xs
xsm
sm
md
lg

ปธ.กรุงเทพธนาคม เปิดปมปฏิบัติการณ์นำสายไฟลงดิน เผย 80% ของสายสื่อสารถูกแขวนทิ้งรุงรัง กลายเป็น"ทัศนอุจาด"

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ปัจจุบันสายสื่อสารมีจำนวนมากรกรุงรังมากมายมีการต่อสาย และแยกสาย

สื่อสารอย่างไม่เป็นระเบียบ สายสื่อสารที่ไม่ได้ใช้งานแล้วยังคงถูกแขวนไว้

เสมือนไม่มีมาตรฐานการติดตั้ง ส่งผลต่อภูมิทัศน์จนกลายเป็น "ทัศนอุจาด"

ของเมืองทำให้ภูมิทัศน์ถนนรกรุงรังไม่สวยงามรวมทั้งมีผลต่อความ

ปลอดภัยของประชาชน เสี่ยงอุบัติเหตุไม่คาดคิด โดยกรุงเทพมหานคร

มอบหมายให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เป็นผู้ดำเนินการนำสายสื่อสารลง

ใต้ดินในเขตกรุงเทพมหานครเพื่อให้การบริหารจัดการมีความคล่องตัวและ

การจัดทำบริการสาธารณะแก่ประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี

เส้นทั้งหมด 2,450 กิโลเมตร 4 พื้นที่ในกรุงเทพมหานคร ดังนี้

พื้นที่ 1 กรุงเทพตอนเหนือ ระยะทางรวมประมาณ 620 กม. ตามระยะทางเท้า

(หรือประมาณ 335 กม. ตามระยะถนน)
พื้นที่ 2 กรุงเทพตะวันออก ระยะทางรวมประมาณ 605 กม. ตามระยะทางเท้า

(หรือประมาณ 315 กม. ตามระยะถนน)
พื้นที่ 3 กรุงธนเหนือ ระยะทางรวมประมาณ 605 กม. ตามระยะทางเท้า

(หรือประมาณ 315 กม. ตามระยะถนน)
พื้นที่ 4 กรุงธนใต้ ระยะทางรวมประมาณ 620 กม. ตามระยะทางเท้า (หรือ

ประมาณ 330 กม. ตามระยะถนน)

นายกิติศักดิ์ อร่ามเรือง ประธานกรรมการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด

กล่าวว่า กรุงเทพมหานครในสมัยก่อนได้พัฒนาพื้นที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็น

ถนนในการเดินบนทางเท้าก็ตาม ตรงนี้กรุงเทพมหานครก็ได้มีการบริหาร

จัดการและใช้พื้นที่สาธารณะเพื่อสาธารณูปโภคต่างๆ มีทั้งสาธารณูปโภคที่

เป็นของที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร เช่น ป้ายรถเมล์ ถังขยะ

ต้นไม้ เสาไฟฟ้า ท่อระบายน้ำ เป็นต้น

"วันนี้ปัญหาเรื่องสายสื่อสารเป็นแค่หนึ่งในหลายๆ ปัญหาของหน่วยงาน

สาธารณูปโภคที่มีการใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกัน ปัญหาของสายสื่อสารมัน

เกิดจาก ผู้ประกอบที่ได้ใบรับอนุญาตประกอบการโทรคมนาคมเขาก็จะมี

สิทธิ์มาขอใช้สายตามเสาไฟฟ้าได้หมด อันนี้การไฟฟ้าไม่มีสิทธิ์ที่จะไม่

อนุญาต ถ้าหมายถึงว่าจำนวนสายที่อยู่บนเสาหรือเสามันยังรับน้ำหนักของ

สายได้อันนี้การไฟฟ้าคงไม่ได้ปฏิเสธ ก็ต้องให้แขวนไป เพราะว่ายังไม่มีทาง

อื่นที่จะทำให้สายไฟพวกนี้อยู่ได้ แต่ตอนสาเหตุของปัญหาคือผู้ประกอบ

การทุกรายแขวนเองพอเวลามีปัญหาอาจจะเกิดไฟไหม้จุดหนึ่งเสียหายขาด

จุดหนึ่งเขาก็ใช้วิธีตัดหัวตัดท้ายเลย ปัจจุบันที่แขวนอยู่ประมาณ 20% ที่

แขวนอยู่คือสายที่ใช้งาน อีก 80% เป็นสายประเภทนี้ อาจจะไม่ได้ใช้งานและ

เป็นสายที่อาจจะไม่ได้มีการของอนุญาตเพื่อไปแขวนด้วย มันเลยเป็นปัญหา

ของการสะสมแล้วก็รกรุงรัง เขาเรียกว่าถ้าภาษาทางช่างเขาเรียกว่าทัศนอุจาด"

