การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับยุคสมัยนี้ ยิ่งด้วยในเรื่องของภาษาด้วยแล้วนั้นในยุคปัจจุบันยิ่งมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากภาษาแม่ที่เป็นภาษาบ้านเกิดแล้ว การเรียนรู้ภาษาที่สอง สาม หรือสี่ ห้า หก ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน
ดร.อภิรมณ อุไรรัตน์ หนึ่งในผู้ที่ค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับคนที่เป็น BILINGUALISM หรือคนที่เรียนรู้สองภาษาจนได้คำตอบที่ชัดแจ้งจึงนำมาเขียนในหนังสือ "THE POWER OF BILINGUALISM ดีได้ด้วยพลังสองภาษา" ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องดังกล่าวเพื่อให้ภาคการศึกษาหรือแม้กระทั่งผู้ปกครองได้เล็งเห็นถึงความสำคัญกับสิ่งดังกล่าวทั้งนี้เพื่อต้องการอยากให้ประเทศไทยได้ยกระดับการศึกษาให้ดีขึ้น
• แรงบันดาลใจที่ทำให้คุณอภิรมณหยิบยกหัวข้อการเรียนรู้สองภาษามาทำเป็นหนังสือ "THE POWER OF BILINGUALISM ดีได้ด้วยพลังสองภาษา" คืออะไร
เกิดจากสิ่งที่เราทำมาประมาณ 10 กว่าปี ซึ่งเริ่มจากโรงเรียนสาธิตรังสิต เราใช้หลักสูตรทวิภาษา ที่เราเรียกว่าแบบองค์รวม ก็คือเป็นหลักสูตรของเราที่ทำขึ้นมาเอง โดยที่เรามองว่าอีก 10 ปี 20 ปีข้างหน้า เราต้องการจะให้เด็กเป็นเยาวชนคุณภาพแบบไหน เพื่อที่จะมารับมือกับโลกในอนาคตได้ เราก็เลยทำหลักสูตรตรงนี้ขึ้นมา
ต้องเรียนให้ทราบก่อนว่าหลักสูตรของเรา เป็นหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการบ้านเรา เราครอบคลุมทั้งหมดเพื่อที่เด็กจบแล้วเขาจะไปต่อในเมืองไทย ในหลักสูตรอะไรก็ได้ ในคณะอะไรก็ได้ แต่ในขณะเดียวกันเรามองว่าเท่านั้นมันยังไม่เพียงพอ เราก็เลยเอามาผสมผสานกับหลักสูตรนานาชาติ 2 หลักสูตรด้วยกันก็คือ หลักสูตรที่เราเรียกว่า IGCSE กับ IB ซึ่งในโรงเรียนนานาชาติเขาจะสอนกัน เราก็เลยนำมาผสมผสานขึ้นมาเป็นหลักสูตรของเราเองแล้วก็นำมาใช้
ผลออกมา เราก็ได้ผลผลิตที่เราเชื่อมั่นว่ามีคุณภาพและดี แล้วมันก็เป็นโจทย์ที่เรามองว่าการศึกษาที่ปฏิรูปกันมาตลอด ที่ไม่ประสบความสำเร็จ เรามองว่าอันนี้คือสิ่งที่มันตอบโจทย์ และเมื่อได้ทำวิจัยเพิ่มขึ้น ได้อ่านงานวิจัยของนานาชาติ เนื่องจากมีความสนใจส่วนตัว เราเลยพบว่าคนที่เป็น Bilingual มันทำให้ค้นพบสิ่งดีๆ มากมายที่บางทีเราจะมองไม่เห็น
ส่วนแรงบันดาลใจที่ทำให้หยิบยกหัวข้อนี้มาทำเป็นหนังสือก็เพราะเราอยากให้ผู้ปกครอง อยากให้คนไทย ได้มองเห็นว่าข้อดีของ Bilingualism มันคือคำตอบของปัญหาการศึกษาที่เราประสบมาในยุคปัจจุบัน ก็เลยคิดว่าน่าจะเขียนในรูปแบบที่ใครก็อ่านได้ คือถ้าเขียนในรูปแบบงานวิจัยคงไม่มีใครอยากอ่าน เพราะฉะนั้นจะทำยังไงให้ออกมาแล้วเหมาะกับจริต สุดท้ายก็เลยทำให้มันอ่านง่ายและแปลง่ายเข้าใจง่าย
• เรามีทฤษฎียืนยันว่า การพัฒนาการของเด็กที่เรียนสองภาษาดีกว่าเด็กที่เรียนภาษาเดียวนั้น เรามีงานวิจัยรองรับพอจะอธิบายได้ไหม
ใช่ค่ะ งานวิจัยทั่วโลกพบว่าคนที่เป็น Bilingual เขาจะมีศักยภาพมากกว่าคนที่เป็น Monolingual หรือคนที่พูดได้ภาษาเดียว แทบจะเกือบทุกด้านเลย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของการแพทย์ เขาก็จะมีเรื่องของ Executive Function คือเมื่อใดที่เขาสามารถที่จะพูดภาษาได้แบบธรรมชาติ คือไม่ใช่แปลแล้วก็เปลี่ยนเป็นอีกภาษาหนึ่ง สมองเขาจะพัฒนาตลอดเวลา คือมันจะทำงานตลอดเวลาจนเกิดสมองที่เขาเรียกว่าส่วนที่บริหารสมอง คือ executive function ของสมอง
