท์มือถือหรืออินเทอร์เน็ตกลายเป็นบัญชีธนาคารยังไง เป็นไมโครเพย์เมนท์ให้เราโอนเงินข้ามประเทศ 5 บาท 10 บาทได้ยังไง โดยที่ธนาคารไม่สามารถทำได้ ก็เลยสนใจ และเกิดความเชื่อมั่นในสิ่งที่เรียกว่าบิทคอยน์นี้ ในแปดปีที่แล้ว
จิรายุสเล่าว่า จากนั้นเขาก็เริ่มค้นหาตัวเอง “ทำงานที่แรกในระยะเวลาสองเดือนรู้สึกว่าไม่ชอบ จึงไปทำอีกที่หนึ่งที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา ทำด้าน Consulting ก็รู้ว่าไม่น่าจะเหมาะกับตนเอง แต่คิดว่าในเมื่อมาถึงซานฟรานซิสโกแล้ว ก็เลยลองสอบถามเพื่อนๆ ดูว่ามีใครรู้จักใครบ้างไหมที่ทำงานใน Silicon Valley ที่อยู่ในซานฟรานซิสโก ช่วยนัดเจอให้หน่อย มีเพื่อนบอกว่ารู้จักกับผู้บริหาร PayPal ชื่อแดน แชท อยากเจอไหม ก็เลยนัดเจอ คุยกันที่ร้านแพนเค้กในวันเสาร์ ผมก็ถามเขาว่า แดน คุณคิดยังไงกับบิทคอยน์”
“เขาบอกว่า บิทคอยน์จะมาเปลี่ยนแปลงโลก เขาต้องการสร้างดิจิทัล ดอลลาร์ แต่ตอนนั้น เทคโนโลยีไม่พร้อม คลาวด์ยังไม่มี บล็อกเชนก็ยังไม่มา วันนี้ คนรุ่นใหม่ คุณเป็นรุ่นที่โชคดีมาก คลาวด์ก็มีแล้ว บล็อกเชนก็มี โทรศัพท์มือถือก็มี บรอดแบนด์มีหมด อินเทอร์เน็ตมีหมดแล้ว บิทคอยน์จะมาเปลี่ยนแปลงโลก มันก็เลยย้ำความเชื่อมั่นใน Cryptocurrency จากนั้นไม่ถึงเดือนผมก็บินกลับมาเมืองไทย และเปิดบริษัทแรกเลยชื่อ Coins.co.th ซึ่งตอนนั้นปี 2013-2014 ก็เปิดจากร้านขายเสื้อผ้าของคุณพ่อคุณแม่”
“คุณพ่อคุณแม่ผมขายเสื้อผ้า มีร้านที่ประตูน้ำ ผมไม่อยากใช้เงินคุณพ่อคุณแม่ เขาส่งเราเรียนมาสิบปีแล้ว ก็เลยเปิดอยู่ที่ชั้นลอย กับเครื่องคอมพิวเตอร์โตชิบาเครื่องหนึ่ง ทำมาสิบเดือนไม่ได้ใช้เงินสักบาท เก็บเงินทุกบาททุกสตางค์เพื่อที่จะขยายทีม เพื่อจ้างพนักงานมาทำงาน” จิรายุสเล่าถึงความเป็นมาในการก่อตั้งบริษัทแห่งแรกที่ยังคงแจ่มชัดในความทรงจำ
>>> เผชิญบททดสอบ แบงค์ชาติ-ปปง.สรรพากร ตรวจสอบหนัก หวั่นบิทคอยน์เป็นแชร์ลูกโซ่ กระทั่งก้าวผ่านอุปสรรค เป็นว่าที่ “ยูนิคอร์น” แห่งวงการสตาร์ทอัพ
จิรายุสเล่าว่าในปี 2014 แบงก์ชาติหรือธนาคารแห่งประเทศไทย ส่งหนังสือถึงธนาคารพาณิชย์ต่างๆ เตือนว่าบิทคอยน์จะเป็นแชร์ลูกโซ่ มูลค่าจะเหลือศูนย์ อย่าได้เข้าไปยุ่ง ทำให้จิรายุสทะเลาะกับครอบครัว เพราะครอบครัวอยากให้เลิกธุรกิจที่ทำอยู่เพราะกลัวเป็นแชร์ลูกโซ่
“เพราะครอบครัวก็ฟังคำเตือนของแบงก์ชาติอยู่แล้ว ไม่ฟังลูกชายเพิ่งจบใหม่หรอก ก็ทะเลาะกัน แต่เราก็ไม่หยุด จากนั้นก็โดน ปปง.(สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน) เรียกตัวไป โดนสรรพากรเรียกตัวไป ในทุก ๆ ปี ก็จะมีปัญหากับ Regulator ในสิ่งที่ทำสิ่งใหม่ ในสิ่งที่คนไทยไม่เข้าใจสุดท้ายก็มีบริษัทหนึ่งมาขอซื้อไป ก็มาเปิดบริษัทที่สอง ชื่อว่า Bitkub ซึ่งในเมื่อเรามีประสบการณ์จากบริษัทแรกแล้ว บริษัทที่สองเราก็ระดมทุนในรอบ Seed Round ได้ 525 ล้านบาท ซึ่งถือว่าใหญ่ที่สุดในรอบ Seed Round ในสตาร์ทอัพเมืองไทยในตอนนั้น แล้วสุดท้าย มี Series A อีกรวมเป็นทั้งหมด 327 ล้าน แล้วก็ตอนนี้ก็ผ่านมา 3 ปี 5 เดือน บิทคัพมี 4 บริษัทในเครือ มีพนักงาน 1,478 คน แล้วก็ปีหน้าจะทำเงินได้ 3-4 พันล้านบาท ก็น่าจะเป็นหนึ่งใน Potential Unicorn เป็นยูนิคอร์น 30,000 ล้าน ปลายปีก็น่าจะเป็นยูนิคอร์น
