เมื่อถึงวัยเกษียณจะทำอย่างไร สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ อาทิ เกษตรกร แรงงานก่อสร้าง มอเตอร์ไซค์รับจ้าง พ่อค้าแม่ขาย นักเรียน นักศึกษา ซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบ ไม่มีเงินเดือนประจำ และไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือมาตรา 39 ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการออมเพื่ออนาคต เพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระได้มีเงินบำนาญไว้ใช้หลังอายุ 60 ปี
ผู้จัดการออนไลน์ จึงสัมภาษณ์พิเศษ จารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. ถึงการวางแผนการออมเงินเพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระได้มีเงินใช้ยามเกษียณ พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนคนไทยให้ดีขึ้นผ่านการออมกับ กอช. โดยผ่านการบูรณาการการทำงานร่วมกันในระดับกระทรวง อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการออมครอบคลุมทั่วประเทศมากยิ่งขึ้น
>>> ในบทบาทของเลขาธิการคณะกรรมการ กอช.
เมื่อถามว่า บทบาทหน้าที่ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการ กอช. ต้องทำอะไรบ้าง
จารุลักษณ์ ตอบว่า คือประชาชนได้รู้จักและเข้าใจในบทบาทด้านการออมของ กอช. ที่มุ่งเน้นแรงงานนอกระบบ กว่า 20.36 ล้านคน
“เป้าหมายของ กอช. คือคนไทยทุกคนได้มีเงินบำนาญใช้หลังอายุ 60 ปี ในประเทศไทยมีแรงงานทั้งสิ้นประมาณ 37.92 ล้านคน เป็นแรงงานในระบบทั้งสิ้น 17.56 ล้านคน ซึ่งอยู่ในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ประกันสังคมมาตรา 33 และมาตรา 39 ส่วนที่เหลือจะเป็นแรงงานนอกระบบหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่มีสวัสดิการใดๆ รองรับกว่า 20.36 ล้านคน โดย กอช. ตั้งเป้าไว้ว่าในกลุ่มนี้ กอช. ที่มีอายุระหว่าง 15-60 ปี จะต้องเป็นสมาชิก กอช.”
“ที่ผ่านมา กอช. ยังไม่เป็นที่รู้จัก การออมของคนไทยยังน้อย รวมถึงไม่มีการวางแผนการออมเงินสำหรับอนาคต ซึ่งคนที่อายุมากกว่า 60 ปี หากไม่มีแรงทำงานจะสามารถนำเงินส่วนไหนมาใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีวิต นี่คือสิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องการออมเพื่อใช้ในยามเกษียณเป็นอย่างมาก จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554” จารุลักษณ์ระบุ
>>> สมาชิกปัจจุบัน กว่า 2 ล้านคน ตั้งเป้า แรงงานนอกระบบ ออมเงินมากขึ้น
“กอช. ได้เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2558 มีความพยายามที่จะทำให้แรงงงานนอกระบบหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระกลุ่มนี้ได้มีเงินออมไว้ใช้หลังอายุ 60 ปี โดยการสร้างความตระหนักถึงให้คนกลุ่มนี้ได้เห็นความสำคัญของการออม โดยที่ผ่านมาก็ลงพื้นที่ทำงานร่วมกับสำนักงานคลังจังหวัด กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง มีสมาชิกประมาณสมาชิก 6 แสนกว่าคน ซึ่งยังไม่ถึงกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ จึงได้ลงพื้นที่ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจากการลงพื้นที่ต่อเนื่องทำให้ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 2.4 ล้านคน แต่จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ กอช. ต้องใช้ระบบออนไลน์ในการสื่อสารให้สมาชิกและประชาชนเข้าใจ เรื่องการวางแผนทางการเงินหลังเกษียณกับ โดย กอช. แตกต่างจากการออมเงินในรูปแบบอื่น เนื่องจากมีรัฐบาลสมทบเงินให้ ซึ่งจะเหมือนกับแรงงานในระบบที่มีนายจ้างสมทบให้” จารุลักษณ์อธิบายความสำคัญและประโยชน์กอง กอช.
