จากอดีตดีไซเนอร์ และผู้จัดการรีสอร์ตที่เดินทางทั้งล่องใต้แล้วขึ้นเหนือ ก่อนจะมาลงเอยที่ดินแดนอีสานใต้ จ.สุรินทร์ถิ่นพ่อเกิด บุกถางสร้างทำเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง ในนามของ “บ้านรื่นรมย์” อีกหนึ่งต้นแบบวิถีชีวิตที่คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยทยอยไปศึกษาเรียนรู้...อย่างรื่นรมย์
สำหรับใครที่ชอบเข้าโรงหนัง หรือดูหนังในเครือเมเจอร์เป็นประจำ ในช่วงหนึ่งปีหลัง คงจะได้เห็นโฆษณาก่อนหนังฉายอยู่ชิ้นหนึ่งซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของหนุ่มสาวคู่รักคู่หนึ่งซึ่งผันตัวเองจากการเป็นมนุษย์เงินเดือน สู่งานด้านการเกษตร คนหนุ่มนั้น “โจ - เกรียงไกร บุญเหลือ” เรียนจบมัณฑณศิลป์ ม.ศิลปากร ส่วนหญิงสาว “ดวงแก้ว ตั้งใจตรง” ก็จบเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
ณ วันแรกๆ ที่พวกเขาทั้งสองตัดสินใจที่จะมาใช้ชีวิตอยู่บ้านนาป่าทุ่ง ก็ต้องเจอกับคำถามจากสังคมรอบข้างว่า เคยแต่เป็นนักศึกษาเรียนมาสูงๆ จะทำนำไหวไหม? หรือจะอยู่รอดได้หรือเปล่าในวิถีแห่งเกษตรกรรม แต่ ณ วันนี้ วันเวลาผ่านไปหลายปี พวกเขาได้พิสูจน์ตัวเองระดับหนึ่งแล้วว่า สิ่งที่พวกเขาเลือกและตัดสินใจทุ่มตัวทุ่มใจลงไปนั้น สำเร็จเป็นที่ประจักษ์ระดับหนึ่งแล้ว
จากพยานหลักฐานเชิงประจักษ์ ทั้งบ้านดินที่อาศัยอยู่ได้จริง “นอนแล้ว ไม่พัง” อย่างที่เขาว่าในโฆษณาดังกล่าว อีกทั้งผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ ปะยี่ห้อ “รื่นรมย์” ก็นำรายได้เข้าครอบครัวแบบพอเพียงหล่อเลี้ยงชีวิต รวมถึงพืชผักเกษตรอินทรีย์ปลอดสารเคมีและสารพิษอีกหลายชนิดที่พวกเขาปลูกและกินและขาย เป็นรายได้อีกทางหนึ่ง นั่นยังไมนับรวม “ความรื่นรมย์มวลรวม” ที่อบอวลอยู่ในมวลบรรยากาศภายใต้ชายคา “บ้านรื่นรมย์” แห่งนี้
เราพาไปทำความรู้จักกับบ้านหลังดังกล่าว ฟังเรื่องราวที่ผ่านมา กว่าจะลงหลักปักฐานเป็น “บ้าน” อัน “รื่นรมย์” อย่างในปัจจุบัน กับ “โจ-เกรียงไกร บุญเหลือ” ผู้เป็นเสาหลักต้นสำคัญของบ้านหลังนี้...
อดีตนักออกแบบ
ผู้หาความหมายให้กับชีวิต
“หลังจากที่ผมเรียนจบที่คณะมัณฑณศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก็ทำงานตามที่ตัวเองเรียนจบมาที่กรุงเทพฯ แต่พอเริ่มทำงานได้สักพัก ก็ถามคำถามกับตัวเองว่า เริ่มที่จะไม่ค่อยมีความสุขแล้ว ไม่ค่อยมีอิสระในการใช้ชีวิตด้วย การทำงานออฟฟิศทำให้เรารู้สึกแบบนี้ เลยลาออกมาทำงานฟรีแลนซ์ครับ แล้วก็อยู่ได้หนึ่งปี ซึ่งในระหว่างที่ทำฟรีแลนซ์ ก็ยังมีความรู้สึกเหมือนเดิมว่า การทำงานฟรีแลนซ์ก็ไม่ได้ทำให้มีความสุขหรืออิสระเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ คือเราเริ่มรู้สึกว่า อาชีพการออกแบบมันไม่ค่อยเหมาะกับตัวเอง เพราะในบางครั้ง เวลาที่เราไม่ค่อยอยากวาดรูป แต่เราต้องทำ มันค่อนข้างฝืนตัวเอง ก็เลยคิดว่าแนวทางในการเป็นดีไซน์เนอร์ มันไม่เหมาะกับตัวเอง แต่ก็ยังไม่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร หรืออยากทำอะไร
“ทีนี้ พอดีมีรุ่นพี่เปิดรีสอร์ตที่เกาะเต่า แล้วเขาอยากได้คนไปช่วย เราก็เลยอาสาไปทำงานที่เกาะเต่า ตอนนั้นแค่คิดว่าอยากออกจากกรุงเทพฯ ครับ อยากอยู่กับตัวเอง เพราะเหมือนกับไม่ค่อยมีเวลาให้ตัวเองเลย ก็เลยไม่เข้าใจตัวเอง ประมาณนี้ครับ ก็เลยคิดว่าการที่ไปอยู่เกาะเต่า น่าจะเป็นโอกาสให้ตัวเองได้คิดอะไรเยอะขึ้น ก็ไปทำงานที่เกาะเต่า ตำแหน่งก็เหมือนกับเป็นผู้จัดการทั่วไปที่รีสอร์ทของรุ่นพี่ ระหว่างที่ทำงานที่นั่น ก็ค่อยๆ คิดทบทวนเกี่ยวกับตัวเอง แล้วก็อ่านหนังสือด้วย ระหว่างนั้นก็เดินทางไปอบรมในที่ต่างๆ ที่เราสนใจ จะเป็นแนวที่พึ่งพาตนเอง ในรูปแบบต่างๆ ทีนี้ก็มาคิดกับตัวเองว่า จริงๆ แล้ว เราแค่อยากจะพึ่งตัวเองให้ได้น่ะครับ ก็เลยมาดูว่าอะไรคือปัจจัยพื้นฐานในการใช้ชีวิตของเรา เลยมามองในเรื่องของปัจจัย 4 เรื่องที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เรื่องอาหาร เรื่องเครื่องนุ่งห่ม