มันดีจนกระทั่งเขามีวิจัยมารองรับแล้วว่า คนแก่ ถ้าเป็น Bilingual อาการคนแก่ อย่างโรคอัลไซเมอร์ก็จะน้อยลง เนื่องจากสมองได้ทำงานตลอดเวลา อันนี้คือในแง่ของวิทยาศาสตร์ อีกจุดหนึ่งซึ่งเป็นผลพวงการเป็นคนสองภาษา ก็พบว่าวิธีการแก้ปัญหาของเขาดีขึ้น เขาสามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ดีกว่า โดยรวมแล้ว การเรียนรู้ทั้งทางด้านวิชาการเขาก็ดีกว่า อันนี้เราไม่ได้พูดขึ้นมาเอง แต่มันมาจากงานวิจัยที่ต่างประเทศเขารวบรวมไว้ เพราะฉะนั้นมันมีหลายสิ่งที่ดี แล้วมันย้อนกลับมาทำให้เรามองว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่เราต้องการให้เด็กไทยก้าวตาม
เราต้องการให้เขาแก้ปัญหาเป็น มีศักยภาพที่จะเปิดโลกทัศน์ของตัวเองในนานาชาติ ในเวทีโลก ซึ่งปัจจุบันเรายังทำไม่ได้ แค่การแสดงออกก็ยังด้อยกว่าต่างประเทศเขา หรือแม้กระทั่งผลพีซ่าที่เราหลายๆ คนอาจจะเคยอ่าน (พีซ่า หรือ PISA (Programme for International Student Assessment)) เป็นโครงการประเมินผลการศึกษาของประเทศสมาชิก ที่ดำเนินการโดย Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจระบบการศึกษาของนานาประเทศว่าได้เตรียมความพร้อม สำหรับการใช้ชีวิตและการมีส่วนร่วมในสังคมในอนาคตเพียงพอหรือไม่) ผลล่าสุดที่เขารวมกลุ่มของประเทศใน OECD ทั้งหมด เราก็เกือบโหล่ในทุกๆ ด้าน รวมถึงวิชาที่เรามองว่าเราเก่ง เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ มันเป็นไปได้ยังไง เพราะเมื่อก่อนในยุค 10 ปี 20 ปีที่แล้ว เรายังมองว่า ฝรั่งไม่เก่งเลข คนไทยเก่งเลข คนเอเชียจะเก่งเลข แต่ปัจจุบันไม่ได้เป็นอย่างนั้น เนื่องจากเขาวิเคราะห์มาว่าเราใช้หลักสูตรการเรียนรู้ที่เป็นการท่องจำ เพราะฉะนั้น สมองส่วนอื่นจะไม่ได้พัฒนา ซึ่งอันนี้เราจะแก้ปัญหานี้ยังไง
• เด็กที่เรียนในหลักสูตรสองภาษาจะมีผลด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การปรับตัวได้ดีกว่าหลักสูตรภาษาเดียวไหม
ตรงนี้ไม่ได้มีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเท่าไหร่ คือคนที่เขาเป็น Bilingual โดยธรรมชาติ โลกทัศน์ของเขาจะเปิดขึ้น คือสมมติตัวเองนะคะว่าเราพูดได้ 2 ภาษาอย่างธรรมชาติ information ที่มัน flow เข้ามา เราไม่ต้องบังคับตัวเองให้อ่านแปลภาษาไทย เพราะฉะนั้น มุมมองของโลกมันกว้างขึ้น ทัศนคติก็กว้างขึ้น เขาเข้าใจในหลายๆ วัฒนธรรม เขาไม่ได้เข้าใจแค่วัฒนธรรมเดียว เพราะเราปฏิเสธไม่ได้ แน่นอนที่สุดวันนี้สิ่งที่มันเกิดขึ้นในอเมริกาอาจมีผลกระทบกับเรา หรือสิ่งที่มันเกิดขึ้นในเอเชีย ก็มีผลต่ออีกด้านหนึ่งเหมือนกัน เพราะมันมีผลต่อกันหมด มีความเชื่อมโยงกัน เพราะฉะนั้น มันไม่ควรมองว่าทำไมเด็กไทยต้องเรียนภาษาอังกฤษ มันเลยจุดนั้นไปแล้ว เรามองดีกว่าว่าเรียนภาษาอังกฤษยังไงให้อนาคตเขาจบไปแล้วพร้อมรับมือกับอะไรก็ตามที่มันจะเดินเข้ามา รับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นมา
• ช่วยอธิบายได้ไหมว่าทำไมเด็กไทยจึงต้องรู้สองภาษา ทั้งๆ ที่ในชีวิตประจำวันแทบไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ใดๆ
เราเชื่ออย่างนั้นจริงหรือเปล่า เราเชื่อว่าอีก 10 ปีข้างหน้า โลกเราเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า หรือแม้ในปัจจุบัน เราไม่ต้องใช้ภาษานี้เหรอ อะไรคือภาษาหลักของโลก เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว เขามีการทำวิจัยออกมาว่า 2 ใน 3 ของประชากรโลก เขาพูดได้อย่างน้อยสองภาษา แล้วถ้าเราไม่ถีบตัวเองขึ้นมา เราจะอยู่ตรงไหน ศักยภาพในการแข่งขัน เราจะอยู่ตรงไหน ไม่ต้องไปพูดถึงการแข่งกับยุโรป ไปแข่งกับทวีปอื่น แค่แข่งกันในอาเซียน เราจะแข่งเขาได้หรือเปล่า อันนี้เป็นสิ่งที่เราควรจะต้องตื่นตัว
• วิธีการเรียนรู้สองภาษาที่ดีที่สุด จะต้องเรียนรู้อย่างไร จำเป็นต้องเรียนโรงเรียนที่มีการสอนสองภาษาไหมคะ