"เรา Run ธุรกิจบนกำไร ไม่ได้ Run ธุรกิจบนความขาดทุน นี่คือ เรื่องราวคร่าวๆ ครับ” จิรายุสบอกเล่าถึงธุรกิจที่มีแนวโน้มจะเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง” จิรายุสระบุ
>>> ความหลังเมื่อครั้งเปิดบริษัทแรก ความเจ็บปวดที่ต้องแบกรับ
เมื่อถามว่าตอนที่อยู่ชั้นลอยของร้านขายเสื้อผ้า พร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์โตชิบาหนึ่งเครื่องตลอดสิบเดือน ทำอะไรบ้าง จิรายุสตอบว่า “ทำทุกอย่างครับ เปิดบริษัท ซึ่งเราไม่เคยเปิดบริษัทมาก่อน ต้องเรียนรู้เยอะมาก การจดทะเบียนบริษัทต้องมีอะไรบ้าง โอเปอร์เรชั่น ดีไซน์เว็บไซต์ ตอนนั้นยังไม่มี Wallet เลย มีแค่หน้ากากอย่างเดียว พอลูกค้าสั่งมาก็ไปซื้อบริษัทอื่นมาให้ พอลูกค้าขายบิทคอยน์ ก็ต้องไปขายที่อื่นแล้วเอาเงินมาให้ลูกค้า โอนเงิน จำได้ว่า ตอนตี 3ต้องไปเคาะประตูห้องคุณพ่อคุณแม่ เพราะโอนเงินให้ลูกค้าไม่ทันก็มี ในยุคนั้น การตลาดต้องทำเอง ทำอย่างไรทั้งที่ไม่ได้มีงบเยอะขนาดนั้น ทำ HR เอง ทำ Operation ทำ accounting เอง ภาษีอะไรก็ทำเองทั้งหมด เรียนรู้และทำเองทุกอย่าง เจ็บปวดมาก เป็นสิบเดือนที่เจ็บปวดมาก ไม่ได้ออกสังคม เก็บเงินทุกบาททุกสตางค์เพื่อที่จะจ้างพนักงาน แล้วก็เป็นสิบเดือนที่ได้เรียนรู้เยอะมาก” จิรายุสระบุ
เมื่อถามว่า ณ ตอนนี้บิทคอยน์ มีมูลค่าเกินล้านบาทแล้วใช่หรือไม่
จิรายุสตอบว่า “ใช่ครับ ถึง 2 ล้านบาทด้วยครับ”
>>> แนะคนรุ่นใหม่ ศึกษาให้รู้ลึกหากสนใจสกุลเงินดิจิทัล-บิทคอยน์
เมื่อขอให้แนะนำคนรุ่นใหม่ที่สนใจ บิทคอยน์ หรือคริปโตเคอเรนซี่แต่ยังไม่มีความรู้เรื่องนี้ เขาควรเริ่มจากจุดไหน
จิรายุสกล่าวว่า ต้องเริ่มต้นจากความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ควรเข้าไปศึกษาว่าดิจิทัล เคอเรนซี่คืออะไร บิทคอยน์คืออะไร คริปโตเคอเรนซีคืออะไร บล็อกเชนเทคโนโลยีคืออะไร เทคโนโลยีพวกนี้จะมาเปลี่ยนแปลงวงการการเงิน ต่างๆ ในโลกอนาคตอย่างไรบ้าง เมื่อศึกษาเข้าใจแล้วก็ไปศึกษาวิธีเปิดบัญชีกับ Bitkub ก็ได้ หรือ Bitkub Academy ในเฟซบุ๊คแฟนเพจก็มี หรือจะไปลงเรียนคอร์สต่างๆ ก็จะมีสอนว่าเปิดบัญชียังไง ซื้อยังไง ขายยังไง โอนยังไงให้ปลอดภัย Public key คืออะไร Private key คืออะไร ทดลองซื้อ มีเงิน 100 บาทก็ทดลองซื้อได้ Limit order กับ Market order ต่างกันยังไง ลองซื้อดู ลองขายดู แล้วค่อยเพิ่มเงินเมื่อทำทุกอย่างคล่องแล้ว
เมื่อถามว่า ถ้ามีวัยรุ่นหรือคนวัยทำงาน มีเงินเก็บสักหนึ่งหมื่นบาท อยากมาลงทุนกับบิทคัพ ต้องทำอย่างไรบ้าง