“ที่แรกที่ผมไปอบรม เป็นงานของ “หมอเขียว แพทย์วิถีธรรม” ที่เน้นเรื่องการดูแลสุขภาพ ลำดับต่อมาก็ไปอบรมกับพี่โจน จันได เรื่องทำบ้านดินและเรื่องอาหาร ส่วนเรื่องของเครื่องนุ่งห่ม ไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไหร่ เพราะเสื้อผ้าเดี๋ยวนี้ราคาไม่แพง ก็เลยปล่อยข้ามไป ทีนี้ก็เริ่มอยากลงมือทำของตัวเอง เลยลองคิดดูว่า สิ่งที่เราคิดมันจะเหมาะกับเรามั้ย แล้วเราจะชอบแบบนี้จริงๆ มั้ย คือตอนนั้น เรายังไม่แน่ใจ ก็ทำงานเก็บเงินไปอีกสักพัก
“แล้วจังหวะนั้นก็มีรุ่นพี่ชวนไปทำงานที่ปาย เราก็มีภาพคิดว่า เราอยากอยู่ทางเหนือพอดี เราก็เลยคิดว่าจะไปทำงานที่ปาย เพราะเผื่อทำงานแถวนั้น แล้วจะมีที่มีทาง จะได้ซื้อได้ง่ายขึ้น ประมาณนี้ครับ ในระหว่างที่ทำงานและดูที่ทางไปด้วย เราก็รู้สึกว่าค่าใช้จ่ายในการตั้งต้นที่ทางเหนือ มันค่อนข้างสูง เงินเก็บของเราก็จะเหลือน้อย ประจวบว่าพ่อผมเป็นคนสุรินทร์ครับ เห็นว่าเราอยากทำ ก็เสนอว่า พ่อมีที่อยู่แปลงนึง ไม่ได้ทำอะไร ถ้าอยากลองทำ ก็มาทำที่พ่อดู ซึ่งเราก็ไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะมาทำที่นี่เลย ก็เหมือนคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ที่อยากอยู่ภาคเหนือ ประมาณนี้ครับ
“แต่ว่าถ้าเรามาเริ่มที่สุรินทร์ เราก็จะสามารถเซฟเงินเก็บเราได้ค่อนข้างเยอะ เราก็เลยลองมาดูที่บ้านพ่อว่ามันมีอะไรบ้าง ก็มาเริ่มต้นในที่ของพ่อ ตอนแรกก็คือไม่มีอะไรเลย (หัวเราะเบาๆ) แต่มันก็ท้าทายกับตัวเองดีว่า อยากจะลองดูว่าสิ่งที่ตัวเองคิด มันจะเป็นไปได้มั้ย ก็ประมาณนี้ครับ เลยตัดสินใจว่าลองทำที่สุรินทร์แล้วกัน”
ถูกคัดค้านจากทางบ้าน
แต่ก็ยังเดินหน้าต่อ
“พ่อก็เป็นลูกชาวนาเลยครับ รุ่นปู่รุ่นย่าก็ทำนาที่สุรินทร์ แต่ว่าพ่อจะเป็นแบบว่าทำไม่ไหว เขารู้สึกว่า ชีวิตมันลำบาก เขาก็หนีเข้ากรุงเทพฯ ช่วงอายุ 15-16 เพราะเขารู้สึกว่าการทำเกษตรมันอยู่ยาก เขาก็เลยไปหางานทำในกรุงเทพฯ ส่วนตัวผมเกิดและโตที่กรุงเทพฯ เลย ไม่ได้มีพื้นฐานทางเกษตร แล้วก็ไม่ได้อยู่ที่สุรินทร์ด้วยซ้ำครับ
“คือถ้ามองย้อนกลับไปในตอนนั้น ความยากอยู่ที่การปรับความคิดของตนเอง การปรับทัศนคติหลายๆ อย่าง กับคนในชุมชน กับพื้นที่ กับสภาพแวดล้อม ถามว่ายากมั้ย คือถ้าเราไม่เคยทำอะไร ช่วงแรกอาจจะยากนิดนึง แต่ถ้าอยู่กับมันสักพักนึง ผมว่ามันก็ไม่ได้ยากขนาดนั้นนะครับ ถ้าถามตอนนี้ ผมว่าไม่ได้ยากขนาดนั้น แต่ถ้าถามตอนนั้น คงตอบว่ายาก ยากที่ว่าก็คือ มันต้องต่อสู้กับความคิดตัวเอง เป็นเรื่องที่ชาวบ้านมองเรา ทัศนคติที่ชาวบ้านมองเราแบบ เฮ้ย คนกรุงเทพฯ ทำไมมาอยู่ที่นี่ ทำอะไรก็ไม่เป็น จะทำได้เหรอ ส่วนที่บ้านเราเองก็มองเราแบบนั้นเหมือนกัน เราก็เข้าใจ เพราะทางพ่อก็รู้ว่ามันลำบาก ขนาดพ่อยังหนีเข้ากรุงเทพฯ เลย ในขณะเดียวกัน ที่ผมเกิดและโตที่กรุงเทพฯ ไม่เคยแตะงานด้านนี้เลย แต่เรามองสวนทางกับคุณพ่อ เพราะอยากจะมาทำในส่วนที่พ่อหนีไป เขาก็เป็นห่วงว่าทำไม่ได้หรอก คือเขาพยายามเหมือนเบรกเรา ไม่ให้เราทำ เพราะว่าเขาเป็นห่วง
“ในขณะเดียวกัน เราก็ตอบเขาไม่ได้ว่าจะทำได้มั้ย เพราะเราไม่เคยทำจริงๆ เหมือนกันนะตอนนั้น เราก็เหมือนขอโอกาสทำ เพราะอย่างมากที่สุด ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด เงินเก็บเราหมด แต่เราก็กลับเมือง หางานทำใหม่แล้วกัน อายุเรายังไม่มาก ถ้าเราผิดพลาดหรือล้มในตอนนี้ เราแค่กลับมาเริ่มใหม่ในเมืองหรืออะไรก็ได้ประมาณนี้ คิดแบบนี้ ก็เลยทำ แล้วก็พอยืนระยะไปได้สักพัก ที่บ้านก็เริ่มโอเคขึ้น ชาวบ้านก็โอเคประมาณหนึ่ง เหมือนมันลงตัวขึ้น
“อีกอย่าง เรามองว่า อาหารคือส่วนสำคัญในชีวิตเลยครับ เราเริ่มจากที่ว่า เราดูก่อนว่า อะไรคือสิ่งที่เราคำนึงถึง ในการที่จะทำให้เรามีชีวิตจิตใจที่ดี แล้วพอเราคิดอย่างงั้นคือ ถ้าเรามีทั้งสุขภาพกายและใจที่ดี เหมือนกับเรามีความสุขได้ แล้วผมคิดว่าอาหารก็เป็นปัจจัยที่สำคัญมากๆ ถ้าเรามีอาหารที่ดี มันก็เกี่ยวเนื่องไปหมดครับ ทั้งสุขภาพกายและใจ เราก็เลยคิดว่าอยากจะมาทดลองทำเพาะปลูกอะไรเล็กๆ น้อยๆ ลองดู ตอนแรกทำทุกอย่างขนาดเล็ก เพราะเราไม่เคยทำ ก็ทำผิดบ้างถูกบ้าง