คือมันเป็นมินิมั่มค่ะ Minimum Requirements ของเยาวชนศตวรรษที่ 21 ภาษาสองภาษา ยังไม่พอ แต่ทักษะและคุณสมบัติอื่นๆ ก็มีความจำเป็น เช่น เด็กจะต้องวิเคราะห์ได้ วิเคราะห์เป็น แก้ปัญหาที่ซับซ้อน หรือปัญหาที่ยาก มีโลกที่เปิดกว้างนอกจากกะลาของตัวเอง จะต้องเปิดโลกทัศน์ของตัวเองได้ อันนี้เราพร้อมหรือเปล่า ก็ต้องย้อนกลับไปถามการศึกษาบ้านเราว่าพร้อมหรือเปล่าที่จะตอบโจทย์ตรงนี้ คือถ้าจะให้พูดถึงการศึกษา ต้องมองภาพใหญ่ เราจะโฟกัสเป็นเหมือนโมเดลที่เราทำ แล้วก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามันมีคุณภาพ มันมีประโยชน์แล้วเราไม่ได้ทำ โดยไม่มี back up คือเราทำ เราก็ทดลองวิจัยตลอดในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา
การเรียนรู้สองภาษา ง่ายมากค่ะ เราเป็นคนไทย ที่บ้านพูดภาษาไทย มันไม่ควรจะต้องไปเปลี่ยนพฤติกรรมที่บ้าน เพราะฉะนั้นภาษาที่บ้าน ก็คือภาษาแม่ ที่โรงเรียนเขาก็จะมีสัดส่วนของภาษา ถ้าเด็กเล็ก เขาพร้อมที่จะเปิดรับกี่ภาษาก็ได้ เราอย่าดูถูกสมองเด็ก ไม่เพียงแค่ 2 ภาษา แต่ 3 ภาษา 4 ภาษา ได้หมด และที่สำคัญที่สุดคือมันควรจะมาโดยเป็นธรรมชาติ มาโดยเจ้าของภาษา มันไม่ควรจะมาโดยวิธีการอื่นที่มันเหนือหรือลอกเลียนแบบที่ไม่ใช่ธรรมชาติ อันนั้นเด็กเขาจะไม่ได้รับรู้แค่ภาษา แต่เขาจะรู้คอนเท็กซ์ (Context บริบท) ที่มากับภาษาเชิงวัฒนธรรม เชิงการสื่อสารได้ดี
ถามว่าต้องเริ่มตั้งแต่เด็กเล็กๆ เลยไหม ตรงนี้จริงๆ มันไม่มีข้อกำหนด โตแล้ว แก่แล้วก็เรียนภาษาได้ แต่ถามว่าความคล่องแคล่วก็อาจจะน้อยลงตามอายุ เมื่อเราโตขึ้น ความเคยชินเกิด พฤติกรรมที่ติดตัว ก็จะเปลี่ยนได้ยาก แต่เด็กเขายังใหม่ เขาก็จะรับรู้ได้เร็วกว่า
• ระบบการศึกษาไทยกับระบบการศึกษาแบบทวิภาษาที่สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิตนำมาปรับใช้นั้น มีความแตกต่างกันอย่างไร
ในบ้านเราส่วนใหญ่ มีอยู่ 3 หลักสูตรใหญ่ๆ ด้วยกัน ก็คือหลักสูตรไทย คือหลักสูตรที่ตามกระทรวงศึกษาธิการทุกอย่าง แล้วก็สอนเป็นภาษาไทย แล้วก็หลักสูตรที่เป็นอินเตอร์ ก็คือเอาของต่างประเทศเข้ามาทั้งดุ้น แล้วก็มาให้เด็กไทยเรียน คือหลักสูตรที่เราเรียกว่า English Program ก็คือเอาหลักสูตรไทยของเรา คำแปลเป็นภาษาอังกฤษ แล้วก็สอน
แต่หลักสูตรที่เราทำ ที่เราใช้อยู่ในโรงเรียนสาธิตรังสิต เราไม่ได้ใช้การแปล คือเราบูรณาการ ในทุกวิชาที่เรามองว่าเด็กควรจะต้องเรียน และขณะเดียวกันเราจะสอนให้เด็กดีในด้านต่างๆ เขาจะเรียนทั้งกระบวนการ กระบวนการเรียนรู้นั้นสำคัญ คือไม่ใช่คุณครูยืนอยู่หน้าชั้นแล้วก็บอกให้เล็กเชอร์ มันหมดสมัยไป เพราะฉะนั้น เรารู้ว่าเราจะสนับสนุนให้เขามีปฏิสัมพันธ์กับครูในชั้นเรียน ให้เขาเรียนรู้ทั้งกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่สามารถเรียนในบางส่วนได้
ICT (เทคโนโลยีสารสนเทศ) เป็นสิ่งที่เขาเขียนมาในการวิเคราะห์ว่า ประเทศไทยยังขาด ศักยภาพในการใช้ ICTอย่างเป็นประโยชน์ขาดไม่ได้ขาดเฉพาะเด็ก ครูก็ขาด คือมันเริ่มจากครู เพราะฉะนั้น ศักยภาพในการใช้ ICT มันเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญ แล้วพอมาถึงกระบวนการสุดท้ายที่เราบอกว่าสำคัญคือกระบวนการการประเมิน อันนี้อีกจุดหนึ่งก็เป็นประเด็น เป็นที่ถกเถียงในวงการศึกษาว่าเราประเมินเด็กถูกต้องหรือยัง ไม่ว่าจะเป็นข้อสอบ o-net หรือ gat pat ซึ่งรูปแบบการประเมิน ไม่หนีไปจากการท่องจำ
