ด้วยสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็ได้มีหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนออกมาให้ความช่วยเหลือเพื่อร่วมฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน เช่นเดียวกับ “จงใจ กิจแสวง” หรือ “เจ๊จง” เจ้าของกิจการ “หมูทอดเจ๊จง” ที่ได้ลุกขึ้นมาทำข้าวกล่องหมูทอดส่งให้กับคุณหมอ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ที่ทำงานกันอย่างหนัก จนไม่มีเวลาซื้อข้าวซื้อน้ำกิน ภายใต้ชื่อโครงการ Chefs For Chance
โดยเบื้องต้นได้ส่งข้าวให้กับ 2 โรงพยาบาล ได้แก่ 1. โรงพยาบาลราชวิถี และ สถาบันบําราศนราดูร วันละ 2 รอบ รอบละ 600 กล่อง
เราพาไปทำความรู้จักตัวตนของเจ๊จง ตลอดจนแนวคิดการทำธุรกิจ ซึ่งต้องบอกเลยว่า เจ๊จงเป็นคนใจดี มีน้ำใจเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่เว้นแม้แต่การทำธุรกิจ
การเดินทางของแบรนด์ “หมูทอดเจ๊จง”
ปัจจุบันมีมากถึง 12 สาขา
เจ๊เป็นคนที่เรียนจบไม่สูง ฐานะทางบ้านยากจน ถ้าย้อนกลับไปกว่า 20 ปี เจ๊เคยเป็นแม่ค้าขายของชำมาก่อน และอยู่วันหนึ่งเราเกิดวิกฤตจนทำให้เรามีหนี้หมดเนื้อหมดตัว ตอนที่เจ๊เป็นหนี้ตอนนั้นก็มาจากที่เราไปอยู่ที่ตลาด ได้เห็นแม่ค้าหลายคนต้องกู้หนี้ยืมสินมา ต้องเสียดอกแพง ๆ เราก็เลยไปชวนเพื่อน ๆ แม่ค้าเขามาเล่นแชร์ ซึ่งคนที่เราจับมาเล่น เขาแย่ทั้งนั้นเลย สุดท้ายเปียแชร์เสร็จแล้วเขาก็หนีไป บางคนฆ่าตัวตาย กลายเป็นเราต้องรับใช้หนี้ให้เขา รวม ๆ หนี้สินเป็นหลักล้าน จากนั้นเราก็เลยหาอะไรทำไปเรื่อย ๆ ขายนั่นขายนี่ จนได้มาเป็นแม่ค้าขายอาหารตามสั่ง ต่อมาก็ได้มาขายบุฟเฟต์ข้าวแกง ขายดีมาก ลูกค้าเยอะมาก แต่ว่าเราไม่พอใช้หนี้
การขายข้าวหมูทอดของเจ๊เกิดจากที่เจ๊อยากมีรายได้เพิ่ม อยากปลดหนี้ได้ไว ๆ และบวกกับที่เจ๊เคยไปซื้อข้าวหมูทอดให้ลูกกิน ตอนนั้นเขาขายกล่องละสิบบาท ฟังดูเหมือนว่าถูก แต่พอเปิดออกมามีหมูเพียง 4 ชิ้นบาง ๆ วางอยู่บนข้าว เจ๊เลยบอกกับลูกว่า เดี๋ยวแม่จะขายบ้าง แล้วจะให้หมูเยอะกว่านี้ ตั้งแต่วันนั้นเจ๊ก็เลยมาขายข้าวหมูทอด จนกลายมาหมูทอดเจ๊จง
สาขาแรกอยู่ที่หลังโลตัสพระราม 4 และขยายสาขาเรื่อยมา จนปัจจุบันมีทั้งหมด 12 สาขา ซึ่งลูก ๆ ได้เข้ามาสานต่อกิจการ ซึ่งเจ๊จะดูแลสาขาใหญ่ และทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ และลงไปช่วยดูแลสาขาของลูก ๆ บ้าง
