xs
xsm
sm
md
lg

ข่าวปลอม! 5 สารใน “น้ำยาปรับผ้านุ่ม” เป็นภัยร้ายที่มาพร้อมกับความหอม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากที่มีข้อความชวนเชื่อว่าน้ำยาปรับผ้านุ่มเป็นภัยร้าย ทางสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่าข้อมูลดังกล่าวไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ และน้ำยาปรับผ้านุ่มไม่ได้เป็นอันตรายอย่างที่กล่าวอ้าง แม้ว่าน้ำยาปรับผ้านุ่มมีส่วนทำให้เกิดสารเคมีตกค้างในผ้าได้ แต่มีปริมาณน้อยมากๆ จึงไม่สามารถทำให้สารเคมีซึมเข้าสู่เลือดจนส่งผลต่อฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายได้

วันนี้ (17 เม.ย.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีข้อความชวนเชื่อ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง 5 สารที่อยู่ใน “น้ำยาปรับผ้านุ่ม” เป็นภัยร้ายที่มาพร้อมกับความหอม ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีข้อความชวนเชื่อเรื่อง 5 สารที่อยู่ใน “น้ำยาปรับผ้านุ่ม” เป็นภัยร้ายที่มาพร้อมกับความหอม ทางสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่าข้อมูลดังกล่าวไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ และน้ำยาปรับผ้านุ่มไม่ได้เป็นอันตรายอย่างที่กล่าวอ้าง โดยน้ำยาปรับผ้านุ่มนั้นประกอบด้วยสารเคมี 2 ส่วนที่สำคัญคือ

1. สารที่ทำให้ผ้านุ่ม เป็นกรดไขมันที่มาจากสัตว์ซึ่งไม่เป็นอันตราย เมื่อกรดไขมันจับกับผ้าทำให้ไฟฟ้าสถิตระหว่างเส้นใยลดลง ส่งผลให้ผ้าไม่แข็งแล้วเกิดความนุ่ม

2.สารที่ทำให้มีกลิ่นหอมติดทนนาน ในบทความกล่าวถึง สารเคมี 5 ชนิด ได้แก่ สารเอทิลอะซีเตท สารคลอโรฟอร์ม สารเบนซิลแอลกอฮอล์ สารเบนซิลอะชีเตท และมัสไซลีนซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ที่เลียนแบบกลิ่นจากกวางในปี ค.ศ. 1990 พบว่าเป็นสารก่อมะเร็ง จึงลดการผลิตลงอย่างมาก ซึ่งในปัจจุบันแทบไม่มีผลิตแล้ว ทั้งนี้ ในปัจจุบันไม่มีสารตั้งต้นจากคลอโรฟอร์ม (Chloroform) และเบนซิลแอลกอฮอส์ (Benzyl alcohol) ในน้ำยาปรับผ้านุ่มแล้ว และใช้เฉพาะหัวน้ำหอมที่บริสุทธิ์เท่านั้น

ทั้งนี้ สารที่ยังใช้เป็นส่วนประกอบในน้ำยาปรับผ้านุ่ม คือ สารเบนซิลอะซีเตท (Benzyl acetate) และเอพิลอะซีเตท (Ethyl acetate) เป็นสารที่ให้กลิ่นหอมในกลุ่มเอสเทอร์ ซึ่งสารนี้ไม่มีพิษ

น้ำยาปรับผ้านุ่มมีส่วนทำให้เกิดสารเคมีตกค้างในผ้าได้ แต่มีปริมาณน้อยมากๆ การสวมใส่เสื้อผ้า จึงไม่สามารถทำให้สารเคมีซึมเข้าสู่เลือด จนส่งผลต่อฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายได้ แต่อาจจะทำให้เกิดผื่นแพ้ที่ผิวหนัง ในบางรายที่แพ้น้ำยาปรับผ้านุ่มได้

ดังนั้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่ nutrition.anamai.moph.go.th


กำลังโหลดความคิดเห็น