xs
xsm
sm
md
lg

กระทรวงพาณิชย์ ตอกย้ำ “เส้นทางทางสายไหม สู่เมืองรอง” อวดโฉมผ้าไหมไทยเชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยวเมืองรอง ภาคอีสาน

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กระทรวงพาณิชย์ เชื่อมั่นในศักยภาพผ้าไหมไทย จัดกิจกรรมงาน “เส้นทางสายไหม สู่เมืองรอง” อวดโฉมความงดงามของผ้าไหมไทยแต่ละพื้นถิ่นสู่สาธารณชน สร้างการรับรู้และแรงบันดาลใจแก่กลุ่มคนรุ่นใหม่ให้หันมาสนใจใช้ผ้าไหมไทย ผลักดันให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้เกิดมูลค่าทางสินค้าในอนาคต พร้อมถ่ายทอดเรื่องราววัฒนธรรมผ้าไหมท้องถิ่นสู่การท่องเที่ยวเข้าไว้ด้วยกัน


ระหว่างวันที่ 28 - 30 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ จัดกิจกรรมงาน “เส้นทางสายไหม สู่เมืองรอง” นำสื่อมวลชนและบล็อกเกอร์ท่องเที่ยวลงพื้นที่ท่องเที่ยวเมืองรองอย่างต่อเนื่อง โดยกิจกรรมฯ ครั้งนี้ นับเป็นเส้นทางสายไหม...สูุุ่่่เมืองรอง เส้นทางที่ 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยนำคณะสื่อมวลชนและบล็อกเกอร์ด้านการท่องเที่ยว และไลฟ์สไตล์ที่มีชื่อเสียง ร่วมเดินทางลงพื้นที่ไปยังจังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดเลย เพื่อเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด และสัมผัสความเป็นมาของผ้าไหมไทยในแต่ละพื้นที่อย่างใกล้ชิด บอกต่อความงดงามของผ้าไหมไทยแต่ละพื้นถิ่นสู่สาธารณชน มุ่งหน้าสู่แดนอีสาน ครั้งนี้เดินทางไปยังจังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดเลย ภายใต้แคมเปญ “เส้นทางสายไหม..สู่เมืองรอง” ถ่ายทอดเรื่องราววัฒนธรรมผ้าไหมท้องถิ่นและการท่องเที่ยวเข้าไว้ด้วยกัน พร้อมสร้างแรงบันดาลใจแก่กลุ่มคนรุ่นใหม่ให้หันมาสนใจใช้ผ้าไหมไทย...ไหมไทย...สัญลักษณ์ไทย...ใครใครก็ใช้ได้ มั่นใจ...ความสวยงาม ทนทาน ครองใจผู้ใช้ได้ทุกกลุ่ม รวมทั้งเป็นแรงผลักดันให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้เกิดมูลค่าทางสินค้าได้ต่อไปในอนาคต ซึ่งผ้าไหมแต่ละผืนของแต่ละชุมชนในแต่ละจังหวัดนั้น ล้วนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สวยงามโดดเด่น ลวดลายบนผื้นผ้าที่ได้มาต้องใช้ความประณีต ความพิถีพิถัน ผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และเป็นการส่งเสริมการตลาดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดเลย อีกด้วย


นางลลิตา จิวะนันทประวัติ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า “กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดกิจกรรมเส้นทางสายไหม...สู่เมืองรองขึ้น เพื่อสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเมืองรอง ภายใต้โครงการยกระดับการตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าไหมสู่แหล่งท่องเที่ยว โดยเน้นเชื่อมโยงการท่องเที่ยววิถีชุมชนแต่ละท้องถิ่นและวัฒนธรรมเส้นไหมควบคู่กันไป ให้ผ้าไหมเป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อและสร้างการจดจำ กระตุ้นให้เกิดการบริโภคและซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหม สินค้า และบริการต่างๆ ในจังหวัดเมืองรองให้มากขึ้น อีกทั้งเป็นแรงผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศมีความเข้มแข็ง มั่นคงยิ่งขึ้น”