เมื่อถามว่า ถ้าหากแรงงานนอกระบบที่มีอยู่ 20.39 ล้านคน อย่างเช่นมอร์เตอร์ไซค์รับจ้าง ต้องการนำเงินมาออมเข้า กอช. เขาต้องทำอย่างไรบ้าง
จารุลักษณ์ตอบว่า “สามารถสมัครผ่านแอปพลิเคชัน กอช. โดยใช้เลขบัตรประชาชน 13 หลัก ซึ่งผู้ที่สนใจจะต้องไม่อยู่ในระบบสวัสดิการอื่นใดของรัฐ เช่น กบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมทั้งประกันสังคม มาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 40 ทางเลือก 2 และ 3 จะไม่สามารถสมัครสมาชิก กอช. ได้”
“มีคนถามว่าทำไมประกันสังคมมาตรา 40 ทางเลือก 2 และ 3 สมัครกับเราไม่ได้ เนื่องจากบำเหน็จบำนาญมีความซ้ำซ้อนกัน ซึ่ง กอช. มีข้อดีคือ มีเท่าไหร่ ก็จ่ายเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องออมทุกเดือน หรือส่งเท่ากันทุกปี ตัวอย่างเช่นเด็กอายุ 15 ปี ออม 100 บาท รัฐจะสมทบให้ครึ่งหนึ่งของเงินที่ออม คือได้เดือนหน้า 50 บาท ซึ่งมากกว่าการออมรูปแบบอื่น กอช. ได้ทำงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ แนะนำให้นักเรียนวางแผนการออมเงิน โดยการเก็บค่าขนมเดือนละ 50 บาท แล้วเดือนหน้าได้จากรัฐ 25 บาท สมมติปีนี้ เด็กคนนี้ออมได้ 200 บาท แต่ปีหน้าไม่ได้ออม สิทธิ์การเป็นสมาชิกยังคงอยู่ หลักการคือ เมื่อคุณออมรัฐก็เติมเงินให้ เมื่อคุณไม่ออมรัฐก็ไม่เติม แต่การเป็นสมาชิกยังคงอยู่ นี่คือข้อดีของ กอช.”
“บำนาญตลอดชีพกับ กอช. คือ กอช. จะจ่ายเงินบำนาญรายเดือนให้กับสมาชิกจากอายุ 60 ปีบริบูรณ์จนถึงอายุขัยเฉลี่ยของคนไทย คือ 80 ปี นอกจากนี้ กอช. พยายามจะปรับปรุงกฎหมายให้สมาชิก กอช. คือการขยายอายุการออม อาจจะเป็น 65 ปี เพื่อให้สามารถมีระยะเวลาในการออมมากขึ้น” จารุลักษณ์ระบุ
>>> หวังให้คนไทยออมเงิน วางแผนหลังเกษียณ
“อยากให้คนไทยทั้งประเทศเริ่มวางแผนเพื่อการเกษียณตั้งแต่ตอนนี้ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม และเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 64 ซึ่งจำนวนประชากรที่เป็นเด็กและเยาวชนจะลดน้อยลง แต่กลุ่มผู้สูงอายุมีมากขึ้น อนาคตคนเสียภาษีคือกลุ่มเด็ก ดังนั้น เราต้องพึ่งตัวเอง เพราะฐานคนเสียภาษีน้อยมาก
“ในอนาคตประเทศไทยจะประสบปัญหาอย่างหนักจากการเข้าสู่สังคมสูงวัย นี่เป็นสิ่งที่เราอยากให้ทุกคนมาสนใจการออม ซึ่งมองว่าทุกคนสามารถวางแผนการออมเงินได้ ถ้าลดรายจ่ายบางประเภท การจดบันทึกว่าวันนี้คุณใช้อะไรบ้าง ลดค่าใช้จ่ายบางส่วนลง แล้วนำเอาเงินส่วนนั้นมาเป็นเงินออม ซึ่งตามหลักการออมแล้วแล้วอย่างน้อยต้องมีเงินออมที่สำรองประมาณ 6 เดือน
“ดังนั้น ควรสร้างนิสัยการมีวินัยการออมตั้งแต่วัยเด็ก ที่ผ่านมาพยายามให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการออมเพื่อตัวคุณเอง เราต้องพึ่งพาตนเองให้ได้ อยากให้คนไทยรู้จักวางแผนการเงินมากขึ้น
แต่ในภาคเกษตรกรหรือแรงงานนอกระบบนั้น ส่วนใหญ่เป็นการออมโดยการฝากธนาคาร หรือฝากกับสหกรณ์ออมทรัพย์ แต่การออมกับสหกรณ์ออมทรัพย์ บางคนออมเพื่อหวังกู้ มีส่วนน้อยที่ออมเพื่อหวังการปันผล
“นี่เป็นสิ่งที่พยายามอยากให้เห็นภาพการออมแต่ละรูปแบบ คุณต้องมีเงินสำหรับเก็บออมในระยะยาว ส่วนหนึ่งเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน และส่วนหนึ่งเก็บไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน”
>>> ทำงานแบบบูรณาการ