ส่วนเมนูอาหาร เราก็ไม่ได้มีเพียงหมูทอด แต่เรายังเพิ่มเมนูอาหารอื่น ๆ เข้าไปเพื่อให้หลากหลายมากขึ้นด้วย
จริง ๆ ทุกวันนี้ก็ยังงง ๆ เหมือนกันนะคะว่าเรามาเป็นเจ๊จงที่มีแต่ใคร ๆ รู้จักแบบนี้ได้ยังไง เพราะสิ่งที่เกิดขึ้น ที่เราทำขึ้นมา มันเกิดจากนิสัยของเราด้วยส่วนหนึ่ง แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ ต้องใช้ความพยายามและความอดทนอย่างมากเลย ซึ่งลูก ๆ บอกว่าเราเป็นผู้หญิงที่สุดยอดแล้ว เหมาะสมแล้วกับคำว่าอดทน เพราะเราต้องอดทนกับการที่ต้องตื่นแต่ดึกแต่ดื่น ลุกขึ้นมาขายของ แรก ๆ ไม่ใช่ว่าจะขายดีเหมือนทุกวันนี้ ก็ค่อย ๆ ขายไป จะเป็นแบบปากต่อปากมากกว่า ลูกค้ากลุ่มแรกของเรา จะเป็นพวกจักรยานยนต์รับจ้าง แท็กซี่ สามล้อ ย่านพระรามสี่ ประมาณนี้ค่ะ
ที่ผ่านมาถามว่ายากไหม มันก็ยาก ถามว่าง่ายไหม มันก็ง่าย มันแล้วแต่ว่า ณ วันนั้นเรารับมือกับมันยังไง คือเจ๊จะพยายามแก้ไขก่อน เช่น เราจะมองก่อนว่าปัญหานี้จะเกิดขึ้นมานะ เราจะรับมือมันต่อไปอย่างไรดี เราจะไม่ปล่อยให้ปัญหาเกิดขึ้น อย่างปัญหาเรื่องไวรัสโควิด-19 ตอนนี้ก็เหมือนกัน ทางร้านก็จะมีมาตรการรองรับ ทั้งเรื่องความสะอาดของอาหาร เรื่องความสะอาดของพนักงาน การขายต่าง ๆ
ถูกและดี มีน้ำใจ
เคล็ด (ไม่) ลับ การทำธุรกิจ
เจ๊จะเน้นลูก ๆ เลยว่า ต้องไม่ต่างจากแม่ แต่ละสาขาเลยจะยึดหลักการบริหารและวิธีการขายเดียวกันเพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกัน โดยจุดยืนที่สำคัญของเจ๊ ก็คือ “ถูก ดี มีน้ำใจ”
ส่วนการทำธุรกิจ ข้อแรกเลยคือ ทุกสิ่งทุกอย่างต้องทำออกมาด้วยใจก่อน
ข้อสอง เราต้องมีความจริงใจและไม่เอาเปรียบลูกค้า ตลอดระยะเวลา 17 ปี ที่ผ่านมาเจ๊เชื่อว่าตัวเราจริงใจกับลูกค้ามาก ๆ เจ๊จะมองว่าลูกค้าเป็นเหมือนญาติ ที่เราต้องรักและจริงใจกับเขา เจ๊จะสอนลูกเสมอว่า เราขายของ เราไม่ต้องไปต้องการกำไรมากมาย แต่เราขายยังไงก็ได้ ให้ลูกค้ามากินเราทุกวัน ซึ่งที่ร้านก็จะให้ เติมข้าวได้ หยิบผักฟรี
ข้อสาม เรื่องคุณภาพ อันไหนดีเราก็ว่าดี อันไม่ดีเราจะไม่ขายเด็ดขาด อย่างบางวันของเหลือ ขายไม่ได้ เราก็จะเอาไปแจกหรือไม่ก็ทิ้งเลย ไม่มีการกลับมาขายซ้ำให้กับลูกค้าอย่างแน่นอน
น้ำใจงาม ในยามวิกฤต ไวรัสโควิด-19