เรามองว่าหลักสูตรนี้สามารถไปที่ไหนก็ได้ในโลก ไม่ต้องมาบอกว่าเรียนหลักสูตรในโรงเรียนไทย เรียนได้แต่ในประเทศ ต่างประเทศไทย เมื่อก่อนเด็กไทย ก็ต้องไปนั่งเรียนภาษาก่อนที่จะเข้ามหาวิทยาลัย มันไม่มีความจำเป็นแบบนั้น เพราะฉะนั้น เด็กที่จบจากสาธิตรังสิต เขาจะไปที่ไหนก็ได้ในโลก เพราะเขาเรียนในหลักสูตรที่ครบอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น IGCSE , IB เขาก็เรียนมา เขาพร้อมที่จะไปสอบเข้าในมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ หรือแม้เด็กเราจะอยู่ในเมืองไทย ถ้าเรียนอินเตอร์มา เข้าคณะในวิทยาศาสตร์การแพทย์ หลายๆ คณะไม่ได้ หรือได้อาจจะเป็นเปอร์เซ็นต์ที่น้อย แต่ในเมื่อเขาเรียนหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการมาครบ ก็สามารถเข้าได้โดยที่ไม่มีปัญหา
• ตอนหนึ่งในหนังสือได้ระบุว่า เมื่อทำหน้าที่เป็นอาจารย์ คุณอภิรมณเลือกการวัดผลความรู้ของเด็กด้วยวิธีอัตนัย เพราะไม่เชื่อในเรื่องการวัดผลด้วยการฝนข้อสอบ ก ข ค ง ช่วยขยายความเกี่ยวกับหลักคิดนี้ได้ไหมว่าเพราะอะไรวิธีวัดผลแบบอัตนัยจึงดีกว่า
จริงๆ แล้วถ้าเราเอาการประเมินที่มันหลุดกรอบจากฟอร์มอล assessment การสอบแบบข้อเขียนได้ มีส่วนองค์ประกอบอื่นๆ ด้วย มันก็ดีกับเด็กเพราะว่าการสอบวัดครั้งเดียว วันเดียว ชั่วโมงเดียว เราตั้งใจที่จะวัดทักษะที่เขาเรียนมาทั้งปี ซึ่งบางทีมันวัดไม่ได้ ในต่างชาติมีน้อยมากในประเทศที่เขาเจริญในเชิงของการศึกษาแล้ว เขาจะวัดกับเด็กที่ข้อสอบ final หรือข้อสอบมิดเทอมอย่างเดียว ยกตัวอย่างในประเทศฟินแลนด์ ที่เราบอกว่าการศึกษาดีที่สุดในโลก ตอนนี้เขาไม่ประเมินเด็กเลย ไม่มีการสอบเลยจนถึงมัธยม แต่บ้านเรานี่อนุบาล 3 ก็ท่องกันแล้ว
ส่วนตัวเราเชื่อว่าข้อสอบอัตนัยยังไงมันก็ได้ฝึกทักษะมากกว่า แต่มันก็ต้องอยู่ที่โจทย์คำถามด้วย จะอัตนัย จะปรนัยก็ต้องอยู่ที่ว่าเราถามอะไรเขา ถ้าเราถามแค่ว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นปีอะไร เขาก็ได้แค่นั้น เขาไม่รู้หรอกว่าสาเหตุการเกิดมันมาจากอะไรแล้วมีสถานการณ์อะไรที่มันเกิดรอบข้างบ้าง เขาจะรู้แค่มิติเดียว
• อย่างในบทส่งท้ายระบุว่าการเป็นคนที่รู้สองภาษาย่อมหมายถึงการมีโอกาสในชีวิตมากกว่า ช่วยขยายความในแนวคิดนี้ พร้อมยกตัวอย่างบุคคลที่น่าสนใจให้เราได้เห็นภาพได้หรือไม่
ในหลายทฤษฎีหรืองานวิจัย ก็คือจริง เพราะเขาสามารถเอามาปรับใช้กับตัวเองได้ กับสิ่งที่มันเปลี่ยนแปลง เราไม่ทราบหรอกว่าในอนาคต 10 ปี 20 ปี 30 ปีข้างหน้ามันจะเกิดอะไรขึ้น แต่คนที่เป็น Bilingual เขาจะมีสกิลในการปรับตัวได้ดีมาก ดีกว่าคนที่พูดได้เป็น monolingual เพราะฉะนั้น ทัศนคติการใช้ชีวิตในอนาคตเขาได้เปรียบ คุณภาพชีวิตก็จะได้เปรียบ แม้กระทั่งเงินเดือนก็ยังสูงกว่า ก็เป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้
จริงๆ คนที่น่าสนใจที่เขา เป็น Bilingual ก็มีหลายคน ในหลายๆ ส่วน ถ้ามองในที่เป็นไอดอลในต่างประเทศ ส่วนใหญ่เขาก็เป็น Bilingual อย่าง president ของแคนาดา เขาจะพูดได้แค่ภาษาเดียวเหรอ ก็คงไม่ใช่ ก็ต้องมีภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ เป็นอย่างน้อย หรืออย่างคนที่เราเขียนไว้ในหนังสือ Nelson Mandala ที่เขาเป็นผู้ผลักดัน เขาก็เป็น Bilingual เหมือนกัน เขาก็พูดได้ไม่ใช่แค่ภาษาอังกฤษอย่างเดียว มันขึ้นอยู่กับว่าเราจะ aspire ที่จะเป็นอย่างนั้น หรือว่าเราจะอยู่แต่ในแบบนี้ของเรา
• ความคาดหวังหลังจากที่ผู้อ่าน อ่านหนังสือเล่มนี้จบคืออะไร เพราะเหตุใดจึงคาดหวังเช่นนั้น
ความคาดหวังอย่างน้อยก็จะได้มุมมองใหม่ๆ ทัศนคติที่อาจจะเพิ่มขึ้น นอกเหนือไปจากรูปแบบการศึกษาเดิมที่เราเชื่อเราก็ยึดมั่นมาตลอด จริงๆ แล้วต้องเรียนให้ทราบก่อนว่า หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นมา เพราะเรามีความเชื่อและมีบทพิสูจน์ว่า ทำแล้วได้ผล เราอาจจะไม่ได้มีวัตถุประสงค์ตอนแรกเลยว่า อ่านแล้วจะมาเรียน มันก็ไม่ใช่ แต่เราอยากจะช่วยเปิดทัศนคติของคนไทยของการศึกษาไทยให้ยอมรับการเปลี่ยนแปลง คือเจตคติในการเขียนหนังสือเล่มนี้ อยากให้เรายกระดับการศึกษาบ้านเราได้แล้วค่ะ (ยิ้ม)