เมื่อถามว่า ถ้าแรงงานนอกระบบ ในจำนวน 20.39 ล้านคนที่สนใจออมเงินกับ กอช. แต่ทว่าไม่มีสมาร์ทโฟน จะทำอย่างไร
จารุลักษณ์ตอบว่า “เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับสมาชิกที่ไม่สะดวกสมัครและส่งเงินออมสะสมผ่านช่องทางออนไลน์ กอช. ได้พัฒนาช่องทางรับสมัครและส่งเงินออมสะสมครอบคลุมทั่วประเทศ รวม 133,059 ช่องทาง ธนาคารหน่วยรับสมัครสมาชิก 4 แห่ง คือ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่ว่าการอำเภอทั่วประเทศ สำนักงานคลังจังหวัด สหกรณ์ที่เป็นหน่วยรับสมัครสมาชิก กอช. สถาบันการเงินชุมชน บิ๊กซี เทสโก้โลตัส เคาน์เตอร์เซอร์วิส ตู้บุญเติม และ Grab
“และในตอนนี้ กอช. ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย โดยเปรียบกระทรวงมหาดไทยเป็นเครือข่ายที่ใหญ่มากของ กอช. ในการสร้างตัวแทน กอช. ประจำหมู่บ้าน ซึ่งเป็นสมาชิก กอช. ในหมู่บ้านทั่วประเทศเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทน กอช. ในการสื่อสารข้อมูล รับสมัครสมาชิก และส่งเงินออมสะสม ซึ่งจะคล้ายกับ อสม. โดยเป้าหมายคือ ปี 2565 กอช. จะต้องมีตัวแทนกอช. ประจำหมู่บ้าน 74,000 กว่าคน ซึ่งปัจจุบันมีตัวแทนกว่า 26,000 คนแล้ว
“โดยหากสมัครสมาชิกแล้วการส่งเงินออมสะสมครั้งต่อไป ไม่จำเป็นต้องส่งเงินที่เดิม เช่น หากสมัครที่ธนาคารแล้ว เดือนถัดไปสามารถออมเงินผ่านตู้บุญเติม หรือสมัครที่ ธอส. แต่ส่งเงินออมที่ธนาคารออมสิน หรือจะออมผ่าน Mobile Banking ก็ได้เช่นกัน
นอกจากนี้ สามารถหักบัญชีอัตโนมัติได้ ซึ่งสมาชิกสามารถแจ้งจำนวนที่ต้องการหีชักในแต่ละเดือนได้ และสามารถแก้ไขยอดหักบัญชีได้ตลอดเวลา” จารุลักษณ์ ระบุ
>>> รณรงค์ ปลูกฝัง ค่านิยม ‘การออม’
เมื่อถามว่าจากตัวเลขสมาชิกตอนนี้ 2 ล้านคนแล้ว คาดหวังอยากได้สมาชิกทั้งหมดอีกกี่ล้านคน
จารุลักษณ์มองการณ์ไกลไปถึงอนาคตว่า “เป้าหมายที่สภาปฏิรูปอยากให้มีสมาชิก 15 ล้านคนในปี 2565 จากจำนวนแรงงงานนอกระบบ 20.36 ล้านคน ซึ่งเป็นไปได้ยากมาก เพราะเป็นการออมภาคสมัครใจ ไม่สามารถจะหักเงินรายเดือนได้ จึงอยากจะปลูกฝังให้คนไทยได้เห็นความสำคัญของการวางแผนการออมเงินเพื่ออนาคต โดยการตัดค่าใช้จ่ายในบางส่วนที่ไม่จำเป็นออก แล้วนำเงินส่วนนั้นมาออม คุณอาจจะพบว่าคุณมีเงินออมมากพอที่จะใช้สำหรับวัยเกษียณ นี่คือสิ่งที่ลงพื้นที่ทุกครั้งจะพยายามพูดให้ทุกคนได้เห็นภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น” จารุลักษณ์ระบุถึงความพยายามอธิบายให้ผู้คนเห็นความสำคัญของการออม ก่อนกล่าวเพิ่มเติมว่า
“คนที่เริ่มเห็นความสำคัญของการออมเงินคือคนที่เข้าสู่ช่วงอายุ 50 ปี แต่คนที่ยังไม่ใส่ใจ คือ กลุ่มคนในวัยรุ่นเนื่องจากมองว่ายังไกลตัว ดังนั้น ในปี 2564 กอช. จะเน้นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ซึ่งมีระยะเวลาในการออมยาว ซึ่งสามารถออมเงินได้แบบสบายๆ มีเงินใช้หลังเกษียณอย่างพอเพียง
“ต้องแสดงให้เด็กนักเรียนเห็นถึงความสำคัญของการออม ซึ่งบางโรงเรียนจะมีการฝากกับธนาคารโรงเรียน และจะพยายามให้แบ่งเงินมาออมกับ กอช. ด้วย ซึ่งในตอนนี้ไม่สามารถลงพื้นที่ได้ จึงเป็นการประชุมออนไลน์กับร่วมกับทาง ผอ. โรงเรียนต่าง ๆ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจถึงสิทธิประโยชน์ของการออมกับ กอช.” จารุลักษณ์ระบุ และกล่าวเพิ่มเติมถึงความมุ่งหวังว่า