จริง ๆ ต้องบอกก่อนว่าก่อนหน้านี้เรามีเชฟหลายคนมากที่มาจากโครงการ Chefs For Chance ซึ่งเป็นโครงการที่ ดร.ศิริกุล เลากัยกุล หรือพี่หนุ่ย เริ่มต้นขึ้นมา โดยชวนเชฟไปช่วยผู้ต้องขังในเรือนจำเพื่อให้อาชีพกับเขา ซึ่งกลุ่มนี้เราก็ยังมีอยู่
พอมาถึงสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาด ทางพี่หนุ่ยก็ได้โทรมาถามว่า เจ๊จงทำข้าวกล่องหมูทอดแจกทางโรงพยาบาลได้ไหมวันละ 1,200 กล่อง แต่ทั้งนี้คือต้องเป็นเงินที่เราออกเอง เพราะว่าเดิมที่กลุ่มของเราจะเป็นประมาณว่าถ้าจะทำอะไรจะระดมทุนออกค่าใช้จ่ายกันเองอยู่แล้วค่ะ ซึ่งเจ๊ก็รับปากตกลงไปว่าจะทำ วันแรกก็ได้ใช้เงินส่วนตัวออกไปก่อนค่ะ
หลังจากนั้นก็ได้คุยกับลูก ๆ ตอนแรกลูก ๆ ก็เป็นห่วงกลัวว่าทำไม่ไหว เพราะต้องทำวันนึง 1,200 กล่อง และต้องใช้เงินวันละประมาณ 30,000 กว่าบาท ซึ่งเจ๊ก็บอกลูกว่าให้ลองดู เพราะเจ๊เชื่อว่าถ้าเราทำไป เดี๋ยวจะมีหลายคนที่เขาอยากจะช่วยสมทบทุนเอง เราต้องทำให้เขาเห็นก่อน เจ๊อยากลุกขึ้นมาเป็นต้นแบบให้ก่อน เจ๊ก็เลยเริ่มทำ ตอนนี้ที่ทำก็ช่วยกันทำกับลูก ๆ ซึ่งลูก ๆ ก็ยอมทิ้งร้านมาช่วยเราเลยค่ะ
จริง ๆ เจ๊มีความคิดว่าอยากจะแจกข้าวกล่องให้กับคนตกงาน ไม่มีรายได้ ไม่มีข้าวกินด้วยนะคะ แต่เราไม่สามารถไปแจกมั่วได้ หรือถ้าประกาศออกไปแล้วคนมาเยอะ มันก็จะเป็นการกระจายโรคต่อไปอีก ทางผู้ใหญ่เลยแนะนำว่าให้เราส่งไปให้ด่านหน้าของเรา ก็คือ หมอ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ของเราดีกว่า เพราะพวกเขาทำงานกันอย่างหนัก จนไม่มีเวลาซื้อข้าวซื้อน้ำกิน ในส่วนนี้ทางผู้ใหญ่จะเป็นคนประสานงานกับทางโรงพยาบาลให้ก่อนนะคะ เพราะเราไม่สามารถไปแจกแบบสุ่มสี่สุ่มห้าได้
เบื้องต้นก็ได้ส่งข้าวให้กับ 2 โรงพยาบาล คือ 1. โรงพยาบาลราชวิถี และ 2. สถาบันบําราศนราดูร วันละ 2 รอบ รอบละ 600 กล่อง ค่ะ ล่าสุดจะเพิ่มให้กับทางโรงพยาบาลรามาธิบดีด้วยค่ะ
เชื่อว่ายิ่งให้ ยิ่งได้รับ
ถามว่าส่วนตัวเจ๊จงเป็นคนชอบให้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว? ต้องบอกว่าเป็นคนแบบนี้อยู่แล้วค่ะ ทางผู้ใหญ่ชอบบอกว่าเจ๊เป็นคนชอบ “เสือก” (หัวเราะ) คือ เราเป็นคนที่เห็นใครเดือดร้อนไม่ได้ เราจะชอบยื่นมือเข้าไปช่วย ชอบกระโดดเข้าไปช่วย ซึ่งเจ๊ว่ามันน่าจะเกิดจากความที่เราเป็นคนชอบเสือกจริง ๆ
