สังเกตบ่วงคล้องคอ-เชือก ฝากเตือนประชาชนสุดอันตรายห้ามลอกเลียนแบบ #ผมจำหมอได้....เผยเรื่องราวความประทับใจระหว่างช้างป่ากับคุณหมอเจ้าของไข้ของเขา
เรื่องราวความประทับใจถูกถ่ายทอดโดยนายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน หรือหมอล็อต นายสัตวแพทย์ประจำกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เล่าให้ฟังว่าเมื่อ 12 ปีที่แล้วหลังคุณหมอได้รักษาช้างป่าตัวในภาพนี้ซึ่งเป็นเคสแรกในช้างป่าที่เกิดจากการป่วยด้วยโรค Trypanosomiasis หรือโรคปรสิตในเลือด เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชนิดที่พบในกระแสโลหิตของสัตว์ คือ เชื้อ Trypanosoma evansi ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิด
อาการทั่วไปที่พบได้แก่ มีไข้ เบื่ออาหาร ผอมโซ บวมน้ำ โดยเฉพาะบริเวณคาง คอหรือท้อง ตาอักเสบหรือขุ่น ขาแข็ง หลังแข็ง คอบิด โลหิตจางอาจตายอย่างเฉียบพลันได้ และที่สำคัญเป็นโรคอันตราย สามารถติดสู่ช้างป่าและสัตว์ป่าตัวอื่นๆ ได้ ใช้เวลารักษานาน โดยกว่าจะเข้าถึงตัวเพื่อรักษาได้ ก็ชิงไหวชิงพริบอยู่นานมาก ช้างป่าตัวนี้ฉลาดสุดๆ มีเรื่องเหลือเชื่อเกิดขึ้นมากมาย
ล่าสุดได้มาเจอกันอีกครั้ง เราจำกันได้ก็ทักทายกัน วินาทีที่สัมผัสกัน หมอบอกว่าผมได้ยินเสียงร้องของช้างป่าตัวนี้ ในโทนเสียงที่ไม่เคยได้ยินจากช้างตัวไหนมาก่อนทำให้รู้สึกประหลาดใจ ทั้งหมดก็เป็นความประทับใจที่เกิดขึ้นที่นำมาเล่าให้ทุกคนได้ฟังในวันช้างไทย 13 มีนาคม คุณหมอยังฝากมาบอกว่า รักช้างก็อย่าลืมให้กำลังใจคนทำงานกับช้างในความเสี่ยงที่ใกล้จะสูญพันธุ์นะครับ....
ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 มี.ค. ภายหลังข้อความและภาพดังกล่าวหลังเผยแพร่ในเพจหมอล็อต กลายเป็นไวรัลแพร่กระจายในโลกออนไลน์อย่างกว้างขวาง แต่มีผู้คร่ำหวอดในวงการช้างป่าตั้งข้อสังเกตบทความและภาพดังกล่าวว่ายังขาดรายละเอียดที่ควรระบุไว้อีกมากเช่นวัน เวลา สถานที่อีกทั้งช้างเป็นช้างป่า หรือช้างบ้าน เพราะมีบ่วงคล้องคออยู่ เพราะการออกสื่อควรมีความชัดเจนยิ่งเป็นเพจมาตรฐานของหน่วยงานรัฐ คือ ฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต้องเพิ่มความระมัดระวังเพื่อไม่ให้ประชาชนเข้าใจผิด
“เท่าที่ติดตามหมอล็อต มักจะ 50-50 ประจำ ถ้าเป็นช้าป่าจริงประชาชนที่เห็นอย่างไปทำอย่างนี้นะครับ มันอันตราย” จนท.ซึ่งมีประสบการณ์เรื่องช้างป่าฝากทิ้งท้าย