เรื่อง : วรัญญา งามขำ และ อภิษฎา แพภิรมย์รัตน์
ภาพ : จิรโชค พันทวี
ดร.อภิรมณ อุไรรัตน์ หนึ่งในผู้ที่ค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับคนที่เป็น BILINGUALISM หรือคนที่เรียนรู้สองภาษาจนได้คำตอบที่ชัดแจ้งจึงนำมาเขียนในหนังสือ "THE POWER OF BILINGUALISM ดีได้ด้วยพลังสองภาษา" ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องดังกล่าวเพื่อให้ภาคการศึกษาหรือแม้กระทั่งผู้ปกครองได้เล็งเห็นถึงความสำคัญกับสิ่งดังกล่าวทั้งนี้เพื่อต้องการอยากให้ประเทศไทยได้ยกระดับการศึกษาให้ดีขึ้น
• แรงบันดาลใจที่ทำให้คุณอภิรมณหยิบยกหัวข้อการเรียนรู้สองภาษามาทำเป็นหนังสือ "THE POWER OF BILINGUALISM ดีได้ด้วยพลังสองภาษา" คืออะไร
เกิดจากสิ่งที่เราทำมาประมาณ 10 กว่าปี ซึ่งเริ่มจากโรงเรียนสาธิตรังสิต เราใช้หลักสูตรทวิภาษา ที่เราเรียกว่าแบบองค์รวม ก็คือเป็นหลักสูตรของเราที่ทำขึ้นมาเอง โดยที่เรามองว่าอีก 10 ปี 20 ปีข้างหน้า เราต้องการจะให้เด็กเป็นเยาวชนคุณภาพแบบไหน เพื่อที่จะมารับมือกับโลกในอนาคตได้ เราก็เลยทำหลักสูตรตรงนี้ขึ้นมา
ต้องเรียนให้ทราบก่อนว่าหลักสูตรของเรา เป็นหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการบ้านเรา เราครอบคลุมทั้งหมดเพื่อที่เด็กจบแล้วเขาจะไปต่อในเมืองไทย ในหลักสูตรอะไรก็ได้ ในคณะอะไรก็ได้ แต่ในขณะเดียวกันเรามองว่าเท่านั้นมันยังไม่เพียงพอ เราก็เลยเอามาผสมผสานกับหลักสูตรนานาชาติ 2 หลักสูตรด้วยกันก็คือ หลักสูตรที่เราเรียกว่า IGCSE กับ IB ซึ่งในโรงเรียนนานาชาติเขาจะสอนกัน เราก็เลยนำมาผสมผสานขึ้นมาเป็นหลักสูตรของเราเองแล้วก็นำมาใช้
ผลออกมา เราก็ได้ผลผลิตที่เราเชื่อมั่นว่ามีคุณภาพและดี แล้วมันก็เป็นโจทย์ที่เรามองว่าการศึกษาที่ปฏิรูปกันมาตลอด ที่ไม่ประสบความสำเร็จ เรามองว่าอันนี้คือสิ่งที่มันตอบโจทย์ และเมื่อได้ทำวิจัยเพิ่มขึ้น ได้อ่านงานวิจัยของนานาชาติ เนื่องจากมีความสนใจส่วนตัว เราเลยพบว่าคนที่เป็น Bilingual มันทำให้ค้นพบสิ่งดีๆ มากมายที่บางทีเราจะมองไม่เห็น
ส่วนแรงบันดาลใจที่ทำให้หยิบยกหัวข้อนี้มาทำเป็นหนังสือก็เพราะเราอยากให้ผู้ปกครอง อยากให้คนไทย ได้มองเห็นว่าข้อดีของ Bilingualism มันคือคำตอบของปัญหาการศึกษาที่เราประสบมาในยุคปัจจุบัน ก็เลยคิดว่าน่าจะเขียนในรูปแบบที่ใครก็อ่านได้ คือถ้าเขียนในรูปแบบงานวิจัยคงไม่มีใครอยากอ่าน เพราะฉะนั้นจะทำยังไงให้ออกมาแล้วเหมาะกับจริต สุดท้ายก็เลยทำให้มันอ่านง่ายและแปลง่ายเข้าใจง่าย
• เรามีทฤษฎียืนยันว่า การพัฒนาการของเด็กที่เรียนสองภาษาดีกว่าเด็กที่เรียนภาษาเดียวนั้น เรามีงานวิจัยรองรับพอจะอธิบายได้ไหม
ใช่ค่ะ งานวิจัยทั่วโลกพบว่าคนที่เป็น Bilingual เขาจะมีศักยภาพมากกว่าคนที่เป็น Monolingual หรือคนที่พูดได้ภาษาเดียว แทบจะเกือบทุกด้านเลย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของการแพทย์ เขาก็จะมีเรื่องของ Executive Function คือเมื่อใดที่เขาสามารถที่จะพูดภาษาได้แบบธรรมชาติ คือไม่ใช่แปลแล้วก็เปลี่ยนเป็นอีกภาษาหนึ่ง สมองเขาจะพัฒนาตลอดเวลา คือมันจะทำงานตลอดเวลาจนเกิดสมองที่เขาเรียกว่าส่วนที่บริหารสมอง คือ executive function ของสมอง
มันดีจนกระทั่งเขามีวิจัยมารองรับแล้วว่า คนแก่ ถ้าเป็น Bilingual อาการคนแก่ อย่างโรคอัลไซเมอร์ก็จะน้อยลง เนื่องจากสมองได้ทำงานตลอดเวลา อันนี้คือในแง่ของวิทยาศาสตร์ อีกจุดหนึ่งซึ่งเป็นผลพวงการเป็นคนสองภาษา ก็พบว่าวิธีการแก้ปัญหาของเขาดีขึ้น เขาสามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ดีกว่า โดยรวมแล้ว การเรียนรู้ทั้งทางด้านวิชาการเขาก็ดีกว่า อันนี้เราไม่ได้พูดขึ้นมาเอง แต่มันมาจากงานวิจัยที่ต่างประเทศเขารวบรวมไว้ เพราะฉะนั้นมันมีหลายสิ่งที่ดี แล้วมันย้อนกลับมาทำให้เรามองว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่เราต้องการให้เด็กไทยก้าวตาม