“ความมุ่งหวังคืออยากให้เด็กนักเรียนทุกคนออมเงินกับ กอช. เพื่อให้เห็นว่าเงินทำงานอย่างไร การออมกับ กอช. ดีอย่างไร ให้ผลตอบแทนสูง ความเสี่ยงต่ำ และคุ้มครองเงินต้น และได้รับเงินบำนาญตลอดชีพใช้เมื่อหลังอายุ 60 ปี
เมื่อถามแทนแรงงานนอกระบบว่า ถ้าในกรณีที่เขาอายุ 25 แล้วเขาจะออมจนเกษียณ ได้เงินบำนาญ จะมีกระบวนการ ขั้นตอนอย่างไร จารุลักษณ์กล่าวว่า
“ยกตัวอย่างเช่น เริ่มอายุ 25 ปี วันละ 25 บาท จะมีเงินออมรวมปีละ 9,125 บาท พร้อมได้รับเงินสมทบจาก กอช. เพิ่มตามช่วงอายุ 600 บาท สูงสุด 1,200 บาทต่อปี หากคิดเงินสมทบเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยได้รับเพิ่มโดยประมาณ 10% ต่อปี เมื่ออายุ 60 ปีบริบูรณ์ จะได้รับบำนาญตลอดชีพประมาณเดือนละ 3,200 บาท และหากสมาชิกเสียชีวิตในช่วงระหว่าง 60 - 80 ปี เงินออมสะสมของสมาชิกที่เหลือ กอช. จะคืนให้กับผู้รับผลประโยชน์ที่สมาชิกระบุไว้ หรือทายาทตามกฎหมาย”
>>> เกษตรกร สมาชิกกลุ่มหลัก
เมื่อถามว่าตัวเลขจำนวน 2 ล้านคน ที่จารุลักษณ์สามารถเชิญชวนมาเป็นสมาชิก กอช. ได้ เป็นคนกลุ่มไหน
จารุลักษณ์ตอบว่า สมาชิก กอช. กว่า 1,060,000, คน เป็นเกษรตรกร รองลงมาเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ และค้าขาย ตามลำดับ โดยนักเรียนเป็นสมาชิก 6.4 % ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด
เมื่อถามว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด เกิดอะไรกับผู้ที่ออมกับ กอช. บ้าง หรือมีเคสไหนที่ได้รับความช่วยเหลือจาก กอช.
จารุลักษณ์ตอบว่า ถ้าสมาชิกมาขอลาออก สามารถลาออกได้แต่จะไม่ได้รับเงินสมทบจากรัฐบาล เนื่องจากผิดเงื่อนไขตามที่ให้ออมจนครบอายุ 60 ปี ซึ่งมองว่าหากไม่จำเป็นไม่อยากให้ลาออก เนื่องจากหากไม่มีเงินไม่ส่งเงินออมสะสมได้ และ กอช. มีรัฐให้เงินสมทบ และค้ำประกันผลตอบแทนด้วย ซึ่งเงินส่วนนี้เป็นการออมเพื่อให้ใช้ใน วัยเกษียณ แต่จากสถานการณ์โควิด-19 ก็เข้าใจสมาชิกหากมีแหล่งออมอื่นอยากให้ลองพิจารณาทางเลือกอื่นก่อน”
>>> คาดหวังให้ทุกคนมีเงินออม
เมื่อถามถึงความคาดหวังในการทำงานกับ กอช. จารุลักษณ์กล่าวว่า “สิ่งที่คาดหวังคือ อยากให้แรงงานนอกระบบที่มีสิทธิ์สมัครเป็นสมาชิก กอช. ทุกคนเป็นสมาชิก กอช. และได้รับเงินออมหลังเกษียณเป็นรายเดือน ซึ่งแรงงานนอกระบบคือการที่ต้องพึ่งตนเอง ดังนั้น กอช. จะเป็นรายได้แบบรายเดือนไว้ใช้ในวัยเกษียณ นอกจากนี้ อยากให้นักเรียน ก่อนเข้าสู่ระบบแรงงานได้มาออมกับ กอช. เพื่อไว้เป็นเงินออมสำหรับอนาคต และอยากให้ทุกคนสามารถวางแผนทางการเงินเพื่อดูแลตนเองในอนาคตได้”
“คาดหวังให้ กอช. นี้ เป็นที่พึ่งของแรงงานนอกระบบและผู้ประกอบอาชีพอิสระทุกคน ให้มีเงินออมเก็บไว้ใช้ในยามเกษียณ และในอนาคตประชาชนมีเงินบำนาญใช้อย่างพอเพียงเพื่อตัวเอง”
สุดท้ายที่อยากฝาก “อยากให้ทุกคนใส่ใจเรื่องการวางแผนทางการเงิน เพราะเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับ อนาคตในสังคมสูงอายุ รวมถึงอยากให้ผู้แรงงานนอกระบบและผู้ประกอบอาชีพอิสระเข้ามาศึกษา กอช. และสมัครสมาชิก กอช. ทุกคน เพื่อให้มีเงินบำนาญใช้ในวัยเกษียณ” คือความห่วงใยทิ้งท้ายจาก เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ ผู้นี้
...............................................