รองอธิบดีกล่าวเพิ่มเติมว่า “นอกจากต้องการสื่อสารให้คนรุ่นใหม่ได้ปรับมุมมองการนำผ้าไหมมาใช้ในชีวิตประจำวันให้มากขึ้นแล้ว ยังต้องการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการผ้าไหมสามารถผลิต คัดสรร และพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมให้มีความหลากหลายและทันสมัยมากขึ้น เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคยุคใหม่หันมาเลือกซื้อ/เลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากผ้าไหม ซึ่งจะเป็นการยกระดับผู้ประกอบการผ้าไหมของไทยให้มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันได้ในเชิงธุรกิจ เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อขยายช่องทางการตลาดให้มีความหลากหลาย ขนานไปตามเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวเมืองรอง ตลอดจนส่งเสริมให้ลูกหลานในชุมชนแหล่งผลิตหันมาสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการผลิตผ้าไหมไทยมากขึ้น”


สำหรับจุดหมายแรกของ “เส้นทางสายไหม...สู่เมืองรอง” จังหวัดอุดรธานี ได้ไปเรียนรู้เรื่องราวผ้าไหมที่ “ร้านพะแพง” ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี แหล่งผลิตผ้าไหมและจำหน่ายผ้าไหมชนิดผืน และตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ขึ้นชื่อเรื่องความสวยงามและคุณภาพ และคงเอกลักษณ์ลวดลายความเป็นถิ่นอีสานไว้ในผืนผ้า ถักทอด้วยเทคนิคชั้นสูงที่เรียกว่า “ผ้าทอลายขิด” หรือ “ผ้าไหมลายขิด” และย้อมด้วยสีจากธรรมชาติ โดยมีลวดลายโดดเด่นของทางกลุ่มฯ คือ ลายกระเช้ามาลี (ได้รับรางวัลลายผ้า 2 ปีซ้อน), ลายบัวสวรรค์และลายกระทงทอง นำมาแปรรูปเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปต่างๆ เช่น ชุดแซ็ก, เสื้อ, กระโปรง, กางเกง, และชุดสูท ฯลฯ และได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มพช.) อีกด้วย






หลังจากนั้นเข้ายี่ยมชม ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน มููลนิธิศาลเจ้าปู่-ย่า ต.หมากแข้ง อ.เมือง อุดรธานี สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม ที่จำลองเมืองจีนโบราณ ทำการออกแบบก่อสร้างและทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2552 เริ่มก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นจุดศูนย์รวมอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม วิถีบรรพชนและหลักปรัญชา ของพี่-น้องชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดอุดรธานี ภายในศูนย์วัฒนธรรม ไทย-จีน ถูกออกแบบเป็นกลุ่มอาคารสถาปัตยกรรมแบบจีน (มีของที่นำเข้ามาจากประเทศจีนถึง 80 %) ประกอบด้วยอาคารเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารพิพิธภัณฑ์คุณธรรม อาคารการเรียนรู้ อาคารหอประชุมปรีชา ชัยรัตน์ อาคารสำนักงาน ร้านจำหน่ายของที่ระลึกจากจีน นอกจากนี้ที่นี่ยังมี “ร้านน้ำชาผิงอัน” จำหน่ายเครื่องดื่ม ชากาแฟ และเบเกอร์รี่ ให้ได้ลิ้มลองอีกด้ว




