xs
xsm
sm
md
lg

“หมอธีระวัฒน์” เผย โควิดสายพันธุ์ “อินเดีย” สุดอันตราย จัดการได้ยาก แต่รับมือได้หากฉีดวัคซีนและวินัยทางสังคม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ออกมาโพสต์เฟซบุ๊ก เผย โควิดสายพันธุ์ “อินเดีย” ต้องจับตาไว้ให้ดี หลับพบว่า มีการกลายพันธุ์จนมีความอันตรายสูง เพราะจะตรวจหายากขึ้น แพร่ได้ง่ายขึ้น อีกทั้งหนีการป้องกันจากวัคซีนได้อีกด้วย แนะ รับมือได้หากคนไทยฉีดวัคซีนและมีวินัยทางสังคม

วันนี้ (12 พ.ค.) เพจ “เพจ “ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha” หรือ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์” ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ที่ต้องจับตาสูง จนถึงกลายเป็นสายก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรง โดยได้ระบุข้อความว่า

“โควิดซึ่งมีการปรับเปลี่ยนหน้าตาจนกลายเป็นที่เรียกว่าสายพันธุ์ ที่ต้องจับตามองด้วยความกังวลสูง (variant of high global concern) ไปจนถึงที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเนื่อง (high consequence) ล้วนแล้วแต่เกิดจากการระบาดที่รุนแรงแรงกว้างขวางจนเกิดการวิวัฒน์ ให้มีความเก่งกาจขึ้น (gain of function) ตั้งแต่ สายอังกฤษ แอฟริกาใต้ บราซิล ฟิลิปปินส์และอินเดีย ที่ถูกจัดจากองค์การอมามัยโลกให้ทั่วโลกจับตา และในอีกไม่ช้าไม่นาน ถ้าสถานการณ์คุมไม่ได้ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งก็จะเกิดมีสายใหม่เกิดขึ้นอีก

ในส่วนของสายอินเดีย ที่มีการตรวจพบมานานพอสมควรในประเทศไทย หลายรายด้วยกันแล้ว ในสถานกักตัว ทั้งนี้ มีการตั้งข้อสังเกตุจากหมอและนักวิทยาศาสตร์อินเดียและหลายกลุ่ม ในไวรัสสายนี้มานานพอสมควร ที่ว่าสามารถ “จับลึก” นั่นก็คือ ไถลลงไปจับกับหลอดลมส่วนลึกและถุงลมแทนที่จะเป็นโพรงจมูกและลำคอ

“จับแน่น” ทำให้มีความสามารถในการติดเชื้อได้เก่งขึ้นและจากนั้นแพร่ได้ง่ายขึ้น

“หลีกหนี” การมองเห็นการเฝ้าระวังตรวจตราของระบบป้องกันและภูมิคุ้มกันที่ได้จากวัคซีน

ทั้งนี้ ยังหมายควบรวมไปถึงภูมิคุ้มกันที่ได้จากการติดเชื้อครั้งแรกจากโควิดธรรมดา และเมื่อติดเชื้อสายใหม่นี้ สามารถมองเห็นจับได้ แต่ไม่ยับยั้งไวรัสและกลับจับไวรัสไปส่งให้ เซลล์ที่มีหน้าที่ป้องกันไวรัส โดยมีหน้าที่ทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อ แต่กลับปล่อยสารอักเสบขึ้นมาแทนเลยเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อและต่อทุกระบบในร่างกาย

ถือเป็น “บาป” ที่ภูมิคุ้มกันไม่รู้จักปรับตัวพัฒนาขึ้นมาสู้กับของใหม่ (original antigenic sin: ที่ทราบกันมาตั้งแต่ปี 1960) และในลำดับต่อไป ถ้าไวรัสมีการปรับเปลี่ยนส่วนท่อนต่างๆ ที่ปกติออกแบบมาอยู่แล้วเพื่อก่อโรคให้มีความรุนแรง และกลับรุนแรงขึ้นไปอีก จนมีปัญหาในการรักษาและรวมไปกระทั่งถึงดื้อยาที่ใช้ได้ผลอยู่ในปัจจุบัน จะกลายเป็นสายที่ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างสูง ทั้งหมดนี้สามารถชนะได้ด้วยวัคซีนพร้อมกับมีวินัยทั้งทางบุคคลและทางสังคมอย่างเข้มข้นพยายามสงบการระบาดให้นิ่งที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่อย่างไรก็ตามสายใหม่เหล่านี้ ต้องเล็ดลอดเข้ามาไม่ช้าก็เร็ว และแพร่ระหว่างคนไทยสู่คนไทย แต่ทั้งหมดเพื่อเป็นการซื้อเวลา เพื่อรอวัคซีนพัฒนารุ่นที่สองต่อไป”



กำลังโหลดความคิดเห็น