จิรายุสตอบว่า “อย่างแรกต้องศึกษาหาความรู้ที่ถูกต้องก่อนว่า บล็อคเชนคืออะไร บิทคอยน์คืออะไร ซื้อขายยังไง ฝากเงิน โอนเงิน ถอนเงิน รับเงิน ถอนเงินคืออะไร Limit order กับ Market order คืออะไร สามารถเข้าไป Bitkub.com หรือแอปพลิเคชั่นบิทคัพก็ได้ แล้วก็ดาวน์โหลดมา เปิดบัญชีก็เหมือนสมัครเฟซบุ๊ค ใช้อีเมล์ ใช้พาสเวิร์ด คอนเฟิร์มในอีเมล์ คอนเฟิร์มแอคเคาท์ ทำพาสเวิร์ดสองขั้นเพื่อความปลอดภัยอีกระดับนึง ฝากเงินก็โอนเงินออนไลน์ได้เลย ซื้อขายหุ้นเป็น ก็เทรดคริปโตเคอเรนซี่เป็น มันเหมือนกันเลย ลิมิทออเดอร์ มาร์เก็ตออเดอร์ เหมือนกันเป๊ะเลยครับ” จิรายุสระบุ
>>> การทำงานของบล็อกเชน รองรับโลกแห่งอนาคต
เมื่อขอให้ช่วยอธิบายถึงการทำงานของบล็อกเชน จิรายุสเปรียบเทียบให้เห็นภาพว่า ถ้าหากเปรียบง่ายๆ อินเทอร์เน็ต คือเจนเนอเรชั่นแรก ที่จะมาเปลี่ยนทุกอย่างที่เป็นข้อมูลให้เป็นดิจิทัล ทำให้เราแลกเปลี่ยนทุกอย่างที่เป็นฟอร์แมท ข้อมูล เป็นออนไลน์ทุกอย่าง เช่น เพลง เมื่อก่อนก็เป็นเทป ซีดี เอ็มพีสาม กลายเป็น Youtube Jook ออนไลน์ การโฆษณา การอ่านข่าวก็ออนไลน์ มัน Digitize ทุกอย่าง ใน 20 ปีแรก
“แต่ข้อเสียคือ การส่งข้อมูล ไฟล์งานไฟล์เสียง เมื่อเราส่งไปให้คนอื่นแล้ว ไฟล์ภาพไฟล์เสียงก็ยังอยู่ที่เรา มันเป็นการสื่อสารแบบเพิ่มสำเนา เช่นการส่งอีเมล์แล้วมีสองสำเนา ถ้าเราทำแบบเดียวกับเงิน มันเปรียบเหมือนการเกิดเงินเฟ้อมหาศาล ภายในหนึ่งวันเมืองไทยก็เกิดเงินเฟ้อ หนึ่งล้านเปอร์เซ็นต์ มันไม่เวิร์ค
“แต่พอบล็อกเชนมา มันเหมือนเปลี่ยนมูลค่าให้เป็นดิจิทัล อาจเรียกว่า Tokenization เป็น Infrastructure หลังบ้าน เป็น Layer ที่สองของอินเทอร์เน็ต ทำให้เราสามารถดิจิไทซ์มูลค่าทุกชนิด ไม่ว่าเพชร ทอง บ้าน ทุกอย่าง ให้เป็นดิจิทัล ซึ่งส่งไปไหนก็ได้ทั่วโลก ไม่ต้องเสีย 4-5% เวลาส่งข้ามประเทศ ทั่วโลก
"ยกตัวอย่างเหมือนส่งอีเมล์หากัน แต่ข้อดีกว่านั้นคือ เมื่อเราใช้บล็อกเชน มันจะไม่มีสำเนาเดิมอยู่ในเครื่อง เมื่อส่งปุ๊บสำเนาเดิมหายไปเลย เพราะฉะนั้นมันไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางอีกต่อไป ดังนั้น ธุรกิจที่เป็นตัวกลางให้เราสามารถแลกเปลี่ยนทุกชนิด เมื่อก่อน เวลาส่งเพลงก็มีร้านแมงป่อง มีบล็อคบัสเตอร์ เป็นตัวกลาง แต่พอเป็นดิจิทัลแล้ว ตัวกลางก็ต้องเปลี่ยนเป็นดิจิทัล โพรไวเดอร์ เช่น ยูทูป เน็ตฟลิกซ์ ไลน์ทีวี
"ทุกวันนี้ ทองคำต้องจับต้องได้ ที่ดิน เงิน ต้องจับต้องได้ เราก็ต้องมีเครื่องนับเงินสาขา ตู้เอทีเอ็ม แต่ในอนาคตถ้าทุกอย่างต้องเป็นดิจิทัล เพลเยอร์ตรงกลางก็ต้องเปลี่ยนตัว เช่น เป็น ร้านแมงป่องไม่ได้แล้ว เป็นบล็อคบัลเสอตร์ ไม่ได้แล้ว ก็ต้องเป็น ดิจิทัล เพลเยอร์มากขึ้น เราก็จะมี ‘ดิจิทัลแบงค์ บิทคัพ’ เกิดขึ้นมาในโลกอนาคต” จิรายุสระบุ
>>> Bitkub เปรียบเสมือน Platform Business
เมื่อถามว่าบิทคัพหรือบริษัทในเครือของจิรายุสทำหน้าที่อะไร หรือเป็นตัวกลางอย่างไรระหว่างดิจิทัลแอสเส็ท หรือคริปโตเคอเรนซี่
จิรายุสตอบว่า ในเมื่อเรามีความเชื่อว่ามูลค่าทุกชนิดจะเป็นดิจิทัลแล้ว เหมือนกับเพลงที่เป็นดิจิทัลไปแล้ว จะเป็นบล็อคบัสเตอร์ หรือเป็นเทปไม่ได้แล้ว เป็นซีดี เอ็มพีสามเหมือนเดิมไม่ได้แล้ว ต้องเป็นยูทูป เป็นไลน์ทีวีเพิ่มมากขึ้น