เราต้องการให้เขาแก้ปัญหาเป็น มีศักยภาพที่จะเปิดโลกทัศน์ของตัวเองในนานาชาติ ในเวทีโลก ซึ่งปัจจุบันเรายังทำไม่ได้ แค่การแสดงออกก็ยังด้อยกว่าต่างประเทศเขา หรือแม้กระทั่งผลพีซ่าที่เราหลายๆ คนอาจจะเคยอ่าน (พีซ่า หรือ PISA (Programme for International Student Assessment)) เป็นโครงการประเมินผลการศึกษาของประเทศสมาชิก ที่ดำเนินการโดย Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจระบบการศึกษาของนานาประเทศว่าได้เตรียมความพร้อม สำหรับการใช้ชีวิตและการมีส่วนร่วมในสังคมในอนาคตเพียงพอหรือไม่) ผลล่าสุดที่เขารวมกลุ่มของประเทศใน OECD ทั้งหมด เราก็เกือบโหล่ในทุกๆ ด้าน รวมถึงวิชาที่เรามองว่าเราเก่ง เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ มันเป็นไปได้ยังไง เพราะเมื่อก่อนในยุค 10 ปี 20 ปีที่แล้ว เรายังมองว่า ฝรั่งไม่เก่งเลข คนไทยเก่งเลข คนเอเชียจะเก่งเลข แต่ปัจจุบันไม่ได้เป็นอย่างนั้น เนื่องจากเขาวิเคราะห์มาว่าเราใช้หลักสูตรการเรียนรู้ที่เป็นการท่องจำ เพราะฉะนั้น สมองส่วนอื่นจะไม่ได้พัฒนา ซึ่งอันนี้เราจะแก้ปัญหานี้ยังไง
• เด็กที่เรียนในหลักสูตรสองภาษาจะมีผลด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การปรับตัวได้ดีกว่าหลักสูตรภาษาเดียวไหม
ตรงนี้ไม่ได้มีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเท่าไหร่ คือคนที่เขาเป็น Bilingual โดยธรรมชาติ โลกทัศน์ของเขาจะเปิดขึ้น คือสมมติตัวเองนะคะว่าเราพูดได้ 2 ภาษาอย่างธรรมชาติ information ที่มัน flow เข้ามา เราไม่ต้องบังคับตัวเองให้อ่านแปลภาษาไทย เพราะฉะนั้น มุมมองของโลกมันกว้างขึ้น ทัศนคติก็กว้างขึ้น เขาเข้าใจในหลายๆ วัฒนธรรม เขาไม่ได้เข้าใจแค่วัฒนธรรมเดียว เพราะเราปฏิเสธไม่ได้ แน่นอนที่สุดวันนี้สิ่งที่มันเกิดขึ้นในอเมริกาอาจมีผลกระทบกับเรา หรือสิ่งที่มันเกิดขึ้นในเอเชีย ก็มีผลต่ออีกด้านหนึ่งเหมือนกัน เพราะมันมีผลต่อกันหมด มีความเชื่อมโยงกัน เพราะฉะนั้น มันไม่ควรมองว่าทำไมเด็กไทยต้องเรียนภาษาอังกฤษ มันเลยจุดนั้นไปแล้ว เรามองดีกว่าว่าเรียนภาษาอังกฤษยังไงให้อนาคตเขาจบไปแล้วพร้อมรับมือกับอะไรก็ตามที่มันจะเดินเข้ามา รับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นมา
• ช่วยอธิบายได้ไหมว่าทำไมเด็กไทยจึงต้องรู้สองภาษา ทั้งๆ ที่ในชีวิตประจำวันแทบไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ใดๆ
เราเชื่ออย่างนั้นจริงหรือเปล่า เราเชื่อว่าอีก 10 ปีข้างหน้า โลกเราเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า หรือแม้ในปัจจุบัน เราไม่ต้องใช้ภาษานี้เหรอ อะไรคือภาษาหลักของโลก เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว เขามีการทำวิจัยออกมาว่า 2 ใน 3 ของประชากรโลก เขาพูดได้อย่างน้อยสองภาษา แล้วถ้าเราไม่ถีบตัวเองขึ้นมา เราจะอยู่ตรงไหน ศักยภาพในการแข่งขัน เราจะอยู่ตรงไหน ไม่ต้องไปพูดถึงการแข่งกับยุโรป ไปแข่งกับทวีปอื่น แค่แข่งกันในอาเซียน เราจะแข่งเขาได้หรือเปล่า อันนี้เป็นสิ่งที่เราควรจะต้องตื่นตัว
• วิธีการเรียนรู้สองภาษาที่ดีที่สุด จะต้องเรียนรู้อย่างไร จำเป็นต้องเรียนโรงเรียนที่มีการสอนสองภาษาไหมคะ