ยกตัวอย่างเช่น เวลาเล่นเฟซบุ๊กแล้วเห็นใครเดือดร้อน เจ๊ก็ชอบทักไปหา ไปให้กำลังใจเขา หรืออย่างตอนที่น้ำท่วม เราไม่รู้หรอกว่ามันเป็นการสร้างแบรนด์ แต่เราอยากช่วย เจ๊ก็เลยลงไปลุยไปแจกของที่ จ. พระนครศรีอยุธยา แจกจนน้ำไล่มา จนเราเข้าไปไม่ได้ ก็เหมือนกับตอนนี้ที่เราทำ
แต่ก่อนเราไม่รู้หรอกว่า “ยิ่งให้ ยิ่งได้” มันคืออะไร เพราะเราทำแบบไม่ได้คาดหวังอะไรตรงนี้อยู่แล้ว เจ๊คิดแต่ว่าจะช่วยเขาแค่นั้นเอง แต่สิ่งนี้มันกลับทำให้เรายิ่งให้ ยิ่งได้จริง ๆ
อย่างตอนนี้ที่เราทำ หลายคนก็บอกว่าถ้าหมดวิกฤตไวรัสโควิด-19 ระบาด เขาจะมาช่วยอุดหนุนเจ๊ เห็นไหมคะ เราก็ได้ลูกค้ากลับมา จากวิกฤตที่ผ่านมาเราไม่เคยเลยที่จะขายไม่ได้ เราขายได้ทุกวิกฤต พอมาถึงวิกฤตไวรัสโควิด-19 ระบาดก็เหมือนกัน ซึ่งเจ๊ก็ไม่คิดว่าเจ๊จะขายได้ขนาดนี้ด้วยซ้ำ
ล่าสุดก็มีคนเข้ามาขอกำลังใจจากเจ๊เยอะมาก ส่วนตัวเจ๊เข้าใจสถานการณ์นะคะเพราะเราก็เคยผ่านวิกฤตอะไรแบบนี้มาก่อน แต่ครั้งนี้ต้องยอมรับว่ามันหนักและรุนแรงมาก ซึ่งเจ๊ห่วงคนที่เป็นหนี้สิน เขาต้องทุกข์ขนาดไหนที่เขาหาเงินไม่ได้ และเขายังต้องจ่ายหนี้อีก ซึ่งเจ๊อยากให้กำลังใจว่าอย่าคิดอะไรมาก ให้ลุกขึ้นมา มองรอบข้างเรา คนที่แย่กว่าเรา ยังมีอีกเยอะค่ะ อย่าไปมองว่าตัวเองแย่
ตอนนี้เจ๊เปิดให้คนฝากร้านในใต้โพสต์ด้วย ก็อยากให้ช่วยกันอุดหนุนกัน อันไหนที่พอจะอุดหนุนกันได้ ก็อยากให้ช่วย ๆ กันค่ะ
เรื่อง : วรัญญา งามขำ
ภาพ : เพจเฟซบุ๊ก ร้านหมูทอดเจ๊จง
โดยเบื้องต้นได้ส่งข้าวให้กับ 2 โรงพยาบาล ได้แก่ 1. โรงพยาบาลราชวิถี และ สถาบันบําราศนราดูร วันละ 2 รอบ รอบละ 600 กล่อง
เราพาไปทำความรู้จักตัวตนของเจ๊จง ตลอดจนแนวคิดการทำธุรกิจ ซึ่งต้องบอกเลยว่า เจ๊จงเป็นคนใจดี มีน้ำใจเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่เว้นแม้แต่การทำธุรกิจ
การเดินทางของแบรนด์ “หมูทอดเจ๊จง”
ปัจจุบันมีมากถึง 12 สาขา
เจ๊เป็นคนที่เรียนจบไม่สูง ฐานะทางบ้านยากจน ถ้าย้อนกลับไปกว่า 20 ปี เจ๊เคยเป็นแม่ค้าขายของชำมาก่อน และอยู่วันหนึ่งเราเกิดวิกฤตจนทำให้เรามีหนี้หมดเนื้อหมดตัว ตอนที่เจ๊เป็นหนี้ตอนนั้นก็มาจากที่เราไปอยู่ที่ตลาด ได้เห็นแม่ค้าหลายคนต้องกู้หนี้ยืมสินมา ต้องเสียดอกแพง ๆ เราก็เลยไปชวนเพื่อน ๆ แม่ค้าเขามาเล่นแชร์ ซึ่งคนที่เราจับมาเล่น เขาแย่ทั้งนั้นเลย สุดท้ายเปียแชร์เสร็จแล้วเขาก็หนีไป บางคนฆ่าตัวตาย กลายเป็นเราต้องรับใช้หนี้ให้เขา รวม ๆ หนี้สินเป็นหลักล้าน จากนั้นเราก็เลยหาอะไรทำไปเรื่อย ๆ ขายนั่นขายนี่ จนได้มาเป็นแม่ค้าขายอาหารตามสั่ง ต่อมาก็ได้มาขายบุฟเฟต์ข้าวแกง ขายดีมาก ลูกค้าเยอะมาก แต่ว่าเราไม่พอใช้หนี้