เหล่านี้คือแพลตฟอร์มบิสเนส ซึ่งเรามองว่าเราได้สร้างแพลตฟอร์มขึ้นมา แพลตฟอร์มบิสเนส คือสะพานที่แข็งแรงมาก ยกตัวอย่าง Facebook เป็นแพลตฟอร์มบิสเนสของวงการสื่อ เขาเป็นแพลตฟอร์ม เป็นสื่อที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยไม่มีบรรณาธิการเป็นของตัวเอง ไม่มีคอนเทนต์เป็นของตัวเอง แต่เขาเป็นสะพานที่ใหญ่มาก Uber Grab เป็นอู่รถที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยไม่มีแท็กซี่เป็นของตัวเอง
Lazada Shopee Amezon เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยไม่มีคลังสินค้าอะไรเป็นของตัวเอง Airbnb เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นเครือโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ไม่มีโรงแรมเป็นของตัวเอง
“เหล่านี้ คือ แพลตฟอร์ม บิสเนส มันหมายความว่าอะไร มันหมายความว่า สถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือสถาบันการเงินที่ไม่มีเงินเป็นของตัวเอง ซึ่งบิทคัพคือสถาบันการเงินที่โตเร็วมาก ที่ไม่มีเงินเป็นของตนเอง คือการทำธุรกิจสำหรับโลกอนาคต เป็นแพลตฟอร์ม บิสเนส อันแรกที่เป็นของคนไทยร้อยเปอร์เซ็นต์ อันอื่นที่พูดมาเป็นของชาวต่างชาติทั้งหมด ไม่ว่าเป็นไลน์ อินสตาแกรม ลาซาด้า เฟซบุ๊ค โชปี้ วีแชท อโกด้า ทราเวลโลก้า เป็นของชาวต่างชาติทั้งหมด ที่เป็นแพลตฟอร์ม บิสเนส
"บริษัทส่วนใหญ่ของไทย หากไม่ให้บริการก็ให้ผลิตภัณฑ์ที่ตัดกันที่ราคา แต่ถ้าเราพูดถึงแพล็ตฟอร์ม บิสเนส หรือ อีโค ซิสเต็ม พวกนี้ Profit margin เยอะมาก เช่น แอปเปิล เฟซบุ๊ค เป็นธุรกิจของโลกอนาคต ซึ่งบิทคัพพยายามที่จะเป็นธุรกิจของโลกอนาคตที่เป็นของคนไทย 100% ซึ่งกลุ่มของเรา มี 4 บริษัท” จิรายุสระบุ
>>> มุ่งสู่การเป็นธุรกิจของโลกอนาคต
จิรายุสเล่าถึงบริษัททั้ง 4 ในเครือว่า “บริษัทแรกเป็น แพล็ตฟอร์ม บิสเนส เป็นสะพานให้คนซื้อขายทรัพย์สินดิจิทัลได้ 100% ถูกต้องตามกฎหมาย 100% เรา Control market share กว่า 90% ยอดเทรด จุดสูงสุดอยู่ที่ 13,000 ล้านบาทต่อวัน มีลูกค้าสองล้านคนที่มาเปิดบัญชีกับเรา เดือนที่แล้วคนเข้าเว็บไซต์ 14 ล้านคน เป็นเว็บไซต์ทางการเงินและการลงทุนที่คนเข้ามากที่สุดในประเทศไปแล้ว แอปพลิเคชั่นของเรา มีการเข้า 50 กว่าล้าน Session ในสองสามเดือนที่ผ่านมา
“บริษัทที่สองของเรา ทำบิทคัพเชน เป็นอีโคซิสเต็ม เป็นเจ้าของหลายสะพานในที่เดียว ล็อคอินเน็ตเวิร์ค บริษัทที่สองเราสร้างเป็นอีโค ซิสเต็ม บิสเนส นอกจากสะพานที่หนึ่งแล้วเราก็ขาย NFT, Intellectual Property มี FanToken ที่ขายชื่อเสียงดารา จะปฏิวัติวงการโฆษณา วงการเอ็นเตอร์เทนเมนท์ทั้งหมดในไทยเรา ซึ่งเราสร้างอีก 2-3 แพล็ตฟอร์ม
“บริษัทที่สามคือ บิทคัพอะคาเดมี คล้ายๆ การให้ความรู้คน ซึ่งเราก็มีการเปิดสอนทุกอาทิตย์ ทั้งออฟไลน์ ออนไลน์ เปิดสอนทุกอาทิตย์ ฝากเงิน ถอนเงินยังไง
บริษัทที่สี่คือ บิทคัพเวนเจอร์ มีไว้เพื่อการลงทุน ลงทุนในสตาร์ทอัพรุ่นน้อง หรือ เพื่อ Protocolต่างๆ ตอนนี้ก็มี 4 บริษัทนี้ครับ” จิรายุสบอกเล่าถึง 4 บริษัท