นายกิติศักดิ์ อร่ามเรือง กล่าว

นายกิติศักดิ์ กล่าวต่อว่า วันนี้เราก็ต้องการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะเพื่อ

ให้เกิดเป็นพื้นที่ที่ดีของเมืองให้ได้ อันนี้ก็เลยพยายามปูแบล็กกราวว่าทำไม

การจัดการสายสื่อสารจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องทำเพื่อให้แล้วเสร็จภายใน 2 -

3 ปี เราไม่สามารถที่จะทำตามความต้องการของผู้ประกอบการได้ว่าตรง

ไหนมีความต้องการใช้งานเยอะแล้วทำธุรกิจคุ้มก็ทำตรงนั้นก่อนค่อยทำค่อย

ไป เราก็จะไม่ได้ประโยชน์ในการบริหารจัดการทั้งระบบ อันนี้จึงเป็นที่มาที่

ไปและสิ่งหนึ่งที่เราจำเป็นต้องทำทั้งหมดภายใน 2-3 ปี

"รูปแบบการทำงานของเรากรุงเทพธนาคมในฐานะที่ได้รับมอบหมายเรื่องนี้

จากกรุงเทพมหานคร เราคิดว่าเราต้องใช้วิธีสร้างโครงสร้างพื้นฐานตรงนี้

ขึ้นมาด้วยตัวเราเอง เพื่อให้ผู้ประกอบการทุกรายมาร่วมกันใช้ร่วมกันจ่ายค่า

ใช้จ่ายในการลงทุน แต่มันก็ยังมีประเด็นว่าเราเป็นคนลงทุนแล้วทรัพย์สิน

เป็นของเราหรือเราจะเอาไปให้คนอื่นบริหารจัดการ มันก็จะเป็นประเด็นว่า

เราสามารถให้ใครคนใดคนหนึ่งมารับสิทธิ์หรือรับสัมปทานต่อจากเรา เพื่อ

เอาไปหาเงินเอาไปก่อสร้าง ถ้าเป็นแบบนี้มันก็จะเกิดการไม่ไว้วางใจซึ่งกัน

และกันกับผู้ประกอบการอีก" ประธานกรรมการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด

กล่าว

ด้าน ดร.เอกรินทร์ วาสนาส่ง รองกรรมการผู้อำนวยการ สายกลยุทธ์และ

บริหารการเงิน กล่าวเสริมว่า ที่ท่านประธานพูดไปหมายถึงการให้สัมปทาน

รายๆ หนึ่งไปทำเลย ลงทุนก่อสร้างแล้วคุณก็เอาสิทธิ์การใช้ท่อนั้นไปการทำ

แบบนี้ก็คือการให้สัมปทาน ซึ่งเราไม่ได้ทำ ซึ่งการให้สัมปทานรายใดราย

หนึ่งที่มีพาวเวอร์มีเงินที่จะลงทุนวันนี้เขาก็จะได้สิทธิ์ขาดในการใช้ท่อไป ซึ่ง

รวมไปถึงจัดการบริหารจัดการท่อเองทั้งหมดนี่คือลักษณะของสัมปทาน แต่

ของเราไม่ใช่

นายกิติศักดิ์ กล่าวว่า วันนี้ฟุตปาธ กทม. ไม่ได้มีความกว้างเหมือนมาตรฐาน

เหมือนต่างประเทศ ต่างประเทศอย่างน้อยมีขนาด 1.5 - 2.5 เมตร เป็นขั้นต่ำ

ของเราเต็มที่ 1.5- 2 เมตร ในบางพื้นที่แต่ก็ยังมีพื้นที่่ที่ 80 เซนติเมตรถึง 1

เมตร ปัจจุบัน 80 เซนติเมตรเนื่องจากอะไรเนื่องจาก คือวิธีการเมื่อเราไม่ได้

จากผู้บริโภคตรงนี้เราเจอโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ อย่างเช่น ระบบรถไฟฟ้า ก็