“ในขณะเดียวกัน ผมแค่รู้สึกว่าระบบอุตสาหกรรมอาหาร มันทำให้อาหารที่เราบริโภคในเมือง มันน่ากลัวขึ้นเรื่อยๆ เขาต้องคำนึงถึงว่าอายุของอาหารที่นานขึ้น เพราะฉะนั้น เขาก็ต้องใส่สารเคมีบางอย่างที่ทำให้อาหารอยู่ในชั้นวางได้นานขึ้น แล้วการที่เราไปบริโภคอาหารเหล่านี้ สะสมไปเรื่อยๆ ผมคิดว่า ในท้ายที่สุดก็ต้องมีผลกระทบกับร่างกายของเราออกมาในรูปของโรคภัยไข้เจ็บ แต่ถ้าเราสามารถทานอาหารที่มันสดใหม่ มันจะดีกว่ากับเราในทั้งปัจจุบันและระยะยาวด้วย”
ล้มลุกคลุกดิน
กว่าจะลงตัว
“ผมไม่เคยไปเรียนปลูกข้าวที่ไหนมาก่อนเลย ได้แต่อ่านหนังสือ รู้แต่ทฤษฎี แต่ก็มีความเชื่ออยู่ลึกๆ ว่า ข้าวมันเป็นอาหารของมนุษย์ ผมคิดว่าทุกคนมีศักยภาพพอที่จะปลูกข้าวกินเองได้ ซึ่งเราคิดว่าต้องเริ่มยังไง ทำยังไง เพราะผมก็สังเกตชาวบ้านน่ะครับ ว่าเขาเริ่มหว่านข้าวกันช่วงไหน ผมก็จ้างเขามาสอนผมว่า หว่านปุ๋ยยังไง มีเทคนิคยังไง เราก็ให้เขาสอน เรียกว่าเป็นการ learning by doing น่ะครับ คือทำไปด้วย เรียนไปด้วย เพียงแต่ว่า เราทำแตกต่างกับเขาคือ เราใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทำครับ
“ช่วงปีแรก เราก็หว่านข้าวไม่เก่ง ข้าวก็ไปกองอยู่บางมุมบ้าง ตรงบางจุดก็ห่างบ้าง แล้วอีกอย่างช่วงหน้าฝน พอน้ำมันหลากมา ปรากฏว่า เราก็ควบคุมน้ำไม่เก่งพอ คันนาก็พัง ผมก็เพิ่งรู้ว่าโครงสร้างดินนาของทางอีสานมันเป็นดินทราย แล้วพอน้ำมาขัง มันก็จะมีรูหนูมาเจาะตรงคันนา พอมันเริ่มซึมแล้วไปอุดมันไม่ทัน มันจะพัง หมายความว่า รูมันจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนคันนาพัง แล้วน้ำมันค่อนข้างสำคัญกับทางอีสาน คือทางนี้มันไม่มีระบบชลประทาน เพราะฉะนั้น เวลาฝนตกแต่ละครั้ง ชาวนาทางภาคนี้จะพยายามเก็บน้ำให้หมด เพื่อที่จะให้อยู่ในนา
“แต่ปีแรกผม เก็บน้ำไม่ค่อยได้เลย เพราะคันนาผมพัง แล้วเวลาผมไปซ่อม ผมเจอรูนี้ ผมก็ซ่อมแล้วซ่อมไม่เป็นอีก เหมือนยิ่งซ่อม รูยิ่งใหญ่ขึ้น ช่วงปีแรกก็จะเหนื่อยหน่อย แล้วชาวบ้านเดินมาเห็นก็มาบอกเทคนิคว่าต้องขุดดินยังไง ต้องกั้นยังไง ต้องค่อยๆ ทำยังไง ประมาณนี้ครับ ส่วนปีแรก ข้าวก็ได้ผลผลิตไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เพราะว่าหญ้าขึ้นเยอะมาก แล้วการจัดการถอนหญ้าก็ยังทำได้ไม่ค่อยดี แต่ตอนนี้ทุกอย่างก็ดีขึ้น เพราะผมปรับคันนาใหม่ รู้ว่าตรงไหนน้ำหลากมา ผมก็ไปขุดสระแทน ให้มันเก็บน้ำ เหมือนชะลอน้ำ แล้วก็ค่อยๆ วางท่อ เหมือนกับท่อน้ำล้นน่ะครับ ถ้ามันล้นตรงนี้มา ให้ไปตรงนี้นะ ตอนนี้ก็เลยไม่มีปัญหาเรื่องคันนาพังแล้ว
“ในระหว่างนี้ก็ทดลองปลูกผัก ปลูกต้นไม้ไปด้วย เพราะว่าผมปรับพื้นที่นา แล้วก็พยายามที่จะปลูกต้นไม้บนคันนา ปลูกทั้งกล้วยหรือหม่อน คือในท้ายที่สุดแล้ว ผมมีความตั้งใจว่าในพื้นที่นี้ มันมีต้นไม้ มันมีระบบนิเวศของมันเอง ผมจะลดการปลูกข้าวลงเรื่อยๆ ถ้ามันอุดมสมบูรณ์ในตัวมันเอง ผมก็แค่เดินไปเอาผลผลิตมากินก็พอ แล้วก็พยายามเข้าไปจัดการกับธรรมชาติให้น้อยที่สุด เหมือนข้าวในอนาคต ผมก็อยากจะแค่หว่านข้าวลงไปเลย ไม่ต้องไถ ปุ๋ยก็ไม่ต้องใส่ อะไรแบบนี้ครับ แล้วพอถึงเวลาก็เกี่ยวข้าว เอามานวดแล้วก็สีกิน
“ผมพยายามจะให้ธรรมชาติมันเกื้อหนุน เชื่อมโยง แล้วก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบน่ะครับ เข้าไปจัดการกับมันน้อย เพียงแต่ว่าตอนนี้ ผมยังยุ่งกับมันเยอะหน่อย เพราะว่ามันไม่มีอะไรเลยในพื้นดิน มันไม่มีต้นไม้ ไม่มีอะไรเลย ก็เลยยังวางระบบน้ำ ปลูกนั่นนี่ แต่ตอนนี้ก็ยังล้มลุกคลุกคลานอยู่นะครับ ปีนี้แล้งจัดก็ตายเกือบหมด ผลมันน้อยเพราะผมรดน้ำช่วยไม่ไหว ซึ่งภัยธรรมชาติน่าจะมีผลต่อผมมากกว่าเรื่องระบบ