>>> วิสัยทัศน์ในการทำงาน พลังแห่งความเชื่อมั่น
เมื่อถามว่า นับแต่ช่วงสิบเดือนแรกกับเครื่องคอมพิวเตอร์โตชิบา กระทั่งอาจจะกลายเป็นยูนิคอร์นแห่งวงการสตาร์ทอัพ วิสัยทัศน์แบบใดทำให้เติบโตได้ขนาดนี้ ใช้หลักอะไรในการบริหารงาน
จิรายุสตอบว่า มีอยู่สามอย่างที่อยากจะแชร์เป็นประสบการณ์กับผู้ประกอบการ
ข้อแรก การที่คุณจะประสบความสำเร็จได้ คุณต้องเป็นคนส่วนน้อย ที่เห็นอะไรบางอย่าง ที่คนส่วนใหญ่มองไม่เห็นแล้วคนส่วนใหญ่เข้าใจผิด
การที่เราจะประสบความสำเร็จเกินค่าเฉลี่ยได้ เราต้องเป็นคนส่วนน้อย ที่เห็นมัน แล้วคนส่วนใหญ่เข้าใจมันผิด
“สังเกตนะครับในอดีต คนที่ประสบความสำเร็จเกินค่าเฉลี่ย เขาจะเป็นคนที่ถูกต้องกับอะไรบางอย่างที่คนส่วนใหญ่ผิดมากๆ เช่น บิลเกตส์, สตีฟ จ็อบส์ เขาเป็นคนที่สร้าง Operating system ขึ้นมา ในขณะที่คนส่วนใหญ่มองข้าม หรือ Jeff Bezos ขายหนังสือออนไลน์ ก็ถูกมองว่าเป็น Crazy Idea คนส่วนใหญ่มองข้ามอินเทอร์เน็ต แต่คนส่วนน้อยมองถูกต้องมากๆ เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
หรือถ้าสิบปีที่แล้ว มีคนบอกว่าจะแชร์บ้านกับคนแปลกหน้า คนส่วนใหญ่ก็บอกว่าเครซี่ไอเดีย แต่ Airbnb ก็ถูกมากๆ หรือสิบปีที่แล้ว มีคนบอกว่าจะแชร์รถกับคนแปลกหน้า ก็จะบอกว่า Stupid Idea ใครจะมาแชร์รถกับคนแปลกหน้า แต่แกร็บกับอูเบอร์ก็เป็นคนส่วนน้อยที่ถูกมากๆ ซึ่งคนส่วนใหญ่ผิดมากๆ
“ซึ่งผมก็ไม่ได้เป็นคนที่ฉลาดมากๆ หรือฉลาดกว่าเพื่อนที่จบรุ่นเดียวกันเลย แต่ผมเป็นคนส่วนน้อยที่ถูกมากๆ เกี่ยวกับบิทคอยน์ ในขณะที่คนส่วนใหญ่ผิดมากๆ คิดว่ามันเป็นแชร์ลูกโซ่ ฟอกเงินซื้อขายตลาดมืด เงินของเล่น ซึ่งถ้าธนาคารหรือตลาดหลักทรัพย์เข้าใจเหมือนที่ผมเห็น มันคงไม่มีวันเกิดขึ้นที่เด็กคนหนึ่ง กับเครื่องคอมพิวเตอร์โตชิบา ในร้านขายเสื้อผ้า ไม่มีทางมาถึงจุดนี้หรอก เพราะธนาคารก็มีคอนเนคชั่น มีพาวเวอร์มากกว่าอยู่แล้ว แต่เขาเป็นคนส่วนมากไม่ใช่คนส่วนน้อย
Tip ข้อแรกเลย เราต้องเป็นคนส่วนน้อยที่เกินค่าเฉลี่ย เราต้องมองเห็นอะไรที่คนส่วนใหญ่มองไม่เห็น แล้วเราต้องถูกมากๆ แล้วคนส่วนใหญ่ต้องผิดมากๆ
ถ้าทุกคนคิดจะขายชานมไข่มุก มันก็แชร์มาเก็ตแชร์กับคนอื่น แต่ถ้าไม่คิดเหมือนเราเลย เราจะเป็น Monopoly เราจะเป็นคนเดียวที่ทำมัน แล้วถ้าลมมันเปลี่ยนทิศเมื่อไหร่คุณจะโตเร็วมาก” จิรายุสระบุถึงวิสัยทัศน์ข้อแรก
ข้อสอง Stick to vision อย่าให้คนอื่นมาเปลี่ยนความคิด หรือล้มเลิกความเชื่อมั่นของคุณ เพราะว่าทุกคนที่เราเจอ หนังสือที่เราอ่าน กลุ่มเพื่อนที่คบ สิ่งที่หล่อหลอมเราให้เราแตกต่างจากอีก 7 พันล้านคนทั่วโลก แม้แต่พี่น้องยังเห็นไม่เหมือนกันเลย เพราะว่ามันคือประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เราต้อง Stick to vision ของเรา อย่าให้คนอื่นมาเปลี่ยนมัน
