นายภณวัชร์นันท์ ไกรมาตย์ นายกสมาคมนักประดิษฐ์และนวัตกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวถึงการเสนอให้จังหวัดสมุทรปราการ เป็นเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CREATIVE ECONOMY & CITY MODEL) ว่า เนื่องจาก จ.สมุทรปราการ มีความหลากหลายทางชีวภาพ การแพทย์แผนไทย และอาหารไทย ศิลปะ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ กับวัฒนธรรมไทย Creative Economy and Thai Culture เพราะการขับเคลื่อน “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” ได้ จะต้องเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ด้วยการสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่เกิดจากฐานความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ อันเกิดขึ้นจากปัจจัยด้านทุนทางปัญญา อันได้แก่ องค์ความรู้ ทักษะ การคิดวิเคราะห์ ผสานกับแรงบันดาลใจ ความสุขในการทำงาน วัฒนธรรม สั่งสม และก่อเกิดเป็นนวัตกรรม อันนำไปสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ จังหวัดสมุทรปราการ ปัจจุบันมี คลองประเวศบุรีรมย์ คลองสำโรง คลองด่าน คลองชายทะเล ถูกขุดขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา และ ปัจจุบันมีอยู่จำนวน 14 สาย แบ่งลักษณะการใช้ประโยชน์ตามทิศทางการไหล คือ คลองลาดกระบัง คลองบางโฉลง คลองจระเข้ใหญ่ คลองบางเสาธง คลองพระองค์ไชยานุชิต คลองบางปลา คลองเจริญราษฎร์ และคลองด่าน เป็นคลองที่ลำเลียง/ระบายน้ำลงสู่พื้นที่ตอนล่าง คลองสำโรง และคลองชายทะเลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ดิน น้ำ ป่าไม้ แร่ธาตุ อากาศ แหล่งท่องเที่ยว)
นายภณวัชร์นันท์ กล่าวต่อไปว่า องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ทั้งจังหวัดจะต้องร่วมมือกัน จัดงบประมาณ ขุดคลอง พัฒนาริมฝั่งคลองให้สวยงาม ประสานงาน ประชาชนริ่มฝั่งคลองให้ร่วมมือร่วมใจ ตบแต่งริ่มฝั่งคลองให้สวยงาม และร้านค้าริ่มคลอง ส่งเสริม ให้มี เรือสำปั้น หรือ ซำปัง เรือสำปั้นพาย เรือสำปั้นเพรียว เรือสำปั้นสวน เรือสำปั้นจ้าง เป็นแหล่งทำอาหาร นั่งถ่ายรูปท่องเที่ยว พายเรือถ่ายรูปตามเส้นคลองต่างๆ และริ่มฝั่งมีการส่งเสริมให้มีการค้าขายและการละเล่นพื้นเมืองเพื่อให้ประชาชนชาวจังหวัดสมุทรปราการ ศิลปวัฒนธรรม อังกะลุงเครื่องดนตรีไทย ที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัด นำมาพัฒนาต่อยอด ผลิต ต่อยอดให้สวยงาม ขายให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทย ส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรมประเพณี เช่น ให้มีการละเล่น รำมอญ หรือ มหรสพตะโพน ประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ ประเพณีรับบัว และส่งเสริมปลาสลิด ขึ้นชื่อบางบ่อที่คนรุ่นใหม่ยังไม่รู้จัก มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) เป็นกลุ่มธุรกิจที่นำรากเหง้าภูมิปัญญาไทยมาขัดเกลาใหม่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ยกตัวอย่างเช่น อาหารไทย การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สินค้า จังหวัดสมุทรปราการ การทำมาหากินของชาวสมุทรปราการ มีหลายประเภท ที่สำคัญได้แก่ การอุตสาหกรรม การทำนา การประมง การทำสวน การเลี้ยงสัตว์ และการรับจ้างทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม สามารถสร้าง สมุทรปราการ เมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CREATIVE ECONOMY & CITY MODEL) เพื่อให้จังหวัดอื่นๆ มาเยี่ยมชมและทำเป็นเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ศิลปะและวัฒนธรรมได้กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในระบบเศรษฐกิจ นำไปสู่แนวคิดที่ว่าด้วยอุตสาหกรรมวัฒนธรรม (Cultural Industry) และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry) อันเป็นยุคที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความคิดสร้างสรรค์ Design และริเริ่มเรื่องเมืองสร้างสรรค์ (Creative city) ด้วย