“เราไม่เคยอยู่ที่สุรินทร์มาก่อน ทีนี้ การมาอยู่ที่นี่ก็เท่ากับว่าเริ่มต้นใหม่เลย ต้องคอยดูว่า ฤดูร้อนจะร้อนช่วงไหน ร้อนขนาดไหน ช่วงหน้าฝนจะตกขนาดไหน แล้วผมจะต้องปลูกต้นไม้ช่วงไหน ถึงจะมีเปอร์เซ็นต์รอด ปลูกช่วงไหนไม่โอเค มันเหมือนค่อยๆ เรียนรู้ธรรมชาติไปเรื่อยๆ น่ะครับ ว่าผมจะควรทำอะไรตอนไหนและเมื่อไหร่ เพราะประสบการณ์ที่ผ่านมา หลายอย่างเหนื่อยฟรีก็เยอะ แต่มันก็ทำให้ผมเรียนรู้ว่า ผมควรจะทำอะไรตอนไหน ไม่ควรทำอะไรตอนไหน”
สุขใจที่ได้ทำ
จน “รื่นรมย์” ในที่สุด
“ผมคิดว่าทั้งหมดทั้งมวล มันเป็นเรื่องของใจครับ คือช่วงแรก เราก็มีกรอบเหมือนกับคนกรุงเทพฯ ทั่วไป เช่น ได้รับสิ่งของหรือบรรลุเป้าหมายอะไรบางอย่างก่อน เราถึงจะมีความสุขและรื่นรมย์ได้ ผมมาที่นี่ ก็สมมุติว่าทำบ้านดิน ระหว่างที่ทำก็สนุกแต่ค่อนข้างเครียด ระหว่างนั้นก็คิดว่า เราทำบ้านดินเสร็จก็ต้องมีความสุขแน่นอน ถ้าเวลาได้อยู่ แต่ปรากฏว่าบ้านเสร็จ ผมก็เป็นทุกข์เหมือนเดิม หมายถึงว่า ผมก็มีความสุขตอนอยู่บ้านช่วงแรก แต่เวลาผ่านไป ผมก็มีเรื่องให้ทุกข์เหมือนเดิม ผมก็มามองดูตัวเองว่า ทำไมถึงเป็นแบบนี้ มันก็ไม่ต่างจากที่ผมอยู่กรุงเทพฯ
“ถ้าผมทำงานแล้วเก็บตังค์และไปซื้อรถสักคัน ผมน่าจะแฮปปี้นะ พอผมไปซื้อรถได้ ชีวิตก็มีความสุขดี แต่ก็ไม่นาน ผมก็ทุกข์เหมือนเดิม แล้วพอมาทำบ้านดิน เราก็คิดว่าอันนี้เราลงมือทำนะ ผมจะต้องมีความสุขกว่าที่ตัวเองคิดแน่เลย แต่ก็เหมือนกัน ผมก็มาวิเคราะห์ว่าทำไมเป็นแบบนี้ สรุปมันก็แค่รูปแบบความคิดที่ว่า ผมจะต้องได้รับสิ่งของหรือเป้าหมายอะไรบางอย่างก่อน ผมถึงจะมีความสุขได้ มันต่างกันแค่ว่า อยู่กรุงเทพฯ ทำงานเก็บตังค์ซื้อของมา แต่ที่นี่เราลงแรงไป ฝันว่าได้บ้านแล้วจะมีความสุข แต่ ณ ตอนนี้ มันก็ไม่จำเป็นที่จะเป็นแบบนั้นแล้ว มันแค่รูปแบบติดตัวมาด้วย โดยที่ไม่รู้ตัว ณ วันนี้ ผมไม่ต้องรอว่าต้นไม้จะโตก่อน ถึงจะมีความสุข หรือว่าทุกอย่างเสร็จแล้วจะมีความสุข ผมก็แค่คิดว่าการอยู่กับปัจจุบันเนี่ย มันคือความสุขมากกว่าครับ เหมือนกับว่าไม่ต้องไปรอให้ได้รับอะไรบางอย่าง ทำให้มันเสร็จหรือเกิดขึ้นก่อน แล้วเราถึงจะมีความสุขได้
“ในเรื่องการเกษตรของบ้านเรา ผมมองว่าน่าเป็นห่วงอยู่ เพราะเขาเน้นปลูกพืชเชิงเดี่ยว มันเลยไม่ค่อยมีความหลากหลาย เช่นว่า ถ้ารัฐส่งเสริมให้ปลูกข้าว ก็ปลูกตามกันหมด แล้วพอข้าวไม่ดี ก็ให้ปลูกยางพารา ก็ให้ปลูกตามกันหมด มันก็มีผลกระทบ พออะไรไม่ดี ก็ส่งเสริมให้ปลูกอ้อย ผมคิดว่า ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ถ้าปลูกเชิงเดี่ยว มันไม่ค่อยโอเคในระยะยาวอยู่แล้วครับ ช่วงแรกอาจจะดี แต่ต่อไป ถ้ามันมีปริมาณมากขึ้น อาจจะเป็นกลไกตลาดที่ว่า มันคงไม่สามารถดีไปตลอด แล้วการใช้ปุ๋ยหรือยาฆ่าแมลงมากขึ้น มันก็มีส่วน
“การปลูกพืชเชิงเดี่ยว ยิ่งทำมากเท่าไหร่ มันก็ต้องใช้สารเคมีมากขึ้นเท่านั้น เพราะว่าการทำอะไรเหมือนเดิมซ้ำๆ โครงสร้างดิน พวกแมลง มันมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันไปหมดน่ะครับ มันมีเหตุมีผลของมัน เกษตรกรบ้านเรา สมมุติว่าคิดจะปลูก ก็ปลูกอย่างเดียว แต่ถ้าจะเอาให้อยู่ได้ มันควรจะคิดให้ครบวงจรมากกว่านี้ หมายถึงว่า ถ้าปลูกอะไรก็ควรคิดว่าจะขายยังไงด้วย คือเหมือนเกษตรกรคิดจะปลูก เรื่องการขาย มันเป็นเรื่องของพ่อค้าคนกลาง มันก็เลยทำให้มีปัญหา แล้วรอความช่วยเหลือจากภาครัฐเกินไป แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีเกษตรกรทำเชิงรวมอยู่ เพียงแต่ว่ามันยังน้อย
“จากการทำบ้านรื่นรมย์มา 4 ปี ผมคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องของการเรียนรู้ แล้วก็การทำความเข้าใจกับทั้งธรรมชาติ และธรรมชาติมนุษย์ แล้วก็ตัวผมเองด้วย ว่าจริงๆ แล้ว เราเป็นแค่ส่วนหนึ่งของธรรมชาติ คือก่อนหน้านี้ อาจจะถูกสอนเหมือนกับว่า เราสามารถควบคุมธรรมชาติได้ เราร้อน ก็เข้าห้องแอร์ เปิดแอร์ไป แต่ตอนนี้ ผมคิดว่า มนุษย์ทุกคนก็เป็นเศษเสี้ยวหนึ่งของธรรมชาติน่ะครับ เราไม่มีทางเอาชนะธรรมชาติ ส่วนการลงแรงนั้น ผมคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องการพึ่งตนเอง ให้มีความมั่นคงในชีวิต คือถ้าสมมุติว่าเกิดภัยพิบัติแล้วอยู่ที่นี่ต่อไปไม่ได้แล้ว ผมก็คิดว่า เรามีความสามารถที่จะสร้างบ้านใหม่ได้ หาอยู่หากินที่อื่นได้ ประมาณนี้ครับ”