คือมันเป็นมินิมั่มค่ะ Minimum Requirements ของเยาวชนศตวรรษที่ 21 ภาษาสองภาษา ยังไม่พอ แต่ทักษะและคุณสมบัติอื่นๆ ก็มีความจำเป็น เช่น เด็กจะต้องวิเคราะห์ได้ วิเคราะห์เป็น แก้ปัญหาที่ซับซ้อน หรือปัญหาที่ยาก มีโลกที่เปิดกว้างนอกจากกะลาของตัวเอง จะต้องเปิดโลกทัศน์ของตัวเองได้ อันนี้เราพร้อมหรือเปล่า ก็ต้องย้อนกลับไปถามการศึกษาบ้านเราว่าพร้อมหรือเปล่าที่จะตอบโจทย์ตรงนี้ คือถ้าจะให้พูดถึงการศึกษา ต้องมองภาพใหญ่ เราจะโฟกัสเป็นเหมือนโมเดลที่เราทำ แล้วก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามันมีคุณภาพ มันมีประโยชน์แล้วเราไม่ได้ทำ โดยไม่มี back up คือเราทำ เราก็ทดลองวิจัยตลอดในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา
การเรียนรู้สองภาษา ง่ายมากค่ะ เราเป็นคนไทย ที่บ้านพูดภาษาไทย มันไม่ควรจะต้องไปเปลี่ยนพฤติกรรมที่บ้าน เพราะฉะนั้นภาษาที่บ้าน ก็คือภาษาแม่ ที่โรงเรียนเขาก็จะมีสัดส่วนของภาษา ถ้าเด็กเล็ก เขาพร้อมที่จะเปิดรับกี่ภาษาก็ได้ เราอย่าดูถูกสมองเด็ก ไม่เพียงแค่ 2 ภาษา แต่ 3 ภาษา 4 ภาษา ได้หมด และที่สำคัญที่สุดคือมันควรจะมาโดยเป็นธรรมชาติ มาโดยเจ้าของภาษา มันไม่ควรจะมาโดยวิธีการอื่นที่มันเหนือหรือลอกเลียนแบบที่ไม่ใช่ธรรมชาติ อันนั้นเด็กเขาจะไม่ได้รับรู้แค่ภาษา แต่เขาจะรู้คอนเท็กซ์ (Context บริบท) ที่มากับภาษาเชิงวัฒนธรรม เชิงการสื่อสารได้ดี
ถามว่าต้องเริ่มตั้งแต่เด็กเล็กๆ เลยไหม ตรงนี้จริงๆ มันไม่มีข้อกำหนด โตแล้ว แก่แล้วก็เรียนภาษาได้ แต่ถามว่าความคล่องแคล่วก็อาจจะน้อยลงตามอายุ เมื่อเราโตขึ้น ความเคยชินเกิด พฤติกรรมที่ติดตัว ก็จะเปลี่ยนได้ยาก แต่เด็กเขายังใหม่ เขาก็จะรับรู้ได้เร็วกว่า
• ระบบการศึกษาไทยกับระบบการศึกษาแบบทวิภาษาที่สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิตนำมาปรับใช้นั้น มีความแตกต่างกันอย่างไร
ในบ้านเราส่วนใหญ่ มีอยู่ 3 หลักสูตรใหญ่ๆ ด้วยกัน ก็คือหลักสูตรไทย คือหลักสูตรที่ตามกระทรวงศึกษาธิการทุกอย่าง แล้วก็สอนเป็นภาษาไทย แล้วก็หลักสูตรที่เป็นอินเตอร์ ก็คือเอาของต่างประเทศเข้ามาทั้งดุ้น แล้วก็มาให้เด็กไทยเรียน คือหลักสูตรที่เราเรียกว่า English Program ก็คือเอาหลักสูตรไทยของเรา คำแปลเป็นภาษาอังกฤษ แล้วก็สอน
แต่หลักสูตรที่เราทำ ที่เราใช้อยู่ในโรงเรียนสาธิตรังสิต เราไม่ได้ใช้การแปล คือเราบูรณาการ ในทุกวิชาที่เรามองว่าเด็กควรจะต้องเรียน และขณะเดียวกันเราจะสอนให้เด็กดีในด้านต่างๆ เขาจะเรียนทั้งกระบวนการ กระบวนการเรียนรู้นั้นสำคัญ คือไม่ใช่คุณครูยืนอยู่หน้าชั้นแล้วก็บอกให้เล็กเชอร์ มันหมดสมัยไป เพราะฉะนั้น เรารู้ว่าเราจะสนับสนุนให้เขามีปฏิสัมพันธ์กับครูในชั้นเรียน ให้เขาเรียนรู้ทั้งกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่สามารถเรียนในบางส่วนได้
ICT (เทคโนโลยีสารสนเทศ) เป็นสิ่งที่เขาเขียนมาในการวิเคราะห์ว่า ประเทศไทยยังขาด ศักยภาพในการใช้ ICTอย่างเป็นประโยชน์ขาดไม่ได้ขาดเฉพาะเด็ก ครูก็ขาด คือมันเริ่มจากครู เพราะฉะนั้น ศักยภาพในการใช้ ICT มันเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญ แล้วพอมาถึงกระบวนการสุดท้ายที่เราบอกว่าสำคัญคือกระบวนการการประเมิน อันนี้อีกจุดหนึ่งก็เป็นประเด็น เป็นที่ถกเถียงในวงการศึกษาว่าเราประเมินเด็กถูกต้องหรือยัง ไม่ว่าจะเป็นข้อสอบ o-net หรือ gat pat ซึ่งรูปแบบการประเมิน ไม่หนีไปจากการท่องจำ
เรามองว่าหลักสูตรนี้สามารถไปที่ไหนก็ได้ในโลก ไม่ต้องมาบอกว่าเรียนหลักสูตรในโรงเรียนไทย เรียนได้แต่ในประเทศ ต่างประเทศไทย เมื่อก่อนเด็กไทย ก็ต้องไปนั่งเรียนภาษาก่อนที่จะเข้ามหาวิทยาลัย มันไม่มีความจำเป็นแบบนั้น เพราะฉะนั้น เด็กที่จบจากสาธิตรังสิต เขาจะไปที่ไหนก็ได้ในโลก เพราะเขาเรียนในหลักสูตรที่ครบอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น IGCSE , IB เขาก็เรียนมา เขาพร้อมที่จะไปสอบเข้าในมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ หรือแม้เด็กเราจะอยู่ในเมืองไทย ถ้าเรียนอินเตอร์มา เข้าคณะในวิทยาศาสตร์การแพทย์ หลายๆ คณะไม่ได้ หรือได้อาจจะเป็นเปอร์เซ็นต์ที่น้อย แต่ในเมื่อเขาเรียนหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการมาครบ ก็สามารถเข้าได้โดยที่ไม่มีปัญหา