Text by รพีพรรณ สายัณห์ตระกูล
Photo by พลภัทร วรรณดี
ผู้จัดการออนไลน์ จึงสัมภาษณ์พิเศษ จารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. ถึงการวางแผนการออมเงินเพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระได้มีเงินใช้ยามเกษียณ พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนคนไทยให้ดีขึ้นผ่านการออมกับ กอช. โดยผ่านการบูรณาการการทำงานร่วมกันในระดับกระทรวง อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการออมครอบคลุมทั่วประเทศมากยิ่งขึ้น
>>> ในบทบาทของเลขาธิการคณะกรรมการ กอช.
เมื่อถามว่า บทบาทหน้าที่ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการ กอช. ต้องทำอะไรบ้าง
จารุลักษณ์ ตอบว่า คือประชาชนได้รู้จักและเข้าใจในบทบาทด้านการออมของ กอช. ที่มุ่งเน้นแรงงานนอกระบบ กว่า 20.36 ล้านคน
“เป้าหมายของ กอช. คือคนไทยทุกคนได้มีเงินบำนาญใช้หลังอายุ 60 ปี ในประเทศไทยมีแรงงานทั้งสิ้นประมาณ 37.92 ล้านคน เป็นแรงงานในระบบทั้งสิ้น 17.56 ล้านคน ซึ่งอยู่ในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ประกันสังคมมาตรา 33 และมาตรา 39 ส่วนที่เหลือจะเป็นแรงงานนอกระบบหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่มีสวัสดิการใดๆ รองรับกว่า 20.36 ล้านคน โดย กอช. ตั้งเป้าไว้ว่าในกลุ่มนี้ กอช. ที่มีอายุระหว่าง 15-60 ปี จะต้องเป็นสมาชิก กอช.”
“ที่ผ่านมา กอช. ยังไม่เป็นที่รู้จัก การออมของคนไทยยังน้อย รวมถึงไม่มีการวางแผนการออมเงินสำหรับอนาคต ซึ่งคนที่อายุมากกว่า 60 ปี หากไม่มีแรงทำงานจะสามารถนำเงินส่วนไหนมาใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีวิต นี่คือสิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องการออมเพื่อใช้ในยามเกษียณเป็นอย่างมาก จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554” จารุลักษณ์ระบุ
>>> สมาชิกปัจจุบัน กว่า 2 ล้านคน ตั้งเป้า แรงงานนอกระบบ ออมเงินมากขึ้น
“กอช. ได้เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2558 มีความพยายามที่จะทำให้แรงงงานนอกระบบหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระกลุ่มนี้ได้มีเงินออมไว้ใช้หลังอายุ 60 ปี โดยการสร้างความตระหนักถึงให้คนกลุ่มนี้ได้เห็นความสำคัญของการออม โดยที่ผ่านมาก็ลงพื้นที่ทำงานร่วมกับสำนักงานคลังจังหวัด กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง มีสมาชิกประมาณสมาชิก 6 แสนกว่าคน ซึ่งยังไม่ถึงกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ จึงได้ลงพื้นที่ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจากการลงพื้นที่ต่อเนื่องทำให้ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 2.4 ล้านคน แต่จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ กอช. ต้องใช้ระบบออนไลน์ในการสื่อสารให้สมาชิกและประชาชนเข้าใจ เรื่องการวางแผนทางการเงินหลังเกษียณกับ โดย กอช. แตกต่างจากการออมเงินในรูปแบบอื่น เนื่องจากมีรัฐบาลสมทบเงินให้ ซึ่งจะเหมือนกับแรงงานในระบบที่มีนายจ้างสมทบให้” จารุลักษณ์อธิบายความสำคัญและประโยชน์กอง กอช.