ปิดท้ายด้วยการชวนไปสัมผัสผ้าไหมมัดหมี่ย้อมสีจากธรรมชาติจาก “กลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านเชียงยืน” หมู่ 14 บ้านเชียงยืน ต.เชียงยืน อ.เมือง จ.อุดรธานี ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่ที่ย้อมด้วยสีจากธรรมชาติ โดยเป็นน้ำหมักเอ็นไซน์จาก คราม ขมิ้น เห็ดหลินจือ ดอกอัญชัญ ดอกจาน และสมุนไพรหรือดอกไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เป็นการย้้อมด้วยสมุนไพรและธรรมชาติ 100% ทำให้ได้สีสันที่สวยงาม สีเย็นตาไม่ฉูดฉาด มีความสวยงามตามความต้องการของท้องตลาดในยุคปัจจุบัน โดยเส้นไหมได้มาจากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สาวไหม ย้อมสี ซึ่งเป็นช่างฝีมือในชุมชนบ้านเชียงยืน จ.อุดรธานี คุณลักษณะโดดเด่นของกลุ่มฯ ก็คือ ผ้าไหมมีเนื้อแน่น แต่อ่อนนุ่ม ไม่มีกลิ่นเหม็น สวมใส่สบายไม่ร้อน และปลอดภัยไร้สารเคมี








เส้นทางสายไหม..สู่เมืองรอง จังหวัดหนองบัวลำภู แวะสัมผัสบรรยากาศธรรมชาติอันร่มรื่น เงียบสงบ ณ วัดป่าสายปฏิบัติ “วัดถ้ำกลองเพล” และ “พิพิธภัณฑ์อัฐบริขารหลวงปู่ขาว” ซึ่งเป็นวัดป่าเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดหนองบัวลำภูสร้างขึ้นในสมัยขอม ตั้งอยู่เชิงเทือกเขาภูพาน เมื่อปี พ.ศ. 2501 หลวงปู่ขาว อนาลโย พระวิปัสสนาสายพระอาจารย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตตะ เถระ ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำกลองเพล ได้อาศัยวัดแห่งนี้เป็นสถานที่วิปัสสนากรรมฐาน โดยได้สร้างอุโบสถ์ใช้พื้นที่จากหมู่ก้อนหินขนาดใหญ่เป็นห้องโถงขนาดใหญ่ เพื่อใช้บำเพ็ญสมณธรรม จนกระทั่งมรณภาพในปี พ.ศ. 2526 สิริรวมอายุได้ 95 ปี 5 เดือน อยู่ในเพศบรรพชิตถึง 57 พรรษา พิธีพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ขาวเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2527 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธี






จากนั้นเข้าเยี่ยมชม “กลุ่มทอผ้าบ้านนากลาง” ต.นาเหล่า อ.นาวัง จ.หนองบัวลำภู กลุ่มผลิตผ้าไหมมัดหมี่ี่ลายโบราณ เป็นผ้าไหมมัดหมี่ลายโบราณและลายประยุกต์ ย้อมด้วยสีจากวัตถุดิบธรรมชาติในท้องถิ่น เช่น เปลือกไม้และใบไม้ ทำให้ผืนผ้ามีสีสันที่สวยงามและไม่ตก การมัดหมี่และทอด้วยมือเป็นไปด้วยความประณีตบรรจง เนื้อผ้ามีความละเอียดนุ่ม สวมใส่สบาย ซี่งนอกจากจะโดดเด่นด้วยลายโบราณที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษแล้ว ยังประยุกต์ลวดลายใหม่ๆ เพื่อให้ถูกใจผู้บริโภคทุกกลุ่ม คือลายนาคต้นสน และลายดอกบัว ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มพช.) และได้รับการคัดสรรให้เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 5 ดาวอีกด้วย