• ตอนหนึ่งในหนังสือได้ระบุว่า เมื่อทำหน้าที่เป็นอาจารย์ คุณอภิรมณเลือกการวัดผลความรู้ของเด็กด้วยวิธีอัตนัย เพราะไม่เชื่อในเรื่องการวัดผลด้วยการฝนข้อสอบ ก ข ค ง ช่วยขยายความเกี่ยวกับหลักคิดนี้ได้ไหมว่าเพราะอะไรวิธีวัดผลแบบอัตนัยจึงดีกว่า
จริงๆ แล้วถ้าเราเอาการประเมินที่มันหลุดกรอบจากฟอร์มอล assessment การสอบแบบข้อเขียนได้ มีส่วนองค์ประกอบอื่นๆ ด้วย มันก็ดีกับเด็กเพราะว่าการสอบวัดครั้งเดียว วันเดียว ชั่วโมงเดียว เราตั้งใจที่จะวัดทักษะที่เขาเรียนมาทั้งปี ซึ่งบางทีมันวัดไม่ได้ ในต่างชาติมีน้อยมากในประเทศที่เขาเจริญในเชิงของการศึกษาแล้ว เขาจะวัดกับเด็กที่ข้อสอบ final หรือข้อสอบมิดเทอมอย่างเดียว ยกตัวอย่างในประเทศฟินแลนด์ ที่เราบอกว่าการศึกษาดีที่สุดในโลก ตอนนี้เขาไม่ประเมินเด็กเลย ไม่มีการสอบเลยจนถึงมัธยม แต่บ้านเรานี่อนุบาล 3 ก็ท่องกันแล้ว
ส่วนตัวเราเชื่อว่าข้อสอบอัตนัยยังไงมันก็ได้ฝึกทักษะมากกว่า แต่มันก็ต้องอยู่ที่โจทย์คำถามด้วย จะอัตนัย จะปรนัยก็ต้องอยู่ที่ว่าเราถามอะไรเขา ถ้าเราถามแค่ว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นปีอะไร เขาก็ได้แค่นั้น เขาไม่รู้หรอกว่าสาเหตุการเกิดมันมาจากอะไรแล้วมีสถานการณ์อะไรที่มันเกิดรอบข้างบ้าง เขาจะรู้แค่มิติเดียว
• อย่างในบทส่งท้ายระบุว่าการเป็นคนที่รู้สองภาษาย่อมหมายถึงการมีโอกาสในชีวิตมากกว่า ช่วยขยายความในแนวคิดนี้ พร้อมยกตัวอย่างบุคคลที่น่าสนใจให้เราได้เห็นภาพได้หรือไม่
ในหลายทฤษฎีหรืองานวิจัย ก็คือจริง เพราะเขาสามารถเอามาปรับใช้กับตัวเองได้ กับสิ่งที่มันเปลี่ยนแปลง เราไม่ทราบหรอกว่าในอนาคต 10 ปี 20 ปี 30 ปีข้างหน้ามันจะเกิดอะไรขึ้น แต่คนที่เป็น Bilingual เขาจะมีสกิลในการปรับตัวได้ดีมาก ดีกว่าคนที่พูดได้เป็น monolingual เพราะฉะนั้น ทัศนคติการใช้ชีวิตในอนาคตเขาได้เปรียบ คุณภาพชีวิตก็จะได้เปรียบ แม้กระทั่งเงินเดือนก็ยังสูงกว่า ก็เป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้
จริงๆ คนที่น่าสนใจที่เขา เป็น Bilingual ก็มีหลายคน ในหลายๆ ส่วน ถ้ามองในที่เป็นไอดอลในต่างประเทศ ส่วนใหญ่เขาก็เป็น Bilingual อย่าง president ของแคนาดา เขาจะพูดได้แค่ภาษาเดียวเหรอ ก็คงไม่ใช่ ก็ต้องมีภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ เป็นอย่างน้อย หรืออย่างคนที่เราเขียนไว้ในหนังสือ Nelson Mandala ที่เขาเป็นผู้ผลักดัน เขาก็เป็น Bilingual เหมือนกัน เขาก็พูดได้ไม่ใช่แค่ภาษาอังกฤษอย่างเดียว มันขึ้นอยู่กับว่าเราจะ aspire ที่จะเป็นอย่างนั้น หรือว่าเราจะอยู่แต่ในแบบนี้ของเรา
• ความคาดหวังหลังจากที่ผู้อ่าน อ่านหนังสือเล่มนี้จบคืออะไร เพราะเหตุใดจึงคาดหวังเช่นนั้น
ความคาดหวังอย่างน้อยก็จะได้มุมมองใหม่ๆ ทัศนคติที่อาจจะเพิ่มขึ้น นอกเหนือไปจากรูปแบบการศึกษาเดิมที่เราเชื่อเราก็ยึดมั่นมาตลอด จริงๆ แล้วต้องเรียนให้ทราบก่อนว่า หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นมา เพราะเรามีความเชื่อและมีบทพิสูจน์ว่า ทำแล้วได้ผล เราอาจจะไม่ได้มีวัตถุประสงค์ตอนแรกเลยว่า อ่านแล้วจะมาเรียน มันก็ไม่ใช่ แต่เราอยากจะช่วยเปิดทัศนคติของคนไทยของการศึกษาไทยให้ยอมรับการเปลี่ยนแปลง คือเจตคติในการเขียนหนังสือเล่มนี้ อยากให้เรายกระดับการศึกษาบ้านเราได้แล้วค่ะ (ยิ้ม)
เรื่อง : วรัญญา งามขำ และ อภิษฎา แพภิรมย์รัตน์
ภาพ : จิรโชค พันทวี