คือการก่อสร้างแนวรถไฟฟ้า โดยหลักๆ แล้วเส้นทางไหนที่มีการขนส่งสื่อ

สารมวลชนควรจะให้ความสำคัญกับรถยนต์ให้น้อยลง แต่วันนี้ปรากฏว่า

เส้นทางไหนที่กำลังก่อสร้างรถไฟฟ้าเรายังคงขนาดของช่องทางการจราจร

เท่าเดิมแล้วเราก็ไปเบียดฟุตปาธ นี่คือแนวคิด ถ้าแนวคิดที่ถูกต้องมันจะต้อง

ลดพื้นที่ของผิวจราจรเพื่อเพิ่มพื้นที่ของการเดินทาง ซึ่งอันนี้คือเรื่องของการ

จัดการเมืองในรูปแบบใหม่ โดยการพัฒนาเมืองเรามองออกไปเป็นย่านๆ ไม่

ใช่มองว่ากรุงเทพมหานครจะต้องมีฟุตปาธ 1.5 เมตร ทั่วกรุงเทพฯ อันนี้มัน

ทำไม่ได้ ตรงนี้เราก็จะต้องมองว่าย่านตรงไหนที่ควรจะพัฒนา แล้วย่านไหน

เป็นย่านการค้าหรือย่านไหนจะต้องเป็นธุรกิจ

"โดยเรามีการศึกษาว่าในแต่ละเส้นควรจะทำท่อที่มีความจุไว้รองรับผู้ใช้งาน

สัก 4 ท่อใหญ่ เขาเรียกว่า Microduct ถ้าดูแล้วว่ามีการคำนวณจริงๆ ใช้งาน

สูงสุดน่าจะอยู่ที่ 10 Microduct อย่างเราก็ทำไว้ที่ 14 Microduct แต่ถ้าผู้

ประกอบการที่มีความจุน้อยๆ หน่อยเราก็ทำท่อใหญ่ไว้ 4 ท่อ แล้วก็ทำท่อ

ย่อยไว้ 14 ท่อย่อย วันนี้เราก็เก็บ 4 ท่อใหญ่ไว้ใช้งาน ในภารกิจของกรุงเทพ

มหานครกับเรื่องของความมั่นคง จุดประสงค์ของเราคือทำไว้ใช้เองแล้วก็

เก็บไว้ 4 ท่อใหญ่ โดยวัสดุที่เราใช้มีอายุการใช้งาน 30-50 ปี" นายกิติศักดิ์

อร่ามเรือง กล่าว

นายกิติศักดิ์ กล่าวต่อว่า แล้วถามว่าถ้าเราให้รายใดรายหนึ่งหรือหลายรายใน

ความจุตรงนี้แล้ว เราก็ยังมีท่อย่อย อีก 2 ท่อใหญ่อันนี้สำรองไว้ ปัจจุบันก็อยู่

ในขั้นตอนที่เราจ้างลูกจ้างเรียบร้อยแล้วให้ไปสำรวจเส้นทางไหนจะต้องก่อ

สร้างแบบไหนใช้วิธีเปิดฟุตบาทหรือใช้วิธีดันท่อรอดเราก็จะใช้สองวิธี

ตอนนี้ก็จะมีวิธีที่สามที่เรากำลังศึกษาอยู่กับประปานครหลวงอยู่ คือสร้างท่อ

สื่อสารของเราไปด้วยและก็ท่อประปาไปด้วย ทำไปพร้อมกัน

"โดยวิธีการนำสายสื่อสารลงใต้ดินมี 2 วิธีที่เราจะใช้คือ วิธี Under Ground -

HDD ทำบ่อพักเสร็จแล้วตรงนี้ไม่ต้องเปิดฟุตปาธเลยใช้วิธีการดันเจาะแล้วก็

ดึงท่อร้อยกลับมาเชื่อมระหว่างบ่อพักอันนี้ก็ไม่ต้องเปิด และอีกวิธีคือ Open

Cut คือเปิดฟุตปาธ โดยข้างใต้จะมีบ่อพัก และใช้ท่อร้อยเข้าไป เพราะฉะนั้น