“ซึ่งผมเห็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จทุกคน จะมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือ Conviction เขาจะมี Conviction กับอะไรบางอย่างที่ Strong แข็งแรงมากๆ มากกว่าคนอื่น ลองไปดู อีลอนมัสก์ ที่เขาให้สัมภาษณ์ เขาเชื่อมั่นมากๆ ว่าเขาจะไปดาวอังคารได้ ด้วยจรวดของเขา คนส่วนอื่นว่าเขา Crazy แต่เขาพูดอย่างมี Conviction ว่ามันเป็นไปได้ เขาเชื่อในวิชชั่นนี้แล้วเขาก็ทำมันทุกวัน จนมันเป็นความจริง เขาไม่ล้มเลิกง่ายๆ” จิรายุสระบุ
ข้อสาม การจะเป็นผู้ประกอบการที่ดีคุณต้องยอมรับความเจ็บปวดให้ได้เยอะ มันไม่ใช่อาชีพ มันไม่ใช่เข้างานเก้าโมงเช้า เลิกงาน ห้าโมงเย็น การเป็นผู้ประกอบการ คือคุณต้องทำมัน 7วัน ตลอด 24 ชั่วโมง
“คุณต้องฝันถึงมัน พูดถึงเกี่ยวกับมัน ไปเจอใครคุณก็พูดถึงมัน ไปเจอเพื่อนคุณก็ต้องพูดเกี่ยวกับธุรกิจของคุณอย่างมี Passion มากๆ มันคือชีวิตไปแล้ว มันไม่ใช่งาน ไลฟ์ กับ เวิร์ค มันเหมือนกัน แล้วต้องทำในระยะยาวด้วย
ดังนั้น คุณต้องรับความเจ็บปวดให้ได้ดี เวลาออกสื่อ มักจะออกแค่ด้านดี ด้านไม่ดีจะไม่ออกสื่อ ไม่มีใครรู้หรอกว่าผมโดนแบงค์ชาติเรียกตัว โดน ปปง. โดน สรรพากรเรียกตัว โดน กลต.(สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) เรียกตัว แทบจะทุก Regulator ในเมืองไทยแล้วตอนนี้ ซึ่งคุณต้องรับความเจ็บปวดได้มากกว่าค่าเฉลี่ย ถ้าคุณทำได้ คุณจะประสบความสำเร็จมาก เพราะทุกธุรกิจยากหมด ถ้าง่าย ทุกคนคงประสบความสำเร็จกันหมด” จิรายุสระบุ และบอกกล่าวเพิ่มเติมว่า
คนที่ประสบความสำเร็จ คือคนที่อดทนได้นาน อดทนได้มากกว่าคนอื่น อดทนได้มากกว่าค่าเฉลี่ยของคนอื่น คนอื่นจะล้มเลิกก่อน เขาไม่สามารถรับความเจ็บปวดได้ เช่น เกือบจะประสบความสำเร็จอยู่แล้วก็ล้มเลิก เพราะฉะนั้น อีกอย่างหนึ่งที่ผู้ประกอบการที่ดีมีเหมือนกันก็คือ รับความเจ็บปวดได้ดี มีเหมือนกันทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจไหนก็ตาม
>>> เชื่อมั่นใน ‘ดิจิทัล เคอเรนซี่’
เมื่อถามว่า ที่ประเมินว่าบิทคอยน์มีมูลค่าทะลุสองล้านบาทไปแล้ว หากให้ช่วยประเมินบิทคอยน์ทั่วโลก มองว่าสะท้อนอะไรบ้าง
จิรายุสยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า ส่วนตัวไม่สามารถบอกได้ เพราะย่อมขึ้นอยู่กับดีมานด์ ซัพพลายของทั้งโลก
“ถ้าใครตอบคำถามนี้ได้ก็เป็น Millionaire คนต่อไป แต่ถามว่าผมเชื่อมั่นไหม ผมเชื่อมั่นใน ดิจิทัล เคอเรนซี่ เพราะทำมาแปดปีแล้ว แล้วก็เป็นคนที่ผลักดันมันมา ผมก็ต้องเป็นคนที่เชื่อมั่นในสิ่งนี้อยู่แล้ว” จิรายุสระบุ
เมื่อถามว่าเพราะเหตุใด จึงเชื่อมั่นในดิจิทัล เคอเรนซี่
จิรายุสตอบว่า “เพราะว่ามันทำอะไรที่โลกการเงินในยุคที่แล้ว ทำไม่ได้ เราแค่มีโทรศัพท์มือถือ ต่ออินเทอร์เน็ต เปิดบัญชีธนาคารเชื่อมกับคนทั้งโลกได้แล้ว มันสร้างอำนาจและอิสระให้กับคน ธุรกิจอะไรก็ตามที่ทำให้เราเคลื่อนย้ายคนได้เร็ว เคลื่อนย้าย Property ได้เร็ว หรือเคลื่อนย้ายเงินได้เร็ว จะประสบความสำเร็จในอนาคต ซึ่งบล็อกเชนมันมาช่วยเรา ในการเคลื่อนย้ายมูลค่าที่มีประสิทธิภาพมากๆ เหมือนอินเทอร์เน็ตที่เคลื่อนย้ายข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากๆ ใน 20 ปีแรก แต่นี่คืออินเทอร์เน็ตในเจนเนอเรชั่นที่ 2 ที่ทำให้เราเคลื่อนย้ายมูลค่าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากๆ
“ดังนั้น ผมจึงเชื่อมั่นมากๆ ว่า มันเป็น Trend point ที่โลกของเราจำเป็นต้องใช้ การเงินยุคเก่าไม่สามารถโอนเงิน 5 บาท 10 บาท ข้ามประเทศได้ แต่ในโลกยุคใหม่ บริษัทที่เพิ่งเปิดมา 3 ปี 5 เดือน สามารถทำให้คนไทยทำแบบนั้นได้ เพียงมีโทรศัพท์มือถือที่ต่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้น สามารถทำให้คนที่ไม่มีบัญชีธนาคารเข้าถึงบริการทางการเงินได้เหมือนกันและดีกว่า ซึ่งคนทั่วโลกตอนนี้ 1 ส่วน 3 ของโลก ไม่มีบัญชีธนาคาร ซึ่งต้นทุนของการเข้าถึงมันสูงเกินไป ธนาคารไม่สามารถทำให้ต้นทุนมันต่ำได้ เพราะต้องเปิดสาขา เปิดตู้เอทีเอ็ม นี่คือต้นทุนที่ต้องส่งให้ลูกค้า
“แต่เราสามารถปฏิวัติ เปลี่ยนวิธีคิด วิธีการทำงานของวงการการเงินให้ต้นทุนมันถูกลงอย่างน้อยเป็นสิบเท่า พอต้นทุนมันถูกลงสิบเท่า มันก็สามารถทำให้เข้าถึงคนจำนวนมหาศาลได้เลย เข้าถึงคนระดับมาก เพราะต้นทุนต่ำลงแล้ว เหมือนกับโทรทางไกล เมื่อก่อนมีคนรวยเท่านั้น ที่โทรไปต่างประเทศได้ แต่พอมีสไกป์ มีไลน์ มีเฟซคอลกันทั้งโลก เห็นหน้าด้วย ไม่ว่าคนรวยคนจน เข้าถึงหมด อะไรที่สร้างโอกาสให้กับคน อย่างไรมันก็เวิร์ค ผมก็เลยเชื่อมั่น” จิรายุสกล่าวอย่างหนักแน่น
จิรายุสเล่าว่า ผู้ที่เปิดบัญชีกับบิทคัพเพื่อลงทุน มีทั้งลงทุนระยะยาว มีทั้งเก็งกำไรระยะสั้น มีทั้งโอนเงินเกม จ่ายค่าน้ำ จ่ายค่าโทรศัพท์มือถือ มีหลายอย่าง
เมื่อถามว่า ยังมีอะไรที่อยากทำ อยากพัฒนาให้กับบริษัท
จิรายุสตอบว่า “โอย มีอีกเยอะมากๆ เลยครับ จะปฏิวัติเปลี่ยนแปลงวงการโฆษณาทั้งหมดในประเทศไทย เปลี่ยนแปลงวงการเอ็นเตอร์เทนเมนต์ทั้งหมด แล้วก็สร้างทุกอย่างที่สามารถซื้อขายได้ตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเรือรบได้เลย แม้กระทั่งยูนิตของไฟฟ้า ก็สามารถซื้อขายได้ คาร์บอนเครดิต ก็สามารถซื้อขายได้ ทุกอย่างที่มีมูลค่าจะเป็นเหมือนหุ้น จะเป็นเหมือนเหรียญ นี่คือความเชื่อของเราในโลกอนาคต
“มันไม่ใช่แค่ ดิจิทัล เคอเรนซี่ แต่ทุกอย่างจะเป็น คริปโตเบส โปรดักส์ ส่วนหนึ่งของที่ดิน ส่วนหนึ่งของคอนโด ก็สามารถซื้อขายเหมือนหุ้นได้แล้ว เช่น อนันดา จ่ายด้วยคริปโตฯ ได้แล้ว เฟอร์รารี่ เทสล่า รับคริปโตเพย์เมนท์ ทั้งหมดแล้ว มันคือการ Transition ที่กำลังจะเปลี่ยนไป ในอนาคต หุ้นจะเป็นแค่ซับเซ็ตของ ดิจิทัล แอสเสททั้งหมด
“เราสามารถซื้อขายได้ตั้งแต่ไม้จิ้งฟันยันเรือรบ เหมือนหุ้นได้เลย เหมือนอินเตอร์เน็ตมาแล้วเปลี่ยนข้อมูลการสื่อสารเป็นดิจิทัลทั้งหมด เพลงก็เป็นดิจิทัลหมดแล้ว ดังนั้น เรากำลังจะเข้าสู่ยุคที่อีก 20 ปี ทุกอย่างจะเป็นดิจิทัล เพชร ทอง คอนโด ที่ดิน ทุกอย่างเป็นดิจิทัลหมดเลย ผมว่าภายใน 5 ปีนี้ ก็น่าจะเห็นภาพแล้วครับ เงินจะไม่ใช่กระดาษแล้วครับ อย่างแบงค์ชาติจะมีดิจิทัลบาทออกมาแล้ว ในไตรมาศที่ 1 ปีหน้า” จิรายุสระบุ