เมื่อถามว่า ถ้าหากแรงงานนอกระบบที่มีอยู่ 20.39 ล้านคน อย่างเช่นมอร์เตอร์ไซค์รับจ้าง ต้องการนำเงินมาออมเข้า กอช. เขาต้องทำอย่างไรบ้าง
จารุลักษณ์ตอบว่า “สามารถสมัครผ่านแอปพลิเคชัน กอช. โดยใช้เลขบัตรประชาชน 13 หลัก ซึ่งผู้ที่สนใจจะต้องไม่อยู่ในระบบสวัสดิการอื่นใดของรัฐ เช่น กบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมทั้งประกันสังคม มาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 40 ทางเลือก 2 และ 3 จะไม่สามารถสมัครสมาชิก กอช. ได้”
“มีคนถามว่าทำไมประกันสังคมมาตรา 40 ทางเลือก 2 และ 3 สมัครกับเราไม่ได้ เนื่องจากบำเหน็จบำนาญมีความซ้ำซ้อนกัน ซึ่ง กอช. มีข้อดีคือ มีเท่าไหร่ ก็จ่ายเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องออมทุกเดือน หรือส่งเท่ากันทุกปี ตัวอย่างเช่นเด็กอายุ 15 ปี ออม 100 บาท รัฐจะสมทบให้ครึ่งหนึ่งของเงินที่ออม คือได้เดือนหน้า 50 บาท ซึ่งมากกว่าการออมรูปแบบอื่น กอช. ได้ทำงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ แนะนำให้นักเรียนวางแผนการออมเงิน โดยการเก็บค่าขนมเดือนละ 50 บาท แล้วเดือนหน้าได้จากรัฐ 25 บาท สมมติปีนี้ เด็กคนนี้ออมได้ 200 บาท แต่ปีหน้าไม่ได้ออม สิทธิ์การเป็นสมาชิกยังคงอยู่ หลักการคือ เมื่อคุณออมรัฐก็เติมเงินให้ เมื่อคุณไม่ออมรัฐก็ไม่เติม แต่การเป็นสมาชิกยังคงอยู่ นี่คือข้อดีของ กอช.”
“บำนาญตลอดชีพกับ กอช. คือ กอช. จะจ่ายเงินบำนาญรายเดือนให้กับสมาชิกจากอายุ 60 ปีบริบูรณ์จนถึงอายุขัยเฉลี่ยของคนไทย คือ 80 ปี นอกจากนี้ กอช. พยายามจะปรับปรุงกฎหมายให้สมาชิก กอช. คือการขยายอายุการออม อาจจะเป็น 65 ปี เพื่อให้สามารถมีระยะเวลาในการออมมากขึ้น” จารุลักษณ์ระบุ
>>> หวังให้คนไทยออมเงิน วางแผนหลังเกษียณ
“อยากให้คนไทยทั้งประเทศเริ่มวางแผนเพื่อการเกษียณตั้งแต่ตอนนี้ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม และเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 64 ซึ่งจำนวนประชากรที่เป็นเด็กและเยาวชนจะลดน้อยลง แต่กลุ่มผู้สูงอายุมีมากขึ้น อนาคตคนเสียภาษีคือกลุ่มเด็ก ดังนั้น เราต้องพึ่งตัวเอง เพราะฐานคนเสียภาษีน้อยมาก
“ในอนาคตประเทศไทยจะประสบปัญหาอย่างหนักจากการเข้าสู่สังคมสูงวัย นี่เป็นสิ่งที่เราอยากให้ทุกคนมาสนใจการออม ซึ่งมองว่าทุกคนสามารถวางแผนการออมเงินได้ ถ้าลดรายจ่ายบางประเภท การจดบันทึกว่าวันนี้คุณใช้อะไรบ้าง ลดค่าใช้จ่ายบางส่วนลง แล้วนำเอาเงินส่วนนั้นมาเป็นเงินออม ซึ่งตามหลักการออมแล้วแล้วอย่างน้อยต้องมีเงินออมที่สำรองประมาณ 6 เดือน
“ดังนั้น ควรสร้างนิสัยการมีวินัยการออมตั้งแต่วัยเด็ก ที่ผ่านมาพยายามให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการออมเพื่อตัวคุณเอง เราต้องพึ่งพาตนเองให้ได้ อยากให้คนไทยรู้จักวางแผนการเงินมากขึ้น
แต่ในภาคเกษตรกรหรือแรงงานนอกระบบนั้น ส่วนใหญ่เป็นการออมโดยการฝากธนาคาร หรือฝากกับสหกรณ์ออมทรัพย์ แต่การออมกับสหกรณ์ออมทรัพย์ บางคนออมเพื่อหวังกู้ มีส่วนน้อยที่ออมเพื่อหวังการปันผล
“นี่เป็นสิ่งที่พยายามอยากให้เห็นภาพการออมแต่ละรูปแบบ คุณต้องมีเงินสำหรับเก็บออมในระยะยาว ส่วนหนึ่งเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน และส่วนหนึ่งเก็บไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน”
>>> ทำงานแบบบูรณาการ
