xs
xsm
sm
md
lg

เหมาะสมไหม? “ชัชชาติ” ซัด ถามใครอนุญาตตั้งป้ายโฆษณา แนะเอาเวลาไปดูแลทางเท้าจะดีกว่า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์” โพสต์รูปภาพบริเวณฟุตปาธริมถนนวิทยุ ที่มีป้ายโฆษณาตั้งบนพื้นที่สาธารณะ ถามใครอนุญาต-ใครเป็นผู้ได้รับประโยชน์ แนะมาดูแลทางเเท้าจะดีกว่า นอกจากนี้ ชาวเน็ตซึ่งเป็นผู้พิการต้องนั่งเข็นวีลแชร์คอมเมนต์ วอนผู้ที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหา

เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. เฟซบุ๊กส่วนตัว นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โพสต์ข้อความพร้อมรูปภาพบริเวณฟุตปาธริมถนนวิทยุ ที่มีป้ายโฆษณาตั้งเรียงรายบนพื้นที่สาธารณะ โดยผู้โพสต์เล่าว่า “เมื่อเช้า ไปวิ่งออกกำลังแถวสวนลุม สังเกตทางเดินเท้าริมถนนวิทยุ มีป้ายโฆษณาตั้งเรียงรายอยู่ริมถนนทั้งสองฝั่ง ดูเหมือนมีสองแบบ แบบเก่าเป็นป้ายว่างๆ สลับกับแบบใหม่มีโฆษณาติดตั้ง เห็นป้ายที่ติดตั้งอย่างถาวรบนพื้นที่สาธารณะเหล่านี้แล้ว เกิดคำถามแวบขึ้นมา

1. ใครเป็นผู้อนุญาตให้ใช้พื้นที่สาธารณะมาติดตั้งป้ายโฆษณาเพื่อประโยชน์ทางการค้า? ใครเป็นผู้ได้รับประโยชน์?

2. มันเหมาะสมหรือไม่ ที่ทางเดินเท้าจะรกรุงรัง เต็มไปด้วยป้ายโฆษณาแบบนี้?

3. ป้ายโฆษณาที่ตั้งเรียงรายริมถนน จะทำให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะเสียสมาธิในการขับรถ และอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุหรือไม่?

แทนที่จะไปทำป้ายโฆษณา เอาเวลาไปดูแลทางเท้าที่ยังเป็นหลุมเป็นบ่อตลอดถนนจะดีกว่าไหมครับ”

ทั้งนี้ โพสต์ดังกล่าวได้เผยแพร่สู่โซเชียล มียอดแชร์กว่า 2,500 ครั้ง มีชาวเน็ตรายหนึ่งซึ่งเป็นผู้พิการ ที่ต้องใช้รถเข็นวีลแชร์ เข้ามาแสดงความคิดเห็นระบุว่า “เสียงจากผู้พิการ ที่ใช้วีลแชร์ (อาจรวมไปถึงสายตา) ส่วนตัวดิฉันใช้วีลแชร์และไม่ชอบเลยที่ต้องปั่นไปบนทางเท้าที่ขรุขระ ทั้งยังต้องหลบเสาไฟ เสาโฆษณา ป้ายบอกทาง ต้นไม้ ทางลาดขึ้นสถานีรถไฟฟ้าหรือต่างๆ บางครั้งก็มีทางลาดขึ้นฟุตบาท แต่ไม่มีทางลาดลงฟุตปาธ

บางครั้งก็ทางแคบเกินไป ปั่นผ่านไม่ได้ วิธีการแก้ปัญหาของดิฉันคือปั่นบนทางถนน ในจุดที่ไปไม่ได้ ทำให้เสี่ยงอาจเกิดรถเฉี่ยวชน ทำให้เกิดจราจรติดขัด แต่ในเมื่อดิฉันไม่สามารถผ่านไปโดยใช้ฟุตปาธได้ก็ต้องยอม อยากให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง แก้ไขปัญหาในส่วนนี้ อาจจะได้ไม่ทั้งหมด แต่อยากให้พิจารณา ปรับปรุงแก้ไข วางแผน จัดการให้เป็นระเบียบ เอาแบบอย่างประเทศที่พัฒนาแล้วเขาทำกัน เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนพิการ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้นและไม่เป็นภาระสังคม และผู้คนที่ใช้ทางเท้า”










กำลังโหลดความคิดเห็น