xs
xsm
sm
md
lg

แนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในเมืองใหญ่ทั่วโลก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ตารางที่ 1 เปรียบเทียบค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในแต่ละประเทศ
วันนี้ (1 ก.พ.) ช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา กรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล ประสบกับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เป็นอย่างมาก ทำให้ตอนนี้หลายคนเริ่มมีการตื่นตัวกับฝุ่นละออง PM2.5 นี้แล้ว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ยังคงไม่มีตื่นตัว อาจเป็นเพราะไม่ได้รับข้อมูลที่มากพอ และไม่ทราบถึงพิษภัยของมันว่ามีความอันตรายกว่าฝุ่นทั่วๆ ไปอย่างไร สำหรับ PM2.5 หรือเรียกว่าฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (Particle Matter Smaller Than 2.5 Micron) นั้น เป็นอนุภาคที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือเทียบมีขนาดเล็กกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมถึง 25 เท่า โดยทั่วไปจะมีแหล่งกำเนิดมาจากควันเสียของรถยนต์ โรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม และควันที่เกิดจากการหุงต้มอาหารโดยใช้ฟืน (Willeke and Baron, 1993; Brook et al., 2004; กรมโรงงานอุตสาหกรรม, 2547) โดยเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วสามารถเข้าสู่หลอดลม ถุงลม และเข้าสู่กระแสเลือดได้เลย ส่งผลให้เกิดการระคายเคือง มีผลต่ออาการและโรคทางเดินหายใจและทำลายเนื้อเยื่อของอวัยวะนั้นๆ เช่น เนื้อเยื่อปอด เป็นต้น หรือหากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นระยะเวลานานจะสามารถสะสมในเนื้อเยื่อปอด ส่งผลให้เกิดโรคหลายชนิด เช่น โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด และเป็นสารก่อมะเร็ง (Mcclellan, 2000; Colls, 2002)

องค์การอนามัยโลกกำหนดค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศ (WHO) โดยเฉพาะค่ามาตรฐานฝุ่น PM2.5 ไว้ที่ 25 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร และกำหนดค่าวิกฤตไว้ที่ 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ ยังได้เปรียบเทียบค่ามาตรฐานฝุ่น PM2.5 ในแต่ละประเทศแสดงดังตารางที่ 1 และดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI) และตารางที่ 2
ตารางที่ 2 เกณฑ์ของดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI)
ตารางที่ 3 มาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในเมืองใหญ่ทั่วโลก
ตารางที่ 3 มาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในเมืองใหญ่ทั่วโลก
ตารางที่ 3 มาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในเมืองใหญ่ทั่วโลก
ตารางที่ 3 มาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในเมืองใหญ่ทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่า แนวทางการแก้ปัญหาฝุ่นละอองของทุกเมืองและทุกประเทศที่หยิบยกขึ้นมานั้นล้วนแล้วเป็นเรื่องของการลดใช้รถยนต์ส่วนบุคคล เนื่องจากเป็นสาเหตุอันดับแรกที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองเช่นเดียวกับประเทศไทย โดยสามารถนำมาตรการต่างๆ เหล่านั้นจากหลายประเทศมาใช้เป็นแบบอย่างในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองในประเทศไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น มาตรการในการจำกัดปริมาณการใช้รถยนต์ โดยเฉพาะในย่านใจกลางเมือง รวมไปถึงการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลเข้าไปในพื้นที่การจราจรหนาแน่นย่านใจกลางเมือง การจัดจุดให้ประชาชนจอดรถส่วนบุคคลในย่านชานเมืองแล้วขึ้นรถโดยสารเข้าเมืองแทน การพัฒนาระบบรางและระบบขนส่งสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ และราคาถูก เพื่อให้ประชาชนหันมาใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะกันมากขึ้น โดยเฉพาะการจัดให้บริการขนส่งสาธารณะฟรีในช่วงเวลาเร่งด่วน การจำกัดการใช้รถยนต์รุ่นเก่า การจำกัดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลของลูกจ้างรัฐ การปิดลานจอดรถตามหน่วยงานรัฐ การจัดการยานพาหนะโดยให้สลับรถวิ่งบนท้องถนนวันคู่วันคี่ ตามเลขทะเบียนที่ลงท้าย และการออกกฎกำหนดค่ามาตรฐานการปล่อยไอเสียจากยานพาหนะ เป็นต้น นอกจากจะควบคุมยานพาหนะส่วนบุคคลแล้ว ยังต้องมีการดูแลมาตรการตรวจสอบและควบคุมการปล่อยควันเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเข้มงวด และการเพิ่มปริมาณพื้นที่สีเขียนในยานใจกลางเมือง เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างรอบด้านในการลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศที่เกิดขึ้น
เอกสารอ้างอิง