เมื่อถามว่า ถ้าแรงงานนอกระบบ ในจำนวน 20.39 ล้านคนที่สนใจออมเงินกับ กอช. แต่ทว่าไม่มีสมาร์ทโฟน จะทำอย่างไร
จารุลักษณ์ตอบว่า “เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับสมาชิกที่ไม่สะดวกสมัครและส่งเงินออมสะสมผ่านช่องทางออนไลน์ กอช. ได้พัฒนาช่องทางรับสมัครและส่งเงินออมสะสมครอบคลุมทั่วประเทศ รวม 133,059 ช่องทาง ธนาคารหน่วยรับสมัครสมาชิก 4 แห่ง คือ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่ว่าการอำเภอทั่วประเทศ สำนักงานคลังจังหวัด สหกรณ์ที่เป็นหน่วยรับสมัครสมาชิก กอช. สถาบันการเงินชุมชน บิ๊กซี เทสโก้โลตัส เคาน์เตอร์เซอร์วิส ตู้บุญเติม และ Grab
“และในตอนนี้ กอช. ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย โดยเปรียบกระทรวงมหาดไทยเป็นเครือข่ายที่ใหญ่มากของ กอช. ในการสร้างตัวแทน กอช. ประจำหมู่บ้าน ซึ่งเป็นสมาชิก กอช. ในหมู่บ้านทั่วประเทศเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทน กอช. ในการสื่อสารข้อมูล รับสมัครสมาชิก และส่งเงินออมสะสม ซึ่งจะคล้ายกับ อสม. โดยเป้าหมายคือ ปี 2565 กอช. จะต้องมีตัวแทนกอช. ประจำหมู่บ้าน 74,000 กว่าคน ซึ่งปัจจุบันมีตัวแทนกว่า 26,000 คนแล้ว
“โดยหากสมัครสมาชิกแล้วการส่งเงินออมสะสมครั้งต่อไป ไม่จำเป็นต้องส่งเงินที่เดิม เช่น หากสมัครที่ธนาคารแล้ว เดือนถัดไปสามารถออมเงินผ่านตู้บุญเติม หรือสมัครที่ ธอส. แต่ส่งเงินออมที่ธนาคารออมสิน หรือจะออมผ่าน Mobile Banking ก็ได้เช่นกัน
นอกจากนี้ สามารถหักบัญชีอัตโนมัติได้ ซึ่งสมาชิกสามารถแจ้งจำนวนที่ต้องการหีชักในแต่ละเดือนได้ และสามารถแก้ไขยอดหักบัญชีได้ตลอดเวลา” จารุลักษณ์ ระบุ
>>> รณรงค์ ปลูกฝัง ค่านิยม ‘การออม’
เมื่อถามว่าจากตัวเลขสมาชิกตอนนี้ 2 ล้านคนแล้ว คาดหวังอยากได้สมาชิกทั้งหมดอีกกี่ล้านคน
จารุลักษณ์มองการณ์ไกลไปถึงอนาคตว่า “เป้าหมายที่สภาปฏิรูปอยากให้มีสมาชิก 15 ล้านคนในปี 2565 จากจำนวนแรงงงานนอกระบบ 20.36 ล้านคน ซึ่งเป็นไปได้ยากมาก เพราะเป็นการออมภาคสมัครใจ ไม่สามารถจะหักเงินรายเดือนได้ จึงอยากจะปลูกฝังให้คนไทยได้เห็นความสำคัญของการวางแผนการออมเงินเพื่ออนาคต โดยการตัดค่าใช้จ่ายในบางส่วนที่ไม่จำเป็นออก แล้วนำเงินส่วนนั้นมาออม คุณอาจจะพบว่าคุณมีเงินออมมากพอที่จะใช้สำหรับวัยเกษียณ นี่คือสิ่งที่ลงพื้นที่ทุกครั้งจะพยายามพูดให้ทุกคนได้เห็นภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น” จารุลักษณ์ระบุถึงความพยายามอธิบายให้ผู้คนเห็นความสำคัญของการออม ก่อนกล่าวเพิ่มเติมว่า
“คนที่เริ่มเห็นความสำคัญของการออมเงินคือคนที่เข้าสู่ช่วงอายุ 50 ปี แต่คนที่ยังไม่ใส่ใจ คือ กลุ่มคนในวัยรุ่นเนื่องจากมองว่ายังไกลตัว ดังนั้น ในปี 2564 กอช. จะเน้นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ซึ่งมีระยะเวลาในการออมยาว ซึ่งสามารถออมเงินได้แบบสบายๆ มีเงินใช้หลังเกษียณอย่างพอเพียง
“ต้องแสดงให้เด็กนักเรียนเห็นถึงความสำคัญของการออม ซึ่งบางโรงเรียนจะมีการฝากกับธนาคารโรงเรียน และจะพยายามให้แบ่งเงินมาออมกับ กอช. ด้วย ซึ่งในตอนนี้ไม่สามารถลงพื้นที่ได้ จึงเป็นการประชุมออนไลน์กับร่วมกับทาง ผอ. โรงเรียนต่าง ๆ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจถึงสิทธิประโยชน์ของการออมกับ กอช.” จารุลักษณ์ระบุ และกล่าวเพิ่มเติมถึงความมุ่งหวังว่า