>>> ‘สะพานทั้ง 4’ สิ่งที่อยากผลักดันในฐานะอุปนายกสมาคมฟินเทคฯ
นอกจากวิสัยทัศน์ในการทำงานแล้ว เมื่อขอให้เล่าถึงบทบาทของการเป็นอุปนายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย จิรายุสตอบว่า
“จริงๆ สมาคมฟินเทคฯ ผมเป็นกรรมการสมัยที่ 2 แล้ว เมื่อ 2 ปีแรกก็เคยเป็นมา ซึ่งหน้าที่บทบาทของสมาคมเป็นเหมือนสะพาน 4 สะพาน”
จิรายุสกล่าวว่า สะพานที่หนึ่ง คือการเชื่อมกับ Regulator เพราะปัจจุบัน อยู่ในยุคที่ต้องสื่อสารกัน คนที่ทำธุรกรรมการเงินแบบใหม่ ที่เรียกว่าฟินเทค ต้องเข้าไปคุยกับผู้กำกับดูแล สื่อสารให้ตรงกัน ขณะที่ Regulator ใส่ใจเรื่องความเสี่ยง
ฟินเทคเพลเยอร์ ห่วงเรื่อง Innovation จะหาจุดตรงกลางยังไงให้ประเทศเราไม่ผลักดันอินโนเวชั่นออกไปนอกประเทศ และทำยังไงให้ไม่เสี่ยงเกินไป
“สะพานที่สอง เชื่อมโยงระหว่าง Traditional Bank และฟินเทค เพลย์เยอร์ เราอยู่ในยุคที่ต้องจับมือกัน เปลี่ยนรูปแบบนวัตกรรมทางการเงินให้เป็นของโลกอนาคตก่อนที่จะเป็นของชาวต่างชาติ เพราะสถาบันการเงินเป็นวงการสุดท้ายที่ยังเป็นของคนไทย วงการอื่นเช่น เฟซบุ๊ค อินสตาแกรม ไลน์ เป็นของชาวต่างชาติหมด E-Commerce ก็เป็นของชาวต่างชาติไปแล้ว ถ้าเราไม่จับมือกันตอนนี้ วงการการเงินอาจไม่ใช่ของไทยในอีก 5 ปี ข้างหน้า 10 ปีข้างหน้า เราเลยเป็นสะพานให้จับมือกัน เสริมกัน อุดข้อเสียซึ่งกันและกันและไปสู้กับชาวต่างชาติให้ได้ ก่อนที่ GDP จะไหลออกนอกประเทศ แล้วประเทศไทยจะติดอยู่ในกับดัก” จิรายุสระบุ
สะพานที่สาม คนที่มีความรู้ยังคงกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ เราพยายามให้คนได้เข้าถึงความรู้ความเข้าใจว่าการออมเงินคืออะไร ให้เข้าถึงคนทั้งประเทศ ทำยังไงให้เราสอนออนไลน์ได้ ทำยังไงให้เด็กจบมามี Skill ที่ตรงกับตลาด ทำยังไงให้ระหว่างเรียนอยู่สามารถฝึกงานกับ บริษัทกลุ่มฟินเทคในประเทศไทยได้ เพราะความรู้ความเข้าใจในมหาวิทยาลัย ตามกันไม่ทันแล้ว ทำยังไงให้เด็กได้ไปฝึกงานกับบริษัทชั้นนำด้านฟินเทค จบมาจะได้มีงานทำที่ตรงกับตลาด ในขณะเดียวกันทำยังไงให้คนทั่วไปเข้าใจเกี่ยวกับการออมเงินการลงทุน
สะพานที่สี่ คือหาหนทาง Connect เมืองไทย กับต่างประเทศ เนื่องจากฟินเทคเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก เพราะฉะนั้นจะมีการเรียนรู้ถูกผิดไปพร้อมกันทั่วโลก เราควรจะเรียนรู้ไปพร้อมกัน กับต่างประเทศ แล้วมาแชร์ประสบการณ์ ความรู้ ความผิดพลาดไปด้วยกัน ทำให้เราเรียนรู้ร่วมกันกับฟินเท็คสิงคโปร์ ฟินเท็คอังกฤษ Collaborate กัน จัดเวที จัดอีเวนท์ แชร์ประสบการณ์เพื่อให้เราเรียนรู้เร็วขึ้น นี่ก็จะเป็นสะพานที่เป็นอีกตัวเชื่อมหนึ่ง
“นี่เป็นหน้าที่ในสมาคมฯ ขณะที่ตัวผมเองผมน่าจะเป็นคนแรกๆ ในเมืองไทยที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับฟินเทคเมื่อแปดปีที่แล้วในเมืองไทย” จิรายุสกล่าวทิ้งท้าย สะท้อนภาพบทบาทที่หลากหลายและวิสัยทัศน์ก้าวไกลของชายผู้นี้
...............................................
Text by รพีพรรณ สายัณห์ตระกูล