การขายข้าวหมูทอดของเจ๊เกิดจากที่เจ๊อยากมีรายได้เพิ่ม อยากปลดหนี้ได้ไว ๆ และบวกกับที่เจ๊เคยไปซื้อข้าวหมูทอดให้ลูกกิน ตอนนั้นเขาขายกล่องละสิบบาท ฟังดูเหมือนว่าถูก แต่พอเปิดออกมามีหมูเพียง 4 ชิ้นบาง ๆ วางอยู่บนข้าว เจ๊เลยบอกกับลูกว่า เดี๋ยวแม่จะขายบ้าง แล้วจะให้หมูเยอะกว่านี้ ตั้งแต่วันนั้นเจ๊ก็เลยมาขายข้าวหมูทอด จนกลายมาหมูทอดเจ๊จง
สาขาแรกอยู่ที่หลังโลตัสพระราม 4 และขยายสาขาเรื่อยมา จนปัจจุบันมีทั้งหมด 12 สาขา ซึ่งลูก ๆ ได้เข้ามาสานต่อกิจการ ซึ่งเจ๊จะดูแลสาขาใหญ่ และทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ และลงไปช่วยดูแลสาขาของลูก ๆ บ้าง
ส่วนเมนูอาหาร เราก็ไม่ได้มีเพียงหมูทอด แต่เรายังเพิ่มเมนูอาหารอื่น ๆ เข้าไปเพื่อให้หลากหลายมากขึ้นด้วย
จริง ๆ ทุกวันนี้ก็ยังงง ๆ เหมือนกันนะคะว่าเรามาเป็นเจ๊จงที่มีแต่ใคร ๆ รู้จักแบบนี้ได้ยังไง เพราะสิ่งที่เกิดขึ้น ที่เราทำขึ้นมา มันเกิดจากนิสัยของเราด้วยส่วนหนึ่ง แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ ต้องใช้ความพยายามและความอดทนอย่างมากเลย ซึ่งลูก ๆ บอกว่าเราเป็นผู้หญิงที่สุดยอดแล้ว เหมาะสมแล้วกับคำว่าอดทน เพราะเราต้องอดทนกับการที่ต้องตื่นแต่ดึกแต่ดื่น ลุกขึ้นมาขายของ แรก ๆ ไม่ใช่ว่าจะขายดีเหมือนทุกวันนี้ ก็ค่อย ๆ ขายไป จะเป็นแบบปากต่อปากมากกว่า ลูกค้ากลุ่มแรกของเรา จะเป็นพวกจักรยานยนต์รับจ้าง แท็กซี่ สามล้อ ย่านพระรามสี่ ประมาณนี้ค่ะ
ที่ผ่านมาถามว่ายากไหม มันก็ยาก ถามว่าง่ายไหม มันก็ง่าย มันแล้วแต่ว่า ณ วันนั้นเรารับมือกับมันยังไง คือเจ๊จะพยายามแก้ไขก่อน เช่น เราจะมองก่อนว่าปัญหานี้จะเกิดขึ้นมานะ เราจะรับมือมันต่อไปอย่างไรดี เราจะไม่ปล่อยให้ปัญหาเกิดขึ้น อย่างปัญหาเรื่องไวรัสโควิด-19 ตอนนี้ก็เหมือนกัน ทางร้านก็จะมีมาตรการรองรับ ทั้งเรื่องความสะอาดของอาหาร เรื่องความสะอาดของพนักงาน การขายต่าง ๆ
ถูกและดี มีน้ำใจ
เคล็ด (ไม่) ลับ การทำธุรกิจ