“ความมุ่งหวังคืออยากให้เด็กนักเรียนทุกคนออมเงินกับ กอช. เพื่อให้เห็นว่าเงินทำงานอย่างไร การออมกับ กอช. ดีอย่างไร ให้ผลตอบแทนสูง ความเสี่ยงต่ำ และคุ้มครองเงินต้น และได้รับเงินบำนาญตลอดชีพใช้เมื่อหลังอายุ 60 ปี
เมื่อถามแทนแรงงานนอกระบบว่า ถ้าในกรณีที่เขาอายุ 25 แล้วเขาจะออมจนเกษียณ ได้เงินบำนาญ จะมีกระบวนการ ขั้นตอนอย่างไร จารุลักษณ์กล่าวว่า
“ยกตัวอย่างเช่น เริ่มอายุ 25 ปี วันละ 25 บาท จะมีเงินออมรวมปีละ 9,125 บาท พร้อมได้รับเงินสมทบจาก กอช. เพิ่มตามช่วงอายุ 600 บาท สูงสุด 1,200 บาทต่อปี หากคิดเงินสมทบเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยได้รับเพิ่มโดยประมาณ 10% ต่อปี เมื่ออายุ 60 ปีบริบูรณ์ จะได้รับบำนาญตลอดชีพประมาณเดือนละ 3,200 บาท และหากสมาชิกเสียชีวิตในช่วงระหว่าง 60 - 80 ปี เงินออมสะสมของสมาชิกที่เหลือ กอช. จะคืนให้กับผู้รับผลประโยชน์ที่สมาชิกระบุไว้ หรือทายาทตามกฎหมาย”
>>> เกษตรกร สมาชิกกลุ่มหลัก
เมื่อถามว่าตัวเลขจำนวน 2 ล้านคน ที่จารุลักษณ์สามารถเชิญชวนมาเป็นสมาชิก กอช. ได้ เป็นคนกลุ่มไหน
จารุลักษณ์ตอบว่า สมาชิก กอช. กว่า 1,060,000, คน เป็นเกษรตรกร รองลงมาเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ และค้าขาย ตามลำดับ โดยนักเรียนเป็นสมาชิก 6.4 % ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด
เมื่อถามว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด เกิดอะไรกับผู้ที่ออมกับ กอช. บ้าง หรือมีเคสไหนที่ได้รับความช่วยเหลือจาก กอช.
จารุลักษณ์ตอบว่า ถ้าสมาชิกมาขอลาออก สามารถลาออกได้แต่จะไม่ได้รับเงินสมทบจากรัฐบาล เนื่องจากผิดเงื่อนไขตามที่ให้ออมจนครบอายุ 60 ปี ซึ่งมองว่าหากไม่จำเป็นไม่อยากให้ลาออก เนื่องจากหากไม่มีเงินไม่ส่งเงินออมสะสมได้ และ กอช. มีรัฐให้เงินสมทบ และค้ำประกันผลตอบแทนด้วย ซึ่งเงินส่วนนี้เป็นการออมเพื่อให้ใช้ใน วัยเกษียณ แต่จากสถานการณ์โควิด-19 ก็เข้าใจสมาชิกหากมีแหล่งออมอื่นอยากให้ลองพิจารณาทางเลือกอื่นก่อน”
>>> คาดหวังให้ทุกคนมีเงินออม
เมื่อถามถึงความคาดหวังในการทำงานกับ กอช. จารุลักษณ์กล่าวว่า “สิ่งที่คาดหวังคือ อยากให้แรงงานนอกระบบที่มีสิทธิ์สมัครเป็นสมาชิก กอช. ทุกคนเป็นสมาชิก กอช. และได้รับเงินออมหลังเกษียณเป็นรายเดือน ซึ่งแรงงานนอกระบบคือการที่ต้องพึ่งตนเอง ดังนั้น กอช. จะเป็นรายได้แบบรายเดือนไว้ใช้ในวัยเกษียณ นอกจากนี้ อยากให้นักเรียน ก่อนเข้าสู่ระบบแรงงานได้มาออมกับ กอช. เพื่อไว้เป็นเงินออมสำหรับอนาคต และอยากให้ทุกคนสามารถวางแผนทางการเงินเพื่อดูแลตนเองในอนาคตได้”
“คาดหวังให้ กอช. นี้ เป็นที่พึ่งของแรงงานนอกระบบและผู้ประกอบอาชีพอิสระทุกคน ให้มีเงินออมเก็บไว้ใช้ในยามเกษียณ และในอนาคตประชาชนมีเงินบำนาญใช้อย่างพอเพียงเพื่อตัวเอง”
สุดท้ายที่อยากฝาก “อยากให้ทุกคนใส่ใจเรื่องการวางแผนทางการเงิน เพราะเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับ อนาคตในสังคมสูงอายุ รวมถึงอยากให้ผู้แรงงานนอกระบบและผู้ประกอบอาชีพอิสระเข้ามาศึกษา กอช. และสมัครสมาชิก กอช. ทุกคน เพื่อให้มีเงินบำนาญใช้ในวัยเกษียณ” คือความห่วงใยทิ้งท้ายจาก เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ ผู้นี้
...............................................
Text by รพีพรรณ สายัณห์ตระกูล
Photo by พลภัทร วรรณดี