ถัดมาแวะไปชมผ้าไหมยกดอกลายโบราณกับผ้าไหมแกมฝ้าย จากผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของกลุ่ม “รัศมีไหมไทย” ต.ป่าไม้งาม อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู โดยมีทั้งผ้าถุงลายโบราณ ผ้าขิดยกดอกลายโบราณ ซึ่งเป็นผ้าไหมและไหมแกมฝ้าย ถักทอด้วยลวดลายโบราณอันเป็นเอกลักษ์เฉพาะกลุ่มฯ โดยลวดลายโบราณมาจากการสะสมผ้าลายโบราณที่ส่งต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น และสัมผัสผ้าไหมหมักโคลนลายโบราณของ “ร้านมูลมังผ้าไทย” ต.ป่าไม้งาม อ.เมือง ในบริเวณเดียวกัน ซึ่งมีกระบวนการย้อมแบบดั้งเดิม ด้วยการหมักโคลนและการใช้สีจากวัตถุดิบธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น มะเกลือ มีสินค้าแปรรูปจากผ้าไหมที่ออกแบบลวดลายให้เข้ากับยุคสมัย แต่ยังคงอนุรักษ์ลายโบราณไว้ โดยมีเทคนิคการดูแลรักษาที่สืบทอดมาจากภูมิปัญญาบรรพบุรุษ ปัจจุบันผ้าถุงลายยกดอกโบราณที่ผลิตจากผ้าไหม เป็นผลิตภัณฑ์ยอดนิยมในหมู่ผู้บริโภคยุคใหม่ เพราะนอกจากจะมีลวดลายที่สวยงามแล้ว ยังดูแลรักษาง่าย เนื้อผ้าไม่หด ไม่ยุ่ย และสีไม่ตก เพราะย้อมด้วยสีธรรมชาติ จึงปลอดภัยแก่ผู้สวมใส่








สำหรับเส้นทางสายไหม..สู่เมืองรองจังหวัดเลยนั้น ที่พลาดไม่ได้ต้องแวะ “ถนนคนเดินเชียงคาน” ตั้งอยู่บริเวณถนนสายล่าง ในตัวอำเภอเมืองเชียงคาน ซึ่งเป็นถนนที่เลียบไปกับแม่น้ำโขง หรือที่เรียกว่า “ถนนชายโขง” เสน่ห์ของถนนสายนี้ี่อยู่ที่บ้านเรือนไม้ในบรรยากาศเก่าๆ ที่ยังคงมีให้เห็นและสะท้อนถึงวิถีชีวิตของผู้คนที่นั่นในอดีตที่ผ่านมา เพลิดเพลินกับการ ช้อป ชิม ชิล แชะ บนถนนคนเดินที่ยาวเกือบ 3 กิโลเมตร จากนั้นไปดื่มด่ำกับธรรมชาติริมฝั่งโขงของ “แก่งคุดคู้” อ.เชียงคาน จ.เลย แก่งหินสวยงามขนาดใหญ่ซึ่งตั้งขวางอยู่กลางลำน้ำโขงชมวิวทิวทัศน์ของแก่งคุดคู้ที่สวยงามราวกับภาพวาด ต่อด้วย “พิพิธภัณฑ์ไทดำ” บ้านนาป่าหนาด อ.เชียงคาน จ.เลย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดเลยที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ แสดงวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา และศาสนา เป็นแหล่งสืบสาน อนุรักษ์ และฟื้นฟูวัฒนธรรมไทดำดั้งเดิม










ท้ายสุดจุดหมายของเส้นทางสายไหม..สู่เมืองรองจังหวัดเลย ปิดท้ายด้วยการแวะชมความงดงามของ “ผ้าไหมลายนางหาญ” แห่ง ร้าน เฮือน อ้ายเอ๊ม แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาคนไทดำ บ้านนาป่าหนาด ต.เขาแก้ว อ.เชียงคาน จ.เลย เป็นผ้าที่มีตำนานเล่าขานมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีลายอันเป็นอััตลักษณ์เฉพาะถิ่น ประกอบด้วยลายหมี่ 3 ลาย ขิด 2 ลาย และมี 5 สีด้วยกัน








จากนั้นร่วมทำ ดอกไม้ไทดำ ตุ้มนก ตุ้มหนู เครื่องรางของชาวไทดำ ซึ่งชาวไทดำใช้เป็นเครื่องบรรณาการในพิธีแชปางไทดำ “ผีฟ้า” ผู้ปกป้องรักษาชาวไทดำให้อยู่เย็นเป็นสุข หลังจากเสร็จพิธีชาวไทดำจะนำดอกไม้ชาวไทดำมาแขวนไว้ที่บ้านของตน เพื่อความเป็นศิริมงคลและจะได้นำพาความโชคดี และอยู่เย็นเป็นสุขมาให้ตนและครอบครัว
เรื่อง : อรวรรณ เหม่นแหลม

กำลังโหลดความคิดเห็น