เจ๊จะเน้นลูก ๆ เลยว่า ต้องไม่ต่างจากแม่ แต่ละสาขาเลยจะยึดหลักการบริหารและวิธีการขายเดียวกันเพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกัน โดยจุดยืนที่สำคัญของเจ๊ ก็คือ “ถูก ดี มีน้ำใจ”
ส่วนการทำธุรกิจ ข้อแรกเลยคือ ทุกสิ่งทุกอย่างต้องทำออกมาด้วยใจก่อน
ข้อสอง เราต้องมีความจริงใจและไม่เอาเปรียบลูกค้า ตลอดระยะเวลา 17 ปี ที่ผ่านมาเจ๊เชื่อว่าตัวเราจริงใจกับลูกค้ามาก ๆ เจ๊จะมองว่าลูกค้าเป็นเหมือนญาติ ที่เราต้องรักและจริงใจกับเขา เจ๊จะสอนลูกเสมอว่า เราขายของ เราไม่ต้องไปต้องการกำไรมากมาย แต่เราขายยังไงก็ได้ ให้ลูกค้ามากินเราทุกวัน ซึ่งที่ร้านก็จะให้ เติมข้าวได้ หยิบผักฟรี
ข้อสาม เรื่องคุณภาพ อันไหนดีเราก็ว่าดี อันไม่ดีเราจะไม่ขายเด็ดขาด อย่างบางวันของเหลือ ขายไม่ได้ เราก็จะเอาไปแจกหรือไม่ก็ทิ้งเลย ไม่มีการกลับมาขายซ้ำให้กับลูกค้าอย่างแน่นอน
น้ำใจงาม ในยามวิกฤต ไวรัสโควิด-19
จริง ๆ ต้องบอกก่อนว่าก่อนหน้านี้เรามีเชฟหลายคนมากที่มาจากโครงการ Chefs For Chance ซึ่งเป็นโครงการที่ ดร.ศิริกุล เลากัยกุล หรือพี่หนุ่ย เริ่มต้นขึ้นมา โดยชวนเชฟไปช่วยผู้ต้องขังในเรือนจำเพื่อให้อาชีพกับเขา ซึ่งกลุ่มนี้เราก็ยังมีอยู่
พอมาถึงสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาด ทางพี่หนุ่ยก็ได้โทรมาถามว่า เจ๊จงทำข้าวกล่องหมูทอดแจกทางโรงพยาบาลได้ไหมวันละ 1,200 กล่อง แต่ทั้งนี้คือต้องเป็นเงินที่เราออกเอง เพราะว่าเดิมที่กลุ่มของเราจะเป็นประมาณว่าถ้าจะทำอะไรจะระดมทุนออกค่าใช้จ่ายกันเองอยู่แล้วค่ะ ซึ่งเจ๊ก็รับปากตกลงไปว่าจะทำ วันแรกก็ได้ใช้เงินส่วนตัวออกไปก่อนค่ะ
หลังจากนั้นก็ได้คุยกับลูก ๆ ตอนแรกลูก ๆ ก็เป็นห่วงกลัวว่าทำไม่ไหว เพราะต้องทำวันนึง 1,200 กล่อง และต้องใช้เงินวันละประมาณ 30,000 กว่าบาท ซึ่งเจ๊ก็บอกลูกว่าให้ลองดู เพราะเจ๊เชื่อว่าถ้าเราทำไป เดี๋ยวจะมีหลายคนที่เขาอยากจะช่วยสมทบทุนเอง เราต้องทำให้เขาเห็นก่อน เจ๊อยากลุกขึ้นมาเป็นต้นแบบให้ก่อน เจ๊ก็เลยเริ่มทำ ตอนนี้ที่ทำก็ช่วยกันทำกับลูก ๆ ซึ่งลูก ๆ ก็ยอมทิ้งร้านมาช่วยเราเลยค่ะ
จริง ๆ เจ๊มีความคิดว่าอยากจะแจกข้าวกล่องให้กับคนตกงาน ไม่มีรายได้ ไม่มีข้าวกินด้วยนะคะ แต่เราไม่สามารถไปแจกมั่วได้ หรือถ้าประกาศออกไปแล้วคนมาเยอะ มันก็จะเป็นการกระจายโรคต่อไปอีก ทางผู้ใหญ่เลยแนะนำว่าให้เราส่งไปให้ด่านหน้าของเรา ก็คือ หมอ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ของเราดีกว่า เพราะพวกเขาทำงานกันอย่างหนัก จนไม่มีเวลาซื้อข้าวซื้อน้ำกิน ในส่วนนี้ทางผู้ใหญ่จะเป็นคนประสานงานกับทางโรงพยาบาลให้ก่อนนะคะ เพราะเราไม่สามารถไปแจกแบบสุ่มสี่สุ่มห้าได้