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : แฟนเพจ บ้านรื่นรมย์ Ruenrom Organic Living
สำหรับใครที่ชอบเข้าโรงหนัง หรือดูหนังในเครือเมเจอร์เป็นประจำ ในช่วงหนึ่งปีหลัง คงจะได้เห็นโฆษณาก่อนหนังฉายอยู่ชิ้นหนึ่งซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของหนุ่มสาวคู่รักคู่หนึ่งซึ่งผันตัวเองจากการเป็นมนุษย์เงินเดือน สู่งานด้านการเกษตร คนหนุ่มนั้น “โจ - เกรียงไกร บุญเหลือ” เรียนจบมัณฑณศิลป์ ม.ศิลปากร ส่วนหญิงสาว “ดวงแก้ว ตั้งใจตรง” ก็จบเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
ณ วันแรกๆ ที่พวกเขาทั้งสองตัดสินใจที่จะมาใช้ชีวิตอยู่บ้านนาป่าทุ่ง ก็ต้องเจอกับคำถามจากสังคมรอบข้างว่า เคยแต่เป็นนักศึกษาเรียนมาสูงๆ จะทำนำไหวไหม? หรือจะอยู่รอดได้หรือเปล่าในวิถีแห่งเกษตรกรรม แต่ ณ วันนี้ วันเวลาผ่านไปหลายปี พวกเขาได้พิสูจน์ตัวเองระดับหนึ่งแล้วว่า สิ่งที่พวกเขาเลือกและตัดสินใจทุ่มตัวทุ่มใจลงไปนั้น สำเร็จเป็นที่ประจักษ์ระดับหนึ่งแล้ว
จากพยานหลักฐานเชิงประจักษ์ ทั้งบ้านดินที่อาศัยอยู่ได้จริง “นอนแล้ว ไม่พัง” อย่างที่เขาว่าในโฆษณาดังกล่าว อีกทั้งผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ ปะยี่ห้อ “รื่นรมย์” ก็นำรายได้เข้าครอบครัวแบบพอเพียงหล่อเลี้ยงชีวิต รวมถึงพืชผักเกษตรอินทรีย์ปลอดสารเคมีและสารพิษอีกหลายชนิดที่พวกเขาปลูกและกินและขาย เป็นรายได้อีกทางหนึ่ง นั่นยังไมนับรวม “ความรื่นรมย์มวลรวม” ที่อบอวลอยู่ในมวลบรรยากาศภายใต้ชายคา “บ้านรื่นรมย์” แห่งนี้
เราพาไปทำความรู้จักกับบ้านหลังดังกล่าว ฟังเรื่องราวที่ผ่านมา กว่าจะลงหลักปักฐานเป็น “บ้าน” อัน “รื่นรมย์” อย่างในปัจจุบัน กับ “โจ-เกรียงไกร บุญเหลือ” ผู้เป็นเสาหลักต้นสำคัญของบ้านหลังนี้...
อดีตนักออกแบบ
ผู้หาความหมายให้กับชีวิต
“หลังจากที่ผมเรียนจบที่คณะมัณฑณศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก็ทำงานตามที่ตัวเองเรียนจบมาที่กรุงเทพฯ แต่พอเริ่มทำงานได้สักพัก ก็ถามคำถามกับตัวเองว่า เริ่มที่จะไม่ค่อยมีความสุขแล้ว ไม่ค่อยมีอิสระในการใช้ชีวิตด้วย การทำงานออฟฟิศทำให้เรารู้สึกแบบนี้ เลยลาออกมาทำงานฟรีแลนซ์ครับ แล้วก็อยู่ได้หนึ่งปี ซึ่งในระหว่างที่ทำฟรีแลนซ์ ก็ยังมีความรู้สึกเหมือนเดิมว่า การทำงานฟรีแลนซ์ก็ไม่ได้ทำให้มีความสุขหรืออิสระเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ คือเราเริ่มรู้สึกว่า อาชีพการออกแบบมันไม่ค่อยเหมาะกับตัวเอง เพราะในบางครั้ง เวลาที่เราไม่ค่อยอยากวาดรูป แต่เราต้องทำ มันค่อนข้างฝืนตัวเอง ก็เลยคิดว่าแนวทางในการเป็นดีไซน์เนอร์ มันไม่เหมาะกับตัวเอง แต่ก็ยังไม่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร หรืออยากทำอะไร
“ทีนี้ พอดีมีรุ่นพี่เปิดรีสอร์ตที่เกาะเต่า แล้วเขาอยากได้คนไปช่วย เราก็เลยอาสาไปทำงานที่เกาะเต่า ตอนนั้นแค่คิดว่าอยากออกจากกรุงเทพฯ ครับ อยากอยู่กับตัวเอง เพราะเหมือนกับไม่ค่อยมีเวลาให้ตัวเองเลย ก็เลยไม่เข้าใจตัวเอง ประมาณนี้ครับ ก็เลยคิดว่าการที่ไปอยู่เกาะเต่า น่าจะเป็นโอกาสให้ตัวเองได้คิดอะไรเยอะขึ้น ก็ไปทำงานที่เกาะเต่า ตำแหน่งก็เหมือนกับเป็นผู้จัดการทั่วไปที่รีสอร์ทของรุ่นพี่ ระหว่างที่ทำงานที่นั่น ก็ค่อยๆ คิดทบทวนเกี่ยวกับตัวเอง แล้วก็อ่านหนังสือด้วย ระหว่างนั้นก็เดินทางไปอบรมในที่ต่างๆ ที่เราสนใจ จะเป็นแนวที่พึ่งพาตนเอง ในรูปแบบต่างๆ ทีนี้ก็มาคิดกับตัวเองว่า จริงๆ แล้ว เราแค่อยากจะพึ่งตัวเองให้ได้น่ะครับ ก็เลยมาดูว่าอะไรคือปัจจัยพื้นฐานในการใช้ชีวิตของเรา เลยมามองในเรื่องของปัจจัย 4 เรื่องที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เรื่องอาหาร เรื่องเครื่องนุ่งห่ม
