xs
xsm
sm
md
lg

เพจจ่าแนะหน้ากากอนามัยซักด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เพจ “Drama-addict” เผยวิธีทำความสะอาดหน้ากากอนามัย เราสามารถซักทำความสะอาดได้ตามปกติ สบู่อ่อน หรือน้ำยาซักผ้าเด็ก หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค นอกจากนี้ เว็บไซต์หน่วยสารสนเทศมะเร็ง โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ยังได้ให้ความรู้ประโยชน์ของผ้าปิดปากปิดจมูกด้วย

จากปัญหาการแพร่กระจายของฝุ่นพิษที่มีขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ปกคลุมไปทั่วประเทศไทยตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 ทำให้ประชาชนเริ่มให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพตัวเองด้วยการหาหน้ากากอนามัยมาใส่ป้องกันฝุ่นพิษแล้ว ในช่วงเดือนมกราคม 2563 นี้ก็เกิดโรคระบาดจากไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 ทำให้ประชาชนต้องป้องกันด้วยการใช้หน้ากากอนามัยด้วยเช่นกัน จึงทำให้หน้ากากอนามัยมีราคาที่สูงขึ้นหรือบางแห่งก็ขาดตลาด

ล่าสุด วันนี้ (1 ก.พ.) เพจ “Drama-addict” โพสต์ข้อความแนะวิธีทำความสะอาดหน้ากากอนามัยซึ่งเราสามารถซักทำความสะอาดได้ตามปกติ ด้วยน้ำสบู่อ่อน หรือน้ำยาซักผ้าเด็ก ไม่ควรใช้น้ำยาขจัดคราบหรือน้ำยาฟอกขาว หากผู้ใช้ผ้าปิดปากไม่สบายจะใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ หรือซักด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคก็ได้ แต่ไม่ควรแช่น้ำยาทิ้งไว้ ควรตากผึ่งไว้ในที่ที่มีอากาศถ่ายเท หรือมีลมโกรก ไม่ควรตากแดดจัดๆ และห้ามรีดเตารีดลงบนผ้าโดยตรง ควรกลับด้านรีด หรือใช้ผ้ารองรีด

นอกจากนี้ ทางเว็บไซต์ หน่วยสารสนเทศมะเร็ง โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ยังได้ให้ความรู้ประโยชน์ของผ้าปิดปากปิดจมูก คือ เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการสัมผัสกับฝอยละออง ( droplet contact ) และการแพร่กระจายทางอากาศ (airborne route) รวมทั้งการกระเด็นของสารคัดหลั่ง เลือดหรือหนองที่ออกจากตัวผู้ป่วย ศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา (CDC) แนะนำว่า ควรใส่ผ้าปิดปากและจมูกในกรณีต่อไปนี้

1. เมื่อมีปฏิสัมพันธ์ และต้องใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ เช่น มีการติดเชื้อหัดเยอรมัน คางทูม หรือเป็นโรคระบบทางเดินหายใจชนิดเฉียบพลัน ซึ่งโรคเหล่านี้มีโอกาสแพร่กระจายเชื้อที่มีฝอยละอองขนาดใหญ่จำพวกน้ำมูกน้ำลาย จากผู้ที่มีเชื้อก่อโรคไอ จาม ในระยะไม่เกิน 3 ฟุต

2. ทุกคนที่จะเข้าไปในห้องผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ เช่น วัณโรค ซึ่งมีการแพร่กระจายเชื้อ โดยฝอยละอองขนาดเล็ก (droplet nuclei) ซึ่งฝอยละอองขนาดเล็กนี้จะยังคงลอยอยู่ในอากาศ และเคลื่อนที่ได้ในระยะไกล

3. ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากการสัมผัสฝอยละอองจากพื้นที่หนึ่ง ไปสู่บริเวณปลอดเชื้อ/แผลปิด หรือป้องกันการกระเด็นของสารคัดหลั่งเลือดหรือหนองที่ออกจากตัวผู้ป่วย




กำลังโหลดความคิดเห็น