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. 2547. ตำราระบบบำบัดมลพิษอากาศ. กระทรวงอุตสาหกรรม. ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เชียงใหม่นิวส์. รับมือฝุ่น PM2.5 ด้วยวิธีการแก้ปัญหาของต่างประเทศ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/888217.

ประชาชาติธุรกิจ. สำรวจแนวทาง 10 เมืองใหญ่ทั่วโลก แก้อย่างไร เมื่ออากาศเป็นพิษ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.prachachat.net/d-life/news-280668.

โพสต์ทูเดย์. กรุงเทพฯ-โตเกียว PM2.5 [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.posttoday.com/social/think/577850.

ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน. แนวทางของจีนในการส่งเสริมการปกป้องสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศอย่างรอบด้าน รวมทั้งการขจัดมลพิษทั้งทางอากาศ น้ำ และดิน. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.vijaichina.com/articles/1030.

สถานเอกอัครทูตสหรัฐในเกาหลีใต้. ส่อง “เกาหลีใต้” จัดการฝุ่น เมื่อ PM 2.5 เกินขีด รัฐบาล-ท้องถิ่นขยับ! หวั่นคน "ปอดพัง". [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.sanook.com/news/ 7643058/.

BBC News. ฝุ่น : วิธีแก้ปัญหามลพิษทางอากาศของเมืองใหญ่ทั่วโลก. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.bbc.com/thai/international-46861285.

Brook, R.D., Franklin, B., Cascio, W., Hong, Y., Howard, G., Lipsett, M., Luepker, R. and Mittleman, M. 2004. Air Pollution and Caediovascular Disease. Circulation. 109: 2655-2671.

Businessinsider, ‘China Is Finally Updating Its Air Pollution Laws’, Stian Reklev- Reuters, 23 December 2014, http://www.businessinsider.com/r-china-drafts-new-law-to-fight-air-pollution-xinhua-2014-12.

Gizmodo, ‘Four Ideas to Fix Beijing's Smog Airpocalypse, And One That Will Work’, Kelsey Campbell-Dollaghan, 2015, http://gizmodo.com/four-ideas-to-fix-beijings-smog-airpocaly pse -and-one-t-1679696538.

Springer Link, ‘Environmental Chemistry Letters’, [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://link.springer.com/journal/10311.

The New Yorker, ‘China Tries a New Tactic to Combat Pollution: Transparency’, CHRISTOPHER BEAM, 6 February 2015, http://www.newyorker.com/news/news-desk/china-tries-new-tactic-combat-pollution-transparency.

The Standard. เกาหลีใต้งัดมาตรการสู้มลพิษ ลดกำลังผลิตไฟฟ้า-ห้ามรถดีเซลเก่าวิ่งกรุงโซล หวังลดฝุ่น PM2.5. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก www.straitstimes.com/asia/east-asia/emergency-steps-in-force-as-fine-dust-blankets-south-korea.

The Straittimes. Emergency steps in force as fine dust blankets South Korea. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.straitstimes.com/asia/east-asia/emergency-steps-in-force-as-fine-dust-blankets-south-korea.

US.EPA. 1987. Indoor air quality implementation plan appendix A: Preliminary indoor air pollution imformation assessment. US.EPA. Office of Research and Development, OHEA, ECAO, Research Triangle Park.

US.EPA. 2006. Guideline for Reporting of Daily Air Quality – Air Quality Index (AQI). U.S. Environmental Protection Agency Office of Air Quality Planning and Standards Research Triangle Park, North Carolina.

Willeke, K. and Baron, P.A. 1993. Aerosol Measurement: Principles Techniques and applications. New York, Vannastrand Reinhold. 157:1993.

ณัฐพงษ์ เอียดเต็ม คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศาสตราจารย์ ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์


กำลังโหลดความคิดเห็น