“ที่แรกที่ผมไปอบรม เป็นงานของ “หมอเขียว แพทย์วิถีธรรม” ที่เน้นเรื่องการดูแลสุขภาพ ลำดับต่อมาก็ไปอบรมกับพี่โจน จันได เรื่องทำบ้านดินและเรื่องอาหาร ส่วนเรื่องของเครื่องนุ่งห่ม ไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไหร่ เพราะเสื้อผ้าเดี๋ยวนี้ราคาไม่แพง ก็เลยปล่อยข้ามไป ทีนี้ก็เริ่มอยากลงมือทำของตัวเอง เลยลองคิดดูว่า สิ่งที่เราคิดมันจะเหมาะกับเรามั้ย แล้วเราจะชอบแบบนี้จริงๆ มั้ย คือตอนนั้น เรายังไม่แน่ใจ ก็ทำงานเก็บเงินไปอีกสักพัก
“แล้วจังหวะนั้นก็มีรุ่นพี่ชวนไปทำงานที่ปาย เราก็มีภาพคิดว่า เราอยากอยู่ทางเหนือพอดี เราก็เลยคิดว่าจะไปทำงานที่ปาย เพราะเผื่อทำงานแถวนั้น แล้วจะมีที่มีทาง จะได้ซื้อได้ง่ายขึ้น ประมาณนี้ครับ ในระหว่างที่ทำงานและดูที่ทางไปด้วย เราก็รู้สึกว่าค่าใช้จ่ายในการตั้งต้นที่ทางเหนือ มันค่อนข้างสูง เงินเก็บของเราก็จะเหลือน้อย ประจวบว่าพ่อผมเป็นคนสุรินทร์ครับ เห็นว่าเราอยากทำ ก็เสนอว่า พ่อมีที่อยู่แปลงนึง ไม่ได้ทำอะไร ถ้าอยากลองทำ ก็มาทำที่พ่อดู ซึ่งเราก็ไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะมาทำที่นี่เลย ก็เหมือนคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ที่อยากอยู่ภาคเหนือ ประมาณนี้ครับ
“แต่ว่าถ้าเรามาเริ่มที่สุรินทร์ เราก็จะสามารถเซฟเงินเก็บเราได้ค่อนข้างเยอะ เราก็เลยลองมาดูที่บ้านพ่อว่ามันมีอะไรบ้าง ก็มาเริ่มต้นในที่ของพ่อ ตอนแรกก็คือไม่มีอะไรเลย (หัวเราะเบาๆ) แต่มันก็ท้าทายกับตัวเองดีว่า อยากจะลองดูว่าสิ่งที่ตัวเองคิด มันจะเป็นไปได้มั้ย ก็ประมาณนี้ครับ เลยตัดสินใจว่าลองทำที่สุรินทร์แล้วกัน”
ถูกคัดค้านจากทางบ้าน
แต่ก็ยังเดินหน้าต่อ
“พ่อก็เป็นลูกชาวนาเลยครับ รุ่นปู่รุ่นย่าก็ทำนาที่สุรินทร์ แต่ว่าพ่อจะเป็นแบบว่าทำไม่ไหว เขารู้สึกว่า ชีวิตมันลำบาก เขาก็หนีเข้ากรุงเทพฯ ช่วงอายุ 15-16 เพราะเขารู้สึกว่าการทำเกษตรมันอยู่ยาก เขาก็เลยไปหางานทำในกรุงเทพฯ ส่วนตัวผมเกิดและโตที่กรุงเทพฯ เลย ไม่ได้มีพื้นฐานทางเกษตร แล้วก็ไม่ได้อยู่ที่สุรินทร์ด้วยซ้ำครับ
“คือถ้ามองย้อนกลับไปในตอนนั้น ความยากอยู่ที่การปรับความคิดของตนเอง การปรับทัศนคติหลายๆ อย่าง กับคนในชุมชน กับพื้นที่ กับสภาพแวดล้อม ถามว่ายากมั้ย คือถ้าเราไม่เคยทำอะไร ช่วงแรกอาจจะยากนิดนึง แต่ถ้าอยู่กับมันสักพักนึง ผมว่ามันก็ไม่ได้ยากขนาดนั้นนะครับ ถ้าถามตอนนี้ ผมว่าไม่ได้ยากขนาดนั้น แต่ถ้าถามตอนนั้น คงตอบว่ายาก ยากที่ว่าก็คือ มันต้องต่อสู้กับความคิดตัวเอง เป็นเรื่องที่ชาวบ้านมองเรา ทัศนคติที่ชาวบ้านมองเราแบบ เฮ้ย คนกรุงเทพฯ ทำไมมาอยู่ที่นี่ ทำอะไรก็ไม่เป็น จะทำได้เหรอ ส่วนที่บ้านเราเองก็มองเราแบบนั้นเหมือนกัน เราก็เข้าใจ เพราะทางพ่อก็รู้ว่ามันลำบาก ขนาดพ่อยังหนีเข้ากรุงเทพฯ เลย ในขณะเดียวกัน ที่ผมเกิดและโตที่กรุงเทพฯ ไม่เคยแตะงานด้านนี้เลย แต่เรามองสวนทางกับคุณพ่อ เพราะอยากจะมาทำในส่วนที่พ่อหนีไป เขาก็เป็นห่วงว่าทำไม่ได้หรอก คือเขาพยายามเหมือนเบรกเรา ไม่ให้เราทำ เพราะว่าเขาเป็นห่วง
“ในขณะเดียวกัน เราก็ตอบเขาไม่ได้ว่าจะทำได้มั้ย เพราะเราไม่เคยทำจริงๆ เหมือนกันนะตอนนั้น เราก็เหมือนขอโอกาสทำ เพราะอย่างมากที่สุด ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด เงินเก็บเราหมด แต่เราก็กลับเมือง หางานทำใหม่แล้วกัน อายุเรายังไม่มาก ถ้าเราผิดพลาดหรือล้มในตอนนี้ เราแค่กลับมาเริ่มใหม่ในเมืองหรืออะไรก็ได้ประมาณนี้ คิดแบบนี้ ก็เลยทำ แล้วก็พอยืนระยะไปได้สักพัก ที่บ้านก็เริ่มโอเคขึ้น ชาวบ้านก็โอเคประมาณหนึ่ง เหมือนมันลงตัวขึ้น
“อีกอย่าง เรามองว่า อาหารคือส่วนสำคัญในชีวิตเลยครับ เราเริ่มจากที่ว่า เราดูก่อนว่า อะไรคือสิ่งที่เราคำนึงถึง ในการที่จะทำให้เรามีชีวิตจิตใจที่ดี แล้วพอเราคิดอย่างงั้นคือ ถ้าเรามีทั้งสุขภาพกายและใจที่ดี เหมือนกับเรามีความสุขได้ แล้วผมคิดว่าอาหารก็เป็นปัจจัยที่สำคัญมากๆ ถ้าเรามีอาหารที่ดี มันก็เกี่ยวเนื่องไปหมดครับ ทั้งสุขภาพกายและใจ เราก็เลยคิดว่าอยากจะมาทดลองทำเพาะปลูกอะไรเล็กๆ น้อยๆ ลองดู ตอนแรกทำทุกอย่างขนาดเล็ก เพราะเราไม่เคยทำ ก็ทำผิดบ้างถูกบ้าง
