xs
xsm
sm
md
lg

เพจหมอเตือน! ฝุ่นพิษ PM 2.5 เพิ่มความเสี่ยงโรคไตได้ แนะ ใส่หน้ากากป้องกัน​ดีที่สุด

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เพจ “Doctor Kidney - ด็อกเตอร์คิดนี่ ตอบคำถามสุขภาพโรคไต” เผยงานวิจัย ฝุ่น PM 2.5 อาจส่งผลเพิ่มความเสี่ยงโรคไตได้ แนะ วิธีป้องกันตัวจากฝุ่น อาทิ หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ใส่หน้ากากป้องกัน​ฝุ่น N 95 เป็นต้น

จากสถานการณ์ “ฝุ่น PM 2.5” กลับมาระลอกใหม่ ทำให้ชาวกรุงเทพฯ และปริมณฑล ต้องเผชิญกับฝุ่นละออง PM 2.5 ถือเป็นมลพิษทางอากาศที่เป็นปัญหาหลักในกรุงเทพมหานครและชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งฝุ่นละอองที่อยู่ในบรรยากาศรอบๆ ตัวเรานั้น มีขนาดตั้งแต่ 0.002 ไมครอน ไปจนถึงขนาดใหญ่กว่า 500 ไมครอน เสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังและมะเร็ง

ต่อมา เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. เพจ “Doctor Kidney - ด็อกเตอร์คิดนี่ ตอบคำถามสุขภาพโรคไต” ได้โพสต์ข้อความเผยงานวิจัย​เกี่ยวกับถึงฝุ่น PM 2.5 ที่อาจส่งผลเสี่ยงเป็นโรคไตได้อีกด้วย ระบุว่า “ฝุ่น PM 2.5 เพิ่มความเสี่ยงโรคไต กลายเป็น​แขกประจำของกรุงเทพฯ​ไปซะแล้วสำหรับฝุ่น PM 2.5 ที่มาทุกหน้าหนาว แต่รู้ไหมว่าเจ้าฝุ่นจิ๋วนี้ นอกจากจะทำให้เกิดการระคายเคือง​ต่อทางเดินหายใจแล้ว ยังส่งผลต่อโรคไตอีกด้วย

PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือขนาดเล็กประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผมมนุษย์ ขนจมูกไม่สามารถกรองได้ สามารถแพร่กระจายสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมกระบวนการทำงานของอวัยวะต่างๆ เพิ่มความเสี่ยงโรคเรื้อรัง รวมถึง​ โรคไต

ปัจจุบัน​มีงานวิจัย​เกี่ยวกับ​เจ้าฝุ่นนี้ออกมาเรื่อยๆ ว่า ฝุ่นละออง​ขนาด​เล็กมีผลต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง และอาจทำให้​โรคแย่ลงได้! ล่าสุด วารสาร​ชื่อดังอย่าง Nature ได้ตีพิมพ์​ความสัมพันธ์​ระหว่างการเกิดโรคไตเรื้อรัง​ในคนไข้ทหารผ่านศึก​อเมริกัน​ 2,444,157 ราย ติดตามนาน 8.5 ปี ว่า ฝุ่น PM2.5​ ที่เพิ่มขึ้น​ทุกๆ10 µg/m3 “เพิ่ม” ความเสี่ยงในการเกิด

- ไตทำงานลดลงน้อยกว่า 60 : 1.2เท่า (incident eGFR <60 ml/min/1.73 m2 (hazard ratio:1.20, 95% CI: 1.13–1.29)

- ไตเรื้อรังใหม่ : 1.28 เท่า ( incident CKD (1.28, 1.18–1.39))

- ไตทำงานลดลง ≥30% : 1.23 เท่า (≥30%decline in eGFR (1.23, 1.15–1.33) ) และ

- ไตเรื้อรังระยะสุดท้าย : 1.17เท่า ( end-stage renal disease (ESRD) or ≥50% decline in eGFR (1.17, 1.05–1.30))

อย่างไรก็ตาม​ นักวิจัย​ยังไม่สามารถ​อธิบาย​กลไกในการเกิดโรค​ไตในมนุษย์​ได้ทั้งหมด แต่สันนิษฐาน​จากการทดลอง​ในหนูได้ว่า PM 2.5​ รบกวนการไหลเวียน​โลหิตในไต ทำให้เส้นเลือดฝอย​ไตเปลี่ยนแปลง และเกิดอาการอักเสบ​ ขาดเลือดในที่สุด
วิธีป้องกันตัวจากฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 ได้แก่ หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ใส่หน้ากากป้องกัน​ฝุ่น N95 และ เปิดเครื่อง​กรองอากาศ​เมื่อ​อยู่​ในอาคาร เป็นต้น”



กำลังโหลดความคิดเห็น