เบื้องต้นก็ได้ส่งข้าวให้กับ 2 โรงพยาบาล คือ 1. โรงพยาบาลราชวิถี และ 2. สถาบันบําราศนราดูร วันละ 2 รอบ รอบละ 600 กล่อง ค่ะ ล่าสุดจะเพิ่มให้กับทางโรงพยาบาลรามาธิบดีด้วยค่ะ
เชื่อว่ายิ่งให้ ยิ่งได้รับ
ถามว่าส่วนตัวเจ๊จงเป็นคนชอบให้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว? ต้องบอกว่าเป็นคนแบบนี้อยู่แล้วค่ะ ทางผู้ใหญ่ชอบบอกว่าเจ๊เป็นคนชอบ “เสือก” (หัวเราะ) คือ เราเป็นคนที่เห็นใครเดือดร้อนไม่ได้ เราจะชอบยื่นมือเข้าไปช่วย ชอบกระโดดเข้าไปช่วย ซึ่งเจ๊ว่ามันน่าจะเกิดจากความที่เราเป็นคนชอบเสือกจริง ๆ
ยกตัวอย่างเช่น เวลาเล่นเฟซบุ๊กแล้วเห็นใครเดือดร้อน เจ๊ก็ชอบทักไปหา ไปให้กำลังใจเขา หรืออย่างตอนที่น้ำท่วม เราไม่รู้หรอกว่ามันเป็นการสร้างแบรนด์ แต่เราอยากช่วย เจ๊ก็เลยลงไปลุยไปแจกของที่ จ. พระนครศรีอยุธยา แจกจนน้ำไล่มา จนเราเข้าไปไม่ได้ ก็เหมือนกับตอนนี้ที่เราทำ
แต่ก่อนเราไม่รู้หรอกว่า “ยิ่งให้ ยิ่งได้” มันคืออะไร เพราะเราทำแบบไม่ได้คาดหวังอะไรตรงนี้อยู่แล้ว เจ๊คิดแต่ว่าจะช่วยเขาแค่นั้นเอง แต่สิ่งนี้มันกลับทำให้เรายิ่งให้ ยิ่งได้จริง ๆ
อย่างตอนนี้ที่เราทำ หลายคนก็บอกว่าถ้าหมดวิกฤตไวรัสโควิด-19 ระบาด เขาจะมาช่วยอุดหนุนเจ๊ เห็นไหมคะ เราก็ได้ลูกค้ากลับมา จากวิกฤตที่ผ่านมาเราไม่เคยเลยที่จะขายไม่ได้ เราขายได้ทุกวิกฤต พอมาถึงวิกฤตไวรัสโควิด-19 ระบาดก็เหมือนกัน ซึ่งเจ๊ก็ไม่คิดว่าเจ๊จะขายได้ขนาดนี้ด้วยซ้ำ
ล่าสุดก็มีคนเข้ามาขอกำลังใจจากเจ๊เยอะมาก ส่วนตัวเจ๊เข้าใจสถานการณ์นะคะเพราะเราก็เคยผ่านวิกฤตอะไรแบบนี้มาก่อน แต่ครั้งนี้ต้องยอมรับว่ามันหนักและรุนแรงมาก ซึ่งเจ๊ห่วงคนที่เป็นหนี้สิน เขาต้องทุกข์ขนาดไหนที่เขาหาเงินไม่ได้ และเขายังต้องจ่ายหนี้อีก ซึ่งเจ๊อยากให้กำลังใจว่าอย่าคิดอะไรมาก ให้ลุกขึ้นมา มองรอบข้างเรา คนที่แย่กว่าเรา ยังมีอีกเยอะค่ะ อย่าไปมองว่าตัวเองแย่
ตอนนี้เจ๊เปิดให้คนฝากร้านในใต้โพสต์ด้วย ก็อยากให้ช่วยกันอุดหนุนกัน อันไหนที่พอจะอุดหนุนกันได้ ก็อยากให้ช่วย ๆ กันค่ะ
เรื่อง : วรัญญา งามขำ
ภาพ : เพจเฟซบุ๊ก ร้านหมูทอดเจ๊จง