“ในขณะเดียวกัน ผมแค่รู้สึกว่าระบบอุตสาหกรรมอาหาร มันทำให้อาหารที่เราบริโภคในเมือง มันน่ากลัวขึ้นเรื่อยๆ เขาต้องคำนึงถึงว่าอายุของอาหารที่นานขึ้น เพราะฉะนั้น เขาก็ต้องใส่สารเคมีบางอย่างที่ทำให้อาหารอยู่ในชั้นวางได้นานขึ้น แล้วการที่เราไปบริโภคอาหารเหล่านี้ สะสมไปเรื่อยๆ ผมคิดว่า ในท้ายที่สุดก็ต้องมีผลกระทบกับร่างกายของเราออกมาในรูปของโรคภัยไข้เจ็บ แต่ถ้าเราสามารถทานอาหารที่มันสดใหม่ มันจะดีกว่ากับเราในทั้งปัจจุบันและระยะยาวด้วย”
ล้มลุกคลุกดิน
กว่าจะลงตัว
“ผมไม่เคยไปเรียนปลูกข้าวที่ไหนมาก่อนเลย ได้แต่อ่านหนังสือ รู้แต่ทฤษฎี แต่ก็มีความเชื่ออยู่ลึกๆ ว่า ข้าวมันเป็นอาหารของมนุษย์ ผมคิดว่าทุกคนมีศักยภาพพอที่จะปลูกข้าวกินเองได้ ซึ่งเราคิดว่าต้องเริ่มยังไง ทำยังไง เพราะผมก็สังเกตชาวบ้านน่ะครับ ว่าเขาเริ่มหว่านข้าวกันช่วงไหน ผมก็จ้างเขามาสอนผมว่า หว่านปุ๋ยยังไง มีเทคนิคยังไง เราก็ให้เขาสอน เรียกว่าเป็นการ learning by doing น่ะครับ คือทำไปด้วย เรียนไปด้วย เพียงแต่ว่า เราทำแตกต่างกับเขาคือ เราใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทำครับ
“ช่วงปีแรก เราก็หว่านข้าวไม่เก่ง ข้าวก็ไปกองอยู่บางมุมบ้าง ตรงบางจุดก็ห่างบ้าง แล้วอีกอย่างช่วงหน้าฝน พอน้ำมันหลากมา ปรากฏว่า เราก็ควบคุมน้ำไม่เก่งพอ คันนาก็พัง ผมก็เพิ่งรู้ว่าโครงสร้างดินนาของทางอีสานมันเป็นดินทราย แล้วพอน้ำมาขัง มันก็จะมีรูหนูมาเจาะตรงคันนา พอมันเริ่มซึมแล้วไปอุดมันไม่ทัน มันจะพัง หมายความว่า รูมันจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนคันนาพัง แล้วน้ำมันค่อนข้างสำคัญกับทางอีสาน คือทางนี้มันไม่มีระบบชลประทาน เพราะฉะนั้น เวลาฝนตกแต่ละครั้ง ชาวนาทางภาคนี้จะพยายามเก็บน้ำให้หมด เพื่อที่จะให้อยู่ในนา
“แต่ปีแรกผม เก็บน้ำไม่ค่อยได้เลย เพราะคันนาผมพัง แล้วเวลาผมไปซ่อม ผมเจอรูนี้ ผมก็ซ่อมแล้วซ่อมไม่เป็นอีก เหมือนยิ่งซ่อม รูยิ่งใหญ่ขึ้น ช่วงปีแรกก็จะเหนื่อยหน่อย แล้วชาวบ้านเดินมาเห็นก็มาบอกเทคนิคว่าต้องขุดดินยังไง ต้องกั้นยังไง ต้องค่อยๆ ทำยังไง ประมาณนี้ครับ ส่วนปีแรก ข้าวก็ได้ผลผลิตไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เพราะว่าหญ้าขึ้นเยอะมาก แล้วการจัดการถอนหญ้าก็ยังทำได้ไม่ค่อยดี แต่ตอนนี้ทุกอย่างก็ดีขึ้น เพราะผมปรับคันนาใหม่ รู้ว่าตรงไหนน้ำหลากมา ผมก็ไปขุดสระแทน ให้มันเก็บน้ำ เหมือนชะลอน้ำ แล้วก็ค่อยๆ วางท่อ เหมือนกับท่อน้ำล้นน่ะครับ ถ้ามันล้นตรงนี้มา ให้ไปตรงนี้นะ ตอนนี้ก็เลยไม่มีปัญหาเรื่องคันนาพังแล้ว
“ในระหว่างนี้ก็ทดลองปลูกผัก ปลูกต้นไม้ไปด้วย เพราะว่าผมปรับพื้นที่นา แล้วก็พยายามที่จะปลูกต้นไม้บนคันนา ปลูกทั้งกล้วยหรือหม่อน คือในท้ายที่สุดแล้ว ผมมีความตั้งใจว่าในพื้นที่นี้ มันมีต้นไม้ มันมีระบบนิเวศของมันเอง ผมจะลดการปลูกข้าวลงเรื่อยๆ ถ้ามันอุดมสมบูรณ์ในตัวมันเอง ผมก็แค่เดินไปเอาผลผลิตมากินก็พอ แล้วก็พยายามเข้าไปจัดการกับธรรมชาติให้น้อยที่สุด เหมือนข้าวในอนาคต ผมก็อยากจะแค่หว่านข้าวลงไปเลย ไม่ต้องไถ ปุ๋ยก็ไม่ต้องใส่ อะไรแบบนี้ครับ แล้วพอถึงเวลาก็เกี่ยวข้าว เอามานวดแล้วก็สีกิน
“ผมพยายามจะให้ธรรมชาติมันเกื้อหนุน เชื่อมโยง แล้วก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบน่ะครับ เข้าไปจัดการกับมันน้อย เพียงแต่ว่าตอนนี้ ผมยังยุ่งกับมันเยอะหน่อย เพราะว่ามันไม่มีอะไรเลยในพื้นดิน มันไม่มีต้นไม้ ไม่มีอะไรเลย ก็เลยยังวางระบบน้ำ ปลูกนั่นนี่ แต่ตอนนี้ก็ยังล้มลุกคลุกคลานอยู่นะครับ ปีนี้แล้งจัดก็ตายเกือบหมด ผลมันน้อยเพราะผมรดน้ำช่วยไม่ไหว ซึ่งภัยธรรมชาติน่าจะมีผลต่อผมมากกว่าเรื่องระบบ
“เราไม่เคยอยู่ที่สุรินทร์มาก่อน ทีนี้ การมาอยู่ที่นี่ก็เท่ากับว่าเริ่มต้นใหม่เลย ต้องคอยดูว่า ฤดูร้อนจะร้อนช่วงไหน ร้อนขนาดไหน ช่วงหน้าฝนจะตกขนาดไหน แล้วผมจะต้องปลูกต้นไม้ช่วงไหน ถึงจะมีเปอร์เซ็นต์รอด ปลูกช่วงไหนไม่โอเค มันเหมือนค่อยๆ เรียนรู้ธรรมชาติไปเรื่อยๆ น่ะครับ ว่าผมจะควรทำอะไรตอนไหนและเมื่อไหร่ เพราะประสบการณ์ที่ผ่านมา หลายอย่างเหนื่อยฟรีก็เยอะ แต่มันก็ทำให้ผมเรียนรู้ว่า ผมควรจะทำอะไรตอนไหน ไม่ควรทำอะไรตอนไหน”