รูปแบบการก่อสร้าง 2 เทคนิคจะถูกเอามาใช้ในโครงการนี้อยู่ที่ว่าถนนไหน

เหมาะแก่การใช้แบบไหนแต่บางคนที่บอกว่าราคาแพงหรือไม่แพงเขาจะ

บอกว่าใช้เทคนิคนี้ถูกปัญหามันอยู่ที่กระทบคนมหาศาลมาก ถ้าเราขุด

ฟุตปาธพร้อมกัน 2 อัน 400 กิโลเมตรทั่วกรุงเทพจะเกิดอะไรขึ้นในกรุงเทพฯ"

นายกิติศักดิ์ อร่ามเรือง กล่าว

นายกิติศักดิ์ กล่าวต่อว่า ทางกสทช. แจ้งว่าปัจจุบันสายสื่อสารบางองค์กรมี

ใบอนุญาตพาดเสาอยู่ข้างบนกี่เส้น จะบอกว่าผู้ที่พาดเสาแล้วมีความประสงค์

ที่จะเอาลงท่อก่อสร้าง กสทช. อาจจะมีมาตราการในการสนับสนุนเรื่องค่าใช้

จ่ายหรืออะไรก็แล้วแต่ เพื่อให้กระทบกับผู้ประกอบการน้อยที่สุดถ้าร่วมมือ

จะเอาลงด้วยกันก็แสดงเจตจำนงค์ให้รู้เราก็จะได้เตรียมท่อให้ถูก กสทช. ก็

จะได้เตรียมมาตรการว่ามีกี่รายตรงนี้ที่จะต้องเอาลงกระทบมากน้อยแค่ไหน

ถ้าสมมติว่าเราก่อสร้างเสร็จแล้วมีผู้แจ้งจำนงค์ไป 5 ท่อเราก็จะบริหารจัดการ

5 ท่อที่เราประสงค์จะใช้ถ้าภายใน 90 วันยังไม่มีการแจ้งประสงค์เราก็จะถือ

ว่าท่านไม่ได้มีใบอนุญาตแขวนอยู่สายที่เหลือก็จะเป็นเรื่องของกทม. จะเริ่ม

เข้าไปบริหารจัดการโดยการจัดระเบียบก็คืออาจจะไปตรวจสอบว่าตกลง

สายนี้มันไม่มีเจ้าของหรือไม่ได้มีใครมาแสดงตนตรงนี้ก็คงเป็นการที่จะจัด

ระเบียบรื้อถอน

นายกิติศักดิ์ อร่ามเรือง ประธานกรรมการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด

กล่าวทิ้งท้ายว่า โครงการนี้จะเสร็จสิ้นในเวลา 3 ปี โดยทุกๆ 6 เดือน จะ

สามารถใช้เวลาเก็บสายสื่อสารลงใต้ดินได้ประมาณ 400-600 กิโลเมตร ทั้งนี้

หากคิดว่ากรุงเทพมหานครให้สัมปทานกรุงเทพธนาคมมาได้อย่างไร จริง

แล้วเราไม่ได้รับสัมปทานในกรุงเทพมหานคร หรือถ้ารับเราสามารถรับได้

ภายใต้ พ.ร.บ. ร่วมทุนเรารับโดยการมอบธุรกิจในการมอบหมายให้เป็นผู้

ดำเนินการแทนกรุงเทพมหานคร ถ้าเป็นบริษัทลูกของรัฐวิสหกิจเวลาจะมา

รับงานต้องประมูลผ่านเอกชนแต่ของเราไม่ใช่กรุงเทพมหานครถือเป็น 99.98

แล้วเราไม่มีหน้าที่ไปประมูลงานแข่งกับคนอื่นไม่มีหน้าที่ไปทำธุรกิจแข่ง

กับคนอื่นเรามีหน้าที่อย่างเดียวคือทำแทนกรุงเทพมหานคร ตามที่กรุงเทพ

มหานครให้ทำได้


กำลังโหลดความคิดเห็น