สุขใจที่ได้ทำ
จน “รื่นรมย์” ในที่สุด
“ผมคิดว่าทั้งหมดทั้งมวล มันเป็นเรื่องของใจครับ คือช่วงแรก เราก็มีกรอบเหมือนกับคนกรุงเทพฯ ทั่วไป เช่น ได้รับสิ่งของหรือบรรลุเป้าหมายอะไรบางอย่างก่อน เราถึงจะมีความสุขและรื่นรมย์ได้ ผมมาที่นี่ ก็สมมุติว่าทำบ้านดิน ระหว่างที่ทำก็สนุกแต่ค่อนข้างเครียด ระหว่างนั้นก็คิดว่า เราทำบ้านดินเสร็จก็ต้องมีความสุขแน่นอน ถ้าเวลาได้อยู่ แต่ปรากฏว่าบ้านเสร็จ ผมก็เป็นทุกข์เหมือนเดิม หมายถึงว่า ผมก็มีความสุขตอนอยู่บ้านช่วงแรก แต่เวลาผ่านไป ผมก็มีเรื่องให้ทุกข์เหมือนเดิม ผมก็มามองดูตัวเองว่า ทำไมถึงเป็นแบบนี้ มันก็ไม่ต่างจากที่ผมอยู่กรุงเทพฯ
“ถ้าผมทำงานแล้วเก็บตังค์และไปซื้อรถสักคัน ผมน่าจะแฮปปี้นะ พอผมไปซื้อรถได้ ชีวิตก็มีความสุขดี แต่ก็ไม่นาน ผมก็ทุกข์เหมือนเดิม แล้วพอมาทำบ้านดิน เราก็คิดว่าอันนี้เราลงมือทำนะ ผมจะต้องมีความสุขกว่าที่ตัวเองคิดแน่เลย แต่ก็เหมือนกัน ผมก็มาวิเคราะห์ว่าทำไมเป็นแบบนี้ สรุปมันก็แค่รูปแบบความคิดที่ว่า ผมจะต้องได้รับสิ่งของหรือเป้าหมายอะไรบางอย่างก่อน ผมถึงจะมีความสุขได้ มันต่างกันแค่ว่า อยู่กรุงเทพฯ ทำงานเก็บตังค์ซื้อของมา แต่ที่นี่เราลงแรงไป ฝันว่าได้บ้านแล้วจะมีความสุข แต่ ณ ตอนนี้ มันก็ไม่จำเป็นที่จะเป็นแบบนั้นแล้ว มันแค่รูปแบบติดตัวมาด้วย โดยที่ไม่รู้ตัว ณ วันนี้ ผมไม่ต้องรอว่าต้นไม้จะโตก่อน ถึงจะมีความสุข หรือว่าทุกอย่างเสร็จแล้วจะมีความสุข ผมก็แค่คิดว่าการอยู่กับปัจจุบันเนี่ย มันคือความสุขมากกว่าครับ เหมือนกับว่าไม่ต้องไปรอให้ได้รับอะไรบางอย่าง ทำให้มันเสร็จหรือเกิดขึ้นก่อน แล้วเราถึงจะมีความสุขได้
“ในเรื่องการเกษตรของบ้านเรา ผมมองว่าน่าเป็นห่วงอยู่ เพราะเขาเน้นปลูกพืชเชิงเดี่ยว มันเลยไม่ค่อยมีความหลากหลาย เช่นว่า ถ้ารัฐส่งเสริมให้ปลูกข้าว ก็ปลูกตามกันหมด แล้วพอข้าวไม่ดี ก็ให้ปลูกยางพารา ก็ให้ปลูกตามกันหมด มันก็มีผลกระทบ พออะไรไม่ดี ก็ส่งเสริมให้ปลูกอ้อย ผมคิดว่า ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ถ้าปลูกเชิงเดี่ยว มันไม่ค่อยโอเคในระยะยาวอยู่แล้วครับ ช่วงแรกอาจจะดี แต่ต่อไป ถ้ามันมีปริมาณมากขึ้น อาจจะเป็นกลไกตลาดที่ว่า มันคงไม่สามารถดีไปตลอด แล้วการใช้ปุ๋ยหรือยาฆ่าแมลงมากขึ้น มันก็มีส่วน
“การปลูกพืชเชิงเดี่ยว ยิ่งทำมากเท่าไหร่ มันก็ต้องใช้สารเคมีมากขึ้นเท่านั้น เพราะว่าการทำอะไรเหมือนเดิมซ้ำๆ โครงสร้างดิน พวกแมลง มันมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันไปหมดน่ะครับ มันมีเหตุมีผลของมัน เกษตรกรบ้านเรา สมมุติว่าคิดจะปลูก ก็ปลูกอย่างเดียว แต่ถ้าจะเอาให้อยู่ได้ มันควรจะคิดให้ครบวงจรมากกว่านี้ หมายถึงว่า ถ้าปลูกอะไรก็ควรคิดว่าจะขายยังไงด้วย คือเหมือนเกษตรกรคิดจะปลูก เรื่องการขาย มันเป็นเรื่องของพ่อค้าคนกลาง มันก็เลยทำให้มีปัญหา แล้วรอความช่วยเหลือจากภาครัฐเกินไป แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีเกษตรกรทำเชิงรวมอยู่ เพียงแต่ว่ามันยังน้อย
“จากการทำบ้านรื่นรมย์มา 4 ปี ผมคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องของการเรียนรู้ แล้วก็การทำความเข้าใจกับทั้งธรรมชาติ และธรรมชาติมนุษย์ แล้วก็ตัวผมเองด้วย ว่าจริงๆ แล้ว เราเป็นแค่ส่วนหนึ่งของธรรมชาติ คือก่อนหน้านี้ อาจจะถูกสอนเหมือนกับว่า เราสามารถควบคุมธรรมชาติได้ เราร้อน ก็เข้าห้องแอร์ เปิดแอร์ไป แต่ตอนนี้ ผมคิดว่า มนุษย์ทุกคนก็เป็นเศษเสี้ยวหนึ่งของธรรมชาติน่ะครับ เราไม่มีทางเอาชนะธรรมชาติ ส่วนการลงแรงนั้น ผมคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องการพึ่งตนเอง ให้มีความมั่นคงในชีวิต คือถ้าสมมุติว่าเกิดภัยพิบัติแล้วอยู่ที่นี่ต่อไปไม่ได้แล้ว ผมก็คิดว่า เรามีความสามารถที่จะสร้างบ้านใหม่ได้ หาอยู่หากินที่อื่นได้ ประมาณนี้ครับ”
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : แฟนเพจ บ้านรื่นรมย์